จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
กรกฎาคม 07, 2025, 07:08:46 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: [1] 2 3 ... 101
1  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม Search for: ศิษย์ เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2025, 09:09:09 pm
Skip to content
กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Search for:
ศิษย์เก่าเกียรติยศ

ศิษย์เก่าเกียรติยศ 90 ขุนพลพิบูลสงคราม
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว)
…นับจากวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2469 จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มุ่งผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง สมดังปณิธาน มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ผลผลิตจากก้าวแรกจนถึงปัจจุบัน คือ “ศิษย์เก่า” ที่สำเร็จการศึกษาและประกอบสัมมาชีพตามศาสตร์วิชาต่างๆ อยู่ทั่วไป ในโอกาสครบรอบปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยครบ 90 ปี มหาวิทยาลัยจึงจัดโครงการศิษย์เก่าเกียรติยศ 90 ขุนพลพิบูลสงครามขึ้น เพื่อแสวงหาศิษย์เก่า ผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ ผลงานเด่นเป็นที่ยอมรับในการประกอบสัมมาอาชีพ และอุทิศตนแก่สังคม สะท้อนเอกลักษณ์ “มหาวิทยาลัยสร้างคนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” พัฒนาตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตามอัตลักษณ์ “บัณฑิตนักปฏิบัติ ซื่อสัตย์ อดทน พร้อมพัฒนาตน” และยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิษย์เก่าเกียรติยศ ในปี พ.ศ.2559 เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป …

นางเพ็ญศรี พืชพันธุ์ ผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ สามารถจัดกระบวนการปฏิบัติงานในองค์กรได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อุทิศตนให้กับสังคม ได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ที่ปรึกษาและประสานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภากาชาดไทยจังหวัดนครสวรรค์ และ ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพิษณุโลก
นายนริศร์ ศรีโพธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นปลัดเทศบาลในหลายจังหวัดภาคเหนือ เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ภายหลังจากเกษียณอายุราชการได้อุทิศตน เสียสละแรงกายแรงใจในการทำงานเพื่อสังคมตอบแทนท้องถิ่นของตนเอง อาทิ เป็นคณะกรรมการในการบริหารการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 41 ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทศาลจังหวัดกำแพงเพชร และอีก 9 จังหวัดภาคเหนือ
นายสม เสงี่ยมโปร่ง ผู้มีความสามารถด้านพลศึกษา เป็นหัวหน้าภาควิชาพลศึกษา วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ยาวนานกว่า 22 ปี ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลก และหัวหน้าแผนกธุรการ การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมาตามลำดับ ภายหลังจากเกษียณอายุราชการ ตอบแทนท้องถิ่นด้วยการดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่นถึง 2 สมัย ยกระดับความเป็นอยู่ให้แก่ประชาชน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดำรง ประเสริฐกุล เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพครู ทำงานด้านบริหารมาโดยตลอด มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดีจึงได้รับการยอมรับและการประกาศเกียรติคุณอย่างกว้างขวาง ภายหลังเกษียณอายุราชการทำงานตอบแทนสังคมในด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม
ดร.วิสิทธิ์ โรจน์พจนรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท สำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา จำกัด ผู้ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ จากการเป็นหุ้นส่วนพัฒนาศึกษา อิมปอร์ต แล้วเปิดสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง พิมพ์หนังสือระดับมัธยมศึกษาจำหน่ายทั่วประเทศ ต่อมาขยายธุรกิจด้านการพิมพ์อย่างกว้างขวาง ในนาม บริษัท พ.ศ.พัฒนา กรุ๊ป และธุรกิจคอนโดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
ศิษย์เก่ารุ่นวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม
ศาสตราจารย์ ดร.พศิน แตงจวง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านการศึกษา และการค้นคว้าวิจัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้อำนวยการร่วม NIDA-UTC ควบคู่กันไป ผลงานทางวิชาการเผยแพร่ในเวทีวิชาการในต่างประเทศจำนวนมาก ภายหลังเกษียณอายุราชการ ยังอุทิศตนให้กับการศึกษาอยู่เสมอ
นายวิเชียร ด่านพิกุลทอง มีความรู้ความสามารถในด้านการบริหาร เริ่มจากการเป็นครูและพัฒนาศักยภาพของตนเองก้าวหน้าตามลำดับ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ชั้นพิเศษ ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอวังทอง อุทิศตนในการทำงานเพื่อสังคมและท้องถิ่น เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิประจำหมู่บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ภายหลังเกษียณอายุราชการ
รองศาสตราจารย์ ดร.วิรัช วรรณรัตน์ มีความเชี่ยวชาญในด้านการวัดผลประเมินผล การประกันคุณภาพการศึกษา พัฒนาศักยภาพของตนเองให้ก้าวหน้ามาโดยตลอด ดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ มากมาย อาทิ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ภายหลังเกษียณอายุราชการ เป็นอาจารย์อาวุโสของมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ พร้อมกับดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีอาวุโสควบคู่กันไป
นายบรรจง พงษ์ประเสริฐ มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบางไผ่ราษฎร์สงเคราะห์ และโรงเรียนอื่นๆ ในเขตจังหวัดพิจิตร หลายโรงเรียน และเป็นผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตรเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 10 ปี อุทิศตนให้กับสถานศึกษาและสหกรณ์ จนกระทั่งได้รับรางวัลในการบริหารจัดการดีเยี่ยมหลายรางวัล ภายหลังเกษียณอายุราชการ ได้รับเชิญเป็นผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตร จำกัด
ดร.เสกสรรค์ ทองศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษาด้วยวิสัยทัศน์แห่งความเป็นผู้นำ พัฒนาศักยภาพของตนเองจากครูผู้ปฏิบัติหน้าที่สอนมาเป็นผู้บริหารสถานศึกษา พัฒนาระบบการศึกษาของโรงเรียนพิณพลราษฎร์สงเคราะห์ 12 มีมาตรฐานเทียบเท่ากับสถานศึกษาอื่น เป็นเวลา 17 ปี สร้างผลงานต่างๆ จนได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม
นายสุพรรณ สอนจันทร์ ผู้มีความรู้ความสามารถด้านงานส่งเสริมพลานามัยและกิจการพิเศษ พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและสถานศึกษาให้มีระบบระเบียบและมีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่มากมาย ภายหลังเกษียณอายุราชการ ยังคงสนับสนุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยเป็นวิทยากรอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ และ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการชมรมลูกเสือชาวบ้าน 17 จังหวัดภาคเหนือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เตือนใจ เกียวซี ผู้มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ ในอดีตเคยดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เสียสละอุทิศตนเพื่อส่วนรวมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ภายหลังเกษียณอายุราชการได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ตนเองมีเป็นวิทยากรอบรมให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับเด็กผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในโอกาสสำคัญต่างๆ
อาจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ ขันยศ ผู้มีความรู้ความสามารถและเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานภายในและภายนอก มีส่วนในการยกระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษแก่บุคลากรทางการศึกษา และพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างดี เสียสละเวลาเพื่ออบรมภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยแบบให้เปล่าเมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน
นายวรินทร์ ชำนาญผา ผู้มีความชำนาญในด้านการบริหารระบบการศึกษา เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจจากผู้ร่วมงานให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 ช่วยเหลืองานสังคมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างมากมาย เป็นคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของโรงเรียนในสังกัด ตอบแทนคุณแผ่นดินด้วยการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
นางบัวแก้ว ศรีภูธร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ มีผลงานทางด้านโครงงานวิทยาศาสตร์มากมาย ได้รับรางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับประเทศ มากมาย ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยใช้วิธีการสอนเชิงวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งผู้เรียนได้รับรางวัลในระดับต่างๆ จึงได้รับการยกย่องให้เป็นครูดีที่หนูรัก
นางนุชจรีย์ สิทธิวงศ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านหนองหมื่นชัย จังหวัดสุโขทัย มีความเชี่ยวชาญงานด้านธุรการและพัฒนาศักยภาพของตนเองเป็นครูผู้สอน สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารให้ดูแลงานด้านหลักสูตรของสถานศึกษาในระดับชั้นปฐมวัย และเป็นหัวหน้าโครงการส่งเสริมการศึกษาให้นักเรียนหลายโครงการ ปัจจุบันได้เลื่อนวิทยฐานะของตนเองเป็นครูผู้มีความชำนาญการด้านการสอนนักเรียนระดับชั้นประถมวัย
นายสำอางค์ บุญเกิด ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร สามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา และพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นที่ยอมรับ ตลอดระยะเวลาที่รับราชการ ให้ความสำคัญกับการวางแผน การบริหารเวลา ให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง หน่วยงาน และผู้เรียน
นายประพันธ์ ระลึกมูล ประธานเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุเทศบาลนครพิษณุโลก ผู้มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำองค์กร ได้รับความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจนเกษียณอายุราชการ ปัจจุบันใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทำงานรับใช้สังคมอย่างต่อเนื่อง ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้นำและผู้บริหารในหลายลักษณะงาน หลายสังกัด เป็นผู้ก่อตั้งชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดพิษณุโลก และดำรงตำแหน่งประธานชุมชนมหาจักรพรรดิยาวนานกว่า 10 ปี
นายบุญส่ง บูลย์ประมุข นายกเทศมนตรีตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการเป็นอย่างดี พัฒนาศักยภาพของตนเองจากครูผู้สอนหนังสือมาเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อุทิศตนทำงานด้านการส่งเสริมการศึกษา สนับสนุนการแพทย์ฉุกเฉิน ผลักดันอนามัยแม่และเด็กให้เป็น “ตำบลนมแม่” อย่างเต็มตัว อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และสนับสนุนกิจกรรมผู้สูงอายุในชุมชน
ดร.วีรบูล เสมาทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแก่งจูงนาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ พัฒนาตนเองจากครูผู้สอนมาเป็นผู้บริหาร เจริญก้าวหน้าตามลำดับ และพัฒนาระบบการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆ หลายโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลก ได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนในการบริหารองค์กร ระดับภาคหลายองค์กร ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้ารับการอบรมในหลักสูตรการบริหารจัดการองค์กรในต่างประเทศหลายปีติดต่อกัน
ดร.สมภพ นาคสีดี ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิษณุโลก จำกัด ผู้มีความมุมานะอุตสาหะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เจริญก้าวหน้าจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทั่วไป จนกระทั่งได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดขององค์กร ยาวนานกว่า 14 ปี นอกเหนือจากการทำงานในหน้าที่แล้ว ยังอุทิศตนช่วยเหลือระบบการศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันอีกด้วย
นายสุรชัย พงษ์เจริญ ผู้จัดการโรงเรียนสิ่นหมิน จังหวัดพิษณุโลก ข้าราชการครูผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการเป็นที่ยอมรับ ภายหลังเกษียณอายุราชการ อุทิศตนรับใช้สังคมด้วยการบริหารท้องถิ่นของตนเองโดยเป็นผู้พิพากษาศาลสมทบ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และเป็นที่ปรึกษาการพัฒนาตำรวจในการให้บริการประชาชน ได้รับการยกย่องเป็นคนดีศรีสองแคว และสร้างชื่อเสียงในสังคมอีกมากมาย เป็นที่ยอมรับ
นายกิตติพงศ์ พิพัฒน์ศิวพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหาร ได้รับการยอมรับให้เป็นนักบริหารที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาองค์กรทางด้านการศึกษาและระบบการศึกษาให้มีมาตรฐาน อุทิศกำลังกายกำลังใจ เสียสละและมีความรับผิดชอบ ในการบริหารการศึกษามาโดยตลอด สามารถนำพัฒนาองค์กรให้ได้รับรางวัลในระดับจังหวัดมากมาย ได้รับการยกย่องให้เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เชี่ยวชาญด้านการเกษตร มุ่งมั่นทุ่มเทแรงกายแรงใจเสียสละเพื่อความอยู่ดีกินดีของเกษตรกร ลงพื้นแก้ไขปัญหาด้วยตนเองด้วยความบากบั่น ดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำสูงสุดในบริหารจัดการระบบเกษตรกรรมของประเทศ มีผลงานและเกียรติคุณจำนวนมาก และได้รับการยกย่องให้เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่นระดับประเทศ
ดร.พรรณศิริ กุลนาถศิริ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เมื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สามารถปฏิบัติภารกิจของกระทรวงให้บรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ด้วยดี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ช่วยเหลือสังคมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ได้รับการยกย่องจากสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ให้เป็นสตรีไทยดีเด่นตัวอย่าง เป็นนักบริหารยอดเยี่ยมแห่งปี และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
นางอุไรวรรณ โพธิ์นาค ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาเชิงคีรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารระบบการศึกษา ได้รับการยอมรับจากองค์กรต่างๆ ให้เป็นโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการยกย่องเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่นจังหวัดสุโขทัย และ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
นายสัมฤทธิ์ ทองรัตน์ ผู้บริหารผู้ได้รับการยอมรับในวงการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุ่มเทเอาใจใส่พัฒนาโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมเป็นที่ยอมรับ จนได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนขนาดใหญ่ ในปี 2555 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น สมาชิกคุรุสภาผู้มีผลงานดีเด่น และ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
ดร.ถวิล น้อยเขียว ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านบริหารศึกษา รับราชการครู 37 ปี พัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานจนได้รับการยอมรับอย่างกว้าง ภายหลังจากเกษียณอายุราชการ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย อาทิ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตครู สำนักงานคณะกรรมการสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการสภาลูกเสือไทย เป็นที่ยอมรับ
ดร.พิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จในกิจกรรมระดับชาติหลายครั้ง เช่น โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง, การจัดตั้ง “กองทุนครูของแผ่นดิน” กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากหลายสถาบัน อาทิ เป็นนายกสมาคมนักบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เนียมนาค คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร พัฒนาตนเองมีความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ เป็นที่ยอมรับด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ อาจารย์มีเสรีภาพทางวิชาการ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกล เกิดผล อาจารย์สาขาภาษาอังกฤษ ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เช่น คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสหการ ผลงานเป็นที่ยอมรับ ได้รับรางวัล Best Practice Award จากการนำเสนอผลงานแบบบรรยายร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในปี 2557 ณ ประเทศเมียนมาร์ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริวิมล  ใจงาม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้ริเริ่มและพัฒนางานด้านการศึกษาพิเศษ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ให้มีก้าวหน้าอย่างเป็นระบบจนได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ ศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นสถาบันนำร่องด้านการให้บริการนักศึกษาพิการ จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากวงการศึกษาพิเศษของประเทศไทย เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
นายพงษ์ชัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นอันดับที่ 1 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นที่ยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากหน่วยงานต่างๆ และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2555
นางสาวทรงสรรค์  นิลกำแหง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาและวรรณกรรม ราชบัณฑิตยสถาน เป็นที่ปรึกษาตรวจแก้ต้นฉบับและบรรณาธิการเรียบเรียงจดหมายเหตุ พระราชพิธี และเหตุการณ์สำคัญของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ผู้วางระบบงานจดหมายเหตุใช้เป็นแบบแผนในงานจดหมายเหตุแห่งชาติ นำระบบการจัดโครงสร้างองค์กรแม่แบบเพื่อบุคลากรใช้ปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับเชิญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้เป็นผู้เรียบเรียง ตรวจแก้ หนังสือสำคัญของชาติมาโดยตลอด
นายผจญ  กัดฟัก ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร พัฒนารูปแบบการบริหารสำนักงานให้ทันยุคสมัย พัฒนาข้าราชการในสังกัดให้มีความเจริญก้าวหน้ามีวิทยฐานะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับในองค์กรการศึกษา เมื่อดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้รับรางวัลพัฒนาสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดีเด่น 3 สมัย รางวัลหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอดีเด่น 2 สมัย และ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2554
ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการ ผู้พัฒนานวัตกรรมรูปแบบ CAI เป็นต้นแบบใช้ร่วมกัน 80 เขตพื้นที่ พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศสำนักงานประถมศึกษาอำเภอดีเด่น ของ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย รางวัลดีเด่นในการบริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดีเด่นในวันประถมศึกษาแห่งชาติ และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง จันดา ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยราชภัฏและหน่วยงานต่างๆ ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 เป็นต้น ให้บริการสังคมและเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นที่ประจักษ์ มีเกียรติประวัติและผลงานมากมาย และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2537
ดร.อธิปัตย์ คลี่สุนทร ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร มีเกียรติประวัติและผลงานเป็นที่ประจักษ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันอุทิศตนเพื่อสังคมโดยเป็นอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรรมการราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
นายประจินต์ เมฆสุธีพิทักษ์ ผู้มีความสามารถด้านการบริหาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นที่ยอมรับ ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ครุฑทองคำ ในปี 2554 รางวัลบุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวร อุทิศตนแก่สังคมโดย เป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ในการจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
นางสาวสุภา หรรษนันท์ ประธานกรรมการบริหารโรงแรมหรรษนันท์ นักบริหารผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่ยอมรับ ปัจจุบันธุรกิจจัดสรรที่ดิน รับเหมาก่อสร้างบ้าน “หมู่บ้านหรรษนันท์” อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่า วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม 2 วาระติดต่อกัน ในปี พ.ศ.2529-2530 ผู้อุทิศตนแก่สังคม โดย เป็นสมาชิกชมรมผู้เสียสละจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปัจจุบัน ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของ วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ในปี 2530
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เทอดศักดิ์ จันทร์อรุณ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่ ปี 2550 ถึงปัจจุบัน 5 วาระติดต่อกัน อุทิศตนแก่สังคมโดยเป็นสมาชิกชมรมผู้เสียสละจังหวัดพิษณุโลก เป็นเวลากว่า 20 ปี พัฒนางานสมาคมศิษย์เก่าอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของกรรมการ ผู้บริหาร ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไป ริเริ่มโครงการสำคัญ หลายโครงการ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิษย์เก่าดีเด่น วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ในปี 2534
ดร.ประพฤทธิ์ เธียรสิทธิพร ผู้บริหารบริษัทในเครือ แก้วเพชรพลอย กรุ๊ป จังหวัดสุโขทัย บริหารธุรกิจประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ปฏิบัติงานร่วมกับสังคมและชุมชนโดยตลอด ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ คณะที่ปรึกษาปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปัจจุบัน
ดร.สมชัย ชัยชนะวงศ์ นักการตลาดผู้มากความสามารถ จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงผลกระทบระดับใกล้และไกลด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ และบริหารงานด้วยความเสียสละเพื่อชุมชนส่วนรวม เช่น สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับจำนวนมาก เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2544 และ ได้รับปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2554
นายยุทธ์ ไกรโชค ศิษย์เก่าสาขาบริหารโรงเรียน ผู้รักการทำหน้าที่สื่อมวลชน เป็นผู้สื่อข่าวไทยรัฐ ประจำจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน มีผลงานอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้าเป็นลำดับ ได้รับรางวัลผู้สื่อข่าวยอดเยี่ยมและผู้สื่อข่าวปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นของ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 4 ปี ติดต่อกัน และรางวัล “ภาพข่าวยอดเยี่ยม” ของ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในปี 2552 ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งประธานชมรมสื่อสารมวลชนพิษณุโลก ในปี 2559
นางพันธุ์ทิพา ขวัญทองอินทร์ ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด มากกว่า 13 ปี ศิษย์เก่านิเทศศาสตร์ผู้นำความรู้ทางด้านการตลาดมาบูรณาการและพัฒนากิจการธุรกิจจนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 3 ปีมีรายได้ถึง 50 ล้านบาท พัฒนาตนเองตลอดเวลา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านการตลาดในยุคใหม่ ในสถานศึกษาต่างๆ ได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมทางด้านอีเว้นท์ท้องถิ่น จากนิตยสารอีเว้นท์ มาร์เก็ตติ้ง ในปี 2014
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรนภา พรหมมา ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะ ที่ปรึกษาศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้ประเมินในโครงการสำคัญ ได้แก่ ผู้ภายนอกระดับอุดมศึกษา ผู้ประเมินภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นต้น มีผลงานวิจัย ตำราเกี่ยวกับการวิจัย การประกันคุณภาพ การวัดผลและประเมินผล ได้รับประกาศเกียรติคุณด้านการวิจัยมากมาย เป็นที่ยอมรับ
นายวิม เกาเทียน วิทยากรและพิธีกรผู้อุทิศตนเพื่อให้บริการสังคม ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบศาสนพิธี ได้รับการยอมรับทั้งภายในจังหวัดพิษณุโลกและทั่วทุกภูมิภาค เช่น งานพระราชทานเพลิงศพ งานทำบุญบ้าน ทำบุญสำนักงาน งานมงคลสมรส นอกจากนี้ยังสร้างกุศลด้วยการทำบุญอุทิศให้กับผู้ถึงแก่กรรม ภายหลังจากครบ 100 วัน และถ่ายทอดความรู้โดยจัดพิมพ์หนังสือรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดงานศาสนพิธี และสมุดหมายเหตุพิษณุโลก มอบให้ผู้สนใจได้ศึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร น้อยน้ำใส รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลงานวิจัย ผลงานแต่งและเรียบเรียงหนังสือ ตำรา มากมาย ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ได้แก่ นายกสมาคมนักวิจัยสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น ประธานกรรมการสหกรณ์เคหะนิเวศวิถีพอเพียงนครราชสีมา จำกัด กรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ได้รับการยอมรับด้านการจัดการความขัดแย้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดนครราชสีมาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รองศาสตราจารย์ ดร.วารีรัตน์ แก้วอุไร อาจารย์ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและบริการวิชาการ มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ผลงานตำรา บทความ สิทธิบัตร เป็นที่ยอมรับ บริการสังคมด้วยการเป็นคณะกรรมการให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น คณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการข้าราชการครู และกระทรวงมหาดไทย ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาทุนวิจัยให้กับ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นต้น
นายเชาวรัตน์ คล้ายสอน ประธานชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 แกนนำรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง ได้รับการยอมรับในด้านการพัฒนาชุมชน โดย ริเริ่มโครงการธนาคารของชุมชนเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ผลงานรางวัล อาทิ โล่รางวัลชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดพิษณุโลก โล่รางวัลชุมชนปลอดขยะ ZERO WASTE วันสิ่งแวดล้อมโลก จาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
ศาสตราจารย์ ดร.รัตนะ บัวสนธ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและประเมินผลการศึกษา มีผลงานด้านวิจัยมากมายในระดับมหาวิทยาลัย ระดับชาติ เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ ได้แก่ เป็นกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สมาชิกสมาคมวิจัยเชิงคุณภาพแห่งประเทศไทย ประเภทสมาชิกถาวร สมาชิกนักวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สมาชิกของ American Evaluation Association สมาชิกของ American Educational Research Association และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2555
นายสาคร บำรุงศรี ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดนาขาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ผู้ทำงานเพื่อสังคม โดยจัดตั้งกลุ่มสนใจเพื่อฝึกหัดวาดภาพในชุมชน ใช้ศาลาวัดเป็นสถานที่สอนนอกเวลาเรียน จัดทำโครงการเพื่อสังคมโดยใช้ศิลปะเป็นสื่อ ได้แก่ โครงการเสริมศิลป์ยุวทูตความดีกับอาเซี่ยนและกระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่งานศิลปะ เพื่อจัดหาทุนการศึกษาช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา และเผยแพร่ผลงานศิลปะต่อต้านอบายมุขในสถานศึกษาหลายแห่ง เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2554
นางสิริพร หร่ายวงศ์ หัวหน้าศูนย์ข่าวภูมิภาค ททบ.5 ผู้เชี่ยวชาญการข่าว ผู้ประสบความสำเร็จด้านนิเทศศาสตร์ตามสายวิชาชีพที่เรียน ใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าและพัฒนางานในหน้าที่โดยเข้ารับการอบรมการเขียนข่าว ผลิตข่าวจากสำนักงานข่าวต่างประเทศ และฝึกทำข่าวเพื่อก้าวให้ทันยุคสมัย ได้รับการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยนเรศวรให้เดินทางไปทำข่าวและสกูปข่าวการผลิตแพทย์เพื่อชนบท ร่วมกับ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2554
นายมังกร จีนด้วง ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดอุตรดิตถ์ ศิษย์เก่าสาขานิเทศศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนข่าว ได้รับรางวัลผู้สื่อข่าวดีเด่น หนังสือพิมพ์มติชน จากการเสนอข่าว “มาเฟียพิษณุโลก” ติดต่อกัน 14 ฉบับ นำเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและต่อสู้เพื่อสังคม บริหารสถานีวิทยุได้รับรางวัล สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคดีเด่น ระดับเขต อุทิศตนแก่สังคม โดยเป็นนายกสมาคม ศิษย์เก่านิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ นายกสมาคมสื่อสารมวลชนพิษณุโลก
นางพรปวีณ์ ทองด้วง ศิษย์เก่านิเทศศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์และเป็นนักเขียน มีผลงานตีพิมพ์ในนิตยสารคู่สร้างคู่สม และพ็อกเก็ตบุ้ค 2 เล่ม ได้แก่ “ร้อยเรื่องราวคุณค่าอารยธรรม” และ “เล่าอารยธรรม” ปัจจุบันเป็นนักประชาสัมพันธ์ สถานอารยธรรมโขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ทำหน้าที่เผยแพร่ข่าวของหน่วยงานและชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเขียนบล็อกเล่าอารยธรรมทางโอเคเนชั่น เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวอันมีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิต เช่น “ความภาคภูมิใจในศิษย์เก่าราชภัฏ ด้วยคุณค่าและศักดิ์ศรีที่ไม่เป็นรองใคร”
นางดารณี เสฎฐสุวจะ อดีตรองผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการ โรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ผู้ให้การศึกษาแก่เยาวชนในฐานะ “วิศวกรสังคม” และได้รับการยอมรับทางด้านการสืบสานวัฒนธรรม ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ประธานเครือข่ายวัฒนธรรมเทศบาลนครพิษณุโลก ครูอาวุโสของคุรุสภา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติทางด้านวัฒนธรรม ได้แก่ ผู้แต่งกายงดงามตามวิถีไทย จังหวัดพิษณุโลก โล่เกียรติยศผู้นำการแต่งกายผ้าไทยผ้าถิ่น จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
นายสันติ อภัยราช ครูผู้เชี่ยวชาญและมีผลงานด้านวัฒนธรรม ในระดับภูมิภาคในภาคเหนือเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม อาทิ ได้รับการยกย่องจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการยกย่องจากสภาวัฒนธรรมภาคเหนือให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมภาคเหนือ อีกทั้งยังเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรม จนได้รับการยกย่องเป็นคนดีเมืองกำแพงเพชร สาขาวัฒนธรรม เป็นบุคคลดีเด่น และเป็นครูต้นแบบแห่งชาติ เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ดร.ประทีป สุขโสภา ครูผู้เชี่ยวชาญด้านการขับทำนองพื้นบ้านผู้ฟื้นฟูเครื่องดนตรีประเภทกรับ ที่สูญหายไปประมาณ 40 ปี นำมาประกอบการขับทำนอง เผยแพร่ไปทั่วประเทศ ผลงานสร้างชื่อเสียง อาทิ การผลิตเอกสารอ่านประกอบวิชาศิลปะกับชีวิต ประพันธ์บทร้อยกรองและทำนองเพลงพื้นบ้าน มากกว่า 4,000 ครั้ง เป็นนักแสดงเพลงพื้นบ้าน “เพลงขอทาน” ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีรางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับจำนวนมาก โดยในปี 2559 ได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ประเภทผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จากกระทรวงวัฒนธรรม
นางนิภารัตน์ กาญจนโชติ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้อุทิศตนด้านวัฒนธรรม เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในงานสำคัญทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศ สร้างชื่อเสียงด้านนาฏศิลป์ให้กับมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดียิ่ง ได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน จังหวัดพิษณุโลก มีผลงานรางวัลจากหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร มีความรู้ความสามารถ ด้านการศึกษาเอกสารโบราณ ตระหนักถึงการอนุรักษ์เอกสารโบราณของไทย และถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นหลัง โดยรับเชิญเป็นวิทยากรเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอักษรไทยโบราณ ให้กับสถาบันและหน่วยงานต่างๆ เป็นบรรณาธิการหนังสือของกรมศิลปากร และหนังสือสำคัญ เช่น หนังสือที่ระลึก 100 ปี สถาปนากรมศิลปากร ตำราเวชศาสตร์ฉบับข้าหลวงรัชกาลที่ 5 เล่ม 3 สยามมกุฏพิสุทธิ์ศิลป์ ศาลาไทยในต่างประเทศ
นางภาณุมาศ ภูมิถาวร นักเขียนผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ จากการลองเขียนเรื่องสั้นตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ในปี 2532 จึงเกิดผลงานเขียนเรื่องสั้นเล่มแรก ชุด “สงกรานต์ที่บ้านเกิด” ในปี 2534 ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชมเชย จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย จึงมีผลงานนวนิยายและเรื่องสั้นอย่างต่อเนื่อง งานเขียนที่ได้รับรางวัล ได้แก่ นวนิยายเยาวชน เรื่อง “ภาพอาถรรพณ์” ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทชมเชย ในปี 2546, หนังสือสารคดี เรื่อง “นักเรียนไทยในเมืองเวียด” ได้รับรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 9 ประเภทชมเชย จาก สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ในปี 2555
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ พลนิกรกิจ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ มีผลงานหนังสือ และบทความวิจัยจำนวนมาก ผลงานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาวิทยุชายแดน เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระดับมหภาค จนได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และได้รับคัดเลือกให้เสนอบทความวิจัยในระดับนานาชาติหลายปีต่อเนื่อง อุทิศตนแก่สังคมโดยเป็นวิทยากรที่ไม่แสวงหากำไรให้แก่หน่วยงานต่างๆ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สัญญา เครือหงษ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีเป็นที่ยอมรับ ได้รับทุนการศึกษาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ต่างประเทศ ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ประเทศออสเตรเลีย มีผลงานวิจัย ผลงานรางวัลประกวดนวัตกรรม และเป็นที่ปรึกษาโครงการประกวดต่างๆ มากมาย ได้รับรางวัลอาจารย์ที่ปรึกษาดีเด่นที่สร้างชื่อให้กับมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปี 2554 และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปี 2558
นางสาวพัชรี แซ่เล้า ครูโรงเรียนวัดวิจิตรรังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทผู้มีความรู้ความสามารถด้านการศึกษาเป็นที่ยอมรับ พัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ ถ่ายทอดความรู้ด้านบรรณารักษศาสตร์ในฐานะอาจารย์พิเศษให้กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้รับการยกเชิดชูเกียรติการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่น ของโรงเรียนโสตศึกษาปานเลิศจังหวัดลพบุรี ในปี 2552 ประกาศเกียรติคุณ ใต้ร่มบารมี หนึ่งความดีแทนคุณแผ่นดิน จาก หนังสือพิมพ์สื่อธุรกิจ ประจำปี 2557 และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปี 2558
นายประเทือง โมราราย ครูช่างเทคนิค ชำนาญงานพิเศษ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมศาสตร์ มีผลงานโครงการวิจัยและเป็นคณะกรรมการตรวจสอบประเมินผลงานด้านวิศวกรรม ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย อุทิศตนแก่สังคมโดยนำโครงการวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน จนได้รับการยกย่องเป็นบุคลากรดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี 2556 ประกาศเกียรติคุณรางวัลทำงานดี ขยันและอดทน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี 2557 และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
นางลักคณา บุญดี บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองพิษณุโลก สำนักงาน กศน. จังหวัดพิษณุโลก ผู้มีความรู้ความสามารถด้านบรรณารักษศาสตร์ เป็นวิทยากรแกนนำโครงการหนังสือเล่มแรก อุทิศตนแก่สังคมโดยเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับบรรณารักษ์ 9 อำเภอ ของ สำนักงาน กศน. จังหวัดพิษณุโลก และชุมชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
นายเพ็ง สอนสกุล ครูโรงเรียนบ้านหนองแม่แตง(ธรรมศาสตร์อาสา) อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชรผู้มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ มุ่งมั่นในการสอนให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ อ่าน พูด เขียนภาษาอังกฤษ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นผู้สร้างบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อพัฒนาทักษะของนักเรียน อุทิศตนในการสอนนักเรียนด้อยโอกาสทางการศึกษาพื้นที่ยากจน ให้สามารถประสบความสำเร็จในการเรียนเท่าเทียมกับเด็กที่มีฐานะดีทั่วไป ตลอดจนพัฒนาวิชาชีพของตนเองให้เจริญก้าวตามลำดับ มีผลงานเกียรติประวัติมากมาย เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ในปี 2555
นางสาวรุ่งทิวา อันตรเสน ผู้จัดการฟาร์มเส้นทางเห็ด เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ ผลิตเห็ด 14 สายพันธุ์ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติการทางเกษตรที่ดีสำหรับพืช จาก กรมวิชาการเกษตร มุ่งมั่นพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ เพียงพอต่อการบริโภคและยังสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน อุทิศตนแก่สังคมท้องถิ่น โดยบริการวิชาการแก่ผู้สนใจเพราะเลี้ยงเห็ดโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เป็นวิทยากรให้สถาบันต่างๆ
นายธีระศักดิ์ สรวมชีพมาเสือ เจ้าของกิจการ Thomas Koch Travel & Adventure, Lagoon Thai Massage ผู้บุกเบิกธุรกิจท่องเที่ยว ณ เกาะช้าง จังหวัดตราด มีความรู้ความสามารถด้านการประกอบธุรกิจ และเป็นมัคคุเทศก์อิสระ มุ่งมั่นพัฒนาวิชาชีพจนกระทั่งประสบความสำเร็จในฐานะ เจ้าของกิจการ นอกจากนี้ยังอุทิศตนเป็นแกนนำกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ เกาะช้างให้คงความสมบูรณ์ของธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป ผู้อำนวยการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สร้างสรรค์ผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรมด้านอาหาร อุทิศตนช่วยเหลือให้คำปรึกษาชุมชนและผู้ประกอบการในท้องถิ่นที่ขาดโอกาส มีผลงานมากมาย เช่น รางวัลผลงานในวันนวัตกรรมแห่งชาติ จากมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2552 รางวัลรองชนะเลิศอันดันที่ 2 ด้านการออกแบบอาหาร ในปี 2555 จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
นายกษิภัท เจี๊ยะทา เลขานุการอธิบดีกรมอนามัย นักวิชาการเผยแพร่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้อุทิศตนให้บริการสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ได้แก่ การทำกิจกรรมจิตอาสาให้กับผู้ติดเชื้อ HIV และ กิจกรรมดนตรีบำบัด ให้กับโรงพยาบาลพุทธชินราช เป็นวิทยากรเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เรื่องเพศ และโรคต่างๆ ให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ เป็นนักแสดงและพิธีกรในงานสำคัญ ทั้งหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข สถานศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ เป็นที่ยอมรับ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
ดร.โอภาส เพี้ยนสูงเนิน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยชินวัตร นักศึกษาทุนการศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารและส่งต่อธุรกิจครอบครัว กลยุทธ์ธุรกิจ การตลาด มีประสบการณ์การบรรยายทางวิชาการและสัมมนาในประเทศและต่างประเทศมากมาย เป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติมากกว่า 20 เรื่อง
นายธเนส อนุดิษฐ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่น และ ผู้สื่อข่าวช่อง 3 ประจำจังหวัดพิษณุโลก ผู้ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ ประกอบอาชีพสื่อมวลชนกว่า 15 ปี มีความเชี่ยวชาญด้านการทำข่าวทุกประเภท เช่น อาชญากรรม การเมือง ท่องเที่ยว กีฬา สังคม ฯลฯ เป็นที่ยอมรับ อุทิศตนแก่สังคมโดยการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก และเป็นสื่อกลางในการเสนอข่าว ผู้ด้อยโอกาส ผู้มีฐานะยากจน ให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือ
นายเจษฎ์ อู่ไทย อดีตรองผู้จัดการองค์การทอผ้า กระทรวงกลาโหม ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับด้านจิตอาสา ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการช่วยงานส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง อาทิ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวรอ, รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก, รองประธานกรรมการสงเคราะห์สถานพินิจเด็กและเยาวชนพิษณุโลก, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ลูกเสือจังหวัดพิษณุโลก, ผู้ประนีประนอมไกล่เกลี่ยศาลจังหวัดพิษณุโลก เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
นางประนอม ทิวะพันธุ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผู้มีปณิธานในการให้บริการสังคม เช่น โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ ปัจจุบันอุทิศตนแก่สังคมโดยใช้ความรู้ความสามารถในตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ ทำคุณประโยชน์มากมาย เป็นที่ยอมรับในการช่วยเหลือสังคม อาทิ เป็นกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานสมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนภาคเหนือ
นายสุธีร์ เรืองโรจน์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตรายการ สารคดีโทรทัศน์มากกว่า 10 ปี ผลิตรายการสะท้อนปัญหาทุกด้านของสังคมประเทศ ได้แก่ “รายการหลุมดำ” เสนอปัญหาแรงงาน ส่วย เอดส์ เพศสภาพ เด็ก “รายการจุดเปลี่ยน” สะท้อนปัญหาสังคม ทางช่อง 9 “รายการปฏิบัติการเปลี่ยนเมือง” เสนอการพัฒนาเมืองจากปัญหาเมืองใหญ่ในแต่ด้าน “รายการเรียลลิตี้เด็กวัด” เสนอหลักธรรมผ่านภารกิจของเด็กวัดวัยรุ่น 4 คน และผลิตสารคดีที่เป็นทั้งความรู้ สะท้อนปัญหา และสร้างแนวคิดมุมมองให้กับสังคมไม่น้อยกว่า 200 เรื่อง
นายพิพัฒน์ สัสดีแพง หัวหน้าฝ่ายรายการ สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารมวลชน ผลิตรายการทีวีเผยแพร่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและทั่วประเทศไทย ลงพื้นที่ในถิ่นทุรกันดาร เพื่อผลิตสารคดี เผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้อย่างครอบคลุมทั่วถึง ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของกรมประชาสัมพันธ์และประเทศชาติ ได้แก่ เป็นตัวไทยประเทศไทยร่วมผลิตสารคดี ณ ประเทศอเมริกา เวียดนาม ลาว, ถ่ายทอดการเสด็จประกอบพระราชกรณียกิจในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ให้บริการสังคมด้วยการเป็นวิทยากรพิเศษด้านสื่อสารมวลชน
พันตำรวจโทหญิงเรณุกา หมอนแพร นักวิทยาศาสตร์ (สัญญาบัตร 3) ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 6 พิษณุโลกผู้ชำนาญการพิเศษการตรวจพิสูจน์ สาขาตรวจสถานที่เกิดเหตุและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด รับผิดชอบการตรวจสถานที่เกิดเหตุ การตรวจเก็บวัตถุพยานในคดีต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดีของศาล มีความวิริยะอุตสาหะในด้านการประกอบอาชีพเป็นที่ยอมรับ
นายร้อยแก้ว สายยิ้ม ครูผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษาไทย ให้ความสนใจด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านพุทธศาสนา มีผลงานบทกลอน หนังสือประวัติความเป็นมาของพระสงฆ์ บุคคล และสถานที่สำคัญในอดีตที่มีความเกี่ยวข้องกับจังหวัดพิษณุโลก ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดย หนังสือมณีวิสุทธิ์พระพุทธชินราช ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อุทิศตนเพื่อสังคมโดยเป็นพิธีการกุศล บรรยายธรรมะให้กับสถานศึกษา องค์กรและชุมชนโดยไม่รับค่าตอบแทน เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
นายพิริยะ ตระกูลสว่าง ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจ่าการบุญ ผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลายและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จนได้รับรางวัลในระดับต่างๆ เช่น เข็มเชิดชูเกียรติ “หนึ่งแสนครูดี” จาก คุรุสภา โล่ประกาศเกียรติคุณ “ต้นแบบคนดี ใต้ร่มพระบารมี แม่ของแผ่นดิน” จาก สมาคมสโมสรวัฒนธรรมหญิง ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ฯลฯ ให้บริการสังคมโดยเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ให้กับหน่วยงานต่างๆ เป็นแบบอย่างของศิษย์ที่ภาคภูมิใจในความเป็นคน “ราชภัฏ” ให้กับรุ่นน้อง
นายนิยม ช่างพินิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นผู้มีจิตสาธารณะช่วยเหลือสังคมจนได้รับเลือกเป็นสมาชิสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก 3 สมัย และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก 2 สมัย อุทิศตนแก่สังคมโดยเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการเมืองการปกครองและธุรกิจแก่สถาบันการศึกษาและองค์ต่างๆ ได้รับการยกย่องให้เป็นคนดีศรีอาชีวะ ในปี 2548 รางวัลคนดีศรีสองแคว ในปี 2550 และ ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
พลเอกนิวัติชัย ถนอมธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม ผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณลักษณะที่หล่อหลอมเป็นนายทหารที่เข้มแข็ง มีวินัย มีความรับผิดชอบ สามารถในกิจการงานจนประสบความสำเร็จในหน้าที่ราชการ อุทิศตนร่วมเป็นคณะทำงานของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง ประกอบคุณความดีจนได้รับโล่รางวัลในฐานะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โล่รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประธานชมรมศิษย์บัณฑิตคนแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2553
นายภาณุพันธ์ พิลึก สถิติจังหวัดน่าน ผู้เชี่ยวชาญงานสถิติด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี มีความรู้ความสามารถในงานที่ปฏิบัติ คือ การผลิตข้อมูลในพื้นที่ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน ใช้ในการวางแผนเพื่อการประเมินผลและตัดสินใจในระดับจังหวัดและประเทศ เป็นผู้มีใจรักงาน รับผิดชอบต่อหน้าที่ หมั่นเรียนรู้เพิ่มเติม และมุ่งมั่นในกิจการงานอาชีพของตนให้สำเร็จเรียบร้อย จึงเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพราชการเป็นที่ยอมรับ ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2558
นายนรินทร์ วัฒนกุลชัย นายกเทศมนตรีเมืองอรัญญิก นักบริหารองค์กรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อชุมชน ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย ประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม ได้รับรางวัลศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ยอดเยี่ยมระดับจังหวัด ในปี 2553 รางวัลท้องถิ่นดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับจังหวัด ในปี 2556 และ ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ในปี 2557
ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธานกรรมการโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ ศูนย์กลางขยะเพื่อการส่งออกพันล้าน ได้รับการขนานนามว่า “ราชารีไซเคิล” พัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดด้วยระบบเฟรนไชส์กว่า 486 สาขาทั่วประเทศ ให้บริการสังคมควบคู่กับการทำธุรกิจ โดยเปิดเป็นแหล่งดูงานด้านการจัดการขยะแบบครบวงจร อบรมเรียนรู้การรีไซเคิลเชิงธุรกิจ และเป็นโรงงานรีไซเคิลครบวงจรที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชีย 648 สาขาทั่ประเทศและต่างประเทศ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติรางวัลมากมาย และเป็นบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2544
สิบตรีกริช พลเดชวิสัย นายกสมาคมสื่อท้องถิ่นและเจ้าของรายการโทรทัศน์มองกลับด้าน นักธุรกิจผู้อุทิศตนรับใช้สังคมอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถด้านการฝึกอบรม เป็นวิทยากรและผู้อำนวยการหลักสูตรการพูดในที่ชุมชน พัฒนาวงการสื่อและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสเป็นที่ยอมรับของสังคมและหน่วยงานต่างๆ ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลนักธุรกิจดีเด่น โดย นายกสมาคมนักธุรกิจพิษณุโลก บุคคลดีเด่นด้านบำเพ็ญประโยชน์ โดย นายกสโมสรโรตารีพิษณุโลก ฯลฯ
นายเจนวิทย์ จันทรา นักธุรกิจผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ “กล้วยตาก” สินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพิษณุโลกมายาวนาน โดยพัฒนาคุณภาพ กระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย ปรับแผนการตลาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน อุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก สถาบันอาหารและคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เน้นการผลิตที่ได้มาตรฐานฮาลาล การใช้ระบบจีเอ็มพี และเอชเอซีซีพี เพื่อเป็นแนวทางประกันคุณภาพสินค้า และยกระดับมาตรฐานการผลิต เป็นที่ยอมรับ ในตลาดกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงชาติตะวันออกกลาง
นายณฐกร โซ่จินดามณี นักธุรกิจเจ้าของกิจการ บริษัท ที.เอส. พรินท์ติ้ง 2002 จำกัด ผู้ประสบความสำเร็จด้านบริหารธุรกิจ ได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก และเลขาธิการสภาอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 อุทิศตนเพื่อสังคมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลกให้มีความก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี
นายจักรพันธ์ หาญภิรมย์ ศิษย์เก่าสาขาดนตรีสากล ผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านดนตรีและการร้องเพลง เริ่มต้นเส้นทางนักร้องอาชีพด้วยการเข้าประกวดรายการ “ไมค์ทองคำ 2” ช่องเวิร์คพ้อย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 และเป็นศิลปินสังกัดค่ายยุ้งข้าวเรคคอร์ด ในเวลาต่อมา ผลงานเพลงได้รับความนิยมอย่างสูง ได้แก่ เพลงจุดอับสัญญาณ เพลงสถานีความระกำ และเพลงกอดเหงา และเป็นผู้แต่งเพลงอ้อมกอดพิบูล และเพลงผืนดินปริญญา ให้กับมหาวิทยาลัย
สิบเอกหญิงคนิษฐา ทองยอด นักกีฬายิงปืนหญิงแห่งกองทัพไทย ผู้คว้าเหรียญทองระดับอาเซียน สร้างชื่อเสียงให้กับชาติบ้านเมือง ผู้มีความชำนาญทางด้านทักษะการใช้อาวุธ ประเภทปืนพก สามารถผ่านการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬายิงปืนหญิงตัวแทนกองทัพบก เข้าร่วมการแข่งขันยิงปืนทางยุทธวิธีกลุ่มประเทศอาเซียน คว้าเหรียญรางวัลในต่างประเทศมากมาย ได้แก่ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
download : ประกาศมหาวิทยาลัย
รายละเอียดเพิ่มเติม
หน่วยศิษย์เก่าสัมพันธ์ งานส่งเสริมอาชีพและศิษย์เก่า กองพัฒนานักศึกษา 055-267056

©2025 sdd.psru.ac.th. All rights reserved.

ติดต่อเรา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ตาม Privacy Policy.
2  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / หนึ่งเดียวในไทย ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ณัฐพงศ เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2025, 07:13:35 pm
หนึ่งเดียวในไทย
ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

ณัฐพงศ์  แก้วทุ่ง
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชรมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี คนไทยในอดีตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นปึกแผ่น มีความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกันจนเกิดเป็นสังคม จากวิถีชีวิต ความเป็นอยู่
ความเชื่อ รวมถึงสภาพแวดล้อม ก่อให้เกิดศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ที่บ่งบอก         ถึงความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้น สะท้อนให้เห็นทัศนคติ ความเชื่อ เอกลักษณ์            ของคนในท้องถิ่น ที่นิยมประพฤติ ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี           จากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน
อำเภอลานกระบือเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตเป็นพื้นที่ที่มีฝูงควายป่าอาศัยอยู่        เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ “บ้านลานควาย” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ลานกระบือ” พื้นที่อำเภอนี้ นอกจากจะมีแหล่งน้ำมันดิบบนบกขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คือ แหล่งน้ำมันสิริกิติ์แล้ว ยังมีประเพณีอันดีงาม
ที่ทรงคุณค่าเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และสืบทอดกันมาอย่างยาวนานนั้นก็คือ ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน






ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน จัดขึ้นในช่วงประเพณีสงกรานต์เพื่อเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของชาวบ้าน
ตำบลลานกระบือ ณ บริเวณวัดแก้วสุริย์ฉายซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน โดยแต่ละหมู่บ้านจะนำล้อเกวียนที่จัดตกแต่งอย่างสวยงาม พร้อมอัญเชิญพระพุทธรูปไว้ด้านหน้า ถัดมาเป็นขันน้ำมนต์ และพระสงฆ์สามเณร
เมื่อล้อเกวียนเคลื่อนมารวมกัน ณ วัดแห่งนี้พร้อมกันแล้ว จึงแห่เกวียนไปทั่วพื้นที่ตำบลลานกระบือ ระหว่างทางพระสงฆ์จะสวดมนต์ให้พร ประพรมน้ำมนต์ให้ชาวบ้านที่มารอสรงน้ำพระพุทธรูปอยู่สองข้างทาง เพื่อความ         เป็นสิริมงคล ประเพณีนี้ชาวลานกระบือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นช่วงเวลาแห่งความเอื้ออาทร ความรัก
ความผูกพันที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคมและศาสนา เนื่องจากสมาชิกของครอบครัวมีโอกาสมาอยู่ร่วมกัน ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน ทำขนมไว้ทำบุญและเลี้ยงลูกหลาน พร้อมทั้งจัดหาผ้าผืนใหม่เพื่อมอบแด่ผู้มีพระคุณ และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ต่อจากนั้น จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี เช่น การแบ่งปันของกินแก่กัน ร่วมกันทำบุญ ให้ทาน พบปะสังสรรค์ สนุกสนาน รื่นเริงร่วมกัน และช่วยกันทำความสะอาดวัดวาอาราม ที่สาธารณะและอาคารสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากที่อื่น ๆ ดังนี้






ก่อนวันสงกรานต์ ชาวลานกระบือที่ไปทำงานต่างถิ่นจะเดินทางกลับมาที่บ้านของตนเพื่อทำบุญร่วมกัน
อยู่กันพร้อมหน้า ได้พบปะสังสรรค์กันระหว่างญาติพี่น้องและคนในครอบครัว
วันที่ 12 เมษายน จะเตรียมพร้อมเพื่อเริ่มต้นชีวิตในวันขึ้นปีใหม่ไทย สำหรับสิ่งที่เตรียมไว้ล่วงหน้า ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และขนมเพื่อไปทำบุญที่วัด ส่วนอาหารคาวจะจัดเตรียมในช่วงเช้ามืดของวันที่ 13 เมษายน ในช่วงเช้าของวันที่ 13-15 เมษายน ชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรที่วัดแก้วสุริย์ฉายเพื่อสืบทอดและทำนุบำรุง
พระพุทธศาสนา และฟังคำสอน หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยขัดเกลาจิตใจ รู้จักการให้ทาน ทำบุญอัฐิ           และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว             บางคนนำปลาไปปล่อยในสระน้ำของวัด สำหรับการปล่อยปลานั้น ผู้ที่จะปล่อยต้องจัดหามาเอง อาจจะซื้อ         จากตลาด หรือจับปลาตกคลั่กมาจากแอ่งน้ำ หรือหนองน้ำจากทุ่งนาของตน ซึ่งในช่วงสงกรานต์เป็นฤดูแล้ง       อากาศร้อนจัดและน้ำแห้งขอด ปลาเหล่านั้นอาจจะตาย จึงนำไปปล่อยเป็นการทำบุญต่อชีวิตให้แก่สัตว์อีกด้วย
วันที่ 15 เมษายน หลังจากทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าแล้ว ชาวบ้านจะไปรวมตัวกันที่วัดแก้วสุริย์ฉาย
เพื่อร่วมกิจกรรมก่อเจดีย์ทราย โดยส่วนใหญ่จะแต่งกายชุดพื้นบ้าน ผู้ชายสวมกางเกงขาก๊วย ผ้าขาวม้าคาดพุง ผู้หญิงนุ่งผ้าถุง สวมเสื้อคอกระเช้า ดูแล้วสวยงามตามแบบย้อนยุค พร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์ตกแต่งเจดีย์ทราย
ให้สวยงาม เช่น พวงเต่ารั้ง ธง สายรุ้ง ดอกไม้สด เป็นต้น กิจกรรมก่อเจดีย์ทรายมีจุดประสงค์หลักเพื่อนำทราย
เข้าวัด ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ในวัด ทรายอาจติดเท้าออกไปได้ เมื่อถึงเทศกาลจึงควรขนทราย
ไปคืนเพื่อให้วัดใช้ก่อสร้างหรือถมพื้นที่ต่อไป และในตอนบ่ายชาวบ้านจะมาพร้อมกันที่บริเวณวัดแก้วสุริย์ฉาย
อีกครั้ง โดยจัดเตรียมอุปกรณ์ตกแต่งล้อเกวียน เช่น ก้านมะพร้าว ดอกไม้ ใบตอง เป็นต้น และช่วยกันประดับตกแต่งล้อเกวียนให้สวยงาม เพื่อเตรียมพร้อมไปใช้ในพิธีแห่พระวันที่ 16 เมษายน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมแข่งขันฟุตบอล หรือกีฬาพื้นบ้าน บางปีมีมหรสพในภาคค่ำ เช่น ลิเก รำวงย้อนยุค และการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง เป็นต้น
 





วันที่ 16 เมษายน หลังจากทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านทุกหมู่บ้านมารวมกันที่ขบวนล้อเกวียนของตนซึ่งจัดตกแต่งไว้ พร้อมมโหรีบรรเลง ได้แก่ แคนวงประยุกต์ และเปิดเพลงจังหวะเร้าใจ ขณะเดียวกันก็จะร้องรำและเล่นสาดน้ำกันอย่างมีความสุข จากนั้นจึงเริ่มขบวนล้อเกวียนพิธีแห่พระ ขบวนแรกอัญเชิญพระพุทธรูป และรูปหล่อหลวงพ่อกลับ หลวงพ่อขำ ซึ่งเป็นอดีตพระเกจิอาจารย์ที่ชาวลานกระบือศรัทธาและเคารพนับถือมาประดิษฐาน ขบวนถัดไปเป็นล้อเกวียนของแต่ละหมู่บ้าน ด้านหน้าของล้อเกวียนจะอัญเชิญพระพุทธรูป จำนวน 1 องค์ น้ำมนต์ 3 ขัน ก่อนเคลื่อนขบวนออกจากวัดไปตามหมู่บ้าน จะทำพิธีจุดธูปเทียน    พร้อมด้วยดอกไม้บูชาพระรัตนตรัย อาราธนาพระปริตร จากนั้นนิมนต์พระภิกษุ สามเณรขึ้นนั่งบนล้อเกวียน
เพื่อสวดมนต์ให้พร ประพรมน้ำมนต์แก่ชาวบ้านที่มารอสรงน้ำพระอยู่ระหว่างสองข้างทาง เพื่อเป็นสิริมงคล
แก่ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปสรงน้ำพระที่วัด หลังจากแห่ขบวนไปครบทุกหมู่บ้านแล้วจะแห่กลับมา
ที่วัด จากนั้นชาวบ้านจึงร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูป รูปหล่อหลวงพ่อกลับ หลวงพ่อขำ และพระภิกษุ สามเณร
เพื่อแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคลผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว      หลังจากนั้นจะร่วมกันทำพิธีรดน้ำขอพรจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน เพื่อแสดงความเคารพ ความกตัญญูกตเวที         ต่อผู้มีพระคุณ แล้วชาวบ้านจึงสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานทั่วทั้งบริเวณวัดและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง



    

ประเพณีแห่พระด้วยเกวียนเป็นประเพณีที่ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในท้องถิ่น บรรพบุรุษของชาวตำบลลานกระบือจึงยกให้วันสงกรานต์มีความสำคัญยิ่งขึ้น โดยสร้างกิจกรรมทางศาสนาและสังคม ได้แก่ กิจกรรมสรงน้ำพระ และปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ร่วมกันทำบุญ ทำทาน ฟังธรรม และขอพรจากผู้เฒ่า
ของชุมชน อันเป็นกิจกรรมที่สร้างความมั่นคงทางจิตใจที่ซ่อนอยู่ให้เราเรียนรู้ ดังนั้น การช่วยกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู      และร่วมกันสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ ให้คงอยู่คู่กับตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ ก็คงเป็นส่วนหนึ่ง          ที่จะช่วยให้ชุมชนแห่งนี้น่าอยู่สืบไปอีกหลายชั่วอายุคน
อ้างอิง
จิรัฏฐ์ เพ็งแดง. (2563). ประเพณีการแห่พระด้วยเกวียน อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ในบริบทการใช้
   ประเพณีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจากแนวคิดของคนในท้องถิ่น. วารสาร สื่อ ศิลป์, 3(6), 61-62.
   https://acc.kpru.ac.th/sarnsuesin/articles/7-202203071646643645.pdf
จิรัสฐภรณ์ แจ่มจำรัส. (2561). ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร. กำแพงเพชรศึกษา
   มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ฐานข้อมูล
   _เรื่อง_ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน_อ.ลานกระบือ_จ.กำแพงเพชร#
ธำรง จันคง. (2567, 16 เมษายน). ประเพณีวัฒนธรรมของชาวลานกระบือ [Facebook]. https://www.facebook.com/photo?fbid=1887809065010946&set=pcb.1887809851677534
สมพงษ์ พงศ์สุทธิยากร. (2562, 13 เมษายน). “สงกรานต์ลานกระบือ” หนึ่งเดียว “แห่พระด้วยเกวียน”
สันติ อภัยราช. อำเภอลานกระบือ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอลานกระบือ.
   กำแพงเพชรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
   สืบทอด 300 ปี. ไทยรัฐ ออนไลน์. https://www.thairath.co.th/news/local/north/1543445
MGR online. (2561, 16 เมษายน). หนึ่งเดียวในไทย! ชาวลานกระบือ “แห่พระด้วยเกวียนวันสงกรานต์”
 สานประเพณี เก่าแก่. https://mgronline.com/local/detail/9610000037565




3  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / === พิธีต้อนรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช พร้อมถวายมุทิตาสักการะ พระเมธีวชิรภูษิต เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2025, 05:53:38 am
=== พิธีต้อนรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช พร้อมถวายมุทิตาสักการะ พระเมธีวชิรภูษิต (จำเนียร จิรวํโส) เจ้าคณะอำเภอทรายทองวัฒนา ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ===

วันเสาร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๘  เวลา ๑๐.๐๐ น.
นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีต้อนรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งพระเมธีวชิรภูษิต (จำเนียร จิรวํโส) เจ้าคณะอำเภอทรายทองวัฒนา ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง โดยได้รับควาเมตตาจากพระวิเชียรมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๔ เจ้าอาวาสวัดพัฒนราษฎร์บำรุง เป็นประธานสงฆ์ พร้อมด้วย พระครูวชิรปัญญากร เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เจ้าอาวาสวัดบ่อสามแสน พระครูวชิรคุณพิพัฒน์ รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เจ้าอาวาสวัดถาวรวัฒนา(ใต้) คณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร นายอนุชา พัสถาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นางภาวิณี ไม้สุวงค์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร หัวหน้าส่วนราชการ และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธี
ตามที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ได้มีพระลิขิต ถึงราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓) ออกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ เมื่อมีพระราชดำริเป็นประการใด ให้มหาเถรสมาคมดำเนินการตามพระราชดำริ นั้น บัดนี้ ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีหนังสือ ที่ พว ๐๒๐๒.๒/๙๓๕๔ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๘ กราบทูลสมเด็จพระสังฆราช ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม แจ้งว่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้แต่งตั้งพระสังฆาธิการดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด จำนวน ๖ รูป และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง จำนวน ๖ รูป รวม ๑๒ รูป สมเด็จพระสังฆราช ทรงรับทราบพร้อมกับมีพระบัญชาโปรดให้นำเสนอมหาเถรสมาคมในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๘ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๘ เพื่อทราบ และได้มีพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ที่ ๖/๒๕๖๘ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๘ แต่งตั้งให้ พระเมธีวชิรภูษิต (จำเนียร) ฉายา จิระวังโส อายุ ๕๔ พรรษา ๓๓ วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ โดยสมเด็จพระสังฆราช ทรงโปรดมีพระบัญชาให้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ มอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ในพิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศและผ้าไตร แก่พระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๘ ณ วัดลัฏฐิวัน ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
สำหรับพิธีในวันนี้ ประกอบด้วย พิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน อุทิศแด่บูรพจารย์ มีพระเทพวชิรเมธี อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร อ่านพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช พระเมธีวชิรภูษิต ถวายสักการะแด่ประธานสงฆ์ เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด และพระเถระผู้ใหญ่ จากนั้น คณะสงฆ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการ และพุทธศาสนิกชน ร่วมถวายมุทิตาสักการะ ตามลำดับ
ในการนี้ นายอภินันท์ มุสิกะพงษ์ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วย นางสาวพชรพรรณ ชุ่มเปี่ยม ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นางสาวระวีวรรณ โตวารี ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี เข้าร่วมพิธีและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ณ ศาลาธรรมจักรซันเดย์ วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
#สาสน์ศิลป์วัฒนธรรมกำแพงเพชร
4  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / 30/06/68 การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ครั้งที่ ๒/๒๕๖๘ เมื่อ: มิถุนายน 30, 2025, 10:47:43 pm
30/06/68  การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ครั้งที่ ๒/๒๕๖๘ เพื่อพิจารณาคัดเลือก “คนดีศรีจังหวัด” ของจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ===

วันจันทร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๘  เวลา ๐๙.๓๐ น.
นายอนุชา พัสถาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ครั้งที่ ๒/๒๕๖๘ ซึ่งเป็นการพิจารณาคัดเลือก “คนดีศรีจังหวัด” ของจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ด้วยคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติได้จัดทำ “แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๓๗๐)" ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นขอบเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ โดยมีเป้าหมายให้ “คนไทยมีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรม ๕ ประการ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู” มุ่งสู่สังคมคุณธรรมที่คนไทยอยู่ร่วมกันด้วยความสมานฉันท์ ภายใต้หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และประเทศไทยปลอดทุจริตและประพฤติมิชอบ” โดยหนึ่งในกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนคุณธรรมให้เกิดผลเป็นที่ประจักษ์ในทุกพื้นที่ คือส่งเสริมให้ชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัด มีส่วนร่วมพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์การประเมิน ๓ ระดับ คือ ระดับส่งเสริมคุณธรรม ระดับพัฒนาคุณธรรม และระดับคุณธรรมต้นแบบ รวมทั้งส่งเสริมการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรที่มีคุณธรรมหรือทำความดี ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดให้ก้าวไปสู่ระดับคุณธรรมต้นแบบเพิ่มมากขึ้น
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการด้านการประเมินชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม จึงได้ขับเคลื่อนโครงการ “คนดีศรีจังหวัด” ผ่านกลไกคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับจังหวัด เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกียรติประวัติและผลงานของบุคคลที่ได้รับการยกย่อง ให้เกิดการรับรู้ในสังคมอย่างกว้างขวาง เป็นแบบอย่างและเป็นแรงจูงใจในการทำความดีแก่บุคคลอื่นในสังคมต่อไป โดยกรมการศาสนา ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการคัดเลือก “คนดีศรีจังหวัด” ประกอบด้วย ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และดำรงตนตามหลักคุณธรรม ๕ ประการ (พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู) จนเป็นที่ประจักษ์ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชน องค์กร จังหวัด หรือประชาชนอื่นๆ นำหลักคุณธรรม ๕ ประการ เป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือดำเนินชีวิต พร้อมกับเคยได้รับรางวัลหรือเกียรติคุณอื่นๆ ในด้านศาสนา คุณธรรม วัฒนธรรม ทั้งนี้ มีผู้ส่งผลงานเข้ารับการคัดเลือก รวม ๑๘ ราย แบ่งเป็น ประเภทเด็กและเยาวชน (อายุระหว่าง ๑๓ - ๒๕ ปี) จำนวน ๑๑ ราย และประเภทประชาชน จำนวน ๗ ราย ึ่งคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือก "คนดีศรีจังหวัด" ประเภทละ ๑ รางวัล และรายงานผลการพิจารณาให้กรมการศาสนาทราบภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๘ อนึ่ง ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้โล่รางวัลเชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี และผู้ที่เสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกทุกรายจะได้รับเกียรติบัตรจากจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป
ในการนี้ นายอภินันท์ มุสิกะพงษ์ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วย นางสาวระวีวรรณ โตวารี ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ ข้าราชการ พนักงานราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และนางสาวไพลิน วงษ์ยะลา นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ดำเนินการจัดประชุมฯ โดยมีคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจังหวัด นำโดย นายกองเอก ชัยพฤกติ์ เชียรธานรักษ์ ปลัดจังหวัดกำแพงเพชร พันตำรวจเอก ชลิต วิริยะไกร รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร นายอนันต์ โฆษิตพิพัฒน์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร นางสาวมะลิวัน สิทธิโยธี พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกำแพงเพชร ส่วนราชการ นายสันติ อภัยราช นายไพโรจน์ พลาพล ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา กรรมการและเลขานุการสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมทุ่งเศรษฐี ชั้น ๓ ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพช
5  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / “ขุนเจน”บรรพบุรุษผู้สลักรากวัฒนธรรมของอำเภอลานกระบือ ศิวกร แสงแก้ว ศูนย์ส่งเสริม เมื่อ: มิถุนายน 30, 2025, 03:57:42 pm
“ขุนเจน”บรรพบุรุษผู้สลักรากวัฒนธรรมของอำเภอลานกระบือ
ศิวกร แสงแก้ว
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอลานกระบือ

เคยสงสัยไหมว่าชื่อ "ลานกระบือ" มาจากไหน? ครั้งแรกที่ได้ยินชื่ออำเภอนี้ของจังหวัดกำแพงเพชร นึกภาพฝูงควายนับร้อยยืนเรียงรายบนลานกว้าง เป็นภาพที่ชวนให้จินตนาการถึงอดีตอันไกลโพ้น และเมื่อได้มีโอกาสเดินทางไปสัมผัสดินแดนแห่งนี้ด้วยตัวเอง กลับพบว่าความเป็นมาของลานกระบือลึกซึ้งและน่าสนใจยิ่งกว่าที่คิด โดยเฉพาะเมื่อได้รู้จักกับ "ขุนเจน" วีรบุรุษผู้สร้างรากฐานให้กับผืนแผ่นดินแห่งนี้
จากป่าดงดิบสู่ชุมชนเข้มแข็ง
ย้อนกลับไปในยุคต้นรัตนโกสินทร์ พื้นที่ที่เรารู้จักในนาม "ลานกระบือ" ในปัจจุบันเคยเป็นเพียงป่าดงดิบอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่น่าทึ่งคือ "ดินโป่ง" แหล่งแร่ธาตุสำคัญที่ดึงดูดสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะฝูงควายป่าที่มักมารวมตัวกันที่นี่จนเกิดเป็นที่มาของชื่อ "ลานควาย"
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านถนนสายหลักของอำเภอลานกระบือ อดไม่ได้ที่จะจินตนาการภาพในอดีตเมื่อครั้งที่ผืนดินแห่งนี้ยังเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ที่มีเพียงเสียงฝูงควายป่าร้องขานสลับกับเสียงลมพัดผ่านทุ่งหญ้า ก่อนที่ผู้คนจากภาคอีสานและพื้นที่ใกล้เคียงจะทยอยอพยพเข้ามาตั้งรกรากในสมัยรัชกาลที่ 4
 
ภาพที่ 1 จำลองอำเภอลานกระบือในอดีต
ขุนเจน ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง
ท่ามกลางการอพยพและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีชายผู้หนึ่งที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำคนสำคัญ นั่นคือ "ขุนเจน" หรือ "กำนันเจน" บุรุษผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกำนันคนแรกของตำบลลานกระบือ
จากการพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่ ได้รับรู้ว่าขุนเจนเป็นชาวลานกระบือรุ่นบุกเบิก ที่มีรากเหง้าจากตระกูลใหญ่ที่อพยพมาจากภาคกลางในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวงศ์ตระกูล "เจนจบ" คือลูกหลานของท่าน การที่ท่านได้รับตำแหน่งกำนันไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่สะท้อนถึงความไว้วางใจจากทั้งทางการและชาวบ้าน
เมื่อได้ยืนอยู่หน้าอนุสาวรีย์ขุนเจนที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2563 รู้สึกถึงพลังและคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่ท่านมอบให้แก่ชุมชนแห่งนี้ แม้เวลาจะผ่านไปกว่าร้อยปี แต่คำสอนและแนวทางการปกครองของท่านยังคงมีอิทธิพลต่อลานกระบือจนถึงทุกวันนี้
 
ภาพที่ 2 จำลองขุนเจนกับอำเภอลานกระบือ
คุณูปการอันเป็นอมตะ
การจัดการน้ำอย่างชาญฉลาด
หากได้เดินทางไปตามทุ่งนาในลานกระบือ อาจจะสังเกตเห็นระบบเหมืองฝายขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ นี่คือมรดกอันล้ำค่าที่ขุนเจนได้ริเริ่มไว้ ด้วยความรู้เกี่ยวกับภูมิประเทศและการจัดการทรัพยากร ท่านได้สร้างระบบที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถจัดสรรน้ำอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน
รู้สึกทึ่งกับหลักการ "แบ่งปันเท่าเทียม" ที่ขุนเจนนำมาใช้ เพราะแม้ในยุคที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้าเท่าปัจจุบัน แต่ระบบนี้ก็สามารถจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต่างจากหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เราพูดถึงกันในปัจจุบัน
ศูนย์รวมจิตใจของชุมชน
หนึ่งในสถานที่สำคัญที่แนะนำให้ไปเยี่ยมชมเมื่อมาถึงลานกระบือคือ วัดแก้วสุริย์ฉาย วัดแห่งนี้มีความพิเศษเพราะเกิดจากการบริจาคที่ดินส่วนตัวของขุนเจน ท่านเล็งเห็นความสำคัญของการมีศูนย์กลางทางจิตวิญญาณให้กับชุมชน
เมื่อได้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศภายในวัด รู้สึกถึงความสงบและพลังแห่งศรัทธาที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า ขุนเจนไม่เพียงสร้างวัด แต่ยังส่งเสริมงานบุญประเพณีต่างๆ เช่น พิธีกรรม "ธรรมะสู่ไร่นา" ที่ใช้หลักธรรมะในการแก้ไขปัญหาขัดแย้งเรื่องที่ดินทำกิน
ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน มรดกทางวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิต
หากโชคดีที่ได้มีโอกาสมาลานกระบือในช่วงสงกรานต์ ทำให้ได้เห็นประเพณี "แห่พระด้วยเกวียน" ที่ขุนเจนริเริ่มไว้ ภาพที่เห็นคือล้อเกวียนที่ถูกประดับตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง กลายเป็นพุทธบูชาที่งดงามจนแทบลืมหายใจ
ชาวบ้านเล่าด้วยรอยยิ้มว่า ประเพณีนี้ได้พัฒนามาเป็นการแข่งขันศิลปะประดิษฐ์ระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งนอกจากส่งเสริมความสามัคคีแล้ว ยังเป็นช่องทางถ่ายทอดภูมิปัญญาการจักสานพื้นบ้านสู่คนรุ่นใหม่ ทำให้อดประทับใจไม่ได้กับวิสัยทัศน์ของขุนเจนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
มรดกที่ยังมีชีวิต
เมื่อเดินทางรอบอำเภอลานกระบือ รู้สึกเหมือนได้สัมผัสกับจิตวิญญาณของขุนเจนที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในทุกถนน ทุกวัด และในวิถีชีวิตของชาวบ้าน คำสอนของท่านเรื่อง "การปกครองดีต้องเริ่มที่การฝึกตน" และการส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ได้กลายเป็นแนวคิดพื้นฐานของคำขวัญอำเภอลานกระบือว่า "เมืองแห่งคุณธรรม"
อนุสาวรีย์ขุนเจนที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของการรำลึกถึงคุณูปการของท่าน การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นรอบอนุสาวรีย์ยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นอีกด้วย
 
ภาพที่ 3 อนุสาวรีย์ขุนเจนในปัจจุบัน
หมายเหตุ ภาพถ่ายโดย ศิวกร แสงแก้ว บันทึกภาพเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568

บทส่งท้าย จากอดีตสู่ปัจจุบัน
จากป่าดงดิบที่เต็มไปด้วยควายป่าสู่ชุมชนเข้มแข็งที่มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ลานกระบือได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องบนรากฐานที่ขุนเจนและบรรพบุรุษได้วางไว้ ในปี พ.ศ. 2504 ชื่อ "ลานควาย" ได้เปลี่ยนเป็น "ลานกระบือ" เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในทางราชการ และพื้นที่ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2520 ก่อนจะกลายเป็นอำเภอเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2527
ทุกครั้งที่เดินทางกลับมาเยือนลานกระบือ อดไม่ได้ที่จะรู้สึกประทับใจกับการผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมและวิทยาการใหม่ที่ชาวลานกระบือนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน วิสัยทัศน์ของขุนเจนที่มองการณ์ไกลได้กลายเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
หากมีโอกาสได้มาเยือนลานกระบือ ขอแนะนำให้แวะชมอนุสาวรีย์ขุนเจน สัมผัสบรรยากาศของวัดแก้วสุริย์ฉาย และพูดคุยกับชาวบ้านถึงเรื่องราวของกำนันคนแรกแห่งลานกระบือ จะได้เรียนรู้ว่าแม้เวลาจะผ่านไปนานเพียงใด แต่คุณค่าของการอุทิศตนเพื่อส่วนรวม การรักษาวัฒนธรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะยังคงส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นไม่มีวันสิ้นสุด เฉกเช่นมรดกอันล้ำค่าที่ขุนเจนได้มอบไว้ให้กับชาวลานกระบือ


อ้างอิง
VSPORT NEWS ONLINE. (27 ธันวาคม 2563). กำแพงเพชร-เทศบาลตำบลลานกระบือ จัดการแข่งขันรันกระบือ fun run ครั้งที่ 2 ระยะทาง 5 กิโลเมตร รำลึกขุนเจน อดีตกำนันคนแรกของอำเภอลานกระบือ. เข้าถึงได้จาก วีสปอร์ต กำแพงเพชร ข่าวกีฬาท้องถิ่นเพื่อคนกำแพง: https://www.vsportkamphaeng.com/post/8295
สันติ อภัยราช. (22 เมษายน 2552). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา กำแพงเพชร. เข้าถึงได้จาก โทรทัศน์วัฒนธรรม: http://sunti-apairach.com/book/book1pdf/booksec1_091.pdf
อภิมุข Channel. (2564, 31 พฤษภาคม). "(ขุนเจน)บรรพบุรุษลานกระบือ" ขออะไรได้ง่ายๆ [วิดีโอ]. YouTube, https://www.youtube.com/watch?v=YeCzOyR3Pvc&t=1s.
อภิมุข โรจน์นวกร. (6 มกราคม 2564). อนุเสารีย์ขุนเจนอดีตกำนันคนแรก. เข้าถึงได้จาก เทศบาลตำบลลานกระบือ: https://www.lankrabue.go.th/news_detail?hd=1&doIP1&checkIP=chkIP&id=48885&checkAdd=chkAd&dum=43169_ypk


กิจกรรมท้ายบทความ
“ขุนเจน”บรรพบุรุษผู้สลักรากวัฒนธรรมของอำเภอลานกระบือ
   อ่านเรื่อง “ขุนเจน”บรรพบุรุษผู้สลักรากวัฒนธรรมของอำเภอลานกระบือ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ ลองมาเรียนรู้ร่วมกันโดยลองตอบคำถาม 5 ข้อ ด้านล่างนี้ คำตอบไม่มีถูกไม่มีผิด สามารถตอบคำถามจากสิ่งที่คิดและรู้สึกได้เลย
1. สิ่งที่ประทับใจเกี่ยวกับขุนเจนมากที่สุดคือ ..........................................................................................
...
เพราะอะไรจึงประทับใจ...
...
...
...
2. ถ้าน้องได้มีโอกาสย้อนเวลากลับไปพบขุนเจน น้องอยากถามอะไรกับท่านมากที่สุด
...
คิดว่าคำตอบที่จะได้รับจะเป็นประโยชน์กับน้องอย่างไร
...
...
3. หลักการ "แบ่งปันเท่าเทียม" ของขุนเจน น้องคิดว่าสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
...
...
...

4. น้องคิดว่าการที่จะเป็นผู้นำที่ดีเหมือนขุนเจนได้ ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
...
...
...
5. ลองเขียนข้อความสั้นๆ ถึงขุนเจน เพื่อขอบคุณท่านที่ได้สร้างรากฐานให้ชุมชนลานกระบือ
...
...
...


6  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / === กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างนักเล่าเรื่อง เพื่อถ่ายทอดเทคนิควิธีการนำเส เมื่อ: มิถุนายน 25, 2025, 10:44:09 am
=== กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างนักเล่าเรื่อง เพื่อถ่ายทอดเทคนิควิธีการนำเสนอข้อมูลของชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพ นักเล่าเรื่องและการจัดทำสื่อวีดิทัศน์ เพื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนคุณธรรมหนองปลิง (บ้านคลองบางทวน) ===

วันอังคารที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๘
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร โดย นายอภินันท์ มุสิกะพงษ์ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้ นางสาวระวีวรรณ โตวารี ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ และข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ดำเนินการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างนักเล่าเรื่อง เพื่อถ่ายทอดเทคนิควิธีการนำเสนอข้อมูลของชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพ นักเล่าเรื่องและการจัดทำสื่อวีดิทัศน์ เพื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนคุณธรรมหนองปลิง (บ้านคลองบางทวน) โดยมีนางกิตติวรา วิริยา ปลัดเทศบาลเมืองหนองปลิง เป็นประธานเปิดการอบรม นางสาวสุชาดา อารีทม รองปลัดเทศบาลเมืองหนองปลิง นายทศพล พึ่งสูงเนิน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ บ้านคลองบางทวน ครู เด็ก เยาวชน และชาวบ้านในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองหนองปลิง ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ด้วยสํานักงานปลัดกระกระทรวงวัฒนธรรม กําหนดดําเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนเด็กและเยาวชนในจังหวัด ให้เป็นนักเล่าเรื่องที่มีความรู้ มีทักษะในการจัดทำคลิปที่มีเนื้อหา (Content) เกี่ยวกับคุณค่า อัตลักษณ์ ตํานาน เรื่องเล่า และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และสามารถถ่ายทอดให้กับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือน และ ผู้สนใจทั่วไปได้ พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชน เชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
ทั้งนี้ จังหวัดกำแพงเพชร ได้คัดเลือกชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อพิจารณาคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในทุกมิติ โดยมีมติเห็นชอบให้ “ชุมชนคุณธรรมหนองปลิง (บ้านคลองบางทวน)” เป็นชุมชนที่ผ่านการคัดเลือกของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็น ๑๐ สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ และสํานักงานปลัดกระกระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ โดยกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างนักเล่าเรื่อง เพื่อถ่ายทอดเทคนิควิธีการนำเสนอข้อมูลของชุมชน และพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องให้มีความรู้ มีทักษะในการจัดทำคลิปที่มีเนื้อหา (Content) เกี่ยวกับคุณค่า อัตลักษณ์ ตำนาน เรื่องเล่า และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และสามารถถ่ายทอดให้กับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือน และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับทักษะและเทคนิคการเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี โดยนายสันติ อภัยราช อุปนายกฝ่ายวิชาการ สโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร การบรรยายองค์ความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี มรดกทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชาวตำบลหนองปลิง โดยนายบัณฑิต ทองอร่าม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และการบรรยายกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยชุมชน โดยนางสาวเบญจวรรณ จันทราช หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
#สาสน์ศิลป์วัฒนธรรมกำแพงเพชร
7  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / 13/06/68 กิจกรรม Focus group เพื่อถอดข้อมูลเกี่ยวกับตำนาน เรื่องเล่า ชื่อบ้านนาม เมื่อ: มิถุนายน 14, 2025, 12:30:33 pm
13/06/68 กิจกรรม Focus group เพื่อถอดข้อมูลเกี่ยวกับตำนาน เรื่องเล่า ชื่อบ้านนามเมือง ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนคุณธรรมหนองปลิง (บ้านคลองบางทวน) ===

วันศุกร์ที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๘  เวลา ๐๙.๓๐ น. นายอภินันท์ มุสิกะพงษ์ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานเปิดกิจกรรม Focus group เพื่อถอดข้อมูลเกี่ยวกับตำนาน เรื่องเล่า ชื่อบ้านนามเมือง ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนคุณธรรมหนองปลิง (บ้านคลองบางทวน) ด้วยสํานักงานปลัดกระกระทรวงวัฒนธรรม กําหนดดําเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนเด็กและเยาวชนในจังหวัด ให้เป็นนักเล่าเรื่องที่มีความรู้ มีทักษะในการจัดทำคลิปที่มีเนื้อหา (Content) เกี่ยวกับคุณค่า อัตลักษณ์ ตํานาน เรื่องเล่า และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และสามารถถ่ายทอดให้กับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือน และ ผู้สนใจทั่วไปได้ พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชน เชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
ทั้งนี้ จังหวัดกำแพงเพชร ได้คัดเลือกชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อพิจารณาคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในทุกมิติ โดยมีมติเห็นชอบให้ “ชุมชนคุณธรรมหนองปลิง (บ้านคลองบางทวน)” เป็นชุมชนที่ผ่านการคัดเลือกของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็น ๑๐ สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ และสํานักงานปลัดกระกระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ โดยในขั้นต้น คือ กิจกรรม Focus group เพื่อถอดข้อมูลเกี่ยวกับตำนาน เรื่องเล่า ชื่อบ้านนามเมือง ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อรวบรวม เรียบเรียงเป็นข้อมูลให้กับนักเล่าเรื่องชุมชนได้นำไปใช้ในการนำเสนอต่อนักท่องเที่ยว โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย นายไพรัช ตัณนิติศุภวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองหนองปลิง นายบัณฑิต ทองอร่าม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ผู้แทนหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร นายสันติ อภัยราช นายรุ่งเรือง สอนชู ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปินพื้นบ้าน จากนั้น ต่อด้วยกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างนักเล่าเรื่อง เพื่อถ่ายทอดเทคนิควิธีการนำเสนอข้อมูลของชุมชน และพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องให้มีความรู้ มีทักษะในการจัดทำคลิปที่มีเนื้อหา (Content) เกี่ยวกับคุณค่า อัตลักษณ์ ตำนาน เรื่องเล่า และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และสามารถถ่ายทอดให้กับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือน และผู้สนใจทั่วไป และจัดทำสื่อวีดิทัศน์นักเล่าเรื่อง “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” เพื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนคุณธรรมหนองปลิง (บ้านคลองบางทวน) ชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ และเผยแพร่ผ่านช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ Facebook, YouTube, TikTok เป็นต้น
ในการนี้ นางสาวระวีวรรณ โตวารี ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ พร้อมด้วย ข้าราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ดำเนินการจัดกิจกรรมฯ ณ ที่ทำการชุมชนคุณธรรมหนองปลิง (บ้านคลองบางทวน) หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
8  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / คำนิยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์ พันธ์แก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภ เมื่อ: มิถุนายน 14, 2025, 09:45:14 am
คำนิยม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์  พันธ์แก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ได้รู้จักผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์  พันธ์แก้วมากกว่า 20 ปี ตั้งแต่ท่านเริ่มมาเป็นอาจารย์สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ได้ยินชื่อเสียงว่า เป็นอาจารย์ที่ตั้งใจสอน ทุ่มเทกับการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยเฉพาะในด้านศิลปวัฒนธรรม ท่านเป็นผู้ที่เสียสละประโยชน์สุขส่วนตัวเพื่อความสุขของนักศึกษาและผู้ร่วมงาน ผู้ปกครอง และผู้บริหารเสมอมาโดยไม่คำนึงถึงความยากลำบากหรือเงินทองที่เสียไป
เริ่มมาสนิทสนมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์  พันธ์แก้วมากขึ้น เมื่อได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน ในด้านการพัฒนาศิลธรรม คุณธรรม และจริธรรมให้กับนักศึกษา การปลุกจิตสำนึกให้นักศึกษาได้ตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์ ส่งเสริม รักและหวงแหนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย จึงได้เห็นว่าท่านเป็นอาจารย์ที่ดีมาก มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ มีความรับผิดชอบ ไม่เคยทิ้งนักศึกษา อุทิศตนให้กับงานสอน มีศิลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและการครองตนถือเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น ตั้งใจสอน ดูแลเอาใจใส่นักศึกษาทุกคนเหมือนลูกทั้งในและนอกเวลาราชการ ซึ่งสังเกตได้จากนอกเวลาสอนปกติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์  พันธ์แก้ว ยังได้เป็นผู้ก่อตั้งคณะลิเกนักศึกษาครู เพชรกรุ ครุศิลป์ ซึ่งชื่นชมท่านเป็นอย่างมากในด้านเสียสละและทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการดูแลฝึกซ้อมการแสดงลิเกให้กับนักศึกษา ทั้ง ๆ ที่ตัวของท่านเองไม่เคยมีเชื้อสายลิเกมาก่อน  ท่านต้องเสียสละทั้งเวลา เสียสละทรัพย์ซึ่งทราบมาว่าไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท เพื่อนำมาใช้จ่ายทั้งเรื่องการกินอยู่ในทุก ๆ วันที่ซ้อม ทั้งเรื่องชุดและอุปกรณ์การแสดงลิเกทั้งหมดท่านเป็นผู้ดูแล เพียงแค่หวังว่าให้นักศึกษาได้เรียนรู้และมีความสุขที่อยู่ในครอบครัวเพชรกรุ ครุศิลป์ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใคร ๆ จะทำได้เหมือนอย่างท่าน แต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์  พันธ์แก้ว ทำได้สำเร็จสมบูรณ์ทุกครั้งและทุกรุ่น อย่างดีที่สุดเท่าที่สัมผัสมา ผลสำเร็จเชิงประจัก จนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ระดับประเทศ กับการแข่งขันลิเกชาดกชิงถ้วยพระราชทานพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีโดยกระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 
ปัจจุบันมีนักศึกษาที่จบไปแล้วหลายรุ่น แต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์  พันธ์แก้ว ยังทำหน้าที่ครูต่อเนื่องอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนดูแลลูกศิษย์อย่างสม่ำเสมอทุกรุ่ย ทุกวัย แม้ไปทำงานแล้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์  พันธ์แก้ว ยังติดตาม ดูแล ช่วยเหลือให้กำลังใจมิได้ขาด ทั้งหมดที่ท่านทำแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของครูผู้รักศิษย์ ดูแลเอาใจใส่ ให้กำลังใจ เด็ก ๆ จนเด็ก ๆ ทุกคน เรียกว่า “แม่” และถือเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตหลายๆ เรื่องของเด็ก ๆ
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ในการพัฒนาศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนักศึกษา โดยจัดตั้งชมรม “ค.ฅน อาสา” ขึ้น เพื่อนำนักศึกษาร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ในการทำกิจกรรมจิตอาสาตามนโยบายของชมรม เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา ศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมอย่างกว้างขวาง  เช่น ร่วมกับชาวบ้าน ใน การทำความสะอาดในวัด ร่วมทำบุญร่วมช่วยเหลือทางวัดในเทศกาลต่าง ๆ ช่วยเหลือบริจาคสิ่งของให้กับผู้ยากไร้ หรือประสบภัยจากน้ำท่วม โรคระบาดต่าง ๆ และผลงานที่ชัดเจนที่สุด คือ ท่านพานักศึกษาเพื่อนำเอาความรู้เกี่ยวกับลิเกไปใช้แก้ปัญหาเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้สำเร็จ เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์  พันธ์แก้วและนักศึกษาเป็นผู้ที่มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม  และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาให้คนอื่นได้จนสำเร็จ
จากผลงานดังกล่าวของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อังสุรีย์  พันธ์แก้ว ถือว่าเป็นผลงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการพัฒนาศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนักศึกษา ทั้งด้านนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลที่แท้จริง จึงเป็นยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน และสังคมทั่วไปในด้านศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม 

                  นายสันติ  อภัยราช
                                                  .......................................................................
                                                 .............................................................................               

9  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ???????? จังหวัดกำแพงเพชร จัดประชุมคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรมระดับจั เมื่อ: มิถุนายน 12, 2025, 04:31:13 pm
ฮืมฮืม?? จังหวัดกำแพงเพชร จัดประชุมคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรมระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

         วันนี้(12 มิถุนายน 68) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้ นายอนุชา พัสถาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โดยมี นายอภินันท์ มุสิกะพงษ์ วัฒนธรรมจังหวัดฯ , นางเยาวลักษณ์ เครือคำขาว ประชาสัมพันธ์จังหวัดฯ , นางสาวภาวิณี ไม้สุวงศ์ ผู้แทน ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฯ ,นายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะและวัฒนธรรม , นายศักดิ์ชัย สัมทับ ประธานเครือข่ายรักบริสุทธิ์ ,นายสาธิต ตันติสันติสม ผู้แทนประธานหอการค้าจังหวัดฯ ,นางชนิกา ศรีวรรธนศิลป์ ผู้แทนประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดฯ เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม

         การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเสนอรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก ระดับจังหวัด ส่งไปยังกองตรวจราชการ กระทรวงวัฒนธรรม ภายในวันที่ 13 มิถุนายน 2568 ซึ่งเป็นการดำเนินการคัดเลือกบุคคล/คณะบุคคล หรือองค์กร ที่มีคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ในการส่งเสริม สนับสนุน และธำรงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อเชิดชูเกียรติที่ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรมฯ ซึ่งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกฯ ระดับจังหวัด จะได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกระดับประเทศ เพื่อรับโล่เชิดชูเกียรติ "วัฒนคุณากร" หรือบุคคล/องค์กร "วัฒนธรรมดีเด่น" จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม (3 ตุลาคม 2568) หรือวันที่กระทรวงวัฒนธรรมกำหนด โดยพิจารณาจากผลงานดีเด่นที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมสนับสนุน สืบสาน และพัฒนาผลงานศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม และต้องเป็นไปตามคุณสมบัติ/หลักเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ ผู้ทำคุณประโยชน์อาจเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือคณะบุคคล ที่มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ และมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องขตตยจต
10  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ที่ประชุมมส.ครั้งที่ 14/2568 รับทราบ ทรงมีพระราชดำริโปรดแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัด แ เมื่อ: มิถุนายน 01, 2025, 10:25:33 am
ที่ประชุมมส.ครั้งที่ 14/2568 รับทราบ ทรงมีพระราชดำริโปรดแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง รวม 12 รูป  

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร มีการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ครั้งที่ 14/2568 โดยภายหลังการประชุม รศ.ดร.ชัชพล ไชยพร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการพระพุทธศาสนา รักษาราชการแทน ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม แถลงผลการประชุมมส. ว่า มส.รับทราบตามที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระลิขิต ขอพระราชทานถวายพระพร ขอพระราชทานพระราชดำริ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการเป็นเจ้าคณะจังหวัด จำนวน 6 รูป เจ้าอาวาสพระอารามหลวง จำนวน 6 รูป ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงมีพระราชดำริโปรดแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง รายนามดังต่อไปนี้

1.พระเทพวัชรจริยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช รองเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2.พระสุธีวชิรธรรม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต) ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต) ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)

3.พระครูวชิรปัญญากร เจ้าอาวาสวัดบ่อสามแสน รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร

4.พระครูจารุธรรมพินิจ เจ้าอาวาสวัดอร่ามรัตนาราม  รองเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต (ธรรมยุต) ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต-ตรัง-กระบี่ (ธรรมยุต) ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต-ตรัง-กระบี่ (ธรรมยุต)

5.พระครูสิริสีลวัตร เจ้าอาวาสวัดอำนาจ รองเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ

6.พระครูศรีศาสนกิจ เจ้าอาวาสวัดสุทธิกาญจนาราม เจ้าคณะอำเภอเมืองกาญจนบุรี (ธรรมยุต)  ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี (ธรรมยุต) ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี (ธรรมยุต)

7.พระธรรมวชิรเมธาจารย์ ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร กรรมการมส. ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร

8.พระธรรมวชิรนิวิฐ ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์ ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวีดประชานิยม

9.พระมงคลรัตนสุธี ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดศาลาลอย จ.นครราชสีมา ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดศาลาลอย

10.พระปริยัติวชิรโมลี ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระยายัง ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพระยายัง

11. #พระเมธีวชิรภูษิต ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ

12.พระครูกิตติพัฒนานุยุต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด จ.เชียงราย ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด
11  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ???????????? จังหวัดกำแพงเพชร จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) แผนปฏิ เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2025, 05:01:48 pm
ฮืมฮืมฮืมฮืม จังหวัดกำแพงเพชร จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่ากำแพงเพชร ครั้งที่ 1

         วันพุธที่ 21 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมซุ้มกอ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้ นายอนุชา พัสถาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่ากำแพงเพชร ครั้งที่ 1 ในโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่ากำแพงเพชร โดยมี นายบรรเจิด ถมปัด ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกำแพงเพชร , นายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์/โบราณคดี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่น ผู้แทนส่วนราชการหน่วยงาน และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

          สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับที่ปรึกษา (กิจการค้าบริษัทเทสโก้จำกัด และบริษัทแกรนด์เทค จำกัด) ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชน ในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่ากำแพงเพชรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีชีวิตชีวาและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยจะมีการนำเสนอ (๑) กำหนดการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่ากำแพงเพชร (๒) ขอบเขตการดำเนินงาน และ (๓) ผลการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่ากำแพงเพชร ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และเปิดเวทีระดมความคิดเห็นต่อร่างแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งประกอบด้วย ๕ แผนงานสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม, การส่งเสริมการมีส่วนร่วม, การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์, และการพัฒนาองค์กรบริหารจัดการเมืองเก่า

          กิจกรรมในครั้งนี้ จังหวัดกำแพงเพชรได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แผนปฏิบัติการฯ ที่จัดทำขึ้นเป็นแนวทางการดำเนินงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้บริเวณเมืองเก่ากำแพงเพชร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาที่เหมาะสม ดำรงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม และได้รับประโยชน์ทั้งการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งข้อเสนอแนะต่างๆ จะถูกนำไปพิจารณา และปรับปรุง ให้มีความสมบูรณ์และครอบคลุมมากยิ่งขึ้นต่อไป
12  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ????????✨พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานต้นพระศ เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2025, 01:42:19 pm
ฮืมฮืม??✨พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อเชิญไปปลูกในพื้นที่ 77 จังหวัด พร้อมกันทั่วประเทศ เนื่องในวันวิสาขบูชา

ฮืมฮืม??วันที่ 11 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. ที่มณฑลพิธีสวนป่า 80 พรรษา มหาราชินี 12 สค.2555 ศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมือง นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานนำคณะผู้บริหาร พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ, เข้าร่วมพิธีปลูกต้น "พระศรีมหาโพธิทศมราชบพิตร" และรับชมวีดิทัศน์ “ธรรมะนาวาวัง ธรรมะพระราชทาน เนื่องในวันวิสาขบูชา” โดยมีนางกาญจนี รุจนเสรี ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดกำแพงเพชร/นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกำแพงเพชร, นางสาวสุพัตรา คล้ายทิม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร, พร้อมด้วยข้าราชการ, ตุลาการ, ศาล, ทหาร, ตำรวจ,อัยการ, หัวหน้าส่วนราชการ ,เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชน และสื่อมวลชนในพื้นที่เข้าร่วมพิธีในวันและเวลาดังกล่าวโดยพร้อมเพรียง

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อเชิญไปปลูกในพื้นที่ 77 จังหวัด พร้อมกันทั่วประเทศและพระราชทานนามว่า “พระศรีมหาโพธิทศมราชบพิตร” (พระ – สี – มะ – หา – โพ – ทิ – ทด – สะ – มะ – ราด – ชะ – บอ – พิด) มีความหมายว่า “พระศรีมหาโพธิ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยังทรงพระราชทานวีดิทัศน์ “ธรรมะนาวาวัง ธรรมะพระราชทาน เนื่องในวันวิสาขบูชา” เพื่อเผยแพร่ในพิธีดังกล่าวด้วย
13  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / น้ำตกคลองลาน บทพูด บทที่ ๒ เรืองความประทับใจ ของคุณสาลีทิพย์ สุขทรัพย์ เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2025, 10:40:09 am
ท่านพิธีกรท่านสมาชิกและแขกผู ้มีเกียติทุกท่าน
เสยงนาตกทไมเคยหยดไหล…ความประทบใจทคลองลาน
หลายคนอาจได้ยินผ่านวิดีโอ หรือในแอปนอนหลับ
แตสาหรบฉน เสยงนนมความหมายลกซงกวานนมาก มันคือเสียงของความสงบ เสียงที่ค่อย ๆ ละลายความ
 วุ ่นวายในใจ และพาฉันย้อนกลับไปยังหนึ ่งในความทรงจ าที่ชัดเจนที่สุดในชีวิต... ฉนไดไปเยอนนาตกคลอง
 ลานเมื่อไม่กี่เดือนกอน อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร จากตัวเมืองใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที แตสง
 ทฉนไดรบกลบมานน…ไกลเกนกวาคาวา "ทองเทยว" ทนททลงจากรถ สงแรกทสมผสไดคอ “เสยง” เสียงของ
 สายนาทไหลกระทบหน ดงมาตงแตลานจอดรถ ฉนเงยหนามอง เหนไอนาลอยคลงเหนอยอดไม เป็นสัญญาณ
 วา…อกไมกกาว ฉนจะไดพบกบธรรมชาตทยงใหญ ระหว่างเดินเข้าไปประมาณ 100 เมตร ฉันเดินผ่านล าธาร
 เลก ๆ มโขดหน ตนไมเขยวขจ และฝงปลาวายในนาใส มันไม่ได้ดูอลังการเหมือนในโปสเตอร์ แต่มันมีเสน่ห์
 แบบ “จรงใจ” ทจบหวใจฉนไดตงแตแรกเหน แลวฉนกมาถงหนาผานาตก… นาตกคลองลานไหลลงมาจากหนา
 ผาสูงราว 100 เมตร เสยงนากระทบหนดงกกกอง แตนาแปลกใจทมนไมรสกนากลวเลย ตรงกันข้าม มันกลับท า
 ให้ฉันเงียบ… เงียบจนรู ้สึกเหมือนได้ยินเสียงหัวใจตัวเอง ฉนนงลงบนโขดหนดานหนา สายลมพดเอาละอองนา
 เย็น ๆ มาแตะหน้า มันไม่ใช่แค่รู ้สึก “เย็น” แต่มันเหมือนธรรมชาติก าลังกอดฉันไว้…โดยที่ไม่ต้องพูดอะไรเลย
 ภาพตรงหนาสวยมาก นาตกไหลแรงแตไมกระโชก มอสเขยวปกคลมตามหน ตะไครนาเกาะแนน และเสียง
 นา…ยงคงไหลไมหยดเหมอนกบเวลา ตอนนน ฉนไมไดถายรปเลยสกใบ
ไม่ใช่เพราะลืมกล้อง… แตเพราะกลววาการยกกลองขนมาจะทาใหความรสกทลกซงตรงหนาหายไป
มันเหมือนเราได้ “อยู่” กับธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องวางแผน ไม่ต้องเป็นใคร…แค่เป็นตัวเรา สงท
 ฉนประทบใจอกอยางคอ ความเรยบงายของพนทรอบ ๆ มีร้านกาแฟเล็ก ๆ ชื่อว่า Coffee Park อยู่ใกล้ลานจอด
 รถ รานเลก ๆ ทมองเหนววของนาตกทงสาย ฉนสงกาแฟดา แลวนงจบเงยบ ๆ มองดละอองนาจากไกล ๆ
ขาง ๆ มนกทองเทยวอกสองสามคน นงอยเงยบ ๆ เหมอนกน ไม่มีเสียงคุย ไม่มีเสียงหัวเราะดัง
มีแต่สายตา…ที่ก าลังมองธรรมชาติอย่างเข้าใจ ในวนนน ฉนรสกวาเราไมไดมา "ดนาตก"แต่เรามา “พบ
 ธรรมชาติ” และ “พบตัวเอง”  เสยงนาทไหลลงมาอยางตอเนอง
เหมือนก าลังสอนฉันว่า…   ไม่ว่าจะเจอหินก้อนเล็ก ก้อนใหญ่แค่ไหน สายน ้าก็ยังหาทางไหลต่อไปได้เสมอ
มันอาจจะกระเด็น กระจัดกระจาย แต่สุดท้าย...มันก็ยังคงไหล ไม่หยุด ไม่ถอย กอนกลบ ฉนเดนยอนกลบไปท
 โขดหนอกครงยนมองนาตกเงยบ ๆ แลวพดกบตวเองเบา ๆ วา “ขอบคณนะ ทยงไหล…ไมเคยหยด”
ธรรมชาติสอนเราเสมอ แต่บางที…เราก็ต้องหยุด เพื่อจะฟังมันให้ได้ยิน และนนคอสงทนาตกคลองลานใหฉน .
ไม่ใช่แค่ความสวยงาม แต่คือความเข้าใจบางอย่าง ที่เราอาจไม่เคยได้ยินจากที่ไหนเลย 
นอกจาก “เสียงของธรรมชาติ” และ “ความเงียบในใจตัวเอง” 
ฉันเชื่อว่า…คนเรามีช่วงเวลาที่อยาก “หยุดพัก” แตในโลกทหมนเรวแบบน เราหยดไมไดงาย ๆ แต่ธรรมชาติที่
 คลองลาน…ท าให้ฉันได้หยุดจริง ๆ หยุดคิดเรื่องงาน หยุดห่วงอนาคต หยุดกลัวความล้มเหลว แล้วได้ “อยู่กับ
 ปัจจุบัน” อย่างเต็มที่ บางคนอาจบอกวา…แคไปนงรมลาธาร มนจะเปลยนอะไรได แต่ส าหรับฉัน 
แคไดนงเงยบ ๆ ใตรมไม ไดยนเสยงลมพดใบไมไหว ไดนงดปลาวายนา…มนกเหมอนกบการไดรเซตหวใจ
มชวงหนง ฉนยนมองนาตกอยนานมาก ตอนแรกก็คิดว่า…แค่ยืนเฉย ๆ เดี๋ยวก็เบื่อ แต่กลับกลายเป็นว่าฉันลืม
 เวลาไปเลย  เพราะหัวใจมันค่อย ๆ เบาลงทุกนาที  เหมอนทกหยดนาทตกลงมา…มนคอย ๆ พดเอาความเหนอย
 ล้าออกจากใจไปด้วย  และนนแหละ…คอความประทบใจทฉนไมเคยลม กอนกลบ ฉนเดนไปทศนยบรการ
 นักท่องเที่ยว ตรงนนมชาวเขาหลายกลมนาสนคามาขาย ทงผาทอ เครองประดบ กระเปาแบบทองถน ฉันได้คุย
 กับหญิงชราคนหนึ ่ง เธอเล่าว่า เผาของเธออยทนมาหลายชวอายคน ธรรมชาติคือบ้านของพวกเขา…และพวกเขา
 ก็ดูแลมันอย่างดีที่สุด ฉันเห็นแววตาเธอ…เต็มไปด้วยความภูมิใจ และฉนกเรมเขาใจมากขนวา…ทาไมนาตก
 แหงนจงยงคงสวยงามและบรสทธ เพราะมีคนที่ไม่เคยมองมันแค่เป็น “แหล่งท่องเที่ยว” แต่มองมันเป็น “ชีวิต”
ของตัวเอง การไปคลองลานส าหรับฉัน  ไม่ใช่แค่ความประทับใจในธรรมชาติ  แต่มันคือการได้เรียนรู ้ว่า... ชีวิต
 ที่ดีไม่จ าเป็นต้องเร่งรีบ ไม่ต้องแข่งขันตลอดเวลา บางที แค่เราหยุด แล้วฟังเสียงลมหายใจตัวเอง หรือแม้แต่เสียง
 ของนาตก…เรากจะไดยนคาตอบหลายอยาง ที่ไม่เคยได้ยินจากที่ไหน และนน…คอของขวญทธรรมชาตมอบให
 ฉัน ทกวนน เวลาทรสกเหนอย  ฉันไม่จ าเป็นต้องกลับไปคลองลานเสมอ แคหลบตา แลวนกถงภาพนาตกทไหล
 ไม่หยุด เสยงนาทกระทบโขดหน เสยงลมผานยอดไม ฉนกรสกวา…ตวเองไดกลบไปตรงนนอกครง เพราะบาง
 ความประทบใจ…แมจะอยแคไมกชวโมง แต่มันจะอยู่กับเราตลอดไป   การไดไปนาตกคลองลานครงน ไมใช
 แคการเทยวชมธรรมชาต แตเปนการคนพบความสงบและความสวยงามทแทจรง…บางครงเสยงนาตกทดงกอง
กลบทาใหเราไดยนเสยงหวใจตวเองชดเจนขน…และเขาใจวา
ธรรมชาตไมเคยหยดไหล เชนเดยวกบชวตทตองกาวเดนตอไป”
14  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ช่องเย็น บทพูดความประทับใจ บทที่ ๒ คุณมาโนช เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2025, 10:32:45 am
"เคยไหมที่คุณต้องการหลีกหนีความวุ่นวายและสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง?  
การเดินของผมที่ต้องหาที่ท่องเทื่ยวใหม่ ๆ การเดินทางสู่ช่องเย็นในครั้งนี้ เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำอย่างยิ่ง เมื่อ
ถึงจุดกางเต็นท์ อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ทำให้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลาย การได้ชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงาม
เหนือทิวเขาสลับซับซ้อน และทะเลหมอกยามเช้าที่ปกคลุมยอดเขา เป็นภาพที่ตราตรึงใจไม่รู้ลืม เสียงนกร้องและ
สายลมที่พัดผ่าน ทำให้รู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างแท้จริง รวมเป็นหนึ่งเดียวกับ ธรรมชาติ การได้สัมผัสกับ
 ธรรมชาติที่บริสุทธิ์และเงียบสงบเช่นนี้ เป็นการเติมพลังให้กับชีวิตและจิตใจอย่างแท้จริง  
1. ชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกที่ภูสวรรค์ เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการเดินขึ้นยอดภูสวรรค์ ซึ่งมีความสูง 1,429
เมตรจากระดับน้ำทะเล ใช้เวลาเดินประมาณ 1-2 ชั่วโมง เมื่อถึงยอดเขาจะสามารถชมวิวทะเลหมอกและพระ
 อาทิตย์ขึ้นได้แบบ 360 องศา  
2. กางเต็นท์พักแรมที่ช่องเย็น สัมผัสอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปีที่ช่องเย็น ซึ่งเป็นจุดกางเต็นท์ยอดนิยมของ
 นักท่องเที่ยว การพักแรมที่นี่จะทำให้ คุณได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติและเพลิดเพลินกับบรรยากาศที่เงียบสงบ
3. เดินป่าศึกษาธรรมชาติ สำรวจเส้นทางธรรมชาติที่หลากหลายภายในอุทยานฯ เช่น เส้นทางไปยังน้ำตกแม่
 กระสา หรือเส้นทางศึกษา ธรรมชาติอื่น ๆ ที่จะพาคุณผ่านป่าดิบชื้นและพบกับพรรณไม้หายาก  
4. ชมวิวที่จุดชมวิวกิ่วกระทิงและโมโกจูน้อย จุดชมวิวเหล่านี้มอบทัศนียภาพที่สวยงามของทิวเขาและป่าไม้
เหมาะสำหรับการถ่ายภาพและพักผ่อนระหว่างการ เดินทาง  
5. สัมผัสวัฒนธรรมชนเผ่าท้องถิ่น ระหว่างทางไปอุทยานฯ คุณจะได้พบกับชุมชนของชนเผ่าม้งและมูเซอ ที่มี
 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เช่น ผ้า ทอมือและผลไม้ตามฤดูกาล การแวะเยี่ยมชมและสนับสนุนสินค้าท้องถิ่น
 จะช่วยสร้างความประทับใจและความ เข้าใจในวัฒนธรรมของพื้นที่ ขอเชิญชวนสมาชิก เทื่ยวพักผ่อน กันที่ตำบล
 ปำงตำไว อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร อีก 1 ที่ ไป อุทยานแห่งชาติแม่วงค์ จังหวัดกำแพงเพชร หรือที่
 รู้จัก ในชื่อช่องเย็น มีความสูงจากจะระดับน้ำทะเล 1340 เมตร การเดินทาง จากอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ไปยัง อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร ระยะทางรวม 102 กิโลเมตร ใช้ระเวลาการเดินทาง ประมาณ 2
ชั่วโมง เป็นแหล่งท่องเทื่ยว ศึกษาทางธรรมชาติวิถีชีวติของชนเผ่า ชาวบ้าน ที่อาศัยบริเวณตีเขา อาทิชนเผ่าม้ง ชน
 เผ่ามูเซอ และมีชุดผ้าให มทอมือเป็นชุดประจำชนเผ่าที่มีขายตาม ระหว่างทาง ให้เลือกดูเลือกชม ผลไม้ตาม
 ฤดูกาล ที่ชาวบ้านทำการปลูก หรือ หามาขาย เช่น เห็ดตามฤดูกาล หน่อไม้ ผักต่างๆตามฤดูการ สินค้าตามฤดูการ  
จุดที่ 1 คือ แก่งผาคอยนาง ลักษณะคือ ทางน้ำใหล บริเวณโดยรอบเป็นโขดหิน จุดนี้เหมาะ แก่การนั่งชมวิวน้ำ
 ใหล หรือ นั่งพัก ทานอาหาร เหมาะกับการถ่ายรูป หรือผักผ่อน เนื่องจากเป็นลานกว้าง  
จุดที่2 คือ จุดชมวิวกิ่วกระทิ่งเหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์ธรรมชาติ ลักษณะคือ ยอดภูเขาที่มองลลงมาเห็นทิว
เขาด้านล่าง และเห็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ และมีสายพัดอากาศเย็นมาให้สดชื่น พร้อมความเพลิดเพลินต้นหญ้า
ที่สไหวตามแรงสม ในบางฤดู การจะละอองฝนและกลิ่นดอกไม้อ่อนๆโชยตามลม  
จุดที่ 3 คือ โมโกจูน้อย เป็นเนินดิน เป็นจุดที่นิยมถ่ายภาพเนื่องจาก เป็นถนนลอยฟ้าที่สวยที่สุด สามารถถ่ายภูมิ
ทัศน์ท้องฟ้า สวยงามอีก1 สุด จุดนี้มีกระแสลมที่พัดผ่านช่องเขา และพัดไอน้ำมาเยือนผู้ที่มาเย็อนเป็นดูดาวใน
เวลากลางคืน เป็นจุดที่ไม่มีต้นไม้ บดบังภูมิทัศน์  
จุดที่ 4 คือ ขุนเขาน้ำเย็น จุดดั้งกล่าวเป็นที่นักท่องเทื่ยวนิยมพักแรมตั้งแค้มค้างคืน มากที่สุดอีกหนึ่งจุด เนื่องจาก
เป็น ล่องหุบเขา จึงทำเหมาะกับการพักผ่อน ผ่อนคลาย เนื่องจากเห็นวิทิวทัศน์ธรรชาติ มองเห็นความงดงามตาม
ของธรรมชาติ และไกล้ชิด ธรรมชาติ อีก1 จุด  
จุดที่ 5 รู้จักในนามช่องเย็น เนื่องจากเป็นลานกว้างอุณภูมิเฉลี่ย ประมาณ 32 องศาทั้งปีกระแสผัดผ่านตลอตทั้งปี
ในช่วงฤดูฝนมี ละอองน้ำปกคุม หรือที่รู้จักว่า ทะเลหมอก เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกสวยที่สุดในกำแพงเพชรก็ว่า
 ได้ จุดดังกล่าวเหมาะแก่การ พักผ่อน ผ่อนคลายตั้งแค้ม ชมธรรมชาติที่สวยงามกับอุทยานแห่งชาติแม่วงค์ พร้อม
 ความ เพลิดเพลินกับสายลมอ่อนๆ แสงแดดยาม เย็น กับเสียงลมที่ผัดผ่านมายังผู้มาเยืยน พร้อมเสียงนกหายาก
 (นกเงือก) ที่พบได้จากอุทยานแห่งชาติแม่วงค์ ที่ขับร้อง เป็นทำนองไพรเราะของป่ายามเย็น พร้อมเสียงสัตว์ต่างๆ
ส่งเสียงรับกัน เป็นดนตรีที่ไพรเราะ ของป่ายามเย็น จุด สุดท้ายเป็นสำรวจเส้นทางธรรมชาติ เรียกว่า เส้นทางผู้
 พิชิตภูสรรค์ ความสูง 1429 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็น การเดินผ่าน บันไดที่ทำจากปูน ประมาณ 400-600 ขั้น
และบางช่วงเป็นโขดหิน ระหว่างทางหากเป็นฤดูฝน ต้น ฤดูหนาว จะให้ความรู้สึกเดิน บนเมฆ พร้อมวิวทิวทัศน์
ทึ่งดงามตามป่าดิบชื้น พร้อมต้นหญ้าที่ถูดลมพัด และ อ่อนตามกระแสลม ลมเย็นๆ ละอองฝนเล็กๆที่มา ปะทะผู้
 มาเยือน จึงรู้ผ่อนคลายและชดชื่น พร้อมอากาศบริสุทธิ์ สูดเข้าเต็มปอด พร้อมความรู้สึกดีๆ ที่ธรรมชาติ สายลม
 นำมา หมอบให้ ถึงภูสรรค์ จะพบกับ ยอดเขาที่มองเห็น พระอาทิตชึ้นผ่านทะเลหมอก ขึ้นมาเยือนผู้ที่สามารถพิชิต
 ภูสรรค์ได้ พร้อมแสงแดดอ่อนๆ พร้อมวิวภูมิทัศน์ 360 องศาทะเลหมอกยามเช้า จุดนี้เป็นจุดที่ ชมพระอาทิตย์ขึ้น
 และพระอาทิตย์ตก ไม่ว่าจะพระอาทิตย์ตกหรือพระ อาทิตย์ขึ้น ก็ทำให้หายเหนื่อยจากการ เดิน ขึ้นมาพิชิต สาย
 ลมต้อนรับพร้อมต้นหญ้าที่คอยอ่อนแรงตามแรงลม ต้อนรับนักท่องเทื่ยวที่ขึ้นมาเยื่ยมชมธรรมชาติ งดงามของป่า
 ดิบ ชื้น พร้อมอากาศเย็นที่ปะทะร่างกาย
ข้อควรระวัง ก่อนไปเทื่ยว โค้งช่องเย็น มีราวๆ 500- 1000 เนื่องเป็นถนนที่ตัดผ่านทิวเขา และรักษาธรรมชาติ
 ทางจึงมีความคด เคี้ยวเป็นอย่างมาก เส้นทางศึกษาธรรมภูสรรค์ มีทากและ ตัวคุ่น ซึ่งดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ จึง
 แนะนำให้เตรียม โลชั่นกัน ยุง หรือ ผลิตภัฑน์กันตัวคุ่น (สามารถซื้อได้ที่อุทยาน) และเสื้อกันฝน ในการพิชิตภู
สรรค์ ช่วงเวลาที่น่า เทื่ยวที่สุด คือช่วงเดือน ตุลาคม ถึง ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ หรือ ปลายฝนต้นหนาว เนื่องจาก
 อากาศเย็น ผ่อนคลาย และบรรยากาศสำหรับการท่องเทื่ยวศึกษทางธรรมชาติ อุณภูมิเฉลี่ย ช่วงปลายฝนตกหนาว
18 ถึง 22 องศา สำหรับสมาชิกท่านใดที่กำลังมองหาที่เทื่ยว ธรรมชาติเพื่อผ่อนคลาย หรือเผื่อพักผ่อนขอแนะนำ
หรือฝากอุทยาน แห่งชาติแม่วงไว้ในตัวเลือกของสมาชิก ทุกท่านความประทับใจของการผม คือการ ท่องเทื่ยว
และ พักผ่อน ไป กับธรรมติ กลมกลืนไปกับธรรมชาติที่งดงาม และได้แนะนำที่ท่องเทื่ยวแก่สมาชิกทุกท่านที่รัก
 ธรรมชาติ และผ่อน คลาย  
“ธรรมชาตไม่เคยเร่งรีบ แต่ทุกสิ ่งสาเร็จเสมอ"
"การเดินทางที่ดีที่สุด คือการเดินทางที่พาเรากลับมารักตัวเองอีกครั้ง"
15  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / จากที่ทุกท่านได้ให้ความอนุเคราะห์ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการแสดง แสง สี เสียง เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2025, 08:08:04 am
จากที่ทุกท่านได้ให้ความอนุเคราะห์ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการแสดง แสง สี เสียง และสื่อผสม "กำแพงเพชร เพริศแพร้ว เทิดศรัทธา พระบารมี สดุดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" เมื่อวันที่ 25 - 26 เมษายน 2568 ณ สนามหน้าเมืองกำแพงเพชร

ในการนี้ ทางแอดมินได้สรุปผลเรียบร้อยแล้ว จะเห็นว่าเศรษฐกิจเกิดการขยายตัวขึ้น และเงินหมุนเวียนภายในงานที่แสดงเป็นเพียงยอดขายจากร้านค้าที่มาเข้าร่วมจำหน่ายสินค้า จำนวน 36 ร้าน ซึ่งเป็นร้านค้าในจังหวัดกำแพงเพชร 100%  นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่เกิดขึ้นจากผู้ที่เดินทางเข้ามาร่วมชมงาน นักแสดงกว่า 100 ชีวิต พนักงานทำความสะอาด ร้านข้าวกล่องที่สั่งมื้อละ กว่า 160 กล่อง  ก็เป็นรายได้ที่ลงสู่ชุมชน สู่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น

มากกว่ามิติทางเศรษฐกิจ การแสดงแสง สี เสียง ในครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงการแสดงเพื่อความบันเทิง แต่คือการ “ปลุกจิตวิญญาณของเมืองกำแพงเพชร” ให้กลับมามีชีวิต เป็นเวทีแห่งความภาคภูมิใจของชาวกำแพงเพชร เกี่ยวกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ อาทิ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าตากสินมหาราช พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 9 และ รัชกาลที่ 10 มาเล่าเรื่องในแบบที่เข้าถึงง่าย จะเป็นแรงบันดาลใจให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน ได้เรียนรู้และรักบ้านเกิดเมืองนอนของตน
 
และการแสดงในครั้งนี้เป็นการแสดงที่จังหวัดกำแพงเพชรได้จัดขึ้นเพื่อร่วมรำลึกและสดุดีพระเกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถในการปกป้องแผ่นดินไทย และวันที่ 25 เมษายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ ถือเป็นโอกาสสำคัญ ที่จะได้ร่วมกันสดุดี พระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในโอกาสครบรอบวันสวรรคตนี้

สุดท้ายขอขอบคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร คณะกรรมการจัดกิจกรรม ฯ ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายตรวจสอบบทการแสดง ฝ่ายสถานที่และพิธีเปิด ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและจราจร  ฝ่ายขนส่งมวลชนและอำนวยความสะดวก ฝ่ายจัดระบบไฟฟ้าและความสว่าง ฝ่ายรักษาพยาบาล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และฝ่ายติดตามประเมินผล ที่ช่วยให้งานนี้ออกมาประทับใจพี่น้องชาวกำแพงเพชร และขอขอบคุณสถานที่จากอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมชมการแสดงทุกท่าน และเราจะนำข้อคิดเห็นของท่านไปปรับในงานถัดไป 

ขอบคุณค่ะ ฮืม?
หน้า: [1] 2 3 ... 101
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!