จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 29, 2024, 09:50:05 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 95
91  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่คุณพี่ เสมา อภัยราช ร่มโพธิ์ทอ เมื่อ: กันยายน 28, 2020, 04:55:13 am
                                     แด่คุณพี่ เสมา อภัยราช
          ร่มโพธิ์ทอง  ของน้อง  ของลูกหลาน     อันตรธาน  เพียงร่างกาย  หายสาบสูญ
ตามกฎแห่ง ธรรมชาติ แสนอาดูร                ยังเพิ่มพูน วิปโยค โศกเศร้าใจ
      เก้าสิบเอ็ดปี ยืนเด่น  เป็นสง่า              พี่เสมา  กล้าแกร่ง  ไม่สงสัย
ยอดขุนศึก แสนสง่า  กลางฤทัย                  กำแพงเพชร อยู่ในใจ ทุกผู้คน
       ยอดฝีมือ ยอดความคิด ยอดสร้างสรรค์   ศิลปะ จำนรรจ์  ทุกแห่งหน
งานฝีมือ สรรค์สร้าง ราวเทพดล                   ทุกผู้คน ยลยิน  ทุกถิ่นไทย
       พระอิศวร  องค์จำลอง ที่ผ่องผุด            ฤทธิรุทธิ์ ฤทธิเลิศ ที่ศาลใหญ่
คือฝีมือ  พี่เสมา  ยังเกริกไกร                        คนกราบไหว้ บูชา ศิวาองค์
        พี่ปลูกปั้น สอนสั่ง ลูกหลานเหลน         ยืนต้นเป็น  ศรีสง่า อานิสงส์
พี่รักน้อง รักลูกหลาน รักมั่นคง                    พี่เสริมส่ง ทุกคน เป็นคนดี
       ต่อแต่นี้ ไม่มี  พี่ใหญ่แล้ว                    ดั่งดวงแก้ว  แตกสลาย ในวิถี
แต่โพธิ์ใหญ่ ยังยืนเด่น ในปฐพี                    อยู่กลางใจ  ทุกนาที แม้จากไป
       เคยเล่าเรื่อง สอนเรื่องราว ทุกคราวพบ   เคยบรรจบ  เคยบอกกล่าว เคยเล่าให้
มีความรู้ เรื่องราว ที่กว้างไกล                      เพราะพี่ใหญ่ ให้วิชา มาทุกวัน
      เติบโตมา เคียงกัน พลันมาจาก               เทพมาพราก พี่ไป ให้โศกศัลย์
จากครานี้ จากลา แรมนิรันดร์                       ไม่ได้เห็น หน้ากัน นิรันดร์กาล
       ร่มโพธิ์ใหญ่ หักล้ม ต้องข่มจิต                ราวนิมิต  พี่จากไป ใครเล่าขาน
ต่อแต่นี้ พี่เสมา คือตำนาน                            จะสืบสาน ความดีงาม ทุกยามไป
       ขอพี่สู่ สรวงสวรรค์ ชั้นเทพศิลป์              เทพกวี ศิลปิน ผู้ยิ่งใหญ่
สรวงสวรรค์ ชั้นเทพ เลิศวิไล                         พี่เสมา คือเทพไท้  กลางใจคน

                                                                                                     สันติ  อภัยราช
                                                                              ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓


   
92  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติ คุณพ่อเสมา อภัยราช พ่อเสมา อภัยรา เมื่อ: กันยายน 27, 2020, 05:02:46 am
                                       ประวัติ คุณพ่อเสมา อภัยราช
พ่อเสมา อภัยราช เป็นชาวกำแพงเพชร โดยกำเนิด บิดาชื่อ นายเสรี อภัยราช ปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร มารดาชื่อ คุณละไม อินทรสูต เป็นหลานตา ของหลวงมนตรีราช (หวานอินทรสูต) ยกกระบัตรเมืองกำแพงเพชร ตาทวดคือ พระยาสุจริตรักษา(ทองคำ อินทรสูต) เจ้าเมืองตาก เทียดคือ พระยาสุรบดินทรสุรินทรฤาชัย (ทองอิน) เจ้าเมืองไชยนาท ต่อมาดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฤาชัย เจ้าเมืองกำแพงเพชรสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ท่านกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พศ.๒๔๗๒ ท่านมีน้องทั้งหมด ๕ คน คิอ
   ๑.นางสุนันทนา  วารีเพชร  (ถึงแก่กรรม)
   ๒.นายอิสระ   อภัยราช      (ถึงแก่กรรม)
   ๓.นางศิวดี     ใจอินทร์     
   ๔.นายสันติ   อภัยราช
   ๕.นายสัมพันธ์  อภัยราช
ตุณพ่อเสมา อภัยราช ได้รับราชการตำรวจ ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกยานพาหนะจังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาได้ลาออกจากราชการ มาประกอบธุรกิจส่วนตัว ท่านสมรสกับ คุณแม่ระเวีย หาญกำจัดภัย บุตรตรี ร้อยตำรวจตรีหมื่นหาญกำจัดภัย(บก กันภัย) นายตำรวจสถานีตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร มีบุตรธิดา ๗ คนคิอ
   ๑.นางสุวิมล  อภัยราช อดีต ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ และผู้พิพากษาสบทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร ๒สมัย
สมรส กับ นายสัญลักษณ์ กาญจนะโกมล อดีตเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร มีบุตรชาย ๑.คน คือ
 นายแพทย์ณัฐพงศ์ กาญจนะโกมล  อายุกรรมชำนาญการด้านหลอดเลือดและหัวใจ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม จังหวัดนครปฐม
   ๒.นางนวลอนงค์  อภัยราช อดีตพนักงานการประปากำแพงเพชร มีบุตรชายชื่อ นายชวนภ วงศ์สินอุดม  ผจก.ฝ่ายอำนวยการกลางการผลิต บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะจำกัด สาขากำแพงเพชร
   ๓.นายปฐมชัย อภัยราช อดีตหัวหน้าฝ่ายแบบแผนและก่อสร้างกองช่างเทศบาลเมืองกำแพงเพชร สมรสกับนางสาวพรรณี  น้อยสวรรค์  มีบุตรธิดา ๒ คนคือ
   ๓.๑ นายปริยพัฒน์  อภัยราช   เจ้าหน้าที่ ไอที บริษัทเอกชน
   ๓.๒ นางสาวภัทรสุดา อภัยราช พนักงานธุรกิจสัมพันธ์ลูกค้า ธนาคารออมสิน ศูนย์ smes ๗ กำแพงเพช         
         ๔.นางสาวสาวิตรี  อภัยราช อดีตหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลกำแพงเพชร
         ๕. นายชัยพร  อภัยราช อดีต อาจารย์โรงเรียนสาธิต ม.ราชภัฎกำแพงเพชร สมรสกับนางสาวอัญชุลี อ่วมสถิตย์ ประกอบธุรกิจส่วนตัว   มีบุตรชาย ๒ คนคือ
   ๕.๑ นายเอกชัย อภัยราช  ฝ่ายซ่อมบำรุงบริษัทเอกชน
   ๕.๒ นายอุภัยพล  อภัยราช ผู้จัดการสาขาพิษณุโลก บริษัทเอสไอเอสดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน)
๖.นายชาญศักดิ์  อภัยราช  อดีตพนักงาน บริษัททีเคซี จังหวัดกำแพงเพชร (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ นางสาวพัชรา คำกมล อดีตครูโรงเรียนเทศบาล๒ มีบุตร ๑ คน คือ
   นายพัชรพล  อภัยราช  นักศึกษา ม.ศิลปากร (ถึงแก่กรรม)
๗. นางสาวสุชีลา  อภัยราช  ผู้อำนวยการ โรงเรียนชากังราววิทยา จังหวัดกำแพงเพชร
   คุณพ่อเสมา  อภัยราช เป็นผู้มีสุขภาพดี แข็งแรง ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ โดยการขี่จักรยานรอบตลาดกำแพงและริมแม่น้ปิง จนกระทั่งอายุย่างเข้าเก้าสิบปี ลูกหลานเห็นว่า  กลัวรถจะล้มหรือมีอุบัติเหตุ จึงขอร้องให้พ่อออกกำลัง อยู่ภายในบ้าน
   ต่อมาคุณพ่อเข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาลกำแพงเพชร หลายครั้ง และในครั้งสุดท้าย  ท่านเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พศ. ๒๕๖๓ สิริรวมอายุ ได้ ๙๑ ปี ยังความเศร้าเสียใจ แก่ลูกหลานและญาติมิตร ขอให้คุณ่อเสมา อภัยราช มีความสุข ในสัมปราภพด้วยเทอญ














93  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / เกษียณ อย่าง เกษม คุณสุทัศน์ ภักดีการ เมื่อ: กันยายน 24, 2020, 09:27:29 pm
                       เกษียณ  อย่าง  เกษม
           คุณสุทัศน์  ภักดีการ
                ผู้อำนวยการกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลวังแขม อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
                กาลเวลา  ผันผ่าน วันวานจาก             ทำงานยาก   มากล้ำ   นำทางถาง
        ผ่านร้อนหนาว  มากมาย ได้นำทาง              อุปสรรค  ต้องปล่อยวาง  ตามทางธรรม
      สาวบ้านนา ถามหา สิ่งถูกต้อง              ความงดงาม หมายปอง  เจ้างามขำ
         ขยันเรียน ขยันงาน  ความจดจำ            ตั้งใจทำ  ตั้งจิตสรรค์   อย่างมั่นใจ
               ทำงานครู  คือครูดี ที่สอนสั่ง             ระมัดระวัง กายจิต  อย่างสดใส
        ผ่านงานครู  อย่างดงาม ตามวินัย              ผ่านไปได้ อย่างดียิ่ง มิ่งชีวี
   ย้ายงานมา ศึกษาธิการ ก็ชาญเชี่ยว         คือแรงเรี่ยว  ท่านศึกษา เป็นศักดิ์ศรี
        ประทับใจ ประสานงาน ได้อย่างดี              คือวิถี ของสุทัศน์  รัตนา
          เปลี่ยน โอนมา  วัฒนธรรม กำแพงเพชร   ราวก่องเก็จ แสงสว่าง แสวงหา
        ทำงานด้วย ดวงจิต นักพัฒนา                    งานวัฒนธรรม  ล้ำหน้า ด้วยมือเธอ
           มาท้องถิ่น  แห่งสุดท้าย ในวันนี้             อบต. วังแขมดี  หมั่นเสมอ
         ผอ.กองการศึกษา ได้พบเจอ                    งามเสมอ  คุณสุทัศน์  ภักดีการ
   เกษียณเกษม ตำแหน่งรัก  ประจักษ์จิต     ทั้งชีวิต  ทุ่มเท  มหาศาล
        เธอรักงาน  การศึกษา มาเนิ่นนาน                จิตผันผ่าน อย่างเปรมปรีดิ์ มีคนรัก
            แสนเสียดาย ในฝีมือ เขาลือก้อง              หกสิบต้อง เกษียณ คนรู้จัก
       แสนเสียดาย  คุณสุทัศน์ ทุกคนทัก                 คนประจักษ์ ความดีงาม นามใดเกิน
           ใบไม้ร่วง ใบใหม่ ผลัดใบแล้ว                    ดั่งดวงแก้ว  ลับหาย ต้องห่างเหิน
        แสนเสียดาย คนดี  ที่ประเมิน                        ต้องห่างเหิน วิชาชีพ ที่เชี่ยวชาญ
     วันเวลา ราชการ รานพลัดพราก                    จำต้องจาก ในวิถี  ผู้กล้าหาญ
จะจดจำ คุณสุทัศน์  ภักดีการ                         มือประสาน ด้วยศรัทธา  มาพร้อมใจ
                                                                                       สันติ   อภัยราช

     
    
       
94  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่ท่านปิยะ เพชรพรรณ (โกเม่ง) คือนักบุญ คือนักสร้าง นักเสกสรร อสม´คนสำ เมื่อ: สิงหาคม 28, 2020, 08:57:25 pm
แด่ท่านปิยะ  เพชรพรรณ (โกเม่ง)
คือนักบุญ คือนักสร้าง นักเสกสรร          อสม´คนสำคัญ  ผู้สรรหา
คือนักสู้  เสกชิวิต  จิตศรัทธา                 คือเทวา มาอุบัติ อย่างชัดเจน
จิตสาธารณะ ช่วยหลือเอื้อเฟื้อราษฎร์    ไม่เคยขาด   อาทร ทุกคนเห็น
ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ เมื่อลำเค็ญ            ใจท่านเช่น ดั่งทองคำ ที่นำทาง
เมื่อเวลามาพราก ท่านจากโลก              แสนวิโยค  โศกศัลย์ ให้หมองหมาง
ฟ้าร่ำไห้ ใจแสนโศก ไม่จืดจาง       ผุ้ถางทาง  อสม, ให้มั่นคง
ชั่วชีวิต ทำงาน เพื่อผู้อื่น                     แปดสิบสอง หยิบยื่น ตามประสงค์
ถมทำทาง ให้คนเดิน เพลินดำรง         อสม´มั่นคง เพราะท่านทำ
บริจาค  ที่ ดิน ให้ วัชระ                      วิทยา คงจะ  มั่นคงซ้ำ
คือที่เรียน สำหรับเด็ก ไม่ระกำ            โลกจดจำ โกเม่ง   เร่งวิชชา
มาจากไกล ไร้ร่าง  กลางคนโศก         วิปโยค โศกแสน  สิ้นหรรษา
ขอท่านสู่ สรวงสวรรค์  วัฒนา           ขอนิทรา ชั่วนิรันดร์  ท่านปิยะ                                                                  ก













95  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่พี่อิสระ อภัยราช เคยเข้มแข็ง แกร่งกล้า มหาศาล เคยกล้าหาญ อดทน คนรู้จัก เคยไป เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2020, 04:13:21 am
แด่พี่อิสระ อภัยราช

เคยเข้มแข็ง แกร่งกล้า มหาศาล
เคยกล้าหาญ อดทน คนรู้จัก
เคยไปไหน มาไหน ใครใครทัก
เคยประจักษ์ ปากใจ ที่ตรงกัน

เคยเป็นครู  สอนเด็ก ทั้งชีวิต
มีลูกศิษย์  มากมาย ไม่แปรผัน
เป็นพ่อพิมพ์  ของกำแพง นิจนิรันด์
เป็นพี่น้อง  รักกัน ทุกวันมา

เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทร ที่ใหญ่ยิ่ง
พี่รักจริง   ทุกคน  พี่สรรหา
สิ่งใดดี  สิ่งใดงาม ตามจรรยา
พิจารณา หาให้   ด้วยไมตรี

ไม่เคยเจ็บ  ไม่เคยป่วย ไม่หาหมอ
ออกกำลัง ไม่รีรอ เชื่อศักดิ์ศรี
มีชีวิต  เข้มแข็ง  ทุกนาที
 มีชีวี  ที่เชื่อมั่น  ไม่พรั่นใจ

สุขสบาย มั่นคง ดำรงจิต
มีชีวิต พัฒนา ที่แจ่มใส
มันรวดเร็ว เกินกว่า จะทำใจ
พี่จากไป เพียงข้ามคืน ยืนเดียวดาย

เคยสอนสั่ง  ระวังใจ ระวังจิต
ใช้ชีวิต ให้ดี ไม่เสียหาย
เคยยืนข้าง เคียงจิต สนิทกาย
พี่วางวาย  ใครเล่า เฝ้าผูกพัน

เป็นพ่อดี สามีดี ครูยิ่งใหญ่
มีหัวใจ ให้ทุกคน พี่เลือกสรร
สิ่งใดดี ให้ลูกหลาน มิตรสัมพันธ์
ทุกคืนวัน ผันผ่าน  เนื่นนานมา

เจ็บป่วยไข้ ไม่กี่วัน  มาพลันจาก
ได้รับใช้ ยังไม่มาก  ให้ห่วงหา
คิดว่าพี่ แข็งแรง ไม่จากลา
อนิจจา  จากไป   ในวันวาน

พี่สมนึก จะอยู่ได้ อย่างไรหนอ
เคยเคียงคลอ ทุกแห่งหน  มหาศาล
พี่สะใภ้  เข้มแข็ง นิรันดร์กาล
ต้องยืนหยัด ผันผ่าน ในบัดดล

ยังทำใจ มิได้  ใจห่วงหา
พี่จากลา  ไปไกล ไร้แห่งหน
สู่สวรร คาลัย ไร้ทุกข์ทน
ไร้หมองหม่น หมดทุกข์  สุขนิรันดร์

อยู่สวรรค์ ชั้นฟ้า  มีค่านัก
มีที่พัก   พิงใหม่ ในสวรรค์
เสวยสุข เสวยเสพ ทุกสิ่งพลัน
รักนิรันดร์ แด่พี่ชาย ด้วยใจรัก

   สันติ อภัยราช   ๒๘ กค. ๖๓
96  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / อาจารย์อิสระ. อภัยราช หรือพี่อิสระของน้องๆ เป็นหนึ่งใน 11 ขุนพลจากวัดคูยางไปร่วม เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2020, 12:22:46 pm
อาจารย์อิสระ. อภัยราช หรือพี่อิสระของน้องๆ เป็นหนึ่งใน 11 ขุนพลจากวัดคูยางไปร่วมกันก่อสร้างโรงเรียนวัชรวิทยา โดยการนำของ ผู้อำนวยการสมรวม พูลเขียว ในสมัยก่อนโรงเรียนวัดคูยางเป็นโรงเรียนชั้นนำในระดับประถมศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชร มีความพร้อมในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอยู่ในตัวเมือง. มีวัสดุอุปกรณ์ครบครัน การร่วมมือของผู้ปกครอง. ความสามารถของนักเรียนสามารถแข่งขันกับทุกโรงเรียนได้อย่างดี. ในปี 2519-2520รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรได้มีนโยบายทีจะให้โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาทั้งหมดปรับเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรมี 3 โรงเรียนคือโรงเรียนขาณุวรลักษบุรี ไปรวมกับโรงเรียนขาณุวิทยา โรงเรียนเมืองกำแพงเพชร เป็นโรงเรียนวชิรปราการวิทยาคมส่วนโรงเรียนวัดคูยางให้ยกเลิกรับประถมศึกษา มารับมัธยมศึกษาเป็นปีแรก และเปิดการเรียนการสอนอยูในวัดคูยาง. อ อิสระ อภัยราช เป็นหัวแรงสำคัญในการเปิดการเรียนการสอนในระดับมัธยมโดยท่านทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการ จัดการเรียนการสอนในอย่างดีเยี่ยม นักเรียนรุ่นแรกประสบผลสำเร็จหลายท่าน อาทิ ชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร. สามภพ. วชิรบรรจง วิศวกรไฟฟ้า. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต สุรพล หวังพิทักษ์วงศ์ นักธุรกิจอาหลั่ยรถ และอีกหลายๆท่าน. ต่อมารัฐบาลธานินทร์ หมดอำนาจลงนโบยาบายจัดการศึกษาก็เปลี่ยนแปลง ให้โรงเรียนวัดคูยางกลับมาเปิดประถมศึกษาเช่นเดิม และให้นำนักเรียนมัธยมไปฝากโรงเรียนใกล้เคียง ท่านผู้อำนวยการสมรวม ท่านยืนยันจะทำการเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาให้ได้ท่านจึงแจ้งความประสงค์ไปยังกรมสามัญศึกษา ทางกรมให้ทางออกโดยการแนะนำให้หาสถานที่ใหม่ และแยกตัวจากวัดคูยาง คือโรงเรียนวัชรวิทยาในปัจจุบัน. ท่านอาจารย์อิสระ เป็นขุนพลสำคัญที่ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ในการต่อสู้เพื่อเปิดโรงเรียนวัชรวิทยา หน้าทีสำคัญคือการเป็นผู้ประสานงานเชื่อมโยงกับครูรุ่นใหม่กับ ผู้บริหาร โดยร่วมมือกับอาจารย์สมนึก คู่ชีวิต ได้ช่วยกันสรรสร้างโรงเรียน ในภาวะการขาดแคลนงบประมาณ  ให้การสนับสนุนการทำงานของน้องๆ พร้อมทั้งชี้แนะประสบการณ์ในการครองตน ครองคน ครองงาน ท่านเป็นตัวอย่างของครอบครัวมัธยัสถ์ กินน้อยใช้พอเพียง ผมนำวิธีการครองเรือนของท่านมาใช้ก็ประสบผลสำเร็จในครอบครัวและอีกหลายคนในโรงเรียนวัชรวิทยา  นอกจากนี้ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถไปร่วมพัฒนาโรงเรียนมัธยมอีก 2 แห่งคือ โรงเรียนคลองขลุงราษฏร์ รังสรรค์ และโรงเรียนวชิรปราการ วิทยาคม ก่อนที่เกษียณอายุราชการ
       ผมเองหลังเกษียณอายุราชการได้คิดก่อตั้งชมรมครูอาวุโสของโรงเรียนวัชรวิทยา กับท่านอาจารย์เสริมศักดิ์ อ สุพิส อ เฉลิม และได้นำข้อบังคับของชมรมไปให้ท่านตรวจแก้ไข ท่านก็ดำเนินการให้อย่างดี และร่วมยินดีเป็นที่ปรึกษาชมรมครูอาวุโสวัชรวิทยา ท่านจะคอยเป็นที่ปรึกษาให้กำลังใจกับทีมงาน มาร่วมสังสรรค์กับชมรมทุกครั้ง ให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะติติงเมื่อดำเนินการผิดพลาด ทำให้สมาชิกมีกิจกรรมร่วมพบปะสังสรรค์ มีสายใยต่อกันชมรมมีความเป็นปึกแผ่น หลายสถาบันนำไปเป็นแบบอย่าง
    ผมพบกันท่านครั้งสุดท้ายที่งานขึ้นบ้านใหม่ อ ประภาส ธารเปี่ยม ยังคุยกันสนุกสนานกันดี ยังปรึกษากับท่านว่าเราจะจัดงานรับน้องใหม่วัยเกษียณ ในเดือนกันยายน ท่านก็ยังแนะนำว่าควรจะดำเนินการเช่นไร จากนั้นทราบข่าวว่าท่านไปผ่าตัดที่ พิษณุโลก ผ่าตัดเรียบร้อยแล้วอาการปกติ อีกไม่นานก็จะได้กลับบ้าน ผมกับอาจารย์เฉลิม ปรึกษากันว่าเมื่อท่านกลับมาพวกเราจะนัดกันไปให้กำลังใจท่าน และอาจารย์สมนึกที่บ้าน แต่ในที่สุด เช้าวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2563 ทราบข่าวจาก อ รุ่งศรี. ว่าพี่อิสระได้จากพวกเราไปแล้ว ผมกำลังประชุมฌาปนกิจออมทรัพย์ครู กำแพงเพชรอยู่ เมื่อเสร็จก็รีบมาประสานงานที่วัดคูยาง เพื่อแจ้งกำหนดการรดนำ้ศพให้กับสมาชิกทราบ
      ในนามของชมรมครูอาวุโส วัชรวิทยา ผมขออนุญาตเป็นตัวแทนไว้อาลัยให้กับท่านอาจารย์ อิสระ อภัยราช คุณความดีที่ท่านได้ทำไว้ขณะที่มีชีวิตอยู่ ผลบุญจะนำท่านไปสู่ไปสู่ภพภูมิที่ดี. 
                                         ด้วยความอาลัย
                                          วิริยะ. วัชรวดี
                         ประธานชมรมครูอาวุโสวัชรวิทยา
                                         27 กรกฎาคม 2563
97  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / การแสดงแสงเสียงประกอบจินตนาการ เรื่อง ตามรอยเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง ณ เมื เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2020, 06:08:11 am
การแสดงแสงเสียงประกอบจินตนาการ
เรื่อง ตามรอยเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง ณ เมืองไตรตรึงษ์
วันเสาร์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณ วัดวังพระธาตุ เวลา ๒๐.๐๐ น.
รวม ๕๐นาที

.................................................
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ทุกท่าน องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลนครไตรตรึงษ์ โรงเรียนนครไตรตรึงษ์ โรงเรียนบ้านไตรตรึไตรตรึงษ์ และประชาชนชาวนครไตรตรึงษ์ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่การแสดงแสงเสียงประกอบจินตนาการ  เรื่องตามรอยเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง ณ เมืองไตรตรึงษ์      ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙      พระพุทธเจ้าหลวง พระปิยมหาราช เสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร ๑๐ วัน คือตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ถึงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ทรงโปรดปรานเมืองกำแพงเพชรมากที่สุด และ ในวันนัในอดีตคือวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๔๙ ทรงเสด็จมาประพาสต้น วัดวังพระธาตุ และเมืองนครไตรตรึงษ์แห่งนี้ ทรงบันทึกเรื่องราวของเมืองประวัติศาสตร์ ไว้อย่างละอียด ทำให้เราเห็นภาพของเมืองนี้ในอดีตได้อย่างชัดเจน เพื่อการแสดงได้อรรถรส โปรดปิดไฟในงานทุกจุด ปิดเครื่องมือสื่อสาร และงดการแสดงออกอื่นๆ และเพื่อแสดงความจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทุกท่าน โปรดยืนขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์  (เปิดเพลงสรรเสริญบารมี)
เชิญทุกท่าน ได้เข้าสู่การแสดง แสงเสียง  เรื่อง ตามรอยเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง ณ เมืองไตรตรึงษ์ ณ บัดนี้..................................................................................
องค์ที่ ๑  เตรียมการรับเสด็จ (ที่บ้านกำนันสอน) (๕นาที)
(ที่บ้าน นายบ้านวังพระธาตุ  แม่บ้าน และนายบ้าน นั่งอยู่ด้วยกัน)
แม่บ้าน *  นี่พ่อกำนัน พ่อได้ข่าว พระเจ้าอยู่หัวเสด็จ  ถึงเกาะขี้เหล็ก เมื่อคืนทรงพักแรมที่เกาะขี้เหล็ก แขวงใกล้บ้านเรา หรือเปล่าพ่อ
พ่อกำนัน * ข้าได้ข่าว ตั้งแต่เสด็จเข้ากำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาแล้ว เห็นกระบวนเรือของพระยาวิเชียรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรของเรา ไปรับเสด็จที่ปากน้ำโพ และเห็นกระบวนหรือของพระยาสุจริตรักษาเจ้าเมืองตาก ตามไปรับเสด็จอีกขบวน แต่ข้าไม่ได้รับคำสั่งใดๆ จากท่านเจ้าเมืองเลย จึงไม่ได้ตัดสินใจ ว่าเราจะทำอย่างไรกัน แล้วก็ทำอะไรไม่ถูกแล้วด้วย ตื่นเต้น ตัวสั่นไปทั้งตัว ได้ข่าวว่าพระองค์จะเสด็จขึ้นวังพระธาตุบ้านเราด้วยนา แม่บุญนาค เราจะทำปรการใดดี
แม่บ้าน * ฉันทราบข่าวจาก คนที่กลับจากปากน้ำโพว่า การเสด็จประพาสต้นครั้งนี้ พระองค์เสด็จเป้นการส่วนพระองค์ ไม่ต้องการให้ใครไปต้อนรับ ทรงปลอมพระองค์มาเป็นสามัญชน กินอยู่อย่างเรียบง่าย ต้องการมาเยี่ยมพสกนิกรของพระองค์เท่านั้น ไม่ประสงค์ให้ใครเดือดร้อนแล้วพวกเราจะทำอย่างไรกันดีพ่อกำนัน
พ่อกำนัน *  เราจะเรียกประชุมชาวบ้านวังพระธาตุกันดีไหม หารือกันว่า เราจะทำฉันใดกันดี พระองค์เสด็จมาถึงบ้านเรา เราไม่รับเสด็จได้อย่างไร นับว่าเป็นมหากรุณาธิคุณสูงสุด แก่พวกเราชาววังพระธาตุ ตามธรรมเนียมไทย ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ นี่เป็นถึงช้างเหยียบนา   พระยาเหยียบเมืองเชียวนาแม่บุญนาค
แม่บ้าน * ฉันเห็นด้วยจ้า พระองค์ทรงโปรดราษฎร์ของพระองค์เช่นนี้ พวกเราต้องทำอะไรสักอย่างที่ตอบแทนพระคุณของพระองค์ ท่านพ่อกำนันคิดถูกต้องแล้ว
พ่อกำนัน  *( ตีเกราะเคาะไม้ เสียงดังสนั่นไปทั้งคุ้งน้ำ บ้านวังพระธาตุ ในตอนค่ำ ของวันที่ ๒๑ สิงหาคม ประชาชนทะยอยกันมาอยู่ลานบ้านกำนัน ราวทุ่มเศษ มากันครบทุกบ้าน (หน้าลานบ้านท่านกำนัน)
กำนัน * (ยืนขึ้น ชาวบ้านนั่งยองๆ รอบๆ กำนันด้านหน้า แม่บ้าน ยืนอยู่ข้างกำนัน)
กำนัน*  พวกเราชาววังพระธาตุ คงรู้กันทั่วไปแล้วว่า พระเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราข เสด็จ บ้านเราในวันพรุ่งนี้ ตอนสายๆ เราจะทำอย่างไรกันดี ข้าเชิญทุกท่านมาเพื่อปรึกษา การสำคัญอันนี้
ทิดแดง * ท่านกำนัน เราควรมาต้อนรับพระองค์ท่านที่ท่าน้ำหน้าวัดวังพระธาตุ ของเราให้เต็มท่าน้ำ เต็มลานวัด เตรียมการต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติ ที่พระองค์ทรงเมตตาชาวป่าชาวดงอย่างพวกเรา เหลือเกิน ข้าขอจะเตรียมกระบวนกลองยาวไว้รับสด็จ ให้ดีที่สุดที่พวกเราเคยเล่นมามา
กำนัน* ดีมากเลยทิดแดง พระองค์คงเกษมสำราญมากๆ ที่เห็นประชาชนสามัคคีกัน และจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์
อำแดงเอี่ยม*  ข้าจะถวายพระเครื่อง ที่วัดวังพระธาตุ แด่พระองค์ ได้ไหมกำนัน
อำแดงอิ่ม*  ข้าจะถวาย น้ำและหมากพลูแก่พระองค์ท่าน
แม่บ้าน* ดีมากเลยที่พวกเราช่ายกันและสามัคคีกัน ฉันได้ซ้อมระบำไว้หนึ่งชุด แนจะรำถวายพระองค์ หลังจากพระองค์ ประทับแล้ว
กำนัน * ยอดเยี่ยม เลยพี่น้อง ชาววังพระธาตุ พรุ่งนี้เราจะเห็นความสามัคคี ของพวกเราที่มีต่อ พระพุทธเจ้าหลวงของเรา ข้าขอบใจทุกคนมาก พรุ่งนี้ ย่ำรุ่ง เราไปพร้อมกันที่ท่าน้ำวัดวังพระธาตุ อย่างพร้อมเพรียงกัน เพื่อเตรียมการรับเสด็จมิให้บกพร่อง เอาละวันนี้เราแยกย้ายกันไปก่อน
ตัวละคร
 ๑ กำนันสอน
๒ ภรรยา แม่บุญนาค
๓ทิดแดง
๔อำแดงเอี่ยม
๕อำแดงอิ่ม
๖ ประชาชน ร่วมประชุม ราว ๓๐ คน

องค์ที่ ๒ ขบวนเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง   (๑๕นาที)
(คำบรรยาย) วันที่ ๒๒-สิงหา  เมื่อคืนฝนตกพร่ำเพรื่อ ไปยังรุ่ง แรกนอนไม่รู้สึกว่าจะเย็น ต่อหลับไปตื่นขึ้นจึงรู้สึกเย็นไปทั้งตัวท้องก็แข็งขลุกขลักอยู่เป็นนาน เอาสักหลาดขึงอุดหมด จึงนอนหลับ ตื่น สองโมงเช้าครึ่ง ออกเรือจวนสามโมง  มาจากท่าขี้เหล็ก เลี้ยวเดียวก็ถึงวังพระธาตุ อยู่ฝั่งตะวันตก มีบ้านเรือนราย ตลอดขึ้นมาแต่อยู่ฟากตะวันตก ฟากตะวันออกเป็นปาตั้งแต่พ้นคลองขลุงขึ้นมา มีต้นสักชุม แต่เป็นไม้เล็กๆ ซึ่งเป็นเวลาหวงห้าม เดินเรือวันนี้ว่าไปในป่ากลางสูง ได้ยินเสียงนกร้องต่างๆ อย่างชมดงเพรียกมาตลอดทาง
“ที่วังพระธาตุ เป็นชื่อชาวเรือตั้ง วังไม่ได้แปลว่าบ้าน แปลว่าห้วงน้ำ พระธาตุนั้นคือพระธาตุที่ตั้งตรงวังนั้นจอดเรือที่พักเหนือวังพระธาตุนิดหนึ่ง แล้วเสด็จขึ้นที่ท่าน้ำวังพระธาตุ”
( คำบรรยาย ไฟจับไปที่เรือพระที่นั่งหางแมงป่อง ในเรือพระที่นั่ง มี ผู้ตามเสด็จ ในเรือหลายคน) 
พระภิกษุ ยืน หน้ากำนันผู้ใหญ่บ้าน  ประชาชน นั่งเรียงราย ถวายของ ถวายการต้อนรับตามแนวรายทาง พระองค์ทรงเกษมสำราญ ทักทาย อาณาประชาราษฎร์ ทันใดวงกลองยาว ออกมาจากป่าริมทาง ขบวนใหญ่ ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน เจ้าคนังเงาะป่าตามเสด็จ วิ่งออกจากขบวนเสด็จ เข้ารำกับประชาชนอย่างสนุกสนาน (ประมาณ ๕นาที)
เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงทรงประทับ ณพลับพลาที่ชาวบ้านเตรียมถวาย การแสดงรำชุดหนึ่ง (ประมาณ ๕ นาที)
ตัวละคร
๑.   พระพุทธเจ้าหลวง อาจใช้ภาพ หรือคนแสดงที่เหมาะสม แต่งกายแบบสามัญชน
๒.   กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๓.   พระยาวิเชียรปราการ
๔.   พระยาสุจริตรักษา
๕.   นายคนัง เงาะป่า
๖.   ชาวบ้าน
๗.   ขบวนกองยาว
๘.   ชุดรำถวายหน้าพระที่นั่ง


องก์ที่ ๓ เสด็จทอดพระเนตรวัดวังพระธาตุ  (๕ นาที)
           (คำบรรยาย ทรงเสด็จทอดพระเนตร ไฟจับตามคำบรรยาย)
          พระธาตุนั้มีฐานแท่นซ้อนสามชั้น  แล้วถึงชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศ เรียกว่าทะนาน ถัดขึ้นไปถึงถึงบัลลังก์ ปล้อง”ฉน ๗ปล้องปลีแล้วปักฉัตร  องค์พระเจดีย์พังมาเสียซีกหนึ่ง มีรากระเบียงรอบวิหาร สี่ทิศ วิหารใหญ่ที่บูชาอยู่ทิศใต้  พระอุโบสถที่มีสีมาเป็นสำคัญ อยู่ที่ทิศตะวันออก เยื้องไม่ตรงกลาง เขาปลูกโรงหลังคามุงกระเบื้องในที่ใกล้พระเจดีย์ด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปทั้งนั่งและยืนหลายองค์  พระพุทธรูปหน้าตาดีแปลกกว่าที่เคยเห็น เป็นช่างได้ทำและถ่ายรูปที่เหล่านี้ไว้ เวลานี้มีพระที่มาจากเมืองนนท์ เป็นรู้จักมาแต่ก่อน ขึ้นมาจำพรรษาที่นี่ คิดจะปฎิสังขรณ์ ปลูกกุฎิอยู่เยื้องหน้าพระธาตุห่างจากศาลาบุงกระเบื้อง เดิมซึ่งอยู่ข้างลำน้ำใต้ลงไป  ล้วนน่าชื่นชม
ตัวละคร
๑.   พระพุทธเจ้าหลวง อาจใช้ภาพ หรือคนแสดงที่เหมาะสม แต่งกายแบบสามัญชน
๒.   กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๓.   พระยาวิเชียรปราการ
๔.   พระยาสุจริตรักษา
๕.   นายคนัง เงาะป่า
๖.   กำนันสอน
๗.    ภรรยา แม่บ้านแม่บุญนาค
๘.   ทิดแดง
๙.   อำแดงเอี่ยม
๑๐ อำแดงอิ่ม
๑๐ ประชาชน ร่วมตามเสด็จ ราว ๓๐ คน
     ๑๑.พระภิกษุ เจ้าอาวาสวัดวังพระธาตุ
องก์ที่ ๔ นำเสด็จสู่เมืองโบราณ นครไตรตรึงษ์ ( ๒๐นาที)
บรรยาย เข้าไปยังเมืองไตรตรึงษ์  คูนั้นใหญ่ กว้างราว ๑๕ วา ลึกลงเสมอพื้นหาดแต่น้ำแห้ง ยื่นไปถึงเชิงเทิน เห็นเป็นเมืองใหญ่โตอยู่  พื้นแผ่นดินเป็นแลงทั่วทั้งนั้น พบเจดีย์เจ็ดยอด เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ เหมือนวัดวังพระธาตุ เล่ากันว่า พระเจ้าแผ่นดินลงมาจากเชียงราย มาตั้งเมืองไตรตรึงษ์แห่งนี้.......ความว่า.....(เป็นการแสดง)
 ราวพุทธศักราช ๑๕๔๐ พระเจ้าชัยศิริ โอรสพระเจ้าพรหม ได้ราขาภิเษก เสวยราชย์ในเมืองไชยปราการ แขวงเมืองเชียงราย ต่อจากราชบิดา  ครองได้เจ็ดพรรษาถูกกองทัพพม่าจากเมืองสุธรรมวดีเข้ามายึดเมืองไชยปราการ พระเจ้าชัยศิริทรงรักสงบ เกรงไพร่พลล้มตายจึงคิดมาสร้างเมืองใหม่
ปีพุทธศักราช ๑๕๔๗ ปีมะเส็ง วันพฤหัสบดี เดือนแปดแรมหนึ่งค่ำ พระเจ้าชัยศิริ ทรงพาประชาชนของพระองค์อพยพออกจากเมืองไชยปราการ มาทางดอยด้วน แล้วตัดไปทางทิศตะวันออก ข้ามแม่น้ำยมในท้องที่อำเภอปงจังหวัดพะเยาล่องลงใต้เข้าเขตจังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอสอง อำเภอร้องกวาง อำเภอสูงเม่นตัดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ได้ผ่านดอยผาหมื่น และผาแสนเข้าเขตสุโขทัย และเดินทางเข้ามาทางลำน้ำปิง สถาปนาเมืองไตรตรึงษ์ขึ้น ณ แผ่นดินแห่งนี้
พระเจ้าชัยศิริ * (ท่ามกลางท้องพระโรง มีผู้เข้าเฝ้าหลายคน) เมื่อเราถูกบุกรุก เรามีกำลังน้อยไม่สามารถต้านทานได้ ข้าเห็นว่า เราจะอพยพผู้คนลงใต้ ไปตั้งเมืองแถบลุ่มน้ำปิง บริเวณที่พระราชบิดาเสด็จไปปราบขอมเมื่อกาลก่อน ใครเห็นเป็นประการใด
มเหสี*  หม่อมฉันเห็นด้วย ที่เราจะอพยพผู้คนจาก เมืองไชยปราการไปทางลุ่มน้ำปิง เพราะที่นั้น เสด็จพ่อพระเจ้าพรหม เคยเล่าให้ฟังว่า ดินแดนลุ่มน้ำปิงอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการสร้างบ้านแปงเมืองยิ่งนัก ท่านอำมาตย์ผู้ใหญ่ และท่านแม่ทัพ ท่านมีความเห็นเช่นใด
อำมาตย์* เห็นสมควรตามที่ พระเจ้าอยู่หัวและพระมเหสี ทรงคิดกาลไกล แม้หนทางจะลำบาก ถ้าเราไปสร้างเมืองใหม่ ก็จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้คนของเรา
แม่ทัพ  *ข้าพระพุทธเจ้า มีความเห็นเช่นเดียวกับท่านอำมาตย์ พระพุทธเจ้าข้า
พระเจ้าชัยศิริ* ท่านอำมาตย์และท่านแม่ทัพ ท่านได้ไปป่าวประกาศให้กับประชาขนว่า วันพรุ่ง เราจะทิ้งเมืองไชยปราการ เดินทางไปทางทิศใต้ ตามรอยพระจ้าพรหมพระราชบิดาแห่งเรา บริเวณท้ายน้ำแม่ระมิง ใครจะไปให้ตามมา ใครประสงค์จะไปอยู่เมืองอื่น ก็สามารถไปได้ เราจะไปตายเอาดาบหน้า
 วันรุ่งขึ้น พระเจ้าชัยศิริและไพร่พล เดินทางรอนแรม มาหนึ่งเดือนเศษ ก็มาถึงบริเวณแห่งนี้ และประกาศตั้งเมืองไตรตรึงษ์ขึ้น ณที่นี้
พระเจ้าชัยศิริ* แผ่นดินนี้อุดมสมบูรณ์ยิ่งนัก มีแม่น้ำปิงไหลผ่านและเป็นปราการสำคัญ  ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์  แผ่นดินน่าอยู่ งดงามยิ่งนัก ราวเมืองสวรรค์ ของอินทรา เราขอขนานนามเมืองใหม่นี้ว่า เมืองไตรตรึงษ์
(ชมระบำไตรตรึงษ์ ๕นาที)
ตัวละคร
๑.   พระเจ้าชัยศิริ
๒.   มเหสี
๓.   อำมาตย์
๔.   แม่ทำ
๕.   ประชาชนชุดเดิม
องก์ที่ ๕  ส่งเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง สู่เมืองกำแพงเพชร (๕นาที) เปิดเพลง ปิยราชาบารมี ประกอบเบาๆ ปะกอบคำบรรยาย
พระพุทธเจ้าหลวง มีดำรัส แก่ประชาชนชาวไตรตรึงษ์ ท่ามกลางประชาชนที่มาส่งเสด็จ  ว่า
“เมืองไตรตรึงษ์ เป็นเมืองใหญ่มาแต่อดีต สร้างได้อย่างทันสมัย ประชาชนมีจำนวนมาก ประชาชนฉลาดหลักแหลม มีน้ำใจ มีความจงรักภักดี ขอให้ดูแลบ้านเมืองของท่านไว้ให้ดี รักษาวัฒนธรรมประเพณี ไว้ให้มั่นคง สืบชั่วลูกหลาน วันที่ ๒๒ สิงหาคม ของทุกปีจะกลายเป็นวันประวัติศาสตร์ของชาวนครไตรตรึงษ์ตลอดไป  ขอให้ทุกคนมีความสุขความเจริญ เราจะออกเดินทางเข้าเมืองกำแพงเพชร ในค่ำวันนี้ มีโอกาสเราจะมาเยี่ยมชาววังพระธาตุ นครไตรตรึงษ์อีกครั้ง เราประทับใจในการต้อนรับของทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง (ทรงโบกพระหัตถ์“  ประชาชนก้มกราบ)
เรือพระที่นั่งหางแมงป่อง ค่อยๆเคลื่อนไปจากท่าน้ำวัดวังพระธาตุ สายพระเนตรของพระพุทธเจ้าหลวง มองราษฎร์ของพระองค์ด้วยความเมตตา
ประชาชนทุกคนน้ำตาคลอเบ้า ไม่คิดเลยว่า วันหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดิน ที่รักยิ่งของประชาชนพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช พระพุทธเจ้าหลวงของปวงชน ทรงไม่หวาดกลัวไข้ป่าและโรคระบาด ที่ชุมมากในเมืองไตรตรึงษ์ พระบารมีนี้จะปกเกล้า เหล่าชาวนครไตรตรึงษ์ ไปตลอดกาลสมัย ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ...........
(ตัวละครทุกตัว เข้าอยูในฉากนี้)
(เปิดเพลง ปิยราชาบารมี ในแกฟินาเร)

98  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่แม่เสนอ สิทธิ มารดาแห่งเพลงพื้นบ้านนครไตรตรึงษ์ แสงเจิดจ้า จับฟ้า มหาศาล เมื่อ: มิถุนายน 27, 2020, 04:48:37 am
แด่แม่เสนอ  สิทธิ มารดาแห่งเพลงพื้นบ้านนครไตรตรึงษ์
แสงเจิดจ้า จับฟ้า  มหาศาล       แสงตระการ ส่องสว่าง ในกลางหน
แสงแห่งรัก แสงปราณี ให้ทุกคน     คือแสงแห่ง ปวงชน  คนไตรตรึงษ์
คือไทรใหญ่ นกกา   ได้อาศัย      คือดวงใจ  ของพวกเรา ที่เข้าถึง
คือแม่เสนอ สิทธิ ที่คนึง        แม่พระซึ่ง จากไป    ใจอาดูร
ใจงดงาม ตามใจ ใครมาหา      ใจเจิดจ้า กับทุกคน มาหายสูญ
ใจแสนงาม ตามใจ ทวีคูณ       ใจเกื้อกูล ต่อทุกคน จนวันตาย
ตุณแม่ครับ คุณยายขา คุณป้าจ๊ะ      คุณแม่จะ ให้คำตอบ  ไม่ห่างหาย
ท่านรู้จริง  ท่านรู้รัก ไม่พักกาย       คือคุณยาย    เสนอ  ยังเพ้อครวญ
พ่อคนนั้น แม่คนนี้ วจีเพราะ         แสนเสนาะ จับใจ  อาลัยหวน
เพลงระบำ ก.ไก่ ใจรัญจวน         เพลงยังครวญ ก้องดัง กลางดวงใจ
เพลงคล้องช้าง รำโทน ที่โอนอ่อน       เพลงแห่นาค บวร   เสียงสดใส
เพลงเห่กล่อม ลูกน้อย แม่กลอยฤทัย     ทุกเพลงเพราะจับใจเมื่อ่ได้ฟัง
เพลงเรียกขวัญ เพลงกลางบ้าน สราญจิต     คือชีวิต แม่เสนอ  ท่านสอนสั่ง
เล่าสนุก ท้าวแสนปม นิยมดัง           นิทานยัง   กึกก้อง  กลางหัวใจ
ไม่มีแล้ว แม่เสนอ ที่เพ้อหา           ไม่มีแล้วศรัทธา อันยิ่งใหญ่
ไม่มีแล้ว สายตา ละลายใจ             ไม่มีแล้ว ใครใคร ที่อาทร
แสงสว่าง แห่งกำแพง แสงแห่งรัก          เคยประจักษ์ ดับลง อนุสรณ์
ลูกจะรัก จะหลงใหล ในกาพย์กลอน        แม่สั่งสอน จากใจ  ให้ความดี
จะสืบทอด  เพลงพื้นบ้าน ที่แม่สอน           รักสุนทร อ่อนหวาน ทุกวิถี
ลูกสัญญา จะตามแม่ ในชีวี               เป็นคนดี เหมือนกับแม่ ไม่แชเชือน
ขอแม่สู่ สรวงสวรรค์ ในชั้นเทพ            มีสุขเสพ ภูมิปัญญา ไตรตรึงษ์เหมือน
มีนิทาน ท้าวแสนปม เป็นบ้านเรือน          แม่เสนอ ยังติดเตือน ในกลางใจ

 ด้วยหัวใจศรัทธา ในแม่เสนอ สิทธิ   ศิลปินเอกแห่งบ้านวังพระธาตุ นครไตรตึงษ์
อ.สันติ อภัยราช  ลูกศิษย์ผู้ที่แม่ให้ความเมตตาทุกครั้งตลอดมา ขอผู้เดินตามรอยเท้าแม่เสนอ  สิทธิ  ทุกย่างก้าวตลอดไป

99  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่พ่ออุดม สาพาที ร่มโพธิ์ใหญ่ ให้ร่มเงา เราพิงพัก ร่มไทรใหญ ได้ประจักษ์ ทุ เมื่อ: มิถุนายน 24, 2020, 05:04:49 am
แด่พ่ออุดม สาพาที
ร่มโพธิ์ใหญ่ ให้ร่มเงา เราพิงพัก     ร่มไทรใหญ ได้ประจักษ์  ทุกแห่งหน
ร่มแห่งรัก ร่มเย็น เพื่อทุกคน           ร่มหักพ้นพรากไป ใจอาดูร
พ่อเป็นหลัก ปักจิต ชีวิตลูก        พ่อฝังปลูก ดีงาม ไม่เสื่อมสูญ
พ่ออุดม  คือหลักชัย ทวีคูณ         พ่อคือศูนย์รวมรัก รวมภักดี
เคยใกล้ชิด สนิทรัก จักโหยหา         เคยเป็นตา เป็นใจ เป็นวิถี
เคยอยู่ใกล้ ดูแล ทุกชีวี              เคยพาที พูดจา  มาจากไป
พ่อรักลูก รักทุกคน รักเพื่อนพ้อง          พ่อจับจ้อง ดูแล อย่างผ่องใส
พ่อไม่มี ลูกจะอยู่ กันอย่างไร           พ่อจากไป ใจดับลับโลกแล้ว
ต่อแต่ใครเล่า เฝ้าห่วงหา           ต่อแต่นี้ ชีวา ไม่ผ่องแผ้ว
ต่อแต่นี้  ตาบอด ไม่คลาดแคล้ว        ต่อแต่นี้ พ่อจากแล้ว ลูกอับจน
คำสอนพ่อ  ยังต่อติด ชีวิตลูก           วิถีถูก ทางผิดไม่สับสน
จะเดินตามคำสอน พ่อทุกคน           ลูกจะยล วงศ์เรา อย่างเข้าใจ
ขอพ่อหลับ ให้สนิท อย่าคิดห่วง          ลูกเศร้าทรวง แต่จะหัก ให้สดใส
ขอพ่อสู่ สรวงสวรรค์  ในชั้นไกล         สูงสุดใน วิถีชน คนสามัญ
ลูกยืนหยัด อยู่ได้ ไม่ต้องห่วง             เรื่องทั้งปวง  จะแก้ไข ไม่อาสัญ
แม้เกิดใหม่ เป็นลูกพ่อ นิจนิรันดร์         สู่สวรรค์  สบายจิต สนิทเทอญ
สันติ  อภัยราช




100  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ อาจเรียกท่านว่า กำนันนักบุญตำบลคณฑี ท่านดำรงตำแหน่งกำนันที เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 03:02:55 pm
นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ อาจเรียกท่านว่า กำนันนักบุญตำบลคณฑี ท่านดำรงตำแหน่งกำนันที่ตำบลคณฑีมาเกือบ ๒๐ปี กำนันตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร (๒๔๗๐ ถึง ๒๔๘๙)
นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑กรกฎาคม ๒๔๔๗ ในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ปากคลองลุน (บ้านโคนใต้) ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดาชื่อนายพวง แซ่ลิ้ม มารดาชื่อ นางปุย ได้เรียนหนังสือจนอ่านออก เขียนได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จากสำนักเรียนวัดปราสาท บ้านโคนใต้ จากนั้นในปี ๒๔๖๑ ได้เรียนจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนประชาบาล อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชรหลังจากนั้นท่านได้ย้ายตามบิดาไปอยู่ตำบลหูกวาง อ.บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ในทางธรรมท่านสอบได้นักะรรมตรี หลังจากนั้นท่านได้อพยพกลับมาที่ตำบลคณฑีอีกคร้งมาบุกเบิบ้านโคนจนสำเร็จดังใจหมาย
นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ สมรสกับกลำภัก โพธิ์แย้ม ในปี ๒๔๗๑ มีธิดา 1 คน คือ น.ส.ทองรวม และบุตร 1 คน คือ ด.ช.บุญเลิศ ซึ่งต่อมาทั้งสองได้ถึงแก่กรรม จากนั้นได้สมรสอีกครั้งหนึ่งกับนางสุมาลี เฉยไว ในปี 2489 โดยได้รับความเห็นชอบจากนางกลำภัก นายประสิทธิ์ มีบุตรกับนางสุมาลีทั้งสิ้น ๕ คน ได้แก่
๑ นายแพทย์ดำรงศิริ วัฒนศิร ๒. นายเลิศศิริ วัฒนศิริ ๓. นายสุวัฒน์ วัฒนศิริ ๔. นายชำนาญ วัฒนศิริ ๕. นายพิชัย วัฒนศิริ
นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นคนเก่ง อ่านออก เขียนได้ มีความขยัน มีความเป็นผู้นำ จนได้รับคัดเลือกให้เป็นกำนันตำบลคณฑี (ตั้งแต่ปี ๒๔๗๐ ถึง ๒๔๘๙รวม ๑๙ ปี) และได้รับคัดเลือกให้เป็นกำนันดีเด่นของจังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้มุ่งมั่นพัฒนาชุมชนให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลคนขยันของจังหวัดกำแพงเพชรในปี ๒๔๗๙ และพ่อตัวอย่างของจังหวัดกำแพงเพชร ในปี ๒๕๒๕
กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ได้มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษา ควบคู่ไปกับการพัฒนา ได้บริจาคที่ดินให้สร้างโรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกในชุมชน ปัจจุบันคือโรงเรียนชุมชนบ้านคณฑี (ประสิทธิ์ อุปภัมภ์) และในปี ได้มอบที่ดินเพื่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก "ศูนย์พัฒนาเด็กวันมหาราช" ซึ่งปัจจุบันคือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคณฑี และ ได้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนคณฑีพิทยาคม ซึ่งเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ปัจจุบันเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย) จึงกล่าวได้ว่า กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ บริจาคที่ดินให้กับชุมชนเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนตั้งแต่เด็กเล็ก จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ ท่านและบิดาได้ถวายที่ดินแก่สงฆ์ เพื่อสร้างวัด ดังมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้
๑. พ.ศ. ๒๔๘๐ มอบที่ดินตั้งโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านคณฑี(ประสิทธิ์ อุปถัมภ์) เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวา
๒. พ.ศ.๒๔๘๓ จัดหาที่ดินเพื่อสร้างวัดคณฑีศรีวชิราราม เนื้อที่ ๕ไร่เศษ
๓. พ.ศ.๒๔๘๘ มอบที่นาส่วนตัว เป็นสมบัติของวัด เนื้อที่ ๑๐๐ ไร่เศษ
๔. พ.ศ. ๒๔๙๓ มอบที่ดินเพื่อจัดตั้งสถานีอนามัย เนื้อที่ ๔ไร่๒ งาน
๕. พ.ศ. ๒๕๑๕ มอบที่ดินเพิ่มให้โรงเรียนชุมชนบ้านคณฑี(ประสิทธิ์ อุปถัมภ์) เนื้อที่ ๙ ไร ๒ งาน ๕๐ ตารางวา
๖. พ.ศ.๒๕๑๘ มอบที่ดินสร้างสูนย์เด็กวันมหาราช เนื้อที่ ๓งาน
๗. พ.ศ.๒๕๒๑ มอบที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนมัธยม คณฑีพิทยาคม เนื้อที่ ๓ตไร่ ๒งาน
๘. พ.ศ. ๒๕๒๗ มอบเงินเพื่อจัดตั้งมูลนิธิประสิทธิ์ วัฒนศิริ จำนวน ๑๑๒,๐๐๐ บาท
๙. พ.ศ. ๒๕๓๔ มอบที่ดินให้โรงเรียนประถมศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านคณฑี(ประสิทธิ์ อุปถัมภ์) เพิ้มอีก ๑”ร่ ๓ งาน
กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ประพฤติคุณธรรมมาตลอดชีวิต ที่บ้านโคน ไม่มีใครเลยที่ไม่รักและเคารพท่าน ในที่สุดเมื่อชราภาพ ท่านจากไป เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ รวมอายุได้ ๘๖ ปี ท่านผ่านชีวิต นักสู้ นักบุกเบิก นักปกครอง เป็นพ่อที่วิเศษของลูกๆ สมควรที่ได้รับการบันทึกไว้ให้เป็นแบบอย่าง ในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านโคน คณฑี กำแพงเพชร ด้วยความคารวะ
สันติ อภัยราช ผู้บันทึก (๒๓ มิย. ๖๓)
ในภาพอาจจะมี 4 คน, ผู้คนกำลังนั่ง
17คุณ, Viviana Supphadit, เลอพงศ์ กัณหา และคนอื่นๆ อีก 14 คน
แชร์ 1 ครั้ง
ถูกใจ
แสดงความคิดเห็น
แชร์
ความคิดเห็น
สันติ อภัยราช
เขียนความคิดเห็น...
101  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / บ้านโคนเหนือ จากตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ บันทึกไว้ว่า ได้ยินว่า ที่ตำบลบ้านโค ยัง เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 01:16:14 pm
บ้านโคนเหนือ
จากตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ บันทึกไว้ว่า
ได้ยินว่า ที่ตำบลบ้านโค ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมากท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง เห็นชายคนนั้นแล้วใคร่จะร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมายาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่งและบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฎพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราชภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง...”
ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสงมนวิฑูร ผู้แปลหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์เรื่องนี้ให้คำอธิบายว่าพระเจ้าโรจราชสมัย พ.ศ. ๑๘๐๐ นั้น คือ พ่อขุนบางกลางหาว ปฐมกษัตริย์ราชวงพระร่วง ในศิลาจารึกเรียกว่า ศรีอินทราทิตย์ บ้านโค นั้นอาจเป็นบ้านโคน หรือเมืองบางคนทีในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พระเจ้าล่วงก็คือ พระร่วง
จากจารึกหลักที่๑ พ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึงเมืองคณฑี บ้านโคน ว่า
เบื้อ(อ)งหัว นอน รอดคณฑี พระบาง แพรก สุพรรณภู-มิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเล สมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมือ-งฉอด เมือง…น หงสาวดี สมุทรหาเป็-นแดน o เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมื-องม่าน เมืองน…เมืองพลัว พ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว o ปลูกเลี้ยงฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน”(ด้านที่๔ บรรทัดที่ ๑๖-๒๗)
แสดงว่าบ้านโคน คณฑี เป็นเมืองเก่าแก่ มาก่อนสมัยสุโขทัย เป็นเมืองใหญ่ ทำให้ปรากฎนามเมืองในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งจารึกในปี พศ. ๑๘๓๕ เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงเมืองคณฑีครั้งแรก
ในสมัยพระญาลิไทยกษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงค์พระร่วงขึ้นครองรางชย์ ก่อนปี ๑๙๐๐ เมืองคณฑี ได้ประกาศอิสรภาพจากสุโขทัย และจากหลักฐาน จารึกหลักที่ ๓ จารึกนครชุมที่บันทึกไว้ว่า เมืองคณฑี หาเป็นขุนหนึ่ง (หมายความว่า เมืองคณฑี ไม่ขั้นกับเมืองสุโขทัยเหมือนแต่ก่อน) แสดงถึงความเข้มแข็งของเมืองคณฑีที่ประกาศอิสรภาพต่สุโขทัย
เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชรเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๔๙ ทรงเสด็จผ่านบ้านโคน เมืองคณฑี มิได้ขึ้น เพียงแต่ผ่าน บันทึกเรื่องเสาหงส์วัดปราสาทไว้เท่านั้น ความว่า

เมื่อรัชกาลที่ ๕ประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เสด็จผ่านวัดปราสาททรงบันทึกว่า "วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๔๙ ออกเวลา ๒โมงเช้า ๔โมงขึ้นเรือเหลืองจนถึงบ้านโคน ซึ่งเดากันว่าเป็นเมืองเทพนคร แต่ไม่มีหลักฐานอันใด บ้านเรือนดี มีวัดใหญ่ เสาหงส์มากเกินปกติ…"
…………
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช มหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จมาเมืองกำแพงเพชรครั้งที่ 2 เมื่อปี 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า
ี " คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเชิงเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่อยู่ในบริเวณนี้คือวัดกาทึ้ง มีสิ่งก่อสร้างสำคัญ อุโบสถก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ถัดจากอุโบสถไปทางทิศตะวันออก เป็น วิหารที่มีขนาดใหญ่กว่า ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่เช่นเดียวกันพระประธานภายในวิหารมีพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปหมวดเมืองกำแพงเพชร ตามโคกเนิน พบเศษภาชนะดินเผา แบบธรรมดาและแบบเผาไม่แกร่ง ไม่เคลือบ และเครื่องเคลือบแบบสุโขทัย ชุมชนโบราณบ้านโคนนี้ เชื่อกันว่าน่าจะเป็นเมืองคณฑี ตามที่กล่าวไว้ในจารึกหลักที่ 1 ว่าเมืองหัวนอน รอดคณฑี พระบางนอกจากนี้ยังมีตำนานเกี่ยวกับบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์อีกด้วย "

จากการสำรวจครั้งสุดท้าย ปี 2549 ของอ.สันติ อภัยราช ประธานสภาวัมนะรรมจังหวัด สมัยนั้น บันทึกไว้ว่า "เมืองคณฑี ที่มีที่ตั้งบริเวณวัดกาทึ้ง น่าใช้ลำคลองกาทึ้งเป็นคูเมืองป้องกัน อาจใช้ไม้เป็นระเนียด แทนแนวกำแพงเมือง หรือมีแนวกำแพงเมืองแต่ร้างไปนาน จึงทำให้ กำแพงเมืองซึ่งเป็นกำแพงดิน สลายตัวไปตามสภาพ สภาพวัดกาทึ้งอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ถูกบุกรุกที่ ไม่เห็นความสำคัญ ที่เป็นโบราณสถานที่มีอายุนานนับพันปี น่าเสียดายยิ่ง…
ี นอกจากวัดกาทึ้ง แล้ว ยังมีวัดปราสาท ที่เก่าแก่ใกล้เคียงกัน น่าจะมีอายุราวสมัยทวารวดี จากการวิเคราะห์ สภาพโบราณสถาน โบราณวัตถุ พบซากโบราณสถานโบราณวัตถุจำนวนมาก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่พ.ศ. 2450 มีเจดีย์ทรงปราสาทที่เรียก กันว่าวัดปราสาท ทำให้วัดนี้น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิพิธภัณฑ์วัดปราสาท ที่งดงาม ละมีโบราณวัตถุที่ยิ่งใหญ่มากโดยเฉพาะพระปางลีลา ที่งดงามที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา"

ผู้บุกเบิกบ้านโคนในยุคปัจจุบัน
บ้านโคนร้างมานานกว่า ห้าร้อยปี เมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ู้บุกเบิกรุ่นแรกๆ คือ นายพวง และนางปุย ได้เมาบุกเบิกบริเวณป่าบ้านโคน จนให้
กำเนิดผู้นำคนสำคัญของบ้านคณฑี ตือ กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ

กำนันประสิทธิ วัฒนศิริ
ในระยะแรก ท่านได้พาญาติพี่น้องอพยพไปตั้งบ้านเรือนบริเวณไร่นาของบิดา ( บ้านโคนเหนือ ) ในตอนแรกที่อพยพไปมีครอบครัวตั้งอยู่ก่อนแล้วประมาณ 5 ครอบครัว พอกำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ และญาติพี่น้องพร้อมกับคนงานเข้าไปสมทบก็ประมาณราวๆ 20 ครัวเรือน กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นคนที่มีที่ดินมากหลายร้อยไร่ ก็ชวนชาวบ้านในแถบอื่นๆ เข้ามาตั้งบ้านเรือนสมทบ โดยได้แบ่งที่ดินขายให้ราคาถูกเพื่อจะได้มีเพื่อนบ้านเพราะในสมัยนั้นมีโจรผู้ร้ายชุกชุม มีการปล้นสะดมบ่อยครั้ง จะได้มีเพื่อนบ้านไว้คอยต่อสู้กับพวกผู้ร้าย ต่อมาในบริเวณที่กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ไปตั้งถิ่นฐานชาวบ้านเรียกว่า “ บ้านโคนเหนือ กำนันประสิทธิ์ท่านได้เป็นกำนันคนแรกและคนสำคัญสำคัญของบ้านโคนมาเกือบ ๒๐ ปี ท่านมีส่วนสำคัญในการทำให้บ้านโคนเจริญรุ่งเรือง ขึ้นอย่างรวดเร็ว
ต่อมาเมื่อความเจริญมากขึ้นประชากรมากขึ้น บ้านโคน จึงเมีการปลี่ยนแปลงโดยแยกบ้านโคนเป็น ๒ หมู่บ้าน คือบ้านโคนใต้และบ้านโคนเหนือ
บ้านโคนใต้ คือหมู่ที่ ๒ ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหงหวัดกำแพงเพชรมีอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับบ้านโพธิ์อำนวย
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านท่าเสลี่ยง
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านโพธิ์พัฒนา
ทิศตะวันตก ติดกับลำน้ำปิง
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ไปทางทิศใต้ตามเส้นทางกำแพงเพชรท่ามะเขือ ประมาณ ๒๒ กิโลเมตรมีทั้งบ้านเรือนที่ตั้งริมน้ำและอยู่ในแนวถนน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
บ้านโคนเหนือ คือหมูที่ ๙ตำบลเทพนครอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชรแยกตัวมาจากบ้านโคนใต้ แต่กลับมาขึ้นกับตำบลเทพนครโดยมีอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร
ทิศใต้ ติดต่อกับแม่น้ำปิง
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านเกาะสง่า
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านท่าตะคร้อ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเหมือนบ้านโตนใต้ มีการพัฒนามาตลอดนอกจากการทำไร่ ทำนาแล้ว ที่บ้านโคนมีป่าไม้มากมากมาย อาชีพค้าไม้ จึงเป็นอาชีพสำคัญ ในอดีต
102  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติอำเภอบึงสามัคคี เมื่อ: เมษายน 28, 2020, 11:07:18 am


               เดิมเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นท้องที่ตำบลระหานขึ้นการปกครองกับ  อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้านคือบ้านโพธิ์เอน บ้านระหาน บ้านหนองบัว  บ้านคอปล้อง และบ้านสามขา ราษฎรประกอบอาชีพทำนาและหาของป่า เช่นทำน้ำมันยาง ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐ มีราษฎรจากอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ ๓๐ ครอบครัวได้อพยพมาอาศัยอยู่บ้านชายเคือง และปี พ.ศ.๒๔๗๕ มีราษฎรจากจังหวัดนครปฐม อพยพมาอยู่ที่บ้านทุ่งสนุ่นอีกกลุ่มหนึ่งปีพ.ศ.๒๔๗๕ได้มีการแยกการปกครองจากอำเภอคลองขลุงยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอแสนตอ(อำเภอขาณุวรลักษบุรีในปัจจุบันทำให้ตำบลระหานเปลี่ยนมาขึ้นการปกครอง กับอำเภอขาณุวรลักษบุรี ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๕ มีราษฎรจากอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์อพยพ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโนนพลวงอีกกลุ่มหนึ่ง ราษฎรเหล่านี้ได้บุกเบิกถางพงเข้าจับจองที่ดินประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ต้องต่อสู้กับสัตว์ร้าย โรคภัยไข้เจ็บ และโจรผู้ร้าย ด้วยความทรหดอดทน แม้จะต้องประสบกับภยันตรายต่างๆ แต่ราษฎรดังกล่าวต่างก็ร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ ด้วยเหตุที่พื้นที่มีบริเวณกว้างขวางอาศัยการเข้าจับจองบุกร้างถางพง ทำให้ราษฎรจาก ภาคอีสานเช่น จังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น และ ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท นครปฐม และจังหวัดข้างเคียง เช่น พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี เข้ามาจับจองที่ดินและจัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน ทำให้ตำบลระหานมีหมู่บ้านถึง ๒๑ หมู่บ้าน จึงได้แยกการปกครองออกเป็นอีกตำบลหนึ่งคือตำบลวังชะโอน เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ ต่อมาได้มีการแยกตำบลวังชะโอน ซึ่งขณะนั้นมี ๑๙ หมู่บ้าน เป็นตำบลบึงสามัคคี เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ ด้วยความสามัคคีของราษฎร ผสมผสาน ความสามารถและภูมิปัญญาของผู้นำและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจึงได้รวมตำบลระหานวังชะโอน และบึงสามัคคี ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอบึงสามัคคี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๗ โดยใช้ชื่อว่า "กิ่งอำเภอบึงสามัคคี" เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยแยกการปกครองจากอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร แล้วต่อมาแยกตำบลระหานออกเป็นตำบลเทพนิมิตและต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอบึงสามัคคี  ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ โดยมีผลบังคับในวันที่ ๘ กันยายน ปีเดียวกัน ดังนั้น อำเภอบึงสามัคคีจึงมี ๔ ตำบลคือ ตำบลวังชะโอน ตำบลระหาน ตำบลบึงสามัคคี และตำบลเทพนิมิต

ที่ตั้งและอาณาเขต
               อำเภอบึงสามัคคี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
                              ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอทรายทองวัฒนา และ อำเภอไทรงาม
                              ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอบึงนาราง (จังหวัดพิจิตร)
                              ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอบรรพตพิสัย (จังหวัดนครสวรรค์) และ อำเภอขาณุวรลักษบุรี
                              ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอคลองขลุง และ อำเภอทรายทองวัฒนา

ดินดำ น้ำดี
               อำเภอบึงสามัคคี มีแหล่งน้ำ และดินที่อุดมสมบูรณ์มาก จะปลูกพืชพันธุ์ชนิดใดก็ได้ผลอย่างดีเยี่ยมมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยทำการเกษตรจำนวนมาก ก่อนออกเดินทางไปสำรวจบันทึกสารคดีโทรทัศน์ ได้พบ นางสาวรัศมี ศรีภิบาล ผอ.กศน.อำเภอบึงสามัคคี และนายสมควร พันผา ครูอาสา กศน.อำเภอบึงสามัคคี ท่านนำไปสวนเกษตรที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพเกษตร ที่ สวนเพียงรดา ที่ยืนยันว่า อำเภอบึงสามัคคี ดินดำ น้ำดี อย่างแท้จริง ได้พบกับเจ้าของสวน นางสมปอง ตันเจริญ และบุตรชาย คือ นายภานุลักษณ์ ตันเจริญ และเด็กหญิงเพียงรดา ตันเจริญ ธิดาของนายภานุลักษณ์ ตันเจริญ ใช้ชื่อลูกสาวเป็นชื่อสวน สวนเพียงรดา อยู่ที่หมู่ที่ ๑ บ้านดงเย็น ตำบลระหาน ได้จัดสรรที่ดิน ปลูกส้ม มะม่วง มะละกอ นับร้อยไร่ โดยขุดคลองส่งน้ำถึงที่ทุกแปลง ทำเป็นร่องน้ำ นำเรือเข้าไปรดน้ำ ฉีดยา ฉีดปุ๋ย ได้อย่างลงตัว มีผลผลิต จำนวนมาก ทั้งขายผลผลิต และขายกิ่งตอน มีรายได้ปีละนับล้านบาท จึงยืนยันยันได้ว่า ดินดำ น้ำดี อย่างไม่ต้องสงสัย

สามัคคี ทั่วเขต
               อำเภอบึงสามัคคี จัดงาน บุญผะเหวด ได้ยิ่งใหญ่ มีประชาชนเข้าร่วมงานหลาย หมื่นคน โดยจัดที่ วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม นับตั้งแต่ พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู เป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมา ท่านได้พัฒนาวัดและพัฒนาคนไปพร้อมๆกัน ถึงพื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และทัศนคติที่อาจจะเห็นต่างกันบ้าง แต่ท่านก็ได้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมาเป็นตัวสื่อกลางเชื่อมความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยจะเห็นได้จากเวลาที่วัดทุ่งสนุ่นรัตนารามจัดงานประเพณีบุญต่างๆไม่ว่าจะเป็นประเพณีไทยหรือประเพณีอีสาน ต่างก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเพณีบุญผะเหวด ซึ่งทางวัดได้จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ นั้น มีประชาชนเข้าร่วมงานหลายหมื่นคน จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นงานบุญผะเหวดแห่งเดียวของภาคเหนือตอนล่างที่มีประชาชนเข้าร่วมงานมากที่สุด และจัดยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีของชาวลุ่มแม่น้ำโขง (ลาวครั่ง ลาวเวียง ลาวอีสาน) ที่อพยพมาอยู่ที่นี่ให้คงอยู่ไม่สูญหายไปตามกาลเวลาและระยะห่างจากรากเหง้าบรรพบุรุษของตน จึงยืนยันได้ตามคำขวัญที่ กล่าวว่า สามัคคี ทั่วเขต

การเกษตร ก้าวหน้า
               ที่สวนเกษตรพอเพียงของ นายเฉลิม พีรี เดิมประกอบอาชีพทำไร่อ้อย และ ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน เพื่อส่งโรงงานแต่ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนระบบการผลิต โดยแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง มาปลูกส้มโอ ท่าน ได้ทำกิจกรรมพืชเชิงเดี่ยวพบว่า มีภาระหนี้สินอยู่ตลอดเวลา เพราะต้อง จัดซื้อปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยเคมี และ ยาเคมีมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของตนเอง อีกทั้งไม่สามารถที่จะควบคุมการใช้จ่ายของครอบครัวได้ ท่านได้ทราบถึงแนวทางการปรับปรุงบำรุงดินในสภาพป่าที่เสื่อมโทรม พร้อมมีการอนุรักษ์ดินและน้ำ จึงเกิดจุดเปลี่ยนที่เกิดแรงจูงใจให้อยากปรับปรุงกิจกรรมของตนเอง ให้มาอนุรักษ์ดินและน้ำ ในขณะเดียวกัน ก็ได้น้อมนำเอา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๙ มาปรับวิธีคิด
นายเฉลิม พีรี ทำเองซึ่งต่อยอดจากการเข้าอบรมกับ กศน. รวมทั้งเลี้ยงไก่ เป็ด เลี้ยงหมูหลุม จากนั้นก็มีการผลิตน้ำส้มควันไม้และการผลิตน้ำหมักจากพืชสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น มาใช้ทดแทนการใช้สารเคมี นอกจากนั้นยังได้ปรับสวนส้ม เป็นการปลูกไม้ยืนต้นแบบผสมผสาน ร่มเย็น ให้เป็นธรรมชาติ
               นายเฉลิม เป็นบุคคลที่มีความรู้ ด้านการเกษตรอย่างแท้จริง พร้อมเป็นคนที่ปฏิบัติจริงเป็นคนที่เรียนรู้ อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังได้ปรับปรุงพื้นที่รอบๆที่อยู่อาศัย และปรับปรุงสวนส้มโอให้เป็นฐานการเรียนรู้หลายฐาน ปัจจุบันได้เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นแบบอย่างในชุมชน และมีผู้สนใจมาขอศึกษา และ มาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องในปีหนึ่งไม่น้อยกว่าพันคน
               นอกจากนั้นยังมีหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มาประสานงานแห่งความร่วมมือ เพื่อพัฒนากิจกรรมของลุงเฉลิม เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามแนว คือ การขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่น ที่เปรียบเหมือนงานวิจัยที่น่าทึ่งคือใช้ยอดของต้นไม้ เพราะไม่จำเป็นต้องเป็นกิ่งแก่ แบบที่ใช้ปักชำกันทั่วไป ตัดด้วยกรรไกรหรือ มีดคมๆ ให้รอยตัดเป็นแนวเฉียงนำมาปักชำในดินที่เตรียมไว้ คือดินที่ขุดลึกลงไปจากหน้าดิน ไม่ใช้หน้าดินหรือดินผสมปุ๋ยใดๆนำดินที่ได้มาพรมน้ำให้พอชุ่ม นำดินมาใส่ภาชนะที่เราจะใช้ชำยอดไม้ ให้สามารถมองเห็นได้ว่ารากจากยอดต้นไม้ อากาศที่ปิดและไอน้ำจะทำให้กิ่งชำมีน้ำตลอด และไอน้ำจะเร่งตาให้ออกใบใหม่ขึ้นมา เร่งให้ใบเปิด เพื่อรับแสง จะส่งผลให้เกิดการสังเคราะห์เป็นอาหาร เร่งให้กิ่งเกิดราก ทิ้งไว้ประมาณ ๑๕ วัน จะเกิดรากงอกออกมาให้เห็น ตามแบบนักวิจัยชาวบ้านหรือปราชญ์ชาวบ้าน พืชที่ใช้วิธีนี้มีหลายอย่างด้วยกันที่ลุงเฉลิมได้ทดลองทำแล้ว ได้แก่ มะนาว มะกรูด ชมพู่ สะเดา มะเดื่อ หม่อนบราชิล ทับทิม แคนา แคป่า มะกอก มะไฟ ตะขบป่า แมงลักผักแพ้ว ผักขม เป็นต้น สามารถขยายพันธุ์ได้ครั้งละมากๆตามที่ต้องการ พืชไม่กลายพันธุ์ และมีความแข็งแรงกว่าการตอนกิ่งหรือปักชำแบบธรรมดา คือสิ่งที่ลุงเฉลิม ที่เริ่มต้นจากพื้นที่ที่มีอยู่เล็กผืนหนึ่งกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ทำให้การเกษตรก้าวหน้า อย่างแท้จริง

ชาวประชาร่วมใจ
               ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศภก.)อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
โดยมีผู้นำ ในการนำเดินการโดย นายอำพร ป้อมทอง ผู้ใหญ่บ้าน และนางสุนีย์ ป้อมทอง ภรรยา เป็นผู้นำ พลิกจากนา ๘๐ไร่ มาสร้างศูนย์เรียนรู้ ในเนื้อที่ ๖ไร่ และขยายขึ้นเรื่อยๆ แบ่งฐานการเรียนรู้ออกเป็น แปดสถานี คือ
               สถานีที่ ๑ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว
               สถานีที่ ๒ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยโรงงาน
               สถานีที่ ๓ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกล้วยน้ำว้า
               สถานีที่ ๔ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
               สถานีที่ ๕ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผัก
               สถานีที่ ๖ การจัดการดิน ปุ๋ย และการใช้น้ำอย่ารู้คุณค่า
               สถานีที่ ๗ การผลิตขยายศัตรูธรรมชาติ (เชื้อจุลินทรีย์)
               สถานีที่ ๘ เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ/ไร่นาสวนผสม
               ประชาชนให้ความร่วมมือ ร่วมใจมาเรียนรู้และสาธิต ตามฐานทั้งแปด สมกับคำขวัญที่ว่า  ชาวประชาร่ามใจ อย่างแท้จริง

คำสำคัญ : บึงสามัคคี

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2559). สารคดีโทรทัศน์ วัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร : ตอน อำเภอบึงสามัคคี. กำแพงเพชร: ม.ป.พ.

103  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่ พี่ชัชวาลย์ อินทรภาษิต ผู้จากไป คือ นักกลอนธรรมศาสตร์ ฉกาจกล้า คือ นักเ เมื่อ: มีนาคม 01, 2020, 08:23:17 pm
แด่ พี่ชัชวาลย์  อินทรภาษิต ผู้จากไป

คือ  นักกลอนธรรมศาสตร์ ฉกาจกล้า
คือ   นักเจรจาที่ กล้าหาญ
คือ   นักรัก ยิ่งใหญ่ ใครจะปาน
คือ   นักบุญ บันดาล ช่วยทุกคน
คือ   ทนายใหญ่ ว่าความ นามกระเดื่อง
คือ   คนจริง เยี่ยมทุกเรื่อง  เฟื่องทุกหน
คิอ  ร่มโพธิ์ ร่มใทร  ให้ชั้นชน
คือ  พี่ชัช ของทุกคน  ที่จากไป
104  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / Skip to main content Home พระราชพงศาวดารกรุงเก่า... คำอธิบาย คำอธิบาย พระนิพนธ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2020, 03:10:35 am
Skip to main content
Home

พระราชพงศาวดารกรุงเก่า...
คำอธิบาย
คำอธิบาย พระนิพนธ์
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
ศุภมัศดุ ๑๐๔๒ ศกวอกนักษัตร ณ วัน ๔๑๒๕ คํ่า (พ.ศ. ๒๒๒๓) ทรงพระกรุณาโปรดตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอากฎหมายเหตุของพระโหราเขียนไว้แต่ก่อน แลกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ แลเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียวให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้

จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า เจ้าพะแนงเชิง

ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน ๖๖๕ ค่ำ เวลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๗๓๑ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๑๒) แรกสร้างวัดพระราม ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ ครั้นเถิงศักราช ๗๓๒ จอศก (พ.ศ. ๑๙๑๓) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา แลท่านจึงให้สมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสด็จไปเสวยราชสมบัติเมืองลพบุรี

ศักราช ๗๓๓ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองเหนือ แลได้เมืองเหนือทั้งปวง

ศักราช ๗๓๔ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๑๕) เสด็จไปเอาเมืองนครพังค่า แลเมืองแสงเชราได้เมือง

ศักราช ๗๓๕ ฉลูศก (พ.ศ. ๑๙๑๖) เสด็จไปเมืองชากังราวแลพระยาใสแก้วแลพระยาคำแหงเจ้าเมืองชากังราวออกต่อรบท่าน ๆ ได้ฆ่าพระยาใสแก้วตาย แลพระยาคำแหงแลพลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ แลทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา

ศักราช ๗๓๖ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๑๗) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า แลพระมหาเถรธรรมากัลญาณ แรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุฝ่ายบูรพทิศหน้าพระบันชั้นสิงห์สูงเส้น ๓ วา

ศักราช ๗๓๗ เถาะศก (พ.ศ. ๑๙๑๘) เสด็จไปเอาเมืองพิษณุโลก แลได้ตัวขุนสามแก้วเจ้าเมืองแลครัวอพยพมาครั้งนั้นมาก

ศักราช ๗๓๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๑๙) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นพระยาคำแหงแลท้าวผ่าคอง คิดด้วยกันว่าจะยอทัพหลวง แลจะทำมิได้ แลท้าวผ่าคองเลิกทัพหนี แลจึงเสด็จยกทัพหลวงตาม แลท้าวผ่าคองนั้นแตก แลจับได้ตัวท้าวพระยาแลเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน

ศักราช (๗๔๐) มะเมียศก (พ.ศ. ๑๙๒๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกรบทัพหลวงเป็นสามารถ แลเห็นว่าจะต่อด้วยทัพหลวงมิได้ จึงมหาธรรมราชาออกถวายบังคม

ศักราช ๗๔๗ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๒๙) เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แลให้เข้าปล้นเมืองนครลำภางมิได้ จึงแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่นนครเจ้าเมืองนครลำภาง ๆ นั้นจึงออกมาถวายบังคม แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน

ศักราชได้ ๗๕๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๓๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก แลเสด็จกลับคืน ครั้นเถิงกลางทางสมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพาน แลจึงเจ้าทองลันพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาได้ ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา แลท่านจึงให้พิฆาตเจ้าทองลันเสีย

ศักราช ๗๕๗ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๓๘) สมเด็จพระราเมศวรเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านเจ้าพระยาราม เสวยราชสมบัติ

ศักราช ๗๗๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๑๙๕๒) สมเด็จพระรามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าเสนาบดี แลท่านให้กุมเจ้าเสนาบดี ๆ หนีรอดแลข้ามไปอยู่ฟากปท่าคูจามนั้น แลเจ้าเสนาบดีจึงให้ไปเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรี ว่าจะยกเข้ามาเอาพระนครศรีอยุธยาถวาย ครั้นแลสมเด็จพระอินทราชาเจ้าเสด็จมาเถิงไซร้ จึงเจ้าเสนาบดียกพลเข้าไปปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้ จึงเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติ แลท่านจึงให้สมเด็จพระยารามเจ้าไปกินเมืองปท่าคูจาม

ศักราช ๗๘๑ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๖๒) มีข่าวมาว่าพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้านฤพาน แลเมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจล แลจึงเสด็จขึ้นไปเถิงเมืองพระบาง ครั้งนั้นพระยาบาลเมืองแลพระยารามออกถวายบังคม

ศักราช ๗๘๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๖๗) สมเด็จพระอินทราชาเจ้าทรงประชวร นฤพาน ครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยาแลเจ้าญี่พระยาพระราชกุมารท่านชนช้างด้วยกัน ณ สะพานป่าถ่าน เถิงพิราลัยทั้ง ๒ พระองค์ที่นั้น จึงพระราชกุมารเจ้าสามพระยาได้เสวยราชสมบัติพระนครอยุ (ธยา ทรงพระ) นามสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า แลท่านจึงให้ก่อพระเจดีย์สองพระองค์ สวมที่เจ้าพระยาอ้ายแลเจ้าพระยาญี่ชนช้างด้วยกัน เถิงอนิจภาพตำบลป่าถ่านนั้น ให้ศักราชนั้นสถาปนาวัดราชบุณ

ศักราช ๗๙๓ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๗๔) สมเด็จพระบรมราชาเจ้า เสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ แลท่านจึงให้พระราชกุมารท่าน พระนครอินทร์เจ้าเสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครหลวงนั้น ครั้งนั้นท่านจึงให้พระยาแก้ว พระยาไทย แลรูปภาพทั้งปวง มายังพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๘๐๐ มะเมียศก (พ.ศ. ๑๙๘๑) ครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า สร้างวัดมะเหยงคณ์เสวยราชสมบัติ แลสมเด็จพระราเมศวรเจ้าผู้เป็นพระราชกุมารท่านเสด็จไปเมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเห็นน้ำพระเนตรพระพุทธเจ้าพระชินราชตกมาเป็นโลหิต

ศักราช ๘๐๒ วอกศก (พ.ศ. ๑๙๘๓) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระราชมณเฑียร

ศักราช ๘๐๓ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๘๔) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข

ศักราช ๘๐๔ จอศก (พ.ศ. ๑๙๘๕) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แลเข้าปล้นเมืองมิได้ พอทรงพระประชวรแลทัพหลวงเสด็จกลับคืน

ศักราช ๘๐๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๘๗) เสด็จไปปราบพรรค แลตั้งทัพหลวง ตำบลปะทายเขษม ครั้งนั้นได้เชลย ๑๒๐,๐๐๐ ทัพหลวงเสด็จกลับคืน

ศักราช ๘๑๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๙๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า

ศักราช ๘๑๓ มะแมศก (พ.ศ. ๑๙๙๔) ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ก็เลิกทัพกลับคืน

ศักราช ๘๑๖ จอศก (พ.ศ. ๑๙๙๗) ครั้งนั้นคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมากนัก

ศักราช ๘๑๗ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๘๓) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองมลากา

ศักราช ๘๑๘ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๙๙) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองลิสบทีน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลโคน

ศักราช ๘๑๙ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๐๐) ครั้งนั้นข้าวแพงเป็นทะนานแล ๘๐๐ เบี้ย เมื่อคิดเสมอเบี้ยเฟื้องแล ๘๐๐ นั้น เกวียนนั้นเป็นเงินสามชั่งสิบบาท

ศักราช ๘๒๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๐๑) ครั้งนั้นให้บุณพระศาสนาบริบูรณ์ แลหล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ ชาติ

ศักราช ๘๒๒ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๐๓) เล่นการมหรสพฉลองพระ แลพระราชทานแก่สงฆ์แลพราหมณแลพรรณิพกทั้งปวง ครั้งนั้นพระยาซเลียงคิดเป็นขบถ พาเอาครัวทั้งปวงไปออกแต่มหาราช

ศักราช ๘๒๓ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๐๔) พระยาซเลียงนำมหาราชมาจะเอาเมืองพิษณุโลก เข้าปล้นเมืองเป็นสามารถมิได้เมือง แลจึงยกทัพเปร่อไปเอาเมืองกำแพงเพ็ชร แลเข้าปล้นเมืองเถิงเจ็ดวันมิได้เมือง แลมหาราชก็เลิกทัพคืนไปเชียงใหม่

ศักราช ๘๒๔ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๐๕) เมืองนครไทยพาเอาครัวอพยพหนีไปนาน แลให้พระกลาโหมไปตามได้คืนมา แล้วพระกลาโหมยกพลไปเอาเมืองสุโขทัย ได้เมืองคืนดุจเก่า

ศักราช ๘๒๕ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๐๖) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า ไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก แลตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาทรงพระนามสมเด็จบรมราชา ครั้งนั้นมหาราชท้าวลูกยกพลมาเอาเมืองสุโขทัย จึงสมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้าแลสมเด็จพระอินทราชาเสด็จไปกันเมือง แลสมเด็จพระราชาเจ้าตีทัพพระยาเถียนแตก แลทัพท่านมาปะทัพหมื่นนคร แลท่านได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร แลครั้งนั้นเป็นโกลาหลใหญ่ แลข้าเศิกลาวทั้งสี่ช้างเข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งช้างเดียวนั้น ครั้งนั้นสมเด็จพระอินทราชาเจ้าต้องปืนณพระพักตร์ แลทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป

ศักราช ๘๒๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๐๗) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี

ศักราช ๘๒๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๐๘) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้าทรงพระผนวช ณวัดจุฬามณีได้ ๘ เดือน แล้วลาพระผนวช.

ศักราช ๘๓๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๑๑) ครั้งนั้นมหาราชท้าวบุญ ชิงเอาเมืองเชียงใหม่แก่ท้าวลูก

ศักราช ๘๓๓ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๑๔) ได้ช้างเผือก

ศักราช ๘๓๔ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๑๕) พระราชสมภพพระราชโอรสท่าน

ศักราช ๘๓๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๑๖) หมื่นนครได้ลอกเอาทองพระเจ้า ลงมาหุ้มดาบ

ศักราช ๘๓๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๑๗) เสด็จไปเอาเมืองซเลียง

ศักราช ๘๓๗ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๑๘) มหาราชขอมาเป็นไมตรี

ศักราช ๘๓๙ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๒๐) แรกตั้งเมืองนครไทย

ศักราช ๘๔๑ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๒๒) พระยาสีหราชเดโชเถิงแก่กรรม

ศักราช ๘๔๒ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๒๓) พระยาล้านช้างเถิงแก่กรรม แลพระราชทานให้อภิเศกพระยาซ้ายขวาเป็นพระยาช้างแทน

ศักราช ๘๔๔ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๒๕) ท่านให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วัน ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงพระราชนิพนธ์มหาชาติ์คำหลวงจบบริบูรณ์

ศักราช ๘๔๕ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๒๖) สมเด็จพระบรมราชาเจ้า เสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย

ศักราช ๘๔๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๒๗) สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าแลสมเด็จพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ทรงพระผนวชทั้ง ๒ พระองค์

ศักราช ๘๔๗ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๒๘) พระราชโอรสท่านลาพระผนวช แลประดิษฐานพระองค์นั้นไว้ในที่พระมหาอุปราช

ศักราช ๘๔๘ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๒๙) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปวังช้างตำบลสำฤทธิบูรณ์

ศักราช ๘๔๙ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๓๐) ท้าวมหาราชลูกพิราไลย

ศักราช ๘๕๐ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๓๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองทวาย แลเมื่อจะเสียเมืองทวายนั้นเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ โคตกลูกตัวหนึ่งเป็นแปดเท้า ไก่ฟักไข่ออกตัวหนึ่งเป็นสี่เท้า ไก่ฟักไข่สามค่องออกลูกเป็นหกตัว อนึ่งข่าวสารงอกเป็นใบ อนึ่งในปีเดียวนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกเสด็จนฤพานณเมืองพิษณุโลก

ศักราช ๘๕๒ จอศก (พ.ศ. ๒๐๓๓) แรกให้ก่อกำแพงเมืองพิไชย

ศักราช ๘๕๓ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๓๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี

ศักราช ๘๕๔ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๓๕) ประดิษฐานมหาสถูปพระบรมธาตุสมเด็จพระบรมไตรโลก แลสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า

ศักราช ๘๕๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๓๙) ท่านประพฤติการเบญจาพิธพระองค์ท่าน แลให้เล่นการดึกดำบรรพ์

ศักราช ๘๕๙ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๔๐) ท่านให้ทำการปฐมกรรม

ศักราช ๘๖๑ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๔๒) แรกสร้างพระวิหารวัดศรีสรรเพชญ์

ศักราช ๘๖๒ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๔๓) สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า แรกให้หล่อพระพุทธเจ้าศรีสรรเพชญ์ แลแรกหล่อในวัน ๑๘๖ ค่ำ ครั้นเถิงศักราช ๘๖๕ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๔๖) วัน ๖๑๑๘ คํ่าฉลองพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชญ์ คณนาพระพุทธเจ้านั้น แต่พระบาทเถิงยอดพระรัศมีนั้น สูงได้ ๘ วา พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก กว้างพระพักตร์นั้น ๓ ศอก แลพระอุระนั้นกว้าง ๑๑ ศอก แลทองหล่อพระพุทธเจ้านั้นหนัก ๕ หมึ่น ๓ พันชั่ง ทองคำหุ้มนั้นหนักสองร้อยแปดสิบหกชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนื้อ ๗ น้ำสองขา ข้างหลังนั้นทองเนื้อ ๖ น้ำสองขา

ศักราช ๘๗๗ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๕๘) วัน ๓๑๕๑๑ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๘ ชั้น ๓ ฤกษ์ ๙ ฤกษ์ สมเด็จพระรามาธิบดี เสด็จไปเมืองนครลำภางได้เมือง

ศักราช ๘๘๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๖๑) ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างพระศรีสรรเพชญ์เสวยราชสมบัติ แรกตำราพิไชยสงครามแลแรกทำสารบาญชีพระราชสัมฤทธิทุกเมือง

ศักราช ๘๘๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๖๗) ครั้งนั้นเห็นงาช้างต้นเจ้าพระยาปราบแตกข้างขวายาวไป อนึ่งในเดือนนั้นมีผู้ทอดบัตรสนเท่ห์ครั้งนั้นให้ฆ่าขุนนางเสียมาก

ศักราช ๘๘๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๖๘) น้ำน้อยข้าวเสียสิ้นทั้งปวง อนึ่งแผ่นดินไหวทุกเมือง แล้วแลเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ ครั้นรุ่งปีขึ้นศักราช ๘๘๘ จอศก (พ.ศ. ๒๐๖๙) ข้าวสารแพงเป็น ๓ ทะนานต่อเฟื้องเบี้ยแปดร้อย เกวียนหนึ่งเป็นเงินชั่งหกตำลึง ครั้งนั้นประดิษฐานสมเด็จหน่อพุทธางกูรเจ้าในที่อุปราช แลให้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก

ศักราช ๘๙๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๗๒) เห็นอากาศนิมิตรเป็นอินท์ธนูแต่ทิศหรดี ผ่านอากาศมาทิศพายัพมีพรรณขาว วันนั้น ๑๘๑๒ คํ่า สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า เสด็จพระที่นั่งหอพระ ครั้นคํ่าลงวันนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระอาทิตยเจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จบรมราชาหน่อพุทธางกูร

ศักราช ๘๙๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๗๖) สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระราชกุมารได้เสวยราชสมบัติ

ครั้นเถิงศักราช ๘๙๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๗๗) พระราชกุมารท่านนั้นเป็นเหตุจึงได้ราชสมบัติแก่พระไชยราชาธิราชเจ้า

ศักราช ๙๐๐ จอศก (พ.ศ. ๒๐๘๑) แรกให้พูนดิน ณ วัดชีเชียงในเดือนหกนั้น แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าแลพระเจดีย์ เถิงเดือน ๑๑ เสด็จไปเชียงไกรเชียงกราน เถิงเดือน ๔ ขึ้น ๙ คํ่า เพลาคํ่าประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพยุพัดหนักหนา แลคอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก แลเรือไกรแก้วนั้นทลาย อนึ่งเมื่อเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพชรนั้นว่าพระยานารายณ์คิดเป็นขบถ แลให้กุมเอาพระยานารายณ์นั้นฆ่าเสีย ในเมืองกำแพงเพชร

ศักราช ๙๐๗ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๘๘) วัน ๔๔๗ คํ่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า แลยกพลออกตั้งทัพไชยตำบลบางบาน ณวัน ๗๑๔๗ คํ่าจึงยกทัพหลวงจากที่ทัพไชยไปเมืองกำแพงเพชร เถิงณวัน ๓๙๗ คํ่า เสด็จออกตั้งทัพไชยณเมืองกำแพงเพชร ณวัน ๑๑๔๗ คํ่า ยกทัพไปตั้งเชียงทอง แล้วยกไปตั้งณเมืองเชียงใหม่ เถิงณวัน ๑ ๙ คํ่า ทัพหลวงเสด็จกลับคืนจากเมืองเชียงใหม่ เถิงวัน ๕๑๕๙ คํ่า ทัพหลวงเถิงเมืองกำแพงเพชร แล้วจึงเสด็จมายังพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายพระนครศรีอยุธยานั้นในวัน ๔๔๓ คํ่า เกิดเพลิงไหม้เถิง ๓ วันจึงดับได้ แลจึงมีบัญชีเรือนเพลิงไหม้นั้น ๑๐,๐๕๐ เรือน ณวัน ๑๑๑๒ คํ่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเมืองเชียงใหม่ แลให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า แลยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองกำแพงเพชร แรมทัพหลวงอยู่ณเมืองกำแพงเพชรนั้นเดือนหนึ่ง เถิงวัน๕๖๓ ค่ำ เสด็จออกตั้งทัพไชย เถิงณวัน ๑๙๓ ค่ำ จึงยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ แลณวัน ๓๓๔ คํ่า ได้เมืองลำพูนชัย วัน ๖๑๓๔ คํ่า มีอุบาทว์เห็นเลือดติดอยู่ณประตูบ้านแลเรือนแลวัดทั้งปวง ในเมืองแลนอกเมืองทั่วทุกตำบล เถิงวัน ๒๑๕๔ คํ่า ยกทัพหลวงเสด็จจากเมืองเชียงใหม่ มายังพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๐๘ มะเมียศกเดือน ๖ นั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าพระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ในปีนั้นแผ่นดินไหว

ศักราช ๙๑๐ วอกศก วัน ๗๕๕ คํ่า เสด็จออกสนามให้ชนช้าง แลงาช้างพระยาไฟนั้นหักเป็น ๓ ท่อน อนึ่งอยู่ ๒ วันช้างต้นพระฉัททันต์ไล่ร้องเป็นเสียงสังข์ อนึ่งประตูไพชยนต์ร้องเป็นอุบาทว์ เถิงวัน ๑๕๘ ค่ำสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าเป็นเหตุ จึงขุนชินราชได้ราชสมบัติ ๔๒ วัน แลขุนชินราชแลแม่ยั่วศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุ จึงเชิญสมเด็จพระเธียรราชาธิราชเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แลครั้นเสวยราชสมบัติได้ ๗ เดือน พระยาหงสาปังเสวกี ยกพลมายังพระนครศรีอยุธยาในเดือน ๔ นั้น เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้า เสด็จออกไปรบเศิกหงสานั้น สมเด็จพระองค์มเหสี แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรี เสด็จทรงช้างออกไปโดยเสด็จด้วย แลเมื่อได้รับเศิกหงสานั้น ทัพหน้าแตกมาปะทัพหลวงเป็นโกลาหลใหญ่ แลสมเด็จพระองค์มเหสี แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรีนั้น ได้รบด้วยข้าเศิกเถิงสิ้นชนม์กับคอช้างนั้น แลเศิกหงสาครั้งนั้น เสียสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรไปแก่พระยาหงสา แลจึงเอาพระยาปราบแลช้างต้นพระยานุภาพ ตามไปส่งให้พระยาหงสาเถิงเมืองกำแพงเพชร แลพระยาหงสาจึงส่งพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าสมเด็จพระราเมศวรเจ้า มายังพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๑๑ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๙๒) ณ วัน ๗๑๐๒ ค่ำ ได้ช้างเผือกพลาย ตำบลป่าตะนาวศรีสูง ๔ ศอกมีเศษ ชื่อปัจจัยนาเคนทร์ ครั้งนั้นแรกให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๑๒ จอศก (พ.ศ. ๒๐๙๓) เดือน ๘ ขึ้น ๒ คํ่า ทำการพระราชพิธีปฐมกรรมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าตำบลท่าแดง พระกรรมวาจาเป็นพฤฒิบาศ พระพิเชฏฐ์เป็นอัษฎาจารย์ พระอินโทรเป็นกรมการ

ศักราช ๙๑๔ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๙๕) ครั้งนั้นให้แปลงเรือแซเป็นเรือไชยแลหัวสัตว์

ศักราช ๙๑๕ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๙๖) เดือน ๗ นั้น แรกทำการพระราชพิธีมัธยมกรรมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิตำบลชัยนาทบูรี

ศักราช ๙๑๖ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๙๗) เสด็จไปวังช้างตำบลบางละมุง ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง อนึ่งในเดือน ๑๒ นั้น ได้ช้างพลายเผือกตำบลป่ากาญจน์บูรีสูง ๔ ศอกมีเศษ ชื่อพระคเชนโทรดม

ศักราช ๙๑๗ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๙๘) วน ๒๗๗ คํ่า ได้ช้างเผือกพลาย ตำบลป่าเพชรบุรี สูงสี่ศอกคืบหนึ่งช้างชื่อพระแก้วทรงบาตร์

ศักราช ๙๑๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๙๙) เดือน ๑๒ แต่งทัพไปละแวก พระยาองคสวรรคโลกเป็นทัพหลวง ถือพล ๓๐,๐๐๐ ให้พระมหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์ พระมหาเทพถือวัวเกวียน ๑๑ (.........) ฝ่ายทัพเรือไซร้ พระยาเยาวเป็นนายกอง ครั้งนั้นลมพัดขัด ทัพเรือมิทันทัพบกแลพระยารามลักษณ์ซึ่งเกณฑ์เข้าทัพบกนั้น เข้าบุกทัพในกลางคืน แลทัพพระยารามลักษณ์นั้นแตกมาปะทัพใหญ่ ครั้งนั้นเสียพระยาองคศวรรคโลก นายกองแลช้างม้ารี้พลมาก

ศักราช ๙๑๙ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๐๐) วัน ๑๑๔ คํ่า เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวังมาก อนึ่งในเดือน ๓ นั้นทำการพระราชพิธีอาจาริยาภิเศก แลทำการพระราชพิธีอินทราภิเศกในวังใหม่ อนึ่งเดือน ๔ นั้น พระราชทานสัตสดกมหาทาน แลให้ช้างเผือกพระราชทานมีกองเชิงเงิน ๔ เท้าช้างนั้น เป็นเงิน ๑,๖๐๐ บาท แลพระราชทานรถ ๗ รถเทียมด้วยม้า แลมีนางสำหรับรถนั้นเสมอรถ ๗ นาง อนึ่งในเดือน ๗ นั้น เสด็จไปวังช้างตำบลโตรกพระ ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง

ศักราช ๙๒๑ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๐๒) เสด็จไปวังช้างตำบลแสนตอ ได้ช้างพลายพัง ๔๐ ช้าง.

ศักราช ๙๒๒ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๐๓) เสด็จไปวังช้างตำบลวัดไก่ ได้ช้างพลายพัง ๕๐ ช้าง อนึ่งอยู่ในวัน ๗๘๑๒ คํ่าได้ช้างเผือก แลตาช้างนั้นมิได้เป็นเผือก แลลูกติดมาด้วยตัวหนึ่ง

ศักราช ๙๒๓ ระกาศก (พ.ศ. ๒๑๐๔) พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดมหาธาตุ แล้วหนีออกไปอยู่ตำบลม่วงมดแดง แลพระสังฆราชวัดป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์ ให้เข้ามาเข้าพระราชวัง ณ วัน ๗๑๙ คํ่า ครั้งนั้นพระยาสีหราชเดโชเป็นโทษรับพระราชอาชญาอยู่ แลพระยาสีหราชเดโชจึงให้ไปว่าแก่พระศรีศิลป์ว่า ครั้นพ้นวันพระแล้วจะให้ลงพระราชอาชญาฆ่าพระยาสีหราชเดโชเสีย แลขอให้เร่งยกเข้ามาให้ทันแต่ในวันพระนี้ แลพระศรีศิลป์จึงยกเข้ามาแต่ในวัน ๕๑๔๘ คํ่า เพลาเย็นนั้นมายังกรุง ครั้นรุ่งขึ้นในวันพระนั้น พระศรีศิลป์เข้าพระราชวังได้ ครั้งนั้นได้ พระศรีศิลป์มรณภาพในพระราชวังนั้น ครั้นแลรู้ว่าพระสังฆราชป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์เป็นแม่นแล้วไซร้ ก็ให้เอาพระสังฆราชป่าแก้วไปฆ่าเสีย

ศักราช ๙๒๔ จอศก (พ.ศ. ๒๑๐๕) เสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย ได้ช้างพลายพัง ๗๐ ช้าง

ศักราช ๙๒๕ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๐๖) พระเจ้าหงสานิพัตรยกพลลงมาในเดือน ๑๒ นั้น ครั้นเถิงวัน ๑๕๒ คํ่า พระเจ้าหงสาได้เมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเมืองพิษณุโลกข้าวแพง ๓ สัดต่อบาท อนึ่งคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมาก แล้วพระเจ้าหงสาจึงได้เมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง แล้วจึงยกพลลงมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา ครั้งนั้นฝ่ายกรุงพระมหานครศรีอยุธยาออกเป็นพระราชไมตรี แลสมเด็จพระมหากระษัตริย์เจ้าทั้งสองฝ่ายเสด็จมาทำสัตยาทิษฐานหลั่งน้ำสิโนทกตำบลวัดพระเมรุ แล้วจึงพระเจ้าหงสาขอเอาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรเจ้า แลช้างเผือก ๔ ช้างไปเมืองหงสา ครั้งนั้นพระยาศรีสุรต่านพระยาตานีมาช่วยการเศิก พระยาตานีนั้น เป็นขบถแลคุมชาวตานีทั้งปวงเข้าในพระราชวัง ครั้นแลเข้าในพระราชวังได้เอาช้างเผือกมาขี่ยืนอยู่ณท้องสนาม แล้วจึงลงช้างออกไปณทางตะแลงแกง แลชาวพระนครเอาพวนขึงไว้ต่อรบด้วยชาวตานี ๆ นั้นตายมาก แลพระยาตานีนั้นลงสำเภาหนีไปรอด ในปีเดียวนั้นพระเจ้าล้านช้างให้พระราชสารมาถวายว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้า แลทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พระเจ้าล้านช้าง แลครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้าทรงพระประชวร จึงพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระแก้วฟ้าพระราชบุตรี ให้แก่พระเจ้าล้านช้าง

ศักราช ๙๒๖ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๐๗) พระเจ้าล้านช้างจึงให้เชิญสมเด็จพระแก้วฟ้าพระราชบุตรี ลงมาส่งยังพระนครศรีอยุธยา แลว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้านั้น แลจึงพระราชทานสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าไปแก่พระเจ้าล้านช้าง ครั้งนั้นพระเจ้าหงสารู้เนื้อความทั้งปวงนั้น จึงแต่งทัพมาซุ่มอยู่กลางทาง แลออกชิงเอาสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าได้ ไปถวายแก่พระเจ้าหงสา อนึ่งในปีนั้น น้ำณกรุงพระนครศรีอยุธยานั้นน้อยนัก

ศักราช ๙๓๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๑๑) ในเดือน ๑๒ นั้น พระเจ้าหงสายกพลมาแต่เมืองหงสา ครั้นเถิงวัน ๖๑๑ คํ่า พระเจ้าหงสาเถิงกรุงพระนครศรีอยุธยา ตั้งทัพตำบลหล่มพลี แลเมื่อเศิกหงสาเข้าล้อมพระนครศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าทรงพระประชวรนฤพาน แลครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระมหินทราธิราชตรัสมิได้นำพาการเศิก แต่พระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นตรัสเอาพระทัยใส่ แลเสด็จไปบัญชาการที่จะรักษาพระนครทุกวัน ครั้นแลสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าตรัสว่าพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวเสด็จไปบัญชาการเศิกทุกวันดังนั้นก็มิไว้พระทัย ก็ให้เอาพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นไปฆ่าเสีย ณ วัดพระราม

ครั้งนั้นการเศิกซึ่งจะรักษาพระนครนั้นก็คลายลง ครั้นเถิงศักราช ๙๓๑ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๑๒) ณวัน ๑๑๑๙ คํ่า เพลารุ่งแล้วประมาณ ๓ นาฬิกาก็เสียกรุงพระนครศรีอยุธยาแก่พระเจ้าหงสา ครั้นเถิงวัน ๖๖๑๒ คํ่า ทำการปราบดาภิเศก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า เสวยราชสมบัติกรุงพระนครศรีอยุธยา อนึ่งเมื่อพระเจ้าหงสาเสด็จกลับคืนไปเมืองหงสานั้น พระเจ้าหงสาเอาสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าขึ้นไปด้วย

ศักราช ๙๓๒ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๑๑๓) พระยาละแวกยกพลมายังพระนครศรีอยุธยา พระยาละแวกยืนช้างตำบลสามพิหาร แลได้รบพุ่งกัน แลชาวในเมืองพระนครยิงปืนออกไป ต้องพระยาจัมปาธิราชตายกับคอช้าง ครั้งนั้นเศิกพระยาละแวกเลิกทัพกลับคืนไป ในปีนั้นน้ำ ณ กรุงพระนครศรีอยุธยามาก

ศักราช ๙๓๓ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๑๔) น้ำน้อย อนึ่งสมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้า เสด็จขึ้นไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก

ศักราช ๙๓๔ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๑๕) น้ำน้อยนัก

ศักราช ๙๓๕ ระกาศก (พ.ศ. ๒๑๑๖) น้ำน้อยเป็นมัธยม

ศักราช ๙๓๖ จอศก (พ.ศ. ๒๑๑๗) น้ำมากนัก ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงพระประชวรทรพิษ

ศักราช ๙๓๗ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๑๘) พระยาละแวกยกทัพเรือมายังพระนครศรีอยุธยา ในวน ๗๑๐๑ คํ่านั้น ชาวเมืองละแวกตั้งทัพเรือตำบลพะแนงเชิง แลได้รบพุ่งกัน ครั้งนั้นเศิกละแวกต้านมิได้เลิกทัพกลับไป แลจับเอาคนณเมืองปักษ์ใต้ไปครั้งนั้นมาก ในปีนั้นน้ำณกรุงศรีอยุธยาน้อย

ศักราช ๙๔๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๒๑) พระยาละแวกแต่งทัพให้มาเอาเมืองเพชรบุรี มิได้เมือง แลชาวละแวกนั้นกลับไป ครั้งนั้นพระยาจีนจันตุหนีมาแต่เมืองละแวกมาสู่พระราชสมภาร ครั้นอยู่มาพระยาจีนจันตุก็หนีกลับคืนไปเมือง

ศักราช ๙๔๒ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๒๓) รื้อกำแพงกรุงพระนครออกไปตั้งเถิงริมแม่น้ำ

ศักราช ๙๔๓ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) ญาณประเชียรเรียนศาสตราคม แลคิดเป็นขบถ คนทั้งปวงสมัครเข้าด้วยมาก แลยกมาจากเมืองลพบุรี แลยืนช้างอยู่ตำบลหัวตรี แลบรเทศคนหนึ่งอยู่ในเมืองนั้น ยิงปืนออกไปต้องญาณประเชียรตายกับคอช้าง แลในปีนั้นมีหนังสือมาแต่เมืองหงสา ว่าปีมะเส็งตรีนิศกนี้อธิกมาสมิได้ ฝ่ายกรุงพระนครศรีอยุธยานี้มีอธิกมาส อนึ่งในวัน ๗๙๒ คํ่า รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสานฤพาน อนึ่งในเดือน ๓ นั้น พระยาละแวกยกพลมาเมืองเพชรบุรี ครั้งนั้นเสียเมืองเพชรบุรีแก่พระยาละแวก

ศักราช ๙๔๔ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) พระยาละแวกแต่งทัพให้มาจับคนปลายด่านตะวันออก

ศักราช ๙๔๕ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๒๖) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้แต่จวนกลาโหม แลเพลิงนั้นลามไปเถิงในพระราชวัง แลลามไหม้ไปเมืองท้ายเมือง ครั้งนั้นรู้ข่าวมาว่า ข้างหงสาทำทางมาพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๔๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า เสวยราชสมบัติณเมืองพิษณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสากับพระเจ้าอางวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการเศิกพระเจ้าหงสา แลอยู่ในวัน ๕๓๕ ค่ำ ช้างต้นพลายสวัสดิมงคล แลช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์ชนกัน แลงาช้างต้นพลายสวัสดิมงคลลุ่ยข้างซ้าย แลโหรทำนายว่าห้ามยาตราแลมีพระราชโองการตรัสว่า ได้ตกแต่งการนั้นสรัพแล้วจึงเสด็จพยุหบาตราไป ครั้นเถิง ณ วัน ๔๙๕ คํ่า เสด็จออกตั้งทัพไชยตำบลวัดยมท้ายเมืองกำแพงเพชร ในวันนั้นแผ่นดินไหว แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปเถิงเมืองแกรง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลืบคืนมาพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายเมืองพิษณุโลกนั้นอยู่ในวัน ๔๘๑๐ ค่ำ เกิดอัศจรรย์แม่น้ำทรายหัวเมืองพิษณุโลกนั้นป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นนํ้านั้น ๓ ศอก อนึ่งเห็นสตรีภาพผู้หนึ่งหน้าประดุจหน้าช้าง แลทรงสัณฐานประดุจงวงช้างแลหูนั้นใหญ่ นั่งอยู่ณวัดประสาทหัวเมืองพิษณุโลก อนึ่งช้างใหญ่ตัวหนึ่งยืนอยู่ณท้องสนามนั้นอยู่ก็ล้มลงตายกับที่บัดเดี๋ยวนั้น อนึ่งเห็นตักแตนบินมาณอากาศเป็นอันมาก แลบังแสงอาทิตย์บดมาแล้วก็บินกระจัดกระจายสูญไป ในปีเดียวกันนั้นให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวงลงมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา ในปีเดียวกันนั้นพระเจ้าหงสาให้พระเจ้าสาวถีแลพระยาพสิมยกพลลงมายังกรุงพระนคร แลณวัน ๔๒๒ คํ่า เพลาเที่ยงคืนแล้ว ๒ นาฬิกา ๙ บาท เสด็จพยุหบาตราไปตั้งทัพตำบลสามขนอน ครั้งนั้นเศิกหงสาแตกพ่ายหนีไป อนึ่งม้าตัวหนึ่งตกลูกแลศีร์ษะม้านั้นเป็นศีรษะเดียว แต่ตัวม้านั้นเป็น ๒ ตัว แลเท้าม้านั้นตัวละสี่เท้าประดุจชิงศีรษะแก่กัน

ศักราช ๙๔๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๑๒๘) พระเจ้าสาวถียกพลลงมาครั้งหนึ่งเล่า ตั้งทัพตำบลสะเกษ แลตั้งอยู่แต่ณเดือนยี่เถิงเดือนสี่ ครั้นเถิงวัน ๔๗๕ ค่ำ เวลารุ่งแล้ว ๔ นาฬิกาบาท เสด็จพยุหบาตราตั้งทัพไชยตำบลหล่มพลี แล ณ วัน ๗๑๐๕ ค่ำ เสด็จจากทัพไชยโดยทางชลมารคไปทางป่าโมก มีนกกระทุงบินมาทั้งซ้ายขวาเป็นอันมากนำหน้าเรือพระที่นั่งไป ครั้นเถิงวัน ๕๑๔๕ คํ่า เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายมงคลทวีปออกดาช้างม้าทั้งปวงอยู่ณริมน้ำ แลพระอาทิตย์ทรงกลดแลรัศมีกลดนั้นส่องลงมาต้องช้างพระที่นั่ง มีทรงสัณฐานประดุจเงากลดนั้นมากั้งช้างพระที่นั่ง ครั้งนั้นตีทัพพระเจ้าสาวถีซึ่งตั้งอยู่ตำบลสะเกษนั้นแตกพ่ายไป ในปีเดียวนั้นมหาอุปราชายกพลมาโดยทางกำแพงเพชร ตั้งทำนาอยู่ที่นั่น

ศักราช ๙๔๘ จอศก (พ.ศ. ๒๑๒๙) ณวัน ๒๘๑๒ ค่ำ พระเจ้าหงสางาจีสยางยกพลลงมาเถิงกรุงพระนคร ณวัน ๕๒๒ ค่ำ แลพระเจ้าหงสาเข้าล้อมพระนคร แลตั้งทัพตำบลขนอนปากคู แลทัพมหาอุปราชาตั้งขนอนบางตนาว แลทัพทั้งปวงนั้นก็ตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่ แลครั้งนั้นได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ แลพระเจ้าหงสาเลิกทัพคืนไปในศักราช ๙๔๙ นั้น (พ.ศ. ๒๑๓๐) วัน ๒๑๔๕ คํ่า เสด็จโดยทางชลมารคไปตีทัพมหาอุปราชา อันตั้งอยู่ขนอนบางตะนาวนั้นแตกพ่ายลงไปตั้งอยู่ ณ บางกระดาน วัน ๖๑๐๖ คํ่า เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพมหาอุปราชา อันลงไปตั้งอยู่ณบางกระดานนั้นแตกพ่ายไป วัน ๕๑๗ คํ่า เสด็จพระราชดำเนินพยุหบาตราออกตั้งทัพไชยณวัดเดช แลตั้งค่ายขุดคูเป็นสามารถ วัน๕๘๗ คํ่า เอาปืนใหญ่ลงสำเภา ขึ้นไปยิงเอาค่ายพระเจ้าหงสา ๆ ต้านมิได้ก็เลิกทัพไปตั้งณป่าโมกใหญ่ วัน ๒๑๐๔ คํ่า เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพข้าเศิก ๆ นั้นแตกพ่ายไป แลไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนค่ายพระเจ้าหงสานั้น วัน ๓๑๐๔ ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินออกตั้งเป็นทัพซุ่ม ณ ทุ่งหล่มพลี แลออกตีทัพข้าเศิก ครั้งนั้นได้รบพุ่งตะลุมบอนกันกับม้าพระที่นั่ง แลทรงพระแสงทวนแทงเหล่าทหารตาย ครั้นข้าเศิกแตกพ่ายเข้าค่ายแลไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนเถิงหน้าค่าย วัน ๒๑๐๓ ค่ำ เพลานาฬิกาหนึ่งจะรุ่ง เสด็จยกทัพออกไปตีทัพพระยานคร ซึ่งตั้งอยู่ณปากน้ำมุทุเลานั้น ครั้งนั้นเข้าตีทัพได้เถิงในค่าย แลข้าเศิกพ่ายหนีจากค่ายข้าเศิกเสียสิ้น แลพระเจ้าหงสาก็เลิกทัพคืนไป แลพระยาละแวกมาตั้งณบางซาย ครั้งนั้นเสด็จออกไปชุมพลทั้งปวงณบางกระดาน เถิงวัน ๕๑๓ คํ่าเพลาอุษาโยค เสด็จพยุหบาตราจากบางกระดานไปตั้งทัพไชย ณซายเคือง แล้วเสด็จไปละแวก ครั้งนั้นได้ช้างม้าผู้คนมาก

ศักราช ๙๕๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๓๑) ณวัน ๒๘๑๒ คํ่า แผ่นดินไหว

ศักราช ๙๕๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๑๓๒) ข้าวแพงเป็นเกวียนละสิบตำลึง ปิดตราพระยานารายณ์กำชับ วัน ๖๗๒ คํ่า แผ่นดินไหว

ศักราช ๙๕๒ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๓๓) วัน ๑๑๓๘ ค่ำ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระพฤฒาราชนฤพาน วัน ๓๒๑๒ คํ่า มหาอุปราชายกทัพมาโดยทางกาญจนบุรี ครั้งนั้นได้ตัวพระยาพสิมตำบลตะเข้สามพัน

ศักราช ๙๕๔ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๓๕) วัน ๖๒๑๒ คํ่า อุปราชายกมาแต่หงสาณวัน ๗๑๑ คํ่า เพดานช้างต้นพระยาไชยานุภาพตกออกมาใหญ่ประมาณ ๕ องคุลี ครั้นเถิงเดือนยี่มหาอุปราชายกมาเถิงแดนเมืองสุพรรณบุรี แต่ตั้งทัพตำบลพังตรุ วัน ๑๙๒ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๔ นาฬิกา ๒ บาท เสด็จพยุหบาตราโดยทางชลมารค ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพไชยตำบลม่วงหวาน แลณวัน ๔๑๒๒ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๙ บาท เสด็จพยุหบาตราโดยสถลมารค อนึ่งเมื่อใกล้รุ่งขึ้นวัน ๑๒ คํ่านั้น เห็นพระสารีริกธาตุปาฏิหาริย์ไปโดยทางซึ่งจะเสด็จนั้น เถิงวัน ๒๒๒ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๕ นาฬิกา ๓ บาท เสด็จทรงช้างต้นพระยาไชยานุภาพ เสด็จออกรบมหาอุปราชาตำบลหนองสาหร่าย ครั้งนั้นมิได้ตามฤกษ์แลฝ่าย (ฝ่า) ฤกษ์หน่อยหนึ่ง แลเมื่อได้ชนช้างด้วยมหาอุปราชานั้น สมเด็จพระนารายน์บพิตรเป็นเจ้า ต้องปืนณพระหัตถ์ข้างขวาหน่อยหนึ่ง อนึ่งเมื่อมหาอุปราชาขี่ข้างออกมายืนอยู่นั้น หมวกมหาอุปราชาใส่นั้นตกลงเถิงดิน แลเอาคืนขึ้นใส่เล่า ครั้งนั้นมหาอุปราชาขาดคอช้างตายในที่นั้น แลช้างต้นพระยาไชยานุภาพ ซึ่งทรงแลได้ชนด้วยมหาอุปราชาแลมีไชยชำนะนั้น พระราชทานให้ชื่อเจ้าพระยาปราบหงสา

ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๓๖) วัน ๒๕๑๐ คํ่า เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท ครั้งนั้นทรงพระโกรธแก่มอญ ให้เอามอญเผาเสียประมาณ ๑๐๐ ณวัน ๖๑๐๒ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท เสด็จพยุหบาตราไปเอาเมืองละแวก แลตั้งทัพไชยตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้นได้ตัวพระยาศรีสุพรรณในวัน ๑๑๔ ค่ำนั้น

ศักราช ๙๕๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๑๓๗) ยกทัพไปเมืองสะโตง

ศักราช ๙๕๗ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๓๘) วัน ๑๓๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท เสด็จยพุหบาตราไปเมืองหงสา ครั้งก่อนฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพไชยตำบลม่วงหวาน เถิงวัน ๑๑๓๔ คํ่า เพลาเที่ยงคืนแล้ว เข้าปล้นหงสามิได้ ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา

ศักราช ๙๕๘ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๓๙) วัน ๓๔๖ คํ่า ลาวหนี ขุนจ่าเมืองรบลาวตำบลตะเคียนด้วน แลณวัน ๕๖๓ คํ่า ฝนตกหนักหนาสามวันดุจฤดูฝน

ศักราช ๙๖๑ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๔๒) วัน ๕๑๑๑๑ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๘ บาท เสด็จพยุหบาตราไปเมืองตองอู ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลีตั้งทัพไชยตำบลวัดตาล แลในเดือน ๑๑ นั้นสงกรานต์ พระเสาร์แต่ราศีกันย์ไปราศีดุลย์ ครั้นเถิงวัน ๔๑๐๔ คํ่า เสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองตองอู แลทัพหลวงเข้าตั้งใกล้เมืองตองอูประมาณ ๓๐ เส้น แลตั้งอยู่ที่นั้นสองเดือน ขาดอาหารพ้นกำลัง ไพร่พลทั้งปวงตายด้วยอดอาหารเป็นอันมาก ครั้นวัน ๔๖๖ คํ่า ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมายังพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๖๓ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๑๔๔) เดือน ๗ เดือนเดียวนั้นมีสุริยุปราคา ในปีนั้นรับพระอิศวรแลพระนารายณ์เป็นเจ้า ไปถวายพระพรพร้อมกันวันเดียวทั้ง ๔ คานหาม

ศักราช ๙๖๔ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๔๕) เสด็จไปประพาสลพบุรี

ศักราช ๙๖๕ เถาะศก (พ.ศ. ๒๑๔๖) ทัพพระเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้

ศักราช ๙๖๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๔๗) วัน ๕๖๒ คํ่า เสด็จพยุหบาตรจากป่าโมกโดยทางชลมารค แลฟันไม้ข่มนามตำบลเอกราช ตั้งทัพไชยตำบลพระหล่อ วันนั้นเป็นวันอุน แลเป็นสงกรานต์ พระเสาร์ไปราศีธนูเป็นองค์ษาหนึ่ง ครั้งนั้นครั้นเสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองหลวงตำบลทุ่งดอนแก้ว

‹ คำอธิบาย พระนิพนธ์up
สนับสนุนโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
แชร์ชวนกันอ่าน
27
แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ
รับสมัครข่าวสารห้องสมุดและหนังสือใหม่ล่าสุด
email address
105  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่พ่อทิม นาคคุ้ม อสม ดีเด่น.มา กว่ายี่สิบเจ็ดปีที่จากไป ราวตะวันดับ ลับลา ไปจ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2020, 10:15:07 pm
แด่พ่อทิม นาคคุ้ม อสม ดีเด่น.มา กว่ายี่สิบเจ็ดปีที่จากไป

ราวตะวันดับ ลับลา ไปจากโลก
วิปโยค โศกศัลย์ ไร้หรรษา
โลกมืดมิด ดับตะวัน ดับจันทรา
พ่อลับลา จากไป  ไม่กลับมา

พ่อยิ่งใหญ่ มีหัวใจ เสียสละ
พ่อมานะ การงาน พ่อห่วงหา
รับใช้ชาติ บ้านเมือง  เหล่าประชา
สุดพรรณนา พ่อมาจาก พรากดวงใจ

อาสาสมัคร  มีศรัทธา  มหาศาล
พ่อช่วยงาน ราชการ ด้วยแจ่มใส
พ่อทำงาน  ทุ่มเท  ดวงฤทัย
พ่อยิ่งใหญ่  ในใจ  ให้กำแพง

ใจพ่อทิม  นาคคุ้ม  ช่างกว้างขวาง
พ่อช่วยเหลือ  ทุกทาง  ทั่วหนแห่ง
หลายสิบปี เสียสละ สุดแจกแจง
พ่อแสดง  ความดีงาม  เมื่อยามเป็น

เมื่อฟ้าพราก พ่อไป ใจเหมือนขาด
พ่อนิราศ  โลกไป  ไม่แลเห็น
ร่างพ่อลับ.ดับแล้ว  เรือนเราเย็น
พ่อทิมเป็น เทพแล้ว  เรืองนภา

แม้ร่างลับ  ดับแล้ว ดวงแก้วจาก
ความดีไม่ เคยพราก พ่อห่วงหา
ขอพ่อสู่  สรวงสวรรค์  เสกมรรตา
วัฒนา คู่สวรรค์ นิรันดร์เทอญ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 95
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!