จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 06:03:47 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
 61 
 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2022, 08:38:07 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
๓.แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนที่มีความโดดเด่น (เปิดที่บ้านพะโป้)
     ณ แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้  พระพุทธเจ้าหลวง พระปิยมหาราช  เสด็จประพาสต้นเข้ามาในคลองสวนหมาก และเสด็จขึ้น บ้านพะโป้ สถานที่นี้ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม  พุทธศักราช ๒๔๔๙ เวลา ๑๐ นาฬิกา เราจึงเรียก บ้านแห่งนี้ว่า บ้านห้าง รัชกาลที่ ๕ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกคน ที่มาเยือนกำแพงเพชร ย่อมต้องมาเยือน บ้านประวัติศาสตร์กำแพงเพชรกันทุกผู้คน พร้อมคำถามมากมาย,,,,,,(  ๑.๕ นาที)
.....อุทยานประวัติศาสตร์ในชุมชนนครชุมของเรา มีหลายแห่ง เรียงราย อยู่นอกกำแพงเมือง งดงามและทรงคุณค่าอย่าง ที่สุด อาทิ  วัดเจดีย์กลางทุ่ง  วัดซุ้มกอ วัดพิกุล วัดหม่องกาเล วัดหนองลังกา  วัดหนองยายช่วย ป้อมทุ่งเศรษฐี ล้วนเป็นแหล่งของพระเครื่องที่ทรงคุณค่าที่สุดแห่งสังคมไทย อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงลีลา พระกำแพงนางพญา ที่สังคมแสวงหา  ( ๒ นาที)
     ชุมชนนครชุม ของเรา ยังเป็นที่ตั้ง ของห้องสมุดประชาชน เฉลิมราชกุมารี แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุด ในชุมชน
มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดพระบรมธาตุ ที่รวบรวมสิ่งของในอดีตไว้อย่างน่าทึ่ง ได้รับเลือกให้เป็น พิพิธภัณฑ์เฉลิมราช (ถูกไหม)
ชุมชนนครชุม ของเรา มีถนนสายวัฒนธรรม ที่เรียกกันว่า ตลาดย้อนยุคนครชุม ย้อนอดีตสู่สังตมนครชุม เมื่อกว่าร้อยปี อย่างมีเสน่ห์ที่สุด ทุก ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ต้นเดือน ที่ผู้คนมาเยือนแล้วไม่มีวันลืมความประทับใจในตลาดย้อนยุคของเรา  (๒ นาที)
ชุมชนนครชุมของเรา มีลำน้ำคลองสวนหมาก ไหลผ่าน หล่อเลี้ยงชีวิตในอดีตของผู้คน แหล่งค้าไม้ และของป่าที่สำคัญ และเป็นสายน้ำประวัติศาสตร์การเสด็จของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕
ชุมชนนครชุม มีศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่น่าสนใจและปฏิบัคิตามพระราชดำริได้อย่างสมบูรณ์ มีศูนย์การเรียนรู้ การเลี้ยงปลากัด เป็นตัวอย่างที่ดีในชุมชนของผู้สูงอายุ
นครชุม มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือลำน้ำ ปิง อยู่ด้านหน้าของชุมชน ในวันลอยกระทง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง มีการลอยกระทงสาย นับหมื่นกระทง เต็มแม่น้ำ งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง  (๒ นาที)
              ชุมชนนครชุม ของเรา มีแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่น มีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนที่เก่าแก่และขนาดใหญ่และเชื่อกันในความศักดิ์สิทธิ์  คือหลวงพ่ออุโมงค์ แห่งวัดสว่างอารมณ์ เชิญชวนทุกท่านมาชมความแตกต่าง ไม่เหมือนสถานที่แห่งใด ในชุมชนของเรา(๑นาที)
                                                                                              (รวม ๘.๕ นาที )
                           .............................................................
                                                               








 62 
 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2022, 02:31:30 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
แนวทางการนำเสนอ ข้อ ๒
๒ อัตลักษณ์ที่โดดเด่น ของ ชุมชนคุณธรรมวัดพระบรมธาตุ(นครชุม)  (รวม ๗ นาที)
 เปิด ฉาก สถานที่ ลานพระบรมธาตุ
( ๒นาที)        ๒.๑    การแสดง เพลงพื้นบ้าน ของ นครชุม (ระบำคล้องช้าง หรือรำแม่ศรี ) ผู้แสดง ประมาณ ๒๐ คน   จบการแสดง ประชาชน ยืนเป็นครึ่งวงกลม แต่งกายแบบชุดการแสดงพื้นบ้าน
   ( ๒ นาที)         ๒.๒         พิธีกร พูดคุยกับชาวบ้านที่มาร่วมงาน
                          ถาม ๑   การแสดงชุดนี้ มีชื่อว่า อะไร มีความเป็นมาอย่างไรครับ ค่ะ
                           ตอบ๑   การแสดงชุดนี้ เราเรียกว่าระบำคล้องช้าง ดัดแปลงมาจากการคล้องช้างป่า เพื่อมาทำไม้ ในบ้านนครชุมของเราจ้า นอกจาก(สำเนียงพื้นบ้านนครชุม)
           ถาม๒ นครชุม มีภาษาพูดและสำเนียง เป็นของตนเองหรือครับ
                            ตอบ ๒ ชุมชนนครชุม ของเรา มีหลากหลาย ชาติพันธุ์ ทั้ง พม่า มอญ กะเหรี่ยง จีน ไทย แต่ที่มากที่สุด คือ ลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กว่า ร้อยครอบครัว มาเป็นคนส่วนใหญ่ของนครชุม จ้า (สำเนียงพื้นบ้าน)
                              ถาม๓. ชาวบ้านนครชุม แต่งกายกันแบบที่ท่านกำลังแต่งกันหรือครับ
                               ตอบ ๓ ไม่ใช่หรอกจ้า เฉพาะมีงานเทศกาล เราก็จะแต่งกันแบบนี้เมื่อธรรมตาในวิถีชีวิต ประจำวัน พวกเราก็แต่งตัวกัน เหมือนชาวบ้านทั่วๆไปจ้า (สำเนียงพื้นบ้าน
ข้อที่ ๔  (๓ นาที )
๔ พิธีกร หันมาแนะนำ อ.สันติ อภัยราช ปราชญ์ท้องถิ่นนครชุม
อาจารย์ครับ ที่นครชุม  มีประเพณีท้องถิ่น อะไรบ้างครับ
  อ.สันติ ตอบ ประเพณีที่สำคัญของนครชุมของเราคือ ประเพณี นบ พระบรมธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งกลายมาเป็น ประเพณี นบพระ เล่นเพลง ของจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบันครับ (ขึ้นภาพงานไหว้พระบรมธาตุ ) ๓๐ วินาที พร้อมกับคำตอบ
ถาม การละเล่นท้องถิ่น และ บ้านเรือนโบราณ ที่นครชุม ยังมีอะไรอยู่ บ้างครับ
อ.สันติ เรามีหลักฐาน จากวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นักประพันธ์ ขาวนครชุม  ว่า มีการเข้าทรงแม่ศรี การเล่นช่วงชัย ส่วนในปัจจุบันการละเล่น จะเหมือนภาคกลาง โดยทั่วไป แต่เราก็ฟื้นฟูการละเล่นแบบเก่าๆของชุมชน นอกจากนั้นที่ชุมชนของเรา ยังมีเรือนพื้นถิ่นจำนวนมาก เช่น เรือนพะโป้ เรือนสร่างหม่อง และเรือนของครูมาลัย ชูพินิจ(ขึ้นวิดิทัศน์ ตามเนื้อหา)
ถาม อาหารพื้นถิ่น ของชุมชน ที่สำคัญและไม่เหมือนใคร มีอะไร บ้างครับ
อ.สันติ  เมี่ยงครับ เมี่ยงที่นครชุม ไม่เหมือนที่ใดในประเทศไทย (ฉายภาพเมี่ยง หรือ ห่อมาให้ทดลอง กินกันเลย )
ชุมชนนครขุม ของเรามี มีอัตลักษณ์ของชุมชนที่ โดดเด่น น่าสนใจอย่างยิ่งอยากเชิญชวนให้ทุกท่านมายลวิถีชีวิตผู้คนนครชุม ท่านจะประทับใจอย่างมิรู้ลืม
(ยกมือไหว้ พร้อมกัน  รวมไม่เกิน ๗ นาที)
                                           ............................................









 63 
 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2022, 12:10:08 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
                                                                                             แผนการจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง เสริมสร้างพลัง บ ว ร ต่อต้านการทุจริต ตามแนววิถีพุทธ
และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกต่อต้านการทุจริตตามแนววิถีพุทธ
เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๕.๐๐ น ณ วัดพระบรมธาตุ (พระอารามหลวง) นครชุม กำแพงเพชร
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
วิทยากร
อาจารย์สันติ อภัยราช  โค้ช สตรองจิตพอเพียงต้านทุจริต ป.ป.ช.จังหวัดกำแพงเพชร
 นายอัฒฏวุฒิ  ศรีเทียม  ประธานชมรมสตรอง จิตพอเพียง ต้านทุจริต ป.ป.ช.จังหวัดกำแพงเพชร
นายสายรุ้ง วงศ์สมบูรณ์  เลขาธิการชมรมสตรอง จิตพอเพียง ต้านทุจริต ป.ป.ช.จังหวัดกำแพงเพชร
ขั้นตอนที่ ๑ แนะนำวิทยากร  โดย อ.สันติ อภัยราช  และทีมวิทยากร กล่าวถึงแนวทางเสริมสร้างพลัง บ ว ร ต่อต้านการทุจริต   ตามแนววิถีพุทธ และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกต่อต้านการทุจริตตามแนววิถีพุทธ
 ท่านละ  ๕ นาที     รวมเวลา  ๑๕ นาที
ขั้นตอนที่ ๒  ความหวัง ในการสร้างจิตสำนึก ของประชาชน ในการต่อต้านการทุจริต และจะประสาน           บ้าน วัด โรงเรียน(ที่ทำงาน) ให้ตระหนักได้อย่างไร  ใครมีบทบาทสำคัญที่สุด เน้น ที่ บ้าน  วัด โรงเรียน
โดยอ.สันติ อภัยราช  ๑๕ นาที
ขั้นตอนที่ ๓  แบ่งกลุ่ม ผู้เข้าอบรม  กลุ่มละ ๑๐ ท่าน   (แยกภิกษุ และฆราวาส ) จากกัน หรือตามความเหมาะสม (ถ้ามากกว่าตามความเหมาะสม)
โดยนายสายรุ้ง วงศ์สมบูรณ์  ๕ นาที
ขั้นตอนที่ ๔  หัวข้ออภิปรายกลุ่ม   นายอัฒฎวุฒิ  ดำเนินการ
                    ๔.๑ ปัญหาสังคมไทยกับการทุจริตในอดีต  ปัจจุบัน   อนาคต
                     ๔.๒ การทุจริต ในประเทศไทย มีความหวัง จะลดลงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จะทำด้วยวิธีใด
                     ๔.๓ บ ว ร  คืออะไร จะสามารถ ต่อต้านทุจริตได้หรือไม่ จงอภิปราย
                     ๔.๔ วิถีพุทธ คืออะไร สามารถต่อต้านการทุจริตได้ หรือไม่ เพราะอะไร
                     ๔.๕ ธรรมะ ข้อใดบ้าง ที่มาปรับใช้ เพื่อต่อต้าน การทุจริต
                    ๔.๖ จะมีวิธีการ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อป้องกันการทุจริต ได้ด้วยวิธีใด
                   ๔๗  เราจะสร้างจิตสำนึก ในการป้องกันและต่อต้าน การทุจริต ได้อย่างไร
                    ๔.๘ วิถีพุทธ มีแนวทางอย่างไรบ้าง ในการสร้างสังคมไทย ให้ปลอดการทุจริต
                    ๔.๙ ถ้าสังคมไทย ปลอดการทุจริต ประเทศจะเป็นเช่นไร ให้อภิปราย
                     ๔.๑๐ บ้าน วัด  โรงเรียน  มีการวิธีการ เชื่อมโยง อย่างไร เพื่อป้องกันการทุจริต
 ประชุมกลุ่ม ตามหัวข้อที่ มอบหมาย  (๓๐ นาที) ทุกกลุ่มเสร็จ เรียบร้อย พร้อมรับฟังกลุ่มอื่นๆ (วิทยากรแบ่งรับผิดชอบ)
นำเสนอ หน้าห้องประชุม  กลุ่มละ ๕ นาที  ตามลำดับ หรือ ความเหมาะสม  )นายสายรุ้ง และนายอัฒฏวุฒิ ดำเนินการ)
วิทยากรสรุป  อาจารย์สันติ อภัยราช

                                                              
งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

อุปกรณ์ที่ใช้
      กระดาษ แผ่นใหญ่  ๒๐ แผ่น
     เมจิก      ๒ กล่อง
    
  
         





















 64 
 เมื่อ: มีนาคม 30, 2022, 09:52:55 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
....ท้าวเวสสุวรรณ....
...ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ที่ในภาษาพราหมณ์ เรียกว่า "ท้าวกุเวร" ถ้าในพระพุทธศาสนาจะเรียกว่า"ท้าวไพสพ" เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือ เจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ และเป็นหัวหน้าแห่งยักษ์ทั้งหลาย มีหน้าที่ดูแลให้ความคุ้มครองเทพ
...ในทางพระพุทธศาสนาท้าวเวสสุวรรณเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในการให้ความคุ้มครองพระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในประวัติพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่าท้าวเวสสุวรรณมีส่วนในการกราบทูลพระพุทธเจ้า ให้พระสงฆ์ผู้ออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาลำเนาไพรเจริญพุทธมนต์ เจริญพระปริตรเพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยต่างๆอันอาจจะเกิดขึ้นจากเทพที่มีมิจฉาทิฏฐิ
...ท้าวเวสสุวรรณ เป็นท้าวมหาราชคุมทางด้านทิศเหนือและเป็นประธานของท้าวมหาราชทั้ง ๔ บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ท้าวเวสสุวรรณในสัญลักษณ์รูปยักษ์จะเห็นได้ตามวัด ตามถ้ำ จะมีรูปปั้นยักษ์อยู่ทางด้านหน้าทางเข้า เรามักจะเห็นท้าวเวสสุวรรณในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือไม้เท้าขนาดใหญ่อยู่ระหว่างขาเหมือนมีขาที่ ๓
...เนื่องจากท้าวเวสสุวรรณมีรูปร่างพิการจึงเป็นเหตุให้พระพรหมซึ่งเป็นปู่ตั้งชื่อให้ว่า ท้าวกุเวร ในวรรณคดีหลายฉบับหลายตำราโบราณ ได้กล่าวตรงกันว่าอันที่จริงแล้วท้าวเวสสุวรรณเป็นยักษ์ที่มีผิวกายและพัสตราภรณ์สีเหลืองทอง จิตใจดีงามและอุทิศตนถวายพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนสถานและองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...คนไทยมีความเชื่อกันว่า ผู้ใดห้อยบูชาท้าวเวสสุวรรณ จะบังเกิดโชคลาภมากมาย ร่ำรวยเงินทอง มีกินมีใช้ไม่ขาดแก้ปีชง เสริมปีชง เทพแห่งปีชง ป้องกันภัยจากสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ป้องกันผีทุกตน
...ผีวิญญาณต่างๆไม่กล้ามาทำอันตรายใดๆให้กับคนในครอบครัว ในร้านนั้นๆ เพราะภูติผีปีศาจ ยักษ์ เป็นบริวารท้าวเวสสุวรรณ คนมีลูกเพิ่งคลอด หรือมีเด็กผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะนำผ้ายันต์มาไว้หัวเตียงเพื่อไม่ให้วิญญาณมาแกล้งเด็ก
...จากความเชื่อในข้างต้นทำให้วัดวาอารามต่างๆ สนใจในความศรัทธาของสาธุชน จึงได้สร้างท้าวเวสสุวรรณขึ้นหลากหลายที่ เพื่อเป็นที่สักการะของเหล่าประชาชน เพื่อเป็นศูนย์รวมการทำบุญในท้องที่ ทั้งเป็นการหารายได้เข้าบำรุงพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง แต่สิ่งที่วัดควรจะกระทำ คือ การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับยักษ์ในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏมีในพระไตรปิฎก เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลอย่างถูกต้อง
.........ข้อสันนิษฐาน.........
“…เมืองโกสัมพี สันนิษฐานว่า เป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์ เราได้สำรวจพบ ขวานหิน ในยุคหิน กลางเมืองโกสัมพี จำนวนมาก และอาจเจริญ ก้าวหน้าขึ้นมาเป็น เมืองโกสัมพี ในยุค ทวาราวดี และกลายเป็นเมืองร้าง ในราวพุทธศักราช ๑๘๐๐ และร้างมานาน กว่า ๗๐๐ ปี เมือไปสำรวจ จึงไม่พบสิ่งก่อสร้างใดๆเลย นอกจากกองอิฐกองแลง แร่ตระกรัน จำนวนมากเท่านั้น สิ่งที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่งในนครโกสัมพี คือศาลท้าวเวสสุวรรณ คุณบรรจบ สืบมี ผู้ใหญ่บ้าน บ้านคลองเมือง พาเราชมรายละเอียดของ เมืองโกสัมพี ท่านสันนิษฐานว่าศาลท้าวเวสสุวรรณอาจ จะเป็นหลักเมือง ของเมืองโกสัมพี ในสมัยโบราณ ปัจจุบัน ยังมีผู้คนกราบไหว้มิได้ขาด เมืองเป็นรูป วงรี คล้ายกับเมืองไตรตรึงษ์ มีคันดิน และคูเมือง โดยรอบ ยังมีหลักฐานให้เห็นรอบเมือง ลักษณะเมืองตั้งอยู่บนเนินเขา ริมน้ำปิงมี คลองเมือง เป็นคูเมืองด้านเหนือ นับว่านครโกสัมพี มีชัยภูมิที่เหมาะในการรักษาเมืองจากผู้รุกราน
และข้าศึกมิอาจเข้ามาใกล้ได้ มีหน้าผาที่สูงชัน มีน้ำเข้าไปเลี้ยงเมืองตลอดทั้งปี…” บันทึกโดยนายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
……..ความเป็นมาของศาลท้าวเวสสุวรรณ........
...จากคำสัมภาษณ์ นายบรรจบ สืบมี อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมูที่ ๓ บ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ได้ความว่า “…ศาลท้าวเวสสุวรรณสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนที่ผมจะเกิด ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ แน่นอน เคยเป็นศาลไม้ ได้รับการบูรณะใหม่ในสมัยนายจำรัส กังน้อย อดีตนายอำเภอโกสัมพีนคร ช่วงปี ๒๕๔๗ - ๒๕๔๘ กลายเป็นศาลปูนแบบที่เห็นในปัจจุบัน ชาวบ้านแถวนี้ให้ความเคารพนับถือมากในบางปีจะมีการจัดการทำบุญขึ้นที่ศาลเพราะเชื่อว่าเป็นทั้งหลักเมือง เป็นทั้งเทพที่ดูแลเมืองโกสัมพีนครแห่งนี้ เวลาข้าราชการประจำอำเภอย้ายมาก็ไม่พ้นที่จะต้องมาสักการะศาลท้าวเวสสุวรรณแห่งนี้ก่อนถึงจะเข้าทำงานได้ จากคำบอกเล่าของคนแก่ในหมู่บ้านนี้บอกอีกว่าบริเวณข้างบนนั้นเคยเป็นเจดีย์เก่า…”
......คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ......
...จุดธูป ๙ ดอก ดอกกุหลาบแดง ๙ ดอก ตั้งนะโม ๓ จบ ระลึกถึงคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์
…“อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ”
...เชื่อกันว่าสวด ๙ จบ จะทำให้จะบังเกิดโชคลาภมากมาย ร่ำรวยเงินทอง มีลาภยศ สรรเสริญ
...พุทธศาสตร์ ตั้งต้นด้วยปัญญาไสยศาสตร์ ตั้งตนด้วยความเชื่อ จาก พุทธทาสภิกขุ

ข้อมูลจาก
นายสันติ  อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
นายรุ่งเรือง สอนชู ปราญช์ท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชร
นายบรรจบ สืบมี อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๓ บ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนครกำแพงเพชร
จัดทำโดย / เรียบเรียง นายยุทธนา ทองดี

 65 
 เมื่อ: มีนาคม 29, 2022, 08:06:23 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
                                 สัญญาเลขที่  YRNH KP 002
                           

โครงงานยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

โครงงาน   การเปลี่ยนแปลงชุมชนริมฝั่งแม่น้ำปิง  จากบ้านปางฝรั่งสู่บ้านเทพนคร
โรงเรียนบ้านเทพนคร   
สำนักงาเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1



ครูที่ปรึกษา      นายรุ่งเรือง   สอนชู

คณะผู้วิจัย

1.  เด็กหญิงณัฐฐาภรณ์  คำลือ                   2.   เด็กชายสายชล   พันพุก
                     3.  เด็กหญิงลัดดาวัลย์  ศิริเขิน                  4.    เด็กหญิงสาวิตรี   สิงห์เถื่อน
         5.  เด็กหญิงรุ่งฟ้า   จันทร์ศรีสุราษฎร์       6.     เด็กหญิงศุภนิดา  ทองปรอน
                     7.   เด็กหญิงนิภาพร   จำปาแดง                8.  เด็กชายหรรษา   แก้วหรั่ง
                     9.  เด็กชายชุมพล   เจริญรักษ์                  10.   เด็กชายสมเจตต์   มีมุข
                   11.  เด็กชายณัฐชัย   มาลาวงค์                   12.    เด็กชายรัชพล   สุดสี
                   13.  เด็กชายกรกต   ชิตอุทัย                       14.   เด็กชายอนุชา   แพรน้อย

พฤศจิกายน     พ.ศ. 2552


สนับสนุนโดย   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
โครงการ ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ


คำนำ

          โครงการ “การเปลี่ยนแปลงชุมชนริมฝั่งแม่น้ำปิง จากบ้านปางฝรั่งสู่บ้านเทพนคร” จัดทำขึ้นเพื่อให้รู้ถึงเรื่องราวของหมู่บ้านดั้งเดิมเมื่อ 80  ปีที่ผ่านมา ซึ่งเคยเรียกว่า “บ้าปางฝรั่ง” หรือ “บ้านปางหรั่ง” ซึ่งเป็นป่าดงมาก่อนจนมาเป็นสถานที่ที่มีความเจริญดังปัจจุบันนี้  ได้กล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน   การโยกย้ายของประชาชน   การศึกษา  ศาสนา  อาชีพและอื่น ๆ
                  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนี้ ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลต่าง ๆ  ที่ให้ข้อมูลและที่สำคัญในการร่วมกันเก็บข้อมูล คือยุววิจัยจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 โรงเรียนบ้านเทพนคร  จำนวน
ทั้งหมด  14   คน  ซึ่งต้องใช้เวลาตั้งแต่เตรียมตั้งคำถาม ข้อเสนอแนะ และการออกเก็บข้อมูลเพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดแล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวให้ผู้อ่านได้รับรู้
                  โครงการนี้ต้องขอขอบคุณที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการการวิจัย  สำนักงานโครงการ ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ  และคณาจารย์ทุกท่านที่รับผิดชอบได้ช่วยเหลือให้คำแนะนำมาโดยตลอด จนได้เป็นเอกสารเล็ก ๆ  เล่มนี้ขึ้นมาได้
                    หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใฝ่รู้   ทราบถึงเรื่องราวที่ผ่านมาเป็นเวลาหลายปีที่ไม่มีใครได้จัดทำเรื่องราวเก็บไว้เลย

                                                                                            รุ่งเรือง  สอนชู
                                                                               ครูชำนาญการ   โรงเรียนบ้านเทพนคร
                                             สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร  เขต  1
                                     ครูที่ปรึกษาโครงการ












หมู่ที่ 3,4,5,9  และ 15  ตำบลเทพนคร   อำเภอเมือง   จังหวัดกำแพงเพชร
            หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เคยเรียกในยุคแรกว่าบ้านปางฝรั่ง   อยู่ในบริเวณเมืองโบราณเทพนคร  แม้จะมีระยะทางห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรเพียงประมาณ 10  กิโลเมตร  แต่เมื่อนับเวลาย้อนกลับไปก่อน 80  ปีที่ผ่านมา มีสภาพเป็นป่าทึบที่ไม่มีคนอาศัยอยู่  มีถนนลัดเลาะไปกับริมแม่น้ำปิงถึงกลุ่มหมู่บ้านอื่นใช้ผ่านไปมาหาสู่กันเป็นพียงทางเดินและทางเกวียนเท่านั้น   ทางน้ำอาศัยเรือรับส่งผู้โดยสารและค้าขาย 
             เมื่อชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาใช้ที่ดินในการทำนา   จึงเริ่มเกิดเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ และแผ่ขยายออกไปในระยะหลัง  เมื่อเวลาผ่านไปทำให้สถานที่   ประชากร  ถนนหนทาง  การทำมาหากินและอื่นๆได้เปลี่ยนแปลงไป  การทำนาที่ใช้วัวควายได้เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์  แต่ก่อนเมื่อถึงวัยเข้าเรียนหนังสือก็จะเรียนภายในหมู่บ้าน เมื่อถนนเจริญขึ้น ก็พาลูกหลานไปเรียนในเมืองอาชีพดั้งเดิมคือการ
ทำนา  ปัจจุบันประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรได้เปลี่ยนอาชีพเป็นอย่างอื่น 
         วิถีชีวิตของคนปางฝรั่ง จากอดีตถึงปัจจุบันพอจะแบ่งออกเป็น 3 ยุคดังนี้
     ยุคที่ 1  จากสภาพป่าดงดิบถึงยุคทุ่งโล่งที่กว้าง
                 ใหญ่
     ยุคที่ 2   เมื่อฝรั่งไปคนไทยก็เข้ามา
     ยุคที่ 3  ได้ของเล่นใหม่อะไรก็เปลี่ยนแปลง
ยุคที่ 1  จากสภาพป่าดงดิบถึงยุคทุ่งโล่งที่กว้างใหญ่ ( ฝรั่งเข้ามาอยู่ พศ.2474-98)                                                                 
                                                                                                                 ภาพที่ 1  ภาพที่แสดงถึงอาณาเขตบ้านปางฝรั่ง
              ยายอินทร์  พลขันธ์ (2552, ตุลาคม ) ขณะนี้มีอายุ 82 ปี   ได้ย้ายตามพ่อซึ่งมาทำงานอยู่กับนาย เค.จี. แก๊ตเนอร์ และภรรยา คือนางเจียม  แก๊ตเนอร์  ตั้งแต่ ปี พ.ศ.  2474   ได้เล่าว่าหมู่บ้านเดิมที่เรียกว่า บ้านปางฝรั่ง หรือ บ้านปางหรั่ง มีพื้นที่ครอบคลุม ของ 5  หมู่บ้านในตำบลเทพนครในปัจจุบันนี้คือ หมู่ที่ 3  บ้านไร่ที่ 15  บ้านศรีนคร  หมู่ที่ 4  บ้านเทพนคร
 หมู่ที่  5   บ้านท่าตะคร้อ  และหมู่ที่ 9  บ้าน โคนเหนือ
               ก่อนเป็นบ้านปางฝรั่ง หรือปางหรั่ง นั้นนาย เค. จี. แก๊ตเนอร์
 เป็นคนเชื้อชาติอังกฤษ สัญชาติไทย ซึ่งเคยรับราชการประจำกรมแผนที่                   ภาพที่ 2  ยายอินทร์ (สอนไว) พลขันธ์
หลังจากลาออกจากราชการแล้ว ได้เป็นผู้จัดการบริษัทบอมเบย์ค้าไม้ สาขาตากจึงมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างดี  พบว่าบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่ม แถบบริเวณแม่น้ำจะเป็นป่าไม้สัก  เมื่อห่างออกจากแม่น้ำปิงออกไปจะเป็นป่าโปร่ง  เช่นไม้เต็ง  รัง ไม้เชือก  ที่ดินแถบนี้จึงเหมาะแก่การทำนา   
                   นาย เค. จี. แก๊ตเนอร์  เป็นคนเชื้อชาติอังกฤษ สัญชาติไทย ซึ่งเคยรับราชการประจำกรมแผนที่       หลังจากลาออกจากราชการแล้ว ได้เป็นผู้จัดการบริษัทบอมเบย์ค้าไม้ สาขาตากจึงมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างดี  พบว่าบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่ม แถบบริเวณแม่น้ำจะเป็นป่าไม้สัก  เมื่อห่างออกจากแม่น้ำปิงออกไปจะเป็นป่าโปร่ง  เช่นไม้เต็ง  รัง ไม้เชือก  ที่ดินแถบนี้จึงเหมาะแก่การทำนา
ต่อมาได้จ้างชาวบ้านจากเชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง  และจังหวัดตาก เพิ่มเติมขึ้น  โดยจัดสร้างที่อยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ของหมู่  4  และหมู่ 15 ในปัจจุบันนี้ ได้จัดตั้งฟาร์มเลี้ยงหมูเล็ก ๆขึ้น  นาย  เค. จี.   ได้นำเครื่องจักรกลจากประเทศ อังกฤษมาใช้งาน เช่น รถไถนา   เครื่องจักรไอน้ำสำหรับสำหรับใช้สูบน้ำเข้านา  นวดข้าว สีข้าว  รถบรรทุก  เครื่องปั่นไฟฟ้า ทำให้การทำนาได้ผลดี  มีชาวนาจากถิ่นอื่นย้ายครอบครัวมาเช่านาของ นาย เค. จี.  เพิ่มมากขึ้น ทำให้ป่าดิบที่ไม่มีคนอาศัยกลายเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชาวบ้านจากหมู่อื่นๆได้เรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “บ้านปางฝรั่ง” หรือ “บ้านปางหรั่ง”   จนทำให้เกิดเป็นชื่อของหมู่บ้านต่อมา                                ภาพที่  4  เครื่องจักไอน้ำอเนกประสงค์  ใช้รูดข้าว  ดึงน้ำลงนา สีข้าว และอื่น ๆ
                 การทำให้ป่าโล่งเตียนนั้น    ”
 ต้องอาศัยคนงานเป็นหลัก  ใช้เลื่อยตัดไม้ลง
 ไฟ   จุดเผาต้นและตอ  ตอเล็ก ๆ  ใช้จอบ เสียมขุดออก   ในการไถนานอกจากเครื่องยนต์ที่นำมา   ใช้ในการทำ นาแล้ว ยังใช้วัว และควายเป็นส่วนใหญ่  มีควายฝูงใหญ่หลายฝูงเรียงรายอยู่ริมแม่น้ำ มีคนงานดูแล   บริเวณริมแม่น้ำหลายแห่งมักเรียกกันจนถึงวันนี้ว่า “ท่าควาย”                                                                                           ภาพที่  5   รถไถนาของนาย เค.จี.
            นายจรัส  อิ่มแสง อายุ   (2552,ตุลาคม, )   อายุ  63 ปีซึ่งเกิดในหมูบ้านแห่งนี้ได้เล่าว่า  เขตที่นาของนายเค.จี. แก๊ตเนอร์  กว้างขวางมาก  ไม่สามารถจะทำได้ทั้งหมด  จึงได้แบ่งนาให้ชาวบ้านเช่า  และยังให้เช่าวัว และควายในการทำนาด้วย  ค่าเช่านาโดยใช้วัวและควายนั้นคิดเป็นข้าวเปลือก  ค่าเช่านาคิดเป็นหนึ่งในสามของข้าวเปลือกที่ได้ ค่าเช่าวัวและควายตัวละ  50 ถังต่อปี ส่วนค่าเช่านาคิดหนึ่งในสามของข้าวเปลือกที่ได้   ภาพที่ 6  นายจรัส  อิ่มแสง
             การทำนาของนาย เค.จี. แก๊ตเนอร์  ในสมัยนั้น  ยังใช้เครื่องมือแบบดั้งเดิม   เมื่อถึงฤดูทำนา  มีการเพาะกล้า ใช้วัวและควายไถนาทำเทือก  ถอนต้นกล้ามาปักดำ  แต่บางแห่งก็ใช้หว่านตากแห้งเพื่อรอฤดูฝนใหม่     เนื่องจากสภาพของดินยังอุดมสมบูรณ์มาก  จึงไม่มีการใสปุ๋ย  ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงดังปัจจุบันนี้  ทำนาเพียงปีละครั้งที่    เรียกว่านาปี  เมื่อข้าวแก่ก็เกี่ยวข้าว ตากลายทิ้งไว้ประมาณ  3  วันใช้ตอกมัด  นำมารวมกองไว้เพื่อนวด  พื้นที่การทำนากว้างขวางมาก นอกจากจะใช้การนวดข้าวโดยใช้เครื่องไอน้ำนวดข้าวที่นำมาจากประเทศอังกฤษทีซึ่งชาวบ้านเรียกว่า สตรีม แล้ว ยังต้องใช้วัวควายเป็นส่วนใหญ่   ใกล้แม่น้ำได้สร้างฉางเก็บข้าวเปลือกไว้หลายแห่ง  เหตุที่สร้างใกล้กับแม่น้ำเพื่อให้ง่ายต่อการขนข้าวลงเรือ  เมื่อถึงฤดูน้ำมาก จะมีพ่อค้าข้าวมาหาซื้อ เพราะแต่เดิมนั้นต้องอาศัยทางเรือในการค้าขาย ไม่มีการค้าขายทางรถยนต์  จะมีเรือขึ้นล่องเพื่อค้าขาย เช่น กะปิ  มะพร้าว   เกลือ น้ำปลา และอื่นๆ
                   อาชีพของชาวบ้านนั้นมีเพียงอย่างเดียวคือการทำนา  ไม่มีอาชีพอย่างอื่น  แม้แต่จะมีอาชีพรับจ้าง แต่ก็รับจ้างในส่วนที่เป็นนาของนาย เค.จี. แก๊ตเนอร์ เท่านั้น ได้แก่ รับจ้าง เลี้ยงวัวควาย  เลี้ยงหมู  ไถนา   เกี่ยวข้าว  นวดข้าว  หาบข้าวขึ้นเรือ ตัดไม้พืนเพื่อใช้กับเครื่องจักรไอน้ำ 
                   การศึกษาในช่วงแรกที่บ้านปางฝรั่งนั้น
ลุงโต    แสงโฉม  (2552,ตุลาคม)  อายุ 84 ปี   ได้ตามพ่อซี่งมารับจ้างทำงานกับนาย เค.จี. แก๊ตเนอร์ ขณะทีมีอายุประมาณ 7-8 ขวบ   ก็ยังไม่มีโรงเรียนให้ลูกชาวนาที่มาทำงานได้เรียนหนังสือด้วยความรักเด็กๆ นาย เค.จี. แก๊ตเนอร์ ได้จ้างผู้ที่มีความรู้มาสอน หนังสือเพียงอ่านออกเขียนได้อยู่ระยะหนึ่ง   เมื่อ   ถึงปี พ.ศ. 2482   กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดโรงเรียนขึ้นใหม่โดยอาศัยโรงอาหารของนาย เค.จี. เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ตั้งชื่อ   ภาพที่ 7  ลุงโต แสงโฉมบัว กำลังเล่าเรื่องให้หลาน ๆ ฟัง
โรงเรียนว่า “โรงเรียนประชาบาล  ตำบลคณฑี 3 ฟาร์มวังพระธาตุ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนบ้านเทพนคร” เมื่อปี พ.ศ. 2486  นักเรียนชุดแรกที่เข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้มีประมาณ  10 กว่าคน มีอายุที่ไม่เท่ากัน  นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่  1 รุ่นแรกนั้น มีอายุประมาณ 7 ปี ถึง 14  ปี ลุงโตเมื่อเรียนจนจบชั้ประถมศึกษาปีที่ 4  มีอายุมากที่สุดคือ 17  ปี เมื่อเรียนจบแล้วก็เข้ารับจ้างทำงานได้                                                             
                ลุงสนิท   ศิลารักษ์ (2552,ตุลาคม,)  อายุ 82 ปี บ้านเดิมอยู่ในเมืองกำแพงเพชรและได้ย้ายตามพ่อซึ่งมาทำงานอยู่กับ นาย เค.จี. อายุประมาณ 10 ขวบ   ขณะที่เป็นเด็กชอบหาปลา    เมื่อโตขึ้นก็รับจ้าง ทำงาน เคยทำหน้าที่ขับรถไถนา  ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่  2    ลุงสนิทเล่าว่าทหารของญี่ปุ่นประมาณ 200 กว่านายได้ใช้แพล่องลงมาแล้วค้างที่เกาะ ชาวปางฝรั่งได้พูดคุยเป็นกันเองกับทหารชาวญี่ปุ่น  ให้อาหาร ผลไม้  กลางคืนจัดงานสนุกสนาน  ตอนเช้าล่องไปทางไต้                                                                ภาพที่  8   ลุงสนิท  ศิลารักษ์  เล่าเรื่องทหารญี่ปุ่น

             ลุงแฟง   จันทร์ศรีสุราษฎณ์   ( 2552,ตุลาคม)  อายุ  73 ) ปีย้ายมาอยู่เมื่อปี พ.ศ. 2493   ยังไม่มีวัด  เมื่อเป็นวันพระ หรือวันสำคัญต้องข้ามแม่น้ำไปวัดท้ายเกาะ และวัดวังพระธาตุ   พิธีการเผาศพทำแบบง่าย ๆ  ไม่มีป่าช้า  จะทำที่ไหนก็ได้   งานประเพณีต่าง ๆ เช่นงานสงกรานต์  งานลอยกระทง        ก็คล้ายกับแหล่งอื่น ๆ    แต่ประเพณีที่ต่างไปจากหมู่บ้านใกล้เคียงก็คือ งานคริสต์มาส  นาย เค.จี. จัดงานเลี้ยงให้กับคนงานและเด็ก ๆ  มีการแจกของ เช่นเสื้อผ้า   ขนม  อาหาร
                 ด้านสาธารณสุขในยุคนั้น  ยังยึดถือแบบโบราณ เมื่อเจ็บป่วยก็ใช้ยาสมุนไพร  การคลอดบุตรยังใช้หมอตำแยเป็นที่พึ่ง ไม่นิยมที่จะไปรักษาที่โรง
พยาบาล  แม้แต่โรงพยาบาลขณะนั้นก็ยังไม่สมบูรณ์  สาเหตุที่ไม่ไปโรงพยาบาลนั้น  ส่วนหนึ่งเพราะยังไมถนน  ไม่มีรถยนต์แต่อย่างใด                                  ภาพที่  9  ลุงแฟง  จันทร์ศรีสุราษฎร์  ให้ข้อมูลนักเรียน
                  เอกสาร  สำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ   สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร (2544)
  ได้บันทึกว่า ปี พ.ศ. 2498   นายเค.จี. แก๊ตเนอร์   ได้ขายที่ดินพร้อมทั้งอาคารและเครื่องจักรกลทั้งหมดให้กับกรมสหกรรณ์ที่ดิน 
                 ลุงโต  แสงโฉม เล่าว่า เมื่อขายที่ดินแล้ว นายเค.จี. แก๊ตเนอร์  พร้อมครอบครัวได้ย้ายกลับไปอยู่ที่กรุงเทพฯ  ย่านสีลม  มีคนไทยตามไปอยู่ด้วย คือ  ลุงโต  แสงโฉม  ไปทำหน้าที่ขับรถ   ลุงปัน  ทองปรางค์(ลูกของนายอยู่  ทองปรางค์ ซึ่งมาจากจังหวัดตากพร้อมกับ นาย เค.จี.แก๊ตเนอร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474)  มีหน้าที่เป็นพ่อครัวประจำตระกูล   ประมาณ  10 ปี ทั้งสองได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านเทพนคร

ยุคที่ 2   เมื่อฝรั่งไปคนไทยก็เข้ามา (พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2515)
                  เนื่องจากกรมส่งแสริมสหกรณ์ ขณะนั้นคือ กรมสหกรรณ์ที่ดิน   (เอกสารสรุป  นิคมสหกรณ์วังพระธาตุ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร 2544)   มีนโยบายที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีแต่ไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ  ให้มีที่ดินทำกินและอยู่อาศัยเป็นของตนเองตลอดจนได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น   
                  ปี พ.ศ. 2498  กรมสหกรณ์ที่ดินโดย น.ท. พระเทวัญ  อำนวยเดช  ได้จัดซื้อที่ดินจากนาย เค.จี.  และนางเจียม  แก๊ตเนอร์  ที่เรียกว่า บ้านปางฝรั่ง  จำนวน 3,065 ไร่ 1  งาน  67 ตารางวา พร้อมทั้งอาคารและเครื่องจักรกล  ด้วยเงินงบประมาณ  1,064,324,.38   บาท(หนึ่งล้านหกหมื่นสี่พันสามร้อยยี่สิบสี่บาทสามสิบแปดสตางค์)   นอกจากจะซื้อแล้วยังได้ทำการบุกเบิกที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า หัวไร่ ปลายนา  เพิ่มขึ้นอีก  จึงมีพื้นที่รวมทั้งหมดจำนวน 3,555 ไร่ 2  งาน 81 ตารางวา   
              วันที่  27  พฤศจิกายน พ.ศ.  2499  กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จดทะเบียนสหกรณ์ขึ้น 4  แห่ง ในเขตพื้นที่เดิมที่ซื้อที่ดินทั้งหมดจาก นายาเค.จี. และนางเจียม  แก๊ตเนอร์ คือ
1.   สหกรณ์เทพนคร ไม่จำกัดสินใช้ (หมู่ที่ 15  บ้านศรีนครในปัจจุบันนี้) 
2.   สหกรณ์ไทรงาม ไม่จำกัดสินใช้(หมู่ที่ 4  บ้านเทพนคร ในปัจจุบันนี้) 
3.   สหกรณ์อู่ทอง  ไม่จำกัดสินใช้(หมู่ที่ 9 บ้านโคนเหนือในปัจจุบันนี้)   
4.    สหกรณ์กระทุ่มทอง  ไม่จำกัดสินใช้ (หมู่ที่ 9 บ้านโคนเหนือในปัจจุบันนี้)   
มีสมาชิกแรกตั้ง 101  ครอบครัว  โดยได้รับจัดสรร
ที่ดินทำกินตามกำลังความสามารถเฉลี่ยครอบครัวละ  30 ไร่เศษ  รวมที่ดินจัดสรร  3,225 ไร 35  ตารางวา ที่เหลือกันไว้เป็นที่สาธารณะต่าง ๆ
                    ในวันที่ 1 กรกฏาคม  พศ. 2501  “หน่วยจัดตั้งสหกรณ์ที่ดิน ฟาร์มวังพระธาตุ“ ยกฐานะขึ้นเป็น
“ที่ทำการ ที่ดินสหกรณ์ที่ดินวังพระธาตุ”  ปัจจุบันได้เปลี่ยน      ภาพที่ 10  สำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ 
ขึ้นเป็น“สำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ”
           หลังจากที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เริ่มดำเนินการจัดสรรที่ดินให้กับครอบครัวแก่ผู้ที่ไม่มีที่ทำกินแล้ว  นายวีรยุทธ  แสนบุญมา (2552,ตุลาคม,)  อายุ  60  ปี ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดที่บ้านปางฝรั่ง ได้เล่าว่า  มี ชาวบ้านจากต่างจังหวัดย้ายมาอยู่ที่บ้านฝรั่งเป็นจำนวนมาก จากจังหวัดอุทัยธานี  ชัยนาท   นครสวรรค์  และ ตาก    เพื่อมาจับจองในรูปแบบของการเช่าซื้อ  เมื่อครบ       กำหนด 15 ปีแล้วจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน  ผู้ที่ จะมาเช่าซื้อจะต้องสมัครลงทะเบียนเป็นสมาสหกรณ์ก่อน  ในครั้งแรกค่าหุ้นๆละ 10  บาท
                  นอกจากจะดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์แล้ว  ยังได้ดำเนินการ เพื่อสมาชิกอีกมากมาย จากบันทึกประวัติการทำงานของอดีตหัวหน้าสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร (เสียชีวิตแล้ว)  คือ นายส่าง  จิตต์อารี   เมื่อ   พ.ศ. 2501  ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติ         
หน้าที่ หัวหน้าสำนักงานนิคมสหกรณ์ วังพระธาตุ                              ภาพที่  11  นายวีรยุทธ    แสนบุญมา
จนถึง พ.ศ. 2507  ได้พัฒนาในอาณาเขตของสหกรณ์
มากมาย ได้แก่           
           1.  จัดที่ดินให้สมาชิกสหกรณ์เพิ่มเติมขึ้น
                2.  ก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานและงาบริหารสาธารณะ เช่น ก่อสาร้างถนนสายใหม่จากบ้านโขมงหักถึงบ้านโคนใต้ ระยะทางประมาณ 15  กิโลเมตรโดยใช้รถแทรกเตอร์และเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน  ถนนซอยในหมู่บ้าน ดำเนินการขุดคลองส่งน้ำพร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำปิงกระจายให้พอเพียงแก่ชาวนา  ขุดบ่อน้ำตื้น  วางท่อระบายลอดถนน  ขุดสระน้ำสาธารณะ  สร้างประตูบังคับน้ำ
              3. งานส่งเสริมสหกรณ์  มีสหกรณ์ที่อยู่ในความแนะนำ  จำนวน 1  สหกรณ์ คือ เดิมชื่อ“  สหกรณ์ที่ดินวัง พระธาตุ จำกัด” และครั้งหลังสุดได้      เปลี่ยนเป็น   “สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน วังพระธาตุ   จำกัด”                       ภาพที่  12   นายส่าง   จิตต์อารี
            4.   งานส่งเสริมอาชีพและการตลาด  โดยได้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ
เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ ประมงอำเภอ   ส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกสหกรณ์ เช่นการเลี้ยงปลา  ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรในครัวเรือนและชนบท
                      ในช่วงระยะที่นายส่าง   จิตต์อารี  เข้ามาดำรงตำแหน่ง  หัวหน้านิคมสหกรณ์ วังพระธาตุ  ในปี  พ.ศ. 2501 – 2507  นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีชีวิตของชาวบ้านปางฝรั่งอย่างมากมาย
                        การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านเดิมอยู่ในฐานะผู้รับจ้าง และมีบางส่วนเป็นผู้มาเช่านา  กระจายออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มก็อยู่ห่างกัน  หลังจากที่ นายหัวหน้าสำนักงานเข้ามาบริหารแล้ว  มีถนนที่สามารถจะเดินทางจากบ้านปางฝรั่งถึงเมืองกำแพงเพชรด้วยรถยนต์ได้บ้างแล้ว  ชาวบ้านก็เริ่มย้ายครอบครัวมาสร้างใหม่อยู่ริมถนน เริ่มเป็นหมู่บ้านเล็กๆ และขยายเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังเรียกบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “ปางฝรั่ง” หรือ “ปางหรั่ง”   ตามระเบียบของกรมการปกครอง  เมื่อแต่ละกลุ่มหมู่บ้านมีประชากรมากขึ้นตามตัวเลขที่กำหนดก็ให้แยกหมู่บ้านออกแล้วตั้งเป็นหมู่ใหม่ขึ้น  ทำให้อาณาเขตบ้านปางฝรั่งที่มีพื้นที่นาประมาณ สามพันกว่าไร่ ต้องแยกออกเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ  ได้ทั้งหมด 4   หมู่บ้าน จนกระทั่งผู้ใหญ่บ้าน นายคมศักดิ์  พลขันธ์ (สามีของยายอินทร์  พลขันธ์) ตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมและสอดคร้องกับชื่อของโรงเรียน จาก “ปางฝรั่ง”เป็น บ้านเทพนคร  ตำบลคณฑี  เมื่อปี พ.ศ. 2500-2501    แต่ ก่อนที่ผู้ใหญ่คมศักดิ์  พลขันธ์  จะเปลี่ยนเป็น บ้านเทพนคร นั้น ยายอินทร์  พลขันธ์  เล่าว่า นาย เค.จี. แก๊ตเนอร์  ได้เขียนและพูดไว้นานแล้วว่าให้เรียกชื่อ “บ้านเทพนคร”     เมื่อตั้งชื่อเป็นบ้านเทพนครแล้ว บ้าน “ปางฝรั่ง”  หรือ “บ้านปางหรั่ง” ก็ค่อยๆ หายไป  แต่คนในยุคแรกก็ยังมีอยู่บ้างที่เรียกปางฝรั่ง
                       เมื่อชาวบ้านได้ย้ายมารวมเป็นกลุ่มก็เริ่มมีตลาด  ร้านค้าเกิดขึ้นในหมูบ้าน   อาชีพทีเคยเพียงรับจ้างทำนาก็เริ่มมีอาชีพอื่นเพิ่มขึ้น  สามารถที่จะไปรับจ้างทำงานในตัวเมืองเพราะมีถนน  มีอาชีพค้าขายในหมู่บ้านโดยไปนำสินค้าจากตลาดในเมืองมาจำหน่ายได้    เริ่มอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่  เมื่อได้ขนาดก็มีพ่อค้ามาหาซื้อถึงบ้าน
                    หนังสือประวัติของโรงเรียนบ้านเทพนคร  ก่อตั้งในช่วงที่ นาย เค.จี. แก๊ตเนอร์  ยังเป็นเจ้าของที่ดิน  เมื่อปี วันที่ 23  มิถุนายน  พ.ศ. 2482  โดยอาศัยโรงครัวเป็นอาคารเรียนชั่วคราว  ริมแม่น้ำปิง และต่อมาก่อสร้างเป็นหลังคาแผกในที่เดิม 
                        ในปี พ.ศ. 2502  นายส่าง  จิตต์อารี  หัวหน้าสำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ ได้จัดแบ่งที่ดินซึ่งเป็นที่ราชพัสดุจำนวน  35 ไร่  2 งาน  17 ตารางวา ให้เป็นที่ก่อสร้าง โรงเรียนบ้านเทพนคร    พร้อมช่วยกันก่อสร้างอาคารเรียน  1   หลัง    พร้อม  เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  4   จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512  ได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นปีที่ 5 และ      ถึงชั้นปีที่ 6 และ7 ในปีที่ต่อๆมา   ผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7  ไปเรียนต่อระดับมัธยมในตัวเมืองกำแพงเพชร
                      จากหนังสือประวัติของวัดเทพนคร  ปัจจุบันตั้งอยู่หมู่ที่ 4  บ้านเทพนคร  ตำบลเทพนคร   
อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  เริ่มก่อตั้งและสร้าง                                ภาพที่ 13  โรงเรียนบ้านเทพนคร                                                                                                                                                                                                                                                   เป็นสำนักสงฆ์ ปี พ.ศ.  2506  โดย นายส่าง  จิตต์อารี  ได้เชิญชวนประชาชนให้สร้างวัดเพื่อให้เป็นของหมู่บ้านเทพนคร  นายคมศักดิ์   พลขันธ์  ผู้ใหญ่บ้านได้บริจาคที่ดิน ประมาณ  25  ไร่ ให้ใช้เป็นที่สร้างวัด
 ปี พ.ศ.  2513  นายหีบ  เซ็นน้อย  ได้ยื่นเรื่องขอสร้างวัด และได้รับอนุญาตให้เป็นที่ถูกต้องในวันที่  30  มิถุนายน  พ.ศ. 2513                                     
                         เมื่อเริ่มสร้างสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. 2506                         ภาพที่    14      วัดเทพนคร               
 ลุงสำเภา  เซ็นน้อย  (2552,ตุลาคม)เป็นผู้ร่วมกับชาวบ้าน             
ได้ทำการขุดย้ายพระพุทธรูปจากวัดร้างคือ”วัดผักหอม”     
ปัจจุบันอยู่ในเขตหมู่ที่ 3  บ้านไร่ ตำบลเทพนคร เล่าให้ฟังว่า พระพุทธรูปทั้งสององค์ตั้งอยู่บนฐานซึ่งเชื่อว่าเป็นฐานของโบสถ์   พระพุทธรูปทั้ง 2  องค์ทำด้วยศิลาแรง  มีลักษณะที่ไม่สมบูรณ์  พระเศียร  พระศอ  และพระกร  หักออกไปทั้งหมด  จ้างนายช่างทวี  แย้มละมัย  มาทำการต่อเติมจนสมบูรณ์  เรียกชื่อพระพุทธรูปว่า   พระสองพี่น้อง  พร้อมทั้งสร้างพระวิหารด้วย                                                                ภาพที่  15 พระพุทธรูปสองพี่น้อง
                       ตาสุพจน์  สิญจวัตร  (2552,ตุลาคม) อายุ  71 ปี ได้ย้ายมาจากอุทัยธานีเมื่อปี พ.ศ. 2506  มาเช่าซื้อนา  วิธีการทำนายังต้องเป็นแบบเดิม   ใช้วัวควายเป็นหลักในการทำนา  ยาและปู๋ยที่ใช้ก็ยังไม่มี  การทำนาบางแห่งที่ส่งน้ำไปถึงเริ่มมี 2  ครั้ง  ซึ่งเรียกว่านาปีและนาปัง   การเกี่ยวข้าว  นวดข้าว  ในระยะแรกก็ยังไม่มีเครื่องจักรกลมาใช้   แต่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2513-2514  เริ่มมีรถไถนาเล็ก ชาวบ้านมักเรียกว่า รถต๊อก ๆ หรือรถอีแต๋น  มีการขายวัวควายที่เคยใช้มาแล้วนำเงินนั้นไปซื้อ                      ภาพที่ 16   ลุงสุพจน์  สิญจวัตร   การทำนายุค 2
รถไถนาแทน                                                                         
                   เมื่อมีถนนเกิดขึ้น มีวัด มีโรงเรียน  ประเพณีเริ่มที่จะเพิ่มเติมขึ้นเช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่น เช่น วันมาฆะบูชา  ตรุษจีน วันสงกรานต์ วันวิสาขบูชา วันเข้าปุริมพรรษา เทศกาลบุญมหาชาติ  งานลอยกระทง  และการละเล่นพื้นบ้าน 
                   เมื่อเจ็บป่วยในสมัยนี้  ยายสะอาด  จันทร์ศรีสุราษฏร์  (2522,ตุลาคม) อายุ  68   ปี เล่าว่าการเจ็บบ่วย  คลอดลูกเริ่มที่จะไปโรงพยาลแล้ว  แต่หมอตำแยและยาสมุนไพรก็ยังใช้อยู่เป็นบางส่วน
                   ประเพณีที่ต่างไปจากหมู่บ้านอื่น คือการทำขวัญข้าว  ตั้งแต่ข้าวเริ่มตั้งท้อง  ทำขวัญตอนนวดข้าวและแม้แต่เมื่อเก็บข้าวเข้ายุ้งก็ทำขวัญด้วย  ประเพณีนี้นิยมทำขวัญ  เพราะย้ายมาจากใจังหวัดนครสวรรค์  อุทัยธานีและชัยนาท ซึ่งนิยมทำกันมานานแล้ว
ยุคที่ 3  ได้ของเล่นใหม่อะไรก็เปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2516 -  ปัจจุบัน)
              นางมะรินทร์  ประสิทธิ์เขตกิจ  ( 2552,ตุลาคม)  อายุ  47  ปี   กล่าว่า บ้านเทพนคร  นี้เป็นชื่อ รวมของทั้ง 2  หมู่บ้านด้วยกัน คือ  หมูที่ 4  บ้านเทพนคร และหมู่ที่  15  บ้านศรีนคร  นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2516 มีโรงน้ำตาลมิตรสยามเกิดขึ้น มีชาวบ้านไปสมัครทำงานที่โรงน้ำตาล  เพราที่นาเริ่มไม่เพียงพอจำเป็นต้องหาอาชีพอื่นเพิ่มเติม   ที่นาบางส่วนเปลียนเป็นอ้อยเพื่อส่งโรงน้ำตาล  มีสวนส้ม  ปี พ.ศ. 2522 มีถนนลาดยาง    มีไฟฟ้า  อาชีพ                                   ภาพที่ 17  นางมะรินทร์  ประสิทธิ์เขตกิจ
ที่จำเป็นต้องใช้ฟ้า   เกิดขึ้น  ช่างอ๊อก ช่างเชื่อม    นับปัจจุบันนี้  มีโรงงานและร้านเพิ่มเติมมากมายในหมู่บ้าน เช่นท่าทราย  วัสดุก่อสร้าง โรงงานพลาสติก  โรงงานปุ๋ยและ ยาฆ่าแมลง  มีบ่อปลา แต่ก็อาจมีปัญหาเกี่ยวกับอากาศ  ตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำมีการทรุดควรหาทางแก้ไข
              นายสมชาย   หล่มแสง   (2552,ตุลาคม)  อายุ47 ปี  ได้กล่าวถึงการศึกษาในหมู่บ้านว่าสมบูรณ์ขึ้น มีโรงเรียนหลายระดับ ตั้งแต่ศูนย์เด็กเล็ก  ซึ่งเทศบาลตำบลเทพนครดูแลอยู่และติดอยู่กับโรงเรียนของเรา  ระดับ อนุบาล  ชั้นประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น  ถ้าจะเรียนต่อก็สามรถไปเรียนในตัวเมืองได้
                                                                                                       ภาพที่  18  ผู้ใหญ่สมชาย  หล่มแสง       
             ด้านสาธารณสุข นั้นได้รับความปลอดภัยเป็นอย่างดี  ในตัวเมืองก็ไปหาโรงพยาบาลได้ตลอดเวลา  แม่แต่คลินิกก็เข้าพบได้  หมู่ที่ 13 มีสถานีอนามัยที่พร้อมที่จะให้การรักษา
  วิถีชีวิตของชาวปางฝรั่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุค พอที่จะนำมาเปรียบเทียบได้ดังนี้
           1.   ชื่อของหมู่บ้านปางฝรั่ง หรือปางหรั่ง   ได้เรียกใหม่เป็น “บ้านเทพนคร”
           2.   สภาพทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นป่าทึบ  ได้เปลี่ยนเป็นทุ่งนา  ในปัจจุบันได้มีโรงงานอุตสาหกรรม มีร้านค้าเกิดขึ้น  ถนนที่เดินเลาะแม่น้ำถูกออกหลักฐานการครอบครองจึงไม่สารมารถวิ่งได้  มีท่าทรายหลายแห่ง ทำให้ริมตลิ่งบางส่วนดินยุบและถูกน้ำกัดเซาะ ชาวต้องโยกย้าย



   
                                                                       ภาพ ที่ 19  โรงงานอาหารสัตว์                                         




                                                                                   โรงงานน้ำตาล                             




                                                                      ภาพที่  21 ร้านค้าวัสดุมีหลายแห่ง
       


 
   3.  อุปกรณ์ในการทำนา แต่เดิมใช้วัวและควายเป็นหลัก  ได้เปลี่ยนเป็นเครื่องจักรกลเข้ามาแทน
 

            ภาพที่ 22  อุปกรณ์ในการทำนาที่ต้องใช้กับวัวควาย ซึ่งนายถวิล  อยู่ยอด อดีตผู้ใหญ่บ้านเก็บรักษาไว้
 
                              ภาพที่  23    นายจรัส  อิ่มแสง  อุปกรณ์ในการทำนาโดยใช้เครื่องจักรกล
 
ภาพที่  24     วิธีเกี่ยวข้าว  เดิมใช้เคียวเกี่ยว ตากราย   มัดเป็นฟ่อน รวมกอง  ใช้วัวควายย่ำ  ใช้สีฝัด
                            แต่เดี๋ยวนี้ทันสมัย  เริ่มเกี่ยวแล้วได้ข้าวเปลือกทันที่
         
   4.   ในด้านการศึกษานั้นได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น นับแต่ไม่มีโรงเรียน จนสามารถที่จะเรียนได้ตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3  สถานที่เดิมติดกับริมแม่น้ำได้ย้ายออกมาและปรับปรุงจนถือว่าสมบูรณ์
 
ภาพที 25 ลุงโต แสงโฉม ชี้ให้ดูสถานที่เรียนตั้งแต่ชั้น  ป. 1                    ภาพที่ 26 อาคารเรียนหลังแรกแห่งใหม่  ที่
ถึงชั้น ป. 4   อาคารเรียนติดตลิ่งแม่น้ำปิง   พ.ศ. 2482                                   นายสร่าง  จิตต์อารี จัดหาให้ เมื่อปี พ.ศ. 2502                                         
 
ภาพที่  27    อาคารเรียนหลังใหม่แทนอาคารเรียนหลังแรกในที่                      ภาพที่ 28  สภาพที่สมบูรณ์ในปัจจุบันนี้
                    เดิมเมื่อปี    พ.ศ. 2544
5.  อาชีพที่เปลี่ยนไป    เดิมมีอาชีพเพียงทำนา  แต่ปัจจุบัน นอกจากทำนาแล้วยังมีอาชีพอื่น ๆ ซึ่งทำในหมู่บ้านและสถานที่ทั่วๆไปเช่น ก่อสร้าง  รับจ้างทำตามโรงงาน  ค้าขาย  ช่างซ่อมเครื่องยนต์  เป็นต้น
บทสรุป 
                          เรืองราวของบ้านเทพนครที่ได้รวบรวมมานี้  สามารถที่จะอธิบายถึงวิถีชีวิตทั้ง 3 ยุคได้เป็นอย่างดี และจะเป็นกระจกให้ความรู้ใหม่ต่อรุ่นหลังต่อไป นับแต่ การตั้งถิ่นฐาน อาณาเขต  ถนนหนทาง  อาชีพการทำมาหากิน   การศึกษา  ศาสนา  สาธารณสุข  รวมทั้งประเพณีต่าง ๆ  ในแต่ละยุค  ส่วนที่จะนำมาเป็นประโยชน์นั้นเราควรนำมาพื้นฟูขึ้นใหม่



 
ที่มาของข้อมูล

  ยุคที่ 1  จากสภาพป่าดงดิบถึงยุคทุ่งโล่งที่กว้างใหญ่ (ก่อน พ.ศ.2474 - ฝรั่งเข้ามาอยู่ พศ.2474-98)

                1      “ เล่าเรื่องชาวอังกฤษผู้สร้างบ้านปางฝรั่ง”    ยายอินทร์    พลขันธ์  อายุ  82  ปี
                 2.    “การเช่านาและวัวควายของฝรั่ง”      นายจรัส  อิ่มแสง    อายุ  63  ปี
                 3.     “การเรียนหนังสือ”   ลุงโต  แสงบัว   อายุ  84  ปี
                 4.     “ทหารชาวญี่ปุ่นมาค้างคืนที่เกาะ”  ลุงสนิท  ศิรารักษ์  อายุ 82 ปี
                 5.     “ประเพณี  ยุคฝรั่ง”     ลุงแฟง   จันทร์ศรีสุราษฎร์  อายุ  73  ปี
                 6.     “ชาวฝร่งขายทุ่งนา”    สำนักงานนิคมสหกรณ์วังพระธาตุ   สำนักงานสหกรณ์
                           จังหวัดกำแพงเพชร   2544
ยุคที่ 2   เมื่อฝรั่งไปคนไทยก็เข้ามา (พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2515)
                1.    “ผู้โยกย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านปางหรั่ง”       นายวีระยุทธ  แสนบุญมา  อายุ  60  ปี
                .     “ประวัติการทำงานของนายส่าง  จิตต์อารี”    นางสาวจริยา  จิตต์อารี  อายุ 42  ปี
                         บุตรสาวของนายส่าง  จิตต์อารี       
               2.      “การสร้างวัด”      วัฒนธรรมบ้านเทพนคร   2545
               3.       “การสร้าง โรงเรียนบ้านเทพนคร    วัฒนธรรมบ้านเทพนคร   2545
               4.    “วิธีการทำนายุค 2”  ลุงสุพจน์   สิญจวัตร  อายุ  71  ปี
               5.    “อุปกรรณ์หรือเครื่องมือในการทำนา”  นายถวิล   อยู่ยอด   อายุ  67   ปี
               6.     “ ด้านสาธารสุข”  ยายสะอาจ   จันทรืศรีสุราษฎร์
ยุคที่ 3  ได้ของใหม่เล่นใหม่อะไรก็เปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2516 -  ปัจจุบัน)
              1.        “อาชีพของชาวบ้านเทพนคร”    นางมะรินทร์  ประสิทธิ์เขตกิจ  อายุ  47  ปี
              2.      “  การศึกษา  ศาสนา  สาธารณสุข”  นายสมชาย  หล่มแสง       อายุ  47  ปี 










 66 
 เมื่อ: มีนาคม 29, 2022, 07:59:50 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
ทัวร์ร้อยรัก รวมใจ สานสายใย มุทิตาจิต ปี ๒๕๖๔ และ๒๕๖๕
ชมรมลูกหลวงพ่ออู่ทอง รพ กำแพงเพชร
...
       อันว่าความ กรุณา ปราณี                    จะมีใคร  บังคับ ก็หาใม่
หลั่งมาเอง เหมือนฝน อันชื่นใจ         จากฟากฟ้า  สุลาลัย สู่แดนดิน
     แว่วเสียงเพลง ยังจับจิต สนิทแนบ    อุดมการ  สานแยบ สนิทถิ่น
เพลงนางฟ้า พยาบาล ได้ยลยิน        เธอนางฟ้า ของแผ่นดิน โบยบินมา
      ร่วมบริการ ประชาชน ทุกหนแห่ง        ร่วมสละ ร่วมแรง ร่วมรักษา
ร่วมดูแล ร่วมจิต  ร่วมวิทยา                    เนิ่นนานมา ครบเกษียณ  ด้วยเพียรจริง
      เมือ เวลา  จากกัน  วันเกษียณ    ได้พากเพียร ความดีงาม ตามทุกสิ่ง
พยาบาล วิชาขีพ ไม่ประวิง                 คือคนจริง  มิ่งขวัญชน   ช่วยพ้นภัย
คุณอารมณ์ จิตอารี หัวหน้าตึก           ผู้ป่วยนอก  ความรู้ลึก    ไม่สงสัย
ทั้งใจดี ใจเย็น ไม่เว้นใคร                      เป็นขวัญใจ ของทุกคน  ยลยิ่งงาม
คุณอัญญาภรณ์ อภัยราช             สวยเสมอ แสนฉลาด อ่อนหวานหวาม
หัวหน้าตึกพิเศษชั้นสี่ ดีทุกยาม           จิตใจงาม รักทุกคน ยลเยี่ยงเธอ
คุณกฤษณ่ พูลผล ชนรักใคร่               ช่วยชีวิต ใครใคร ไม่พลั้งเผลอ
ประจำห้องผ่าตัด เคยพบเจอ               จิตใจเธอ งดงาม ทุกยามไป

คุณทองพูน สีกล่อม ถนอมรัก              คนรู้จัก ทันตกรรม อย่างสดใส
เป็นหัวหน้าแผนก ไม่แปลกใจ             คนรักใคร่  ลูกน้อง นาย   จิตใจงาม
คุณอัจฉรีย์ ผลพัฒน์ ถนัดยา              นักเภสัช พัฒนา  ชาญสนาม
อยู่กำแพง แลนนทบุรี เป็นนิยาม    ใจแสนงาม ทุกคนรัก ประจักษ์เธอ
คุณมณีพันธ์  ปานไท้ เลื่อมใสนัก   ทุกคนรัก คนงาม นามเสนอ
ห้องผ่าตัด ถนัดนัก  มีเพื่อนเกลอ   ขวัญใจเธอ นายตำรวจ ตรวจปราบปราม
รตอ.สุทีป ปานไท้                        ตำรวจใหญ่  ร่วมดูแล  ไม่เกรงขาม
พิทักษ์สันติราษฎร์ ทุกโมงยาม      พิทักษ์นาม มณีพันธ์  คือขวัญใจ 
คุณบุญลดา โรจนวิภาค          สู้ลำบาก  ปราบปราม   อย่างสดใส
ทำกิจกรรม ต้านเสพติด มากกว่าใคร         เธฮแก้ไข คนเสพติด จิตผูกพัน
คุณฐานิสรา คลังทรัพย์ ประทับจิต      ตรวจโลหิต เรียบร้อย หฤหรรษ
สะอาดเอี่ยม ปลอดภัย หัวใจปัน         จิตอาสา สัมพันธ์ สำคัญมา
ครบทั้ง เก้า ลูกหลวงพ่อ อู่ทองแล้ว       ชมรมแพร้ว เพริศพริ้ง แสนหรรษา
ขอนางฟ้า คนสำคัญ  วัฒนา               ไร้ความทุกข์ ไร้โรคา  นิรันดร์เทอญ
                          .....................................................................









 67 
 เมื่อ: มีนาคม 28, 2022, 02:24:11 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
นายเสริม ถาวร (จ.ม. , จ.ช.) ครูใหญ่โท โรงเรียนวัดกุฏิการาม อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
....ถือกำเนิดที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาอยู่ติดถนนพระร่วง เขียนประวัติตนเองว่า เมื่ออายุ ๑ ขวบปี อยู่กับพี่เลี้ยง  “...ข้าพเจ้าได้ เล่นกล่องไม้ขีดไฟเกิดระเบิดลุกไหม้ตาขวาบอด...” เมื่ออายุได้สองปีกว่าๆ มารดาก็ได้ถึงแก่กรรม ฝ่ายพ่อมีภรรยาใหม่ ไปรับจ้างตัดไม้ใช้ล้อควายลากชักไม้ ในท้องที่จังหวัดพิจิตร แม่เลี้ยงก็ไม่ได้เอ็นดูลูกติดของสามีตนเองเท่าใดนัก มีญาติได้มาเห็นจึงเกิดความสงสารนำความไปฟ้องป้าของเด็กชายเสริม และได้รับการเลี้ยงดูจากป้า ชื่อว่า ป้าอ่อง สามีชื่อลุงอ่วม มาโดยตลอด
....จนกระทั่งส่งเด็กชายเสริม เข้าเรียนที่หนังสือกับ อาจารย์ทุเรียน พลขันธ์ หลานลุงอ่วม ที่สำนักวัดไตรภูมิ ๔ ปี อ่านออกเขียนได้คล่องอ่านหนังสือเรียนเร็ว หนังสือพระมาลัยได้จบ พ.ศ. ๒๔๖๔ ทางการเกณฑ์เข้าเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนใช้ศาลาเรียนวัดเหนือ (วัดโพธาราม) เรียกชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลพรานกระต่าย ๑ ครูใหญ่ชื่อว่า นายระเบียบ มุสิกะพงษ์ เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ ๑ โดยไม่ต้องเรียนเตรียมประถม ครูผู้สอนชื่อ นายอิ เนื้อไม้ จากนั้นโรงเรียนย้ายไปตั้งใกล้ที่ว่าการอำเภอพรานกระต่ายติดสถานีตำรวจ หลังคามุงหญ้าคา เรียนจบประโยคประถมศึกษาปีที่ ๕ ครูยวง จันทา เป็นผู้สอน  ปี ๒๔๗๐ มีโอกาสเรียนต่อโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลนครสวรรค์ ๒ ปีสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรธรรมศึกษาตรี และจบประโยคครูมูล (ป.) เข้ารับราชการเป็นครูประชาบาลโรงเรียนตำบลหนองคล้า ปี ๒๔๗๓ เงินเดือน ๓๐ บาท  ๑ ปีย้ายมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลวังตะแบก ขณะนั้นสถานการณ์เงินของประเทศตกต่ำ โรงเรียนยุบ ครูเสริม ถาวร ได้ย้ายไปรับเงินเดือน ๒๔ บาท ตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนประชาบาลตำบลลานกระบือ ๑ (วัดแก้วสุริฉาย) ปีเดียวกันก็ได้ลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ปี ๒๔๗๖ กลับเข้ารับราชการอีกครั้งเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดอำภาพธาราม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เงินเดือน ๒๔ บาท ถัดมา ๑ ปี บิดาเสียชีวิต ที่บ้านหนองหลุม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ย้ายมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านวังตะแบก ปี ๒๔๘๒  ขณะที่เป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านวังตะแบกปี ๒๔๘๔ กำลังเดิกสงครามบูรพาทางราชการส่งตัวเข้าอบรมหน้าที่คนไทยในเวลารบในจังหวัดกำแพงเพชร ทางการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมชายฉกรรจ์ ในตำบลวังตะแบกแล้วนำผู้อบรมเข้าร่วมการเดินสวนสนามที่อำเภอพรานกระต่าย ย้ายเป็นผู้ตรวจการประถมศึกษาทำงานที่ว่าการอำเภอ มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยงานศึกษาธิการอำเภอออกตรวจโรงเรียนประชาบาล ตามงบประมาณของทางการ ช่วงปี ๒๔๙๑ – ๒๔๙๗ มีการยกเลิกตำแหน่งผู้ตรวจการประถมศึกษา ทำหน้าที่เสมียนอย่างเดียวไม่มีตรวจการโรงเรียน  ปี ๒๔๙๙ ครูใหญ่เสริม ถาวร ก็ได้ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดโพธาราม กระทั่งปี ๒๕๐๒ ได้สอบไล่เข้ารับประกาศนียบัตรครูพิเศษประถม (ป.ป.)  ปี ๒๕๐๓ สอบคัดเลือกครูจัตวาได้เป็นครูตรี สนามสอบนครสวรรค์  จนเลื่อนเป็นครูใหญ่ตรีโรงเรียนวัดโพธาราม ทำคุณงามความดีได้ย้ายดำรงตำแหน่งครูใหญ่มาหลากหลายโรงเรียน จนวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๐๙ ได้เป็นครูใหญ่โทโรงเรียนวัดกุฏิการาม เงินเดือน ๑,๓๐๐ บาท ได้รับเลื่อนเงินเดือนเสมอมา ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๖ เกษียณอายุราชการ ด้วยเงินเดือนเพียง ๒,๐๐๐ กว่าบาท
....ครูเสริม ถาวร ได้อำลาจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเพลิงศพ นายเสริม ถาวร (จ.ม.,จ.ช.) ข้าราชการบำนาญสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ณ เมรุวัดไตรภูมิ ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร นับ พระมหากรุณาธิคุณ
....ครูเสริม ถาวร ถูกปรารถว่าเป็น ครูเสริม ขี้เหล้า แต่ถึงกระนั้นครูเสริม ขี้เหล้า ก็ไม่เคยทำหน้าที่พ่อได้บกพร่องแม้แต่น้อยเดียว ทำหน้าที่พ่อส่งเสียลูกๆทุกคนให้ได้รับการศึกษาดีตลอดมา
....ครูเสริม ถาวร ครูใหญ่ผู้เป็นแม่พิมพ์ที่ดี เป็น “ พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร บิดามารดาเป็นพรหมของบุตร” อย่างแท้จริง การนำเสนอประวัติโดยย่อ ของครูใหญ่เสริม ถาวร เป็นเพียงส่วนหนึ่งไม่ถึงครึ่งที่จะนำมาจดเล่าได้โดยละเอียดทั้งคุณงามความดี ประสบการณ์ต่างๆ ของท่านได้  แต่การศึกษาในครั้งนี้สิ่งที่ได้ศึกษา คือ สังคมของคนพรานกระต่าย ในอดีตผ่านการจดบันทึกของ ครูเสริม ถาวร ครูใหญ่โท โรงเรียนวัดกุฏิการาม อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร หากมีข้อบกพร่องประการใดต้องกราบขอสมาแก่ทุกท่าน และขอนอบน้อมรับไว้พึ่งจะไม่ถือเป็นอัตตา แลช่วยกันพึ่งวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นธรรมทาน เทอญ....
ข้อมูล/รูปภาพ : หนังสือพระราชทานเพลิงศพ นายเสริม ถาวร (จ.ม.,จ.ช.)
เรียบเรียงโดย : นายยุทธนา ทองดี

 68 
 เมื่อ: กันยายน 24, 2021, 03:31:10 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
ยินเอยยินดี         .
แพทย์ผู้มี จรรยา มหาศาล
อังคณา.อุปพงศ์  ดำรงงาน
อำนวยการ พุทธบาท สระบุรี
มีจิตใจ งดงาม ตามรังสรรค์
ความสามารถ เปลียนผัน ด้วยศักดิ์ศรี
แสนเสียดาย รองแพทย์  ที่แสนดี
ตำแหน่งใหม่ รับหน้าที่  ยินดีเอย

 69 
 เมื่อ: กันยายน 23, 2021, 01:56:59 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
จันทน์เอ๋ยจันทินี    
 วันเกิดนี้ ให้เกษม แสนหรรษา
ห้าสิบปี สุขทุกข์ พบพานมา
ผ่านศรัทธา ผ่านวิกฤต สนิทตรอง
ด้วยความรัก ความภักดี ที่มีให้
ด้วยดวงใจ มิผันแปร เคียงคู่สอง
เจ็ดสิบสาม ผ่านไป คงเคียงครอง
คู่ตระกอง ถนอมกัน นิรันดร์เอย

 70 
 เมื่อ: กันยายน 08, 2021, 03:49:36 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
การครองตน ครองคน ครองงาน
การครองตน ก็คือ การคุมครอง รักษา สรางเสริมชีวิตทั้งสวนกายและสวนจิตใจ ใหมีคุณคามี
ประโยชน การครองตนนั้นมี๒ อยาง คือ
๑. ครองกาย
๒. ครองจิตใจ
ครองกายเริ่มตนจากปจจัย ๔
๑. เรื่องอาหาร รูจักกินและดื่มอาหารที่มีประโยชนตอรางกาย ถูกตองตามหลักโภชนาการ งดเวน
จากการกิน การดื่มสิ่งที่เปนพิษเปนภัยแกรางกายทุกอยาง กินรูจักประมาณ กินแกหิว มิไดกินแกความอยาก อยาก
อวด อยากเดน อยากดัง
๒. การนุมหม ก็ตองคํานึงถึงระเบียบ ประเพณีที่ดีงาม พอเหมาะพอควร เหมาะสมแกเวลาและ
สถานที่ไมเหอเหิมตามความโฆษณา รูจักประหยัดไมฟุมเฟอย อยาคิดวา ถาไมมีอยางเขา เราจะนอยหนา จึงไม
เพียงซื้อหามารทั้งๆที่ไมจําเปน
๓. เครื่องที่อยูอาศัย รวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคตางๆ จัดหามาไวใชเทาที่จําเปน ไมใหเกินกําลัง
ของตน ถือภาษิตวา “นกนอยทํารังแตพอตัว”
๔. ยารักษาโรค เปนปจจัยสําคัญเหมือนกัน ยาสามัญประจําบานควรจัดไวถึงคราวจําเปนยามค่ํา
คืน เกิดอาการผิดปกติขึ้นมาจะไดหยิบใชได และถาหากเจ็บปวยขึ้นมา ก็ควรจะปรึกษาแพทย เพื่อบําบัดรักษา อยา
ไปคิดวินิจฉัยโรคเอาเองดวยการเดา บางมีเปนไมมาก แตเพราะคิดเอาเอง เกรางวาจะเปนโรคนั้นโรคนี้ เกิดความ
กลัวตายขึ้นมา ก็มีความทุกขเดือดรอน ทั้งๆที่หมอยังไมไดวินิจฉัยชี้บอก เราก็เปนหมอเดาเสียเอง บางคนเจ็บปวย
ขึ้นมา แทนที่จะไปปรึกษาหมอยาแตกลับไปหาหมอดูเกิด...ก็ยิ่งเพิ่มความทุกขใหตนเอง
ครองจิตใจ พระพุทธเจาตรัสวา จิตเปนนาย จิตเปนผูบังคับบัญชา เปนผูสั่งงาน เมื่อเราเขาใจผิด
เห็นผิด ก็ทําใหทําผิด พูดผิด คิดผิด ความเดือดรอนก็เกิดขึ้น แตเมื่อเราเห็นถูก เขาใจถูก ก็เปนเหตุใหทําถูก พูดถูก
คิดถูกตอง เปนความดีมีประโยชน นําความสุข เจริญมาสูตนเองและสวนรวม
การครองตนสวนจิตใจ เริ่มตนจากกอนนอน ทําวัตรสวดมนต ทําจิตใหเปนสมาธิ นั่งสมาธิ เปนผูมี
เหตุผลไมใชอารมณ มีความอดกลั้นอดทน มีเมตตากรุณาตอผูอื่น รูจักใหอภัย ระงับความโกรธไวใหได ไมผูกใจ
เจ็บ รูจักวางอารมณ ทั้งความรูสึกที่เรารอนหงุดหงิดวุนวาย ทําใจใหสบายๆ ตั้งจิตแผเมตตาวา จงเปนสุขๆ เถิด อยา
มีเวรมีภัยมุงรายตอกัน จงมีความอยูเย็นเปนสุขทุกรูปทุกนามเถิด แมเบื้องแรกใจมันไมยอม แตเราฝกบอยๆเขา
จิตใจจะมีความสงบ เย็นสบาย มีความสุขกายสุขใจ ผิวพรรณผองใส เปนที่รัก เคารพ นับถือของคนทั่วไป กลาวได
วา เปนคนมีเสนหทางธรรม นําความสุขมาใหผูอยูใกลไดคบคาสมาคม

การครองคน
ชีวิตมนุษยที่เกิดมา มิไดอยูคนเดียวเดี่ยวโดด จําเปนจะตองมีความผูกพันกับผูอื่น เริ่มตนจากพอแม
ปูยา ตายายและญาติมิตร ซึ่งลวนแลวก็ตางจิตตางใจ ตางวัยตางเพศ ตางความคิด ตางอาชีพการงาน ถาไมมีสิ่ง
ประสานจิตใจ ยอมเกิดทุกขโทษเวรภัยได
ฉะนั้นจึงจําเปนที่เราจะตองอาศัยธรรมะ เปนการครองใจกันและกันเอาไว เริ่มตนจากตั้งความ
ปรารถนาดี มีความเมตตาปราณี เห็นอกเขาอกเรา ไมเปนคนใจแคบเห็นแกตัว รูจักเสียสละ แบงปนสิ่งของเพื่อผูอื่น
เห็นแกประโยชนสวนรวม เพราะผูใหยอมเปนที่รักนับถือของผูรับ โลกของเราจะอยูเย็นเปนสุขไดก็เพราะการ
สงเคราะหชวยเหลือกันนี่แหละ
จะพูดจาพาที ก็ตั้งจิตประกอบดวยเมตตา หวังประโยชนตอผูฟง พูดความจริง ออนหวาน สมาน
สามัคคี ไมหยาบคายหรือเหลวไหล อยาดูถูกดูหมิ่นผูอื่น ไมยกตนขมทาน ใหเกียรติแกคูสนทนา เปดโอกาสใหคน
อื่นพูดบาง อยาเปนคนอวดรูพูดไมหยุด ยินดีรับฟงและตั้งใจฟงเมื่อคนอื่นกําลังพูด รูจักเวลาและสถานที่ เราควรจะ
พิจารณาวา เรากําลังพูดกับใคร พูดอยางไร พูดเพื่ออะไร ที่ไหน เหมาะสมหรือไม พูดใหกําลังใจแกบุคคลที่กําลัง
ประสบปญหาเกิดความทอแท แนะอุบายวิธีเพื่อการดํารงชีวิตอยูอยางถูกตองมีประโยชน ไมพูดซ้ําเติมผูบกพรอง
ผิดพลาด มีจิตเมตตารกรุณาตอเขาเหลานั้น หาทางชวยเหลือสงเคราะหตามกําลังความสามารถของตน
คราวใด ไดรูไดเห็นทานผูทําความดี มีความสําเร็จในหนาที่การงาน ก็แสดงความยินดีดวยวาจา
หรือพลอยยินดีดวยจิตใจ ไมอิจฉาริษยา ไมนินทาวารายใคร แมตนเองทําไมได ทําไมถึง ก็พึงวางใจเปนกลางๆ คิด
เอาอยางทานผูที่ผานความสําเร็จนั้นๆ มาแลว
การปรารภถึงคุณความดีของผูอื่นทั้งตอหนาและลับหลัง ถือวาเปนการใหกําลังใจและใหเกียรติแก
ผูที่เราพูดถึง แนวตรงกันขาม ถาเราพูดถึงความบกพรองผิดพลาดของผูอื่น ถือวาเปนการทําลายเกียรติศักดิ์ศรีของ
เขา ทําใหเขาหมดความเคารพนับถือได ดังที่ทานพุทธทาสภิกขุกลาวไววา
เขามีเลวอยูบางชางหัวเขา จงเลือกเอาสิ่งที่ดีเขามีอยู
เปนประโยชนแกโลกบางยังนาดู สวนที่ชั่วอยาไปรูของเขาเลย
ความเปนคนรูจักออนนอมถอมตน มีความเคารพนับถือตอผูใหญ มีความเอื้อเฟอเผื่อแผปรารถนา
ดีตอผูนอย คอยชี้แนะใหกําลังใจในการสรางคุณงามความดี มีประโยชน ชี้โทษที่บกพรองที่ควรงดเวน ดวยจิต
เมตตา ไมเยอหยิ่งทะนงตน มองเห็นคนเปนคนเหมือนกัน จึงพอจะกลาวไดวา เปนการครองคน...

การครองงาน
การทํางานทุกชนิด จําเปนจะตองอาศัยปจจัยหลายอยางสนับสนุน งานนั้นๆจึงจะสําเร็จลงดวยดีมี
คุณคา มีประโยชนการทํางานจะตองมีความขยันหมั่นเพียรอดทน การฝกฝนใหมีความชํานาญ สรางความพอใจใน
งาน รูจักรับผิดชอบในหนาที่นั้นๆ พิจารณาตรวจตราดูบอยๆ สิ่งใดที่เห็นวาบกพรองก็ตองรีบแกไข สิ่งใดเปนความ
ถูกตองดีงาม ก็ภูมิใจรักษาคุณภาพนั้นไวดําเนินตอไป และเปนผูยินดีรับฟงความคิดเห็นจากผูอื่น เพราะคนเรามองดู
ตัวเองไมเห็นหมด แตคนอื่นมองเราเห็นตลอดทั้งสวนกาย สวนการงานและกิริยามารยาท ผูที่ใหขอคิดแกเรายอม
เปนผูหวังดีตอเรา มิฉะนั้นเขาจะเฉยเสีย ปลอยตามเรื่อง ตัวใครตัวมัน แมเขาเห็นเราวาทําอะไรบกพรองแทนที่จะ
เมตตาชี้ทาง เขากลับยุใหเราถลําตัวลงไปมากกวานั้นจนถอนไมขึ้น กวาจะรูสึกตัวก็สายเสียแลว ฉะนั้นเราควรฟง
ความคิดเห็น ขอแนะนําของผูอื่นบาง พระพุทธองคยังตรัสไววา “พึงมองทานผูชี้โทษ ความบกพรองของเรา
เหมือนผูบอกขุมทรัพยให”
การติเพื่อกอยอมเปนบอเกิดแหงความถูกตองดีงาม มีทานผูรูกลาววา การสรางพระพุทธรูปจะได
สวย มีลักษณะงาม ถูกตองตามพุทธลักษณะนั้น ตองอาศัยชางติที่ฉลาด ตองเชิญทานมาติใหวาตรงนั้นๆ ควรจะ
แกไขอยางนั้นๆ ตรงนี้ควรจะแกไขอยางนี้บางทีตองลงทุนไปออนวอนหรือจางใหมาติให จึงไดพระพุทธรูปที่งาม
ถูกตองลักษณะ หลวงพอชาเคยพูดวา “คํานินทามีคากวาคําสรรเสริญ” เพราะคํานินทาจะทําใหเราระวังตัว ตรวจ
ตราดูตัวเอง ถาเห็นวาไมถูกไมควรก็รีบแกไข เรียกวาทําใหดีเสมอตัวและดียิ่งขึ้น สวนคําสรรเสริญนั้น อาจทําเราลืม
ตัว หยิ่งผยองลําพอง นึกวาตัวดีตัวเดนแลว เรียกวามีคาเสมอตัวและต่ําลงไป ขาดความระมัดระวังตนเอง อาจจะ
ไดรับภยันตรายในภายหลังได
การทํางานจะตองเปนผูที่ ตรงตอเวลา
ตรงตอหนาที่ และ
ตรงตอบุคคล
คนเราถาเปนคนตรงตอเวลา ทํางานอะไรก็เปนชิ้นเปนอัน ไมโยกโยโอเอ มาทํางานสายๆ แตเวลา
กลับกับกลับกอนเวลา หรือจองแตจะถึงเวลา ทําใหการงานไมเจริญ เขาเรียกวา “มาแบบไทย ไปแบบฝรั่ง” การ
งานมีแตพังกับพัง ยิ่งเรานัดหมายอะไรกับใครไว ถามาไมตรงเวลาก็ทําใหเกิดความเสียหาย ขาดความเคารพนับถือ
จากผูอื่น ถาทําสัญญาคาขายก็ตองถูกปรับ ไดรับแตความขาดทุน
การไมตรงตอหนาที่ก็ทําใหงานเสียหาย ไมรับผิดชอบในหนาที่ เรามีหนาที่อยางนี้กลับไปทําอยาง
โนน ทําไมตรงกับหนาที่มอบหมาย ยอมทําใหงานเสียหาย การเปนคนเหลาะแหละ โลเลใชไมได ขาดความเชื่อถือ
เขาเรียกวา “มีหนาที่กออิฐ แตกลับไปเผาถาน”
การตรงตอบุคคลก็คือ งานของเราขึ้นตรงตอผูใด ก็เอาใจใส ทําใหเต็มที่ มีความเคารพนับถือในผู
นั้น มีความออนนอมถอมตน รูจักกาลเทศะ ไมอวดดีตีเสมอ ไมเปนคนหนาไหวหลังหลอก รูจักที่ต่ําที่สูง พยายาม
ทําใหอะไรพอเหมาะพอควร ตั้งจิตตั้งใจทํางานดวยความขยันหมั่นเพียร ไมเปนคนประจบสอพลอ ไมเอาเปรียบ
ผูอื่น ไมโกงเอาผลงานของผูอื่นวาเปนของตน...

ถาเปนผูใหญก็ไมเอาเปรียบผูนอย เห็นใจมีเมตตา ใหอภัยตอผูนอย มีความเอื้อเฟอเจือจุล คราวใด
ผูนอยเกิดความขัดของมีความขัดสน ก็สงเคราะหดวยปจจัย ๔ ใหกําลังใจ ใหขอคิด ใหคําแนะนํา เปนที่พึ่งของ
ผูนอยได ไมดูถูกเหยียดหยามหรือบีบบังคับใชอํานาจบาตรใหญ มีจิตประกอบดวยเมตตากรุณา ปรารถนาดี มีแตจะ
เพิ่มพูนความสามัคคี มีความเคารพนับถือและเห็นใจกัน
พระพุทธองคตรัสสอน การทํางานไว๓ อยาง คือ
๑. ประพฤติใหเปนประโยชนตอตนเอง
๒. ประพฤติใหเปนประโยชนตอญาติมิตร
๓. ประพฤติใหเปนประโยชนตอชาวโลก
พระพุทธองคไดทรงประพฤติใหเปนประโยชนตอพระองคเอง ตอพระญาติและมิตร ตอชาวโลก
มาดวยการเสียสละอยางใหญหลวง เปนการเสียสละที่ยากจะมีผูเสมอเหมือน จึงเปนตัวอยางที่ดี เปนที่เคารพ
สักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ธรรมะที่พระองคตรัสสอนกระจายออกไปเปนวงกวาง เพื่อวาไดยอมนําความ
สงบสุขรมเย็นมาสูหมูมนุษยและสัตวมากขึ้นเพียงนั้น ผูปฏิบัติตามยอมไดรับผลอันสมควรแกการปฏิบัติ มีทานผูรู
กลาวไววา คาของคนอยูที่การทําประโยชน ทําประโยชนนอยก็มีคานอย ทําประโยชนปานกลางก็มีคาปานกลาง ทํา
ประโยชนสูงสุดก็มีคาสูงสุด ดังนั้นการครองงานที่ดีก็คือการทําประโยชนที่ดี มีคุณคานั้นเอง
สรุปแลว การครองตน ครองคนและครองงาน ลวนแตเปนการครองความเปนคนดี ไดแกรูจักเหตุ
รูจักผล รูจักตน รูจักประมาณ รูจักกาลเวลา รูจักสังคม รูจักบุคคลที่ควรคบ รวมแลวความเปนผูรูดังกลาวมา ยอม
กลาวไดวาเปนผูมีสมบัติของคนดีนั่นเอง จึงขอเชิญชวนทานผูอานทั้งหลาย ไดพิจารณาหาทางครองสมบัติของคนดี
ไวได ยอมชื่อวา เปนการครองตน ครองคนและครองงานที่ถูกตองสมบูรณ เพิ่มพูนไปดวยประโยชนนานาประกา

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!