จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 01, 2024, 06:46:09 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการเลี้ยงลูก บทพูดบทที่๔ ของสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร เลี้ยงลูกด้วยหนังสือ (บท  (อ่าน 4698 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1439


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2019, 08:33:04 pm »

วิธีการเลี้ยงลูก บทพูดบทที่๔ ของสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร
เลี้ยงลูกด้วยหนังสือ (บท4)
เมื่อท่านออกไปทานข้าวนอกบ้านแล้วเห็นครอบครังนึงที่มี คุณพ่อ คุณแม่ เด็กเล็กๆ ไปทานข้าวด้วยกัน ท่านน่าจะรู้สึกดีใช่ไหมคะ

แต่ถ้าคุณมองไปแล้วเห็นคนในครอบครัวนั้น มีโทรศัพท์ หรือไอแพดกันคนละเครื่อง คุณพ่อกำลังแชท คุณแม่ท่องอินเตอร์เนต คุณลูกเล่นเกมส์ หรือดูการ์ตูนในไอแพดล่ะคะ คุณจะรู้สึกอย่างไร

ถ้าดิฉันเห็นแบบนี้ทีไรดิฉันค่อนข้างจะมีความรู้สึกร่วมมาก และชอบเฝ้าสังเกตการณ์ ว่าครอบครัวนั้นเค้าจะทำอย่างไรกันต่อ ที่ชอบสังเกตุเพราะว่าเราจะได้เอาประยุกต์ใช้กับครอบครัวเราได้ว่า

เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ถ้าเราไม่ยื่นเทคโนโยีใส่เด็กๆเมื่อเราทำกิจกรรมนอกสถานที่

ความรู้สึกร่วมที่ดิฉันพูดถึงคือ ดิฉันรู้สึกเห็นใจเด็กคนนั้นทันที ที่รู้สึกรู้สึกเห็นใจก็เพราะว่า พวกเขาก็มากันครบทีมทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ

แต่พวกเขามาแค่ตัวค่ะ เขาไม่ได้เอาหัวใจมาด้วย พวกเขาขาดความใส่ใจซึ่งกันและกัน ขาดปฏิสัมพันธ์ ขาดการพูดคุย ไม่มีการมองตากัน ไร้ซึ่งการสัมผัสกันทั้งทางกายและทางใจ

ตามธรรมชาติของเด็กเล็กแล้วเรื่องการส่งเสียงดัง วิ่งเล่น งอแง เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องธรรมชาติมากๆ เพราะเด็กเค้าพลังเยอะ เค้าต้องใช้ร่างกายพิสูจน์พลัง และเค้ายังรอคอยไม่เก่ง

ถ้าคุณพ่อคุณแม่คิดว่า รับมือกับเด็กไม่ได้ก็ให้พยายามเลือกร้านที่สิ่งแวดล้อมมีที่ให้วิ่งเล่น มีเครื่องเล่น หรือเลือกทานข้าวที่บ้านไปเลย ดีกว่าที่จะออกไปทานข้าวนอกบ้าน แล้วยื่นเทคโนโลยีให้เด็กเพื่อให้เด็กเงียบ และนั่งนิ่งๆ

จริงๆแล้ววันนี้ดิฉันมีวิธีอื่นมานำเสนอ และรับรองผลด้วยค่ะ

เราจะเปลี่ยนจากการยื่นเทคโนโลยีให้เด็กๆ เป็นการยื่นหนังสือให้พวกเขาแทน ท่านสมาชิกลองนึกภาพตามนะคะ ระหว่างที่เด็กอยู่กับหน้าจอแล้วใช้นิ้วเขี่ยเลือนหน้าจอ หรือนั่งจิ้มเล่นเกมส์ หรือสายตานั่งจ้องภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว

เป็นระยะเวลานานๆ กับเด็กนั่งอ่านหนังสือโดยใช้เวลาเท่ากัน ท่านมีความรู้สึกต่างกันไหมคะ  ดิฉันเคยเอาคำถามนี้ไปถามเด็กๆที่บ้านว่า เล่นเกมส์ กับอ่านหนังสือ ชอบแบบไหนมากกว่ากัน เด็กๆตอบเลยไม่คิดค่ะ คือ เล่นเกมส์  เพราะอะไร

ก็เพราะว่ามันสนุกมากน่ะสิคะ

แต่ท่านเชื่อไหมคะว่าเด็กที่บ้านของดิฉัน ได้เล่นเกมส์เฉพาะวันศุกร์เย็น เสาร์ และอาทิตย์เท่านั้น ส่วนวันที่ไป รร ไม่ได้เล่น แต่ช่วงระหว่างปิดเทอมก็มีให้เล่นได้ทุกวัน

 แต่ก่อนที่จะให้เล่นเกมส์เค้าต้องจัดการงานส่วนตัวของเขาให้เรียบร้อยก่อน

ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน การบ้านปิดเทอม ซ้อมดนตรี และท้ายสุด เกมส์ก็จะเป็นสื่งที่หอมหวานสำหรับพวกเขาเพราะกว่าจะได้เล่น มันยากลำบากมาก เพราะต้องผ่านด่านที่แม่ตั้งไว้ให้เสร็จและต้องเรียบร้อยดีด้วย

ในวันธรรมดาที่เราไม่ให้เล่นเกมส์ เราก็มีหนังสือให้อ่านตามความสนใจของพวกเด็กๆ ที่บ้านดิฉันจะจัดมุมหนังสือมีหนังสือที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน วรรณกรรม หนังสือความรู้ทั่วไป ทั้งไทยและเทศ

ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก พอเค้าเบื่อ เค้าไม่มีอะไรทำ เกมส์ก็เล่นไม่ได้เพราะไม่ใช่วันที่เล่นได้ เค้าก็จะหันมาพึ่งหนังสือเอง โดยไม่ต้องบังคับมาให้อ่าน แต่สถานการณ์มันบังคับเองว่าไม่มีอะไรทำ อ่านหนังสือก็ได้

หนังสือที่อ่านก็ควรจะเหมาะกับช่วงวัยของเด็กๆด้วย ตอนที่ยังเล็กๆคุณพ่อ คุณแม่มีหน้าที่อ่านให้เด็กฟัง ในช่วงก่อน 3 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เพราะว่าเด็กจะรู้ว่าพ่อแม่มีอยู่จริงก็ตอนที่เด็กต้องการเรา แล้วเราอยู่ตรงนั้นเพื่อเขา

ได้เอาเด็กนั่งตักในอ้อมกอด แล้วอ่านหนังสือ  ได้นอนข้างๆกันอ่านนิทานให้ฟัง  มันเป็นความรู้สึกที่อบอุ่นมาก และเวลาแบบนี้มันผ่านแล้วผ่านเลยมันเรียกคืนมาไม่ได้ค่ะ เวลาแบบนี้เรียกว่าเวลาคุณภาพ

 ถ้าเราทำได้แบบนี้สม่ำเสมอจนถึงวัยที่เค้าอ่านเองได้

หรือจริงๆไม่ได้อยู่ที่อายุว่ากี่ขวบถึงจะเลิกให้เขาฟัง ตราบใดที่เค้าต้องการให้เราอ่านให้ฟังอยู่ นั่นเป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ แสดงว่าเค้ายังต้องการเราอีกมาก

พอโตขึ้นเค้าจะรักการอ่าน ไม่มีอะไรทำก็หันกลับมาอ่านหนังสือได้ หรือวันที่ต้องการผ่อนคลาย หรือความสนุก หนังสือก็สามารถช่วยได้

ข้อดีของหนังสือมีมากมาย

หนังสือส่งเสริมจินตนาการให้กับเด็กๆ ยิ่งวรรณกรรมที่ได้นักเขียนดีๆ สมองของเด็กจะโลดแล่นมากเป็นพิเศษ

หนังสือให้ความรู้ ความรู้ที่เราต้องค้นคว้า ต้องหา

หนังสือให้ความสัมพันธ์กันในครอบครัว ถ้าเราอ่านให้ฟังก็จะได้ความอบอุ่นมาเพิ่ม หรือต่างคนต่างอ่าน ก็สามารถเอามาถกกัน ปรึกษาหารือกันได้

หนังสือสอนให้เรามีทางออกในวันที่เราไม่มีอะไรทำ เราก็หยิบหนังสือมาเพื่อความบันเทิงแก้เบื่อได้

การอ่านหนังสือ จะส่งผลให้เด็กเป็นคนรักการอ่าน และติดตัวเด็กไปอีกนานเท่านาน ซึ่งจะเป็นสิ่งมีค่ามากที่สุดที่ไม่ว่าโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ ไอแพด หรือ พี่เลี้ยงเด็กคนไหนก็ทำแทนไม่ได้

อรอนงค์ สุรเจริญชัยกุล
บันทึกเมื่อ
25/12/62
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!