จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 01, 2024, 07:12:01 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
136  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ไม้หึ่ม มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 07:17:44 pm
ตอนที่  ๕   สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย

ชื่อรายการ    ไม้หึ่ม
ภูมิประเทศ / พิกัดทางภูมิศาสตร์ GPS

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม??...
ชาติพันธุ์
คนไทย

ภูมิหลัง / ประวัติศาสตร์ (ความเป็นมา)เป็นการละเล่นที่มีมานานแล้ว  ซึ่งปัจจุบันไม่พบว่ามีการเล่นไม้หึ่มแล้ว  เป็นกีฬาของเด็กผู้ชายหากเป็น
เด็กหญิงจะต้องเป็นเด็กหญิงที่มีรูปร่างแข็งแรงเพราะการเล่นต้องใช้พละกำลังในการดีลูกไม้  จากการเก็บข้อมูลของผู้ที่เคยเล่นมาก่อนซึ่งขณะนี้อายุประมาณ  ๕๐ ? ๖๐  ปี

โอกาสในการเล่น
การเล่นไม้หึ่ม จะเล่นในโอกาสที่ด็กชายและเด็กหญิงว่างจากการเรียนหนังสือ หรือในวันหยุดไม่เลือกเวลา
ส่วนสถานที่ในการเล่นต้องเป็นลานกว้างที่สามารถดีลูกไม้หึ่มได้โดยไม่กระทบตัวอาคารบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างอื่น

วัสดุอุปกรณ์
   ไม้ลวกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑  นิ้ว นำมาตัดเป็นแม่ไม้หึ่มความยาวประมาณ  ๑  ศอก ลูกไม้หึ่มความยาวประมาณ  ๑  คืบ

กฎ / กติกา
๑.   ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน
๒.   ขุดหลุมลึกประมาณ  ๒  นิ้ว  ยาว  ๑  คืบ จำนวน  ๑  หลุม
๓.   วิธีการหาผู้เล่นคนแรกใช้วิธีการเดาะไม้ โดยใช้แม่ไม้หึ่มเดาะลูกไม้หึ่ม ใครได้จำนวนมากจะเป็นผู้เล่นก่อน โดยวิธีการเล่นมี  ๔  ไม้  

                 

วิธีการเดาะลูกไม้หึ่ม

ไม้หนึ่ง ผู้เล่นนำลูกไม้หึ่มยางพาดบนปากหลุม แล้วใช้แม่ไม้หึ่มงัดลูกไม้หึ่มไปข้างหน้ายังกลุ่มผู้
เล่นคนอื่นที่รอรับลูกไม้หึ่ม  ในการรับลูกไม้หึ่มหากมีผู้เล่นคนอื่นที่ยืนรอรับลูกไม้หึ่ม รับลูกได้ก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป  โดยเล่นที่ไม้หนึ่งก่อน  หากไม่มีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มได้ให้ผู้เล่นวางแม่ไม้หึ่มพาดปากหลุมไว้แล้วให้ผู้เล่นคนอื่นโยนลูกไม้หึ่มให้ถูกแม่ไม้หึ่มที่วางพาดปากหลุม ถ้าโยนถูกแม่ไม้หึ่มก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป หากโยนไม่ถูกแม่ไม้หึ่มผู้เล่นคนแรกก็จะได้เล่นไม้สองต่อไป


ไม้สอง  ผู้เล่นกำแม่ไม้หึ่มโดยให้ความยาวอยู่ด้านบนของมือแล้วใช้ลูกไม้หึ่มวางบนนิ้วชี้โดยประกบกับแม่ไม้หี่ม แล้วโยนลูกไม้หึ่มขึ้นกลางอากาศใช้แม่ไม้หึ่มพาดไปที่ลูกไม้หึ่มให้ลูกไม้หึ่มกระเด็นไปข้างหน้ายังกลุ่มผู้เล่นที่รอรับลูกไม้หึ่มอยู่ หากมีผู้เล่นคนอื่นที่ยืนรอรับลูกไม้หึ่มรับลูกได้ก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป  โดยเล่นที่ไม้หนึ่งก่อน  หากไม่มีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มได้ให้ผู้เล่นวางแม่ไม้หึ่มพาดปากหลุมไว้แล้วให้ผู้เล่นคนอื่นโยนลูกไม้หึ่มให้ถูกแม่ไม้หึ่มที่วางพาดปากหลุม ถ้าโยนถูกแม่ไม้หึ่มก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป หากโยนไม่ถูกแม่ไม้หึ่มผู้เล่นคนแรกก็จะได้เล่นไม้สามต่อไป


ไม้สาม  ผู้เล่นกำแม่ไม้หึ่มโดยให้ความยาวของไม้แม่หึ่มอยู่ด้านล่างของมือแล้วนำลูกไม้หึ่มวางบนนิ้วชี้โดยประกบกับแม่ไม้หึ่ม  แล้วโยนลูกไม้หึ่มขึ้นข้างบนแล้วใช้ด้านยางของแม่ไม้หึ่มฟาดลูกไม้หึ่มกระเด็นไปข้างหน้ายังกลุ่มผู้เล่นที่รอรับลูกไม้หึ่มอยู่  หากมีผู้เล่นคนอื่นที่ยืนรอรับลูกไม้หึ่มรับลูกได้ก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป  โดยเล่นที่ไม้หนึ่งก่อน  หากไม่มีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มได้ให้ผู้เล่นวางแม่ไม้หึ่มพาดปากหลุมไว้แล้วให้ผู้เล่นคนอื่นโยนลูกไม้หึ่มให้ถูกแม่ไม้หึ่มที่วางพาดปากหลุม ถ้าโยนถูกแม่ไม้หึ่มก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป หากโยนไม่ถูกแม่ไม้หึ่มผู้เล่นคนแรกก็จะได้เล่นไม้สี่ต่อไป


ไม้สี่ ผู้เล่นยืนหันหลังให้กับผู้เล่นคนอื่นแล้วใช้ลูกไม้หึ่มวางไว้ที่หว่างขาของผู้เล่นแล้วใช้แม่ไม้หึ่มตีไปที่ลูกไม้หึ่มให้ลูกไม้หึ่มกระเด็นไปหาผู้เล่นคนอื่นมหากมีผู้เล่นคนอื่นที่ยืนรอรับลูกไม้หึ่มรับลูกได้ก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป  โดยเล่นที่ไม้หนึ่งก่อน  หากไม่มีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มได้ให้ผู้เล่นวางแม่ไม้หึ่มพาดปากหลุมไว้แล้วให้ผู้เล่นคนอื่นโยนลูกไม้หึ่มให้ถูกแม่ไม้หึ่มที่วางพาดปากหลุม ถ้าโยนถูกแม่ไม้หึ่มก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป หากโยนไม่ถูกแม่ไม้หึ่มผู้เล่นคนแรกก็จะเป็นผู้ชนะ


ผู้ชนะ จะต้องเล่นครบทั้ง  ๔  ไม้โดยที่ไม่สามารถมีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มของผู้เล่นได้ จะได้เดาะไม้หึ่มวิธีการเช่นเดียวกับการเดาะไม้หึ่มหาผู้เล่นคนแรก
      เมื่อผู้ชนะเดาะไม้หึ่มได้จำนวนเท่าไร ให้ผู้ชนะยืนที่ปากหลุมตีลูกไม้หึ่มไปข้างหน้า ลูกไม้หึ่มตกที่ใดให้ผู้ชนะยืนอยู่ที่จุดของลูกไม้หึ่มตกแล้วตีลูกไม้หึ่มอีกให้ครบตามจำนวนที่ผู้ชนะเดาะลูกไม้หึ่มได้
      สำหรับผู้เล่นคนอื่นให้เดินตามลูกไม้หึ่มที่ผู้ชนะเดาะได้จนครบตามจำนวน  หลังจากนั้นให้ผู้เล่นผู้ที่เดาะไม้หาผู้เล่นคนแรกที่เดาะไม้เป็นที่สอง หรือหาตัวแทนของผู้เล่น เป็นผู้หึ่มจากจุดที่ลูกไม้หึ่มตกครั้งสุดท้ายไปที่หลุมวิธีการหึ่มคือการกลั้นหายใจแล้วส่งเสียงหึ่มออกมา หากผู้หึ่มเสียงขาดหรือหายไปแสดงว่าตายต้องให้ผู้เล่นคนอื่นเป็นผู้หึ่มต่อ จนกว่าจะได้ผู้หึ่มที่หึ่มชนะจนถึงปากหลุม  ผู้ที่หึ่มชนะจะเป็นผู้ที่เล่นไม้หนึ่งต่อไป หากไม่มีผู้เล่นคนใดสามารถหึ่มถึงหลุมได้  ผู้ชนะจะเป็นผู้เล่นไม้หนึ่งอีกครั้ง

ลักษณะเฉพาะ
การเล่นไม้หึ่มเป็นกีฬาที่แสดงพละกำลังของผู้เล่นในการตีไม้  และการรับลูกไม้ ในการตีลูกไม้หึ่ม
ผู้เล่นส่วนมากต้องการเป็นผู้ชนะแสดงพละกำลังของตนเองในการตีลูกไม้หึ่มให้ออกไปไกล ๆ ซึ่งผู้รับไม่สามารถรับลูกไม้หึ่มได้

สถานะปัจจุบัน
เป็นกีฬาที่ไม่มีผู้เล่นแล้ว
137  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / เชิญชมเวทีการแสดง แสงเสียง และ สถานที่จัดตลาดโบราณ สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2010, 04:11:22 pm
เวทีการแสดงพร้อมม่านน้ำ การแสดง แสงเสียง สื่อผสมม่านน้ำสามมิติ
เรื่อง พระบารมีมากล้น เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร  ๒๕?๒๗ สิงหาคม ๕๓


เวทีการจัดตลาดวัฒนธรรม   หน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรม  ริมน้ำปิง   วันที่ ๒๕-๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓


ซุ้มกิจกรรม หน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรม  ริมน้ำปิง   วันที่ ๒๕-๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓


ดาวน์โหลดไฟล์รูปทั้งหมด รูปแบบไฟล์ PDF >> http://www.sunti-apairach.com/book/book1pdf/booksec1_101.pdf  
138  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ไทยโปร่งใสไทยเข้มแข็ง >> ประกวดเรียงความ กล่าวสุนทรพจน์ แต่งเพลงพื้นบ้าน เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 06:31:04 pm
ด้วยสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกําหนดจัดประกวดเรียงความ การกล่าวสุนทรพจน์  และการแต่งเพลงพื้นบ้าน ประกอบชุดการแสดง ในหัวข้อ ?ไทยโปร่งใส ไทยเข้มแข็ง? เพื่อส่งเสริมคุณธรรมความ ซื่อสัตย์ของคนไทย ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น โดยมีรายละเอียดการประกวด ดังนี้  

๑. กิจกรรมการประกวด ๓ ประเภท
๑.๑ การประกวดเรียงความ แบ่งผู้เข้าแข่งขันออกเป็น ๒ ระดับ คือ
๑.๑.๑ ระดับประถมศึกษา
๑.๑.๒ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้เข้าแข่งขันต้องเขียนเรียงความด้วยตนเอง ลงในกระดาษ A ๔ ความยาวไม่เกิน ๓ หน้ากระดาษ  ด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ส่งผลงานได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ภายในวันศุกร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓  
๑.๒ การประกวดการกล่าวสุนทรพจน์ แบ่งผู้เข้าแข่งขันออกเป็น ๓ ระดับ คือ
๑.๒.๑ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
๑.๒.๒ ระดับอุดมศึกษา
๑.๒.๓ ระดับประชาชนทั่วไป

สถานที่แข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ ณ สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร โรงเรียนอนุบาลวาริน (ออกอากาศสด) วันอาทิตย์ที่ ๒๗  มิถุนายน ๒๕๕๓ ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ น. เป็นต้นไป  และผู้เข้าแข่งขันสามารถลงสมัครแข่งขันได้เพียง ๑ หัวข้อ

สามารถขอใบสมัครการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด หรือดาวน์โหลด
ใบสมัครได้ที่ www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้) และส่งใบสมัครได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓  หากส่งทางไปรษณีย์จะถือตามวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ (สอบถามรายละเอียดได้ที่ อาจารย์สันติ  อภัยราช ๐๘๑ ๔๗๕๕๕๕๗ , นางสาวภัณฑิรา รามสูต ๐๘๙ ๑๕๐๖๓๐๙)
๑.๓. การประกวดการแต่งเพลงพื้นบ้านประกอบชุดการแสดง ๔ ภาค คณะการแสดงที่ประสงค์จะส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องบันทึกผลงานการแสดงในรูปแบบวีซีดี หรือดีวีดี ส่งให้คณะกรรมการคณะละ ๒ ชุด ไม่เกินคณะละ ๔ นาที / เพลง
ส่งผลงานได้คณะละ ๑ เพลง โดยไม่จํากัดบุคคล เพศ อายุ ประเภทของเพลงและการ แสดง

๒. หลักเกณฑ์ในการประกวด
๒.๑ ผลงานที่ส่งเขาประกวดทุกประเภทจะต้องเป็นผลงานสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบมาจากที่อื่น ไมเคยได้รับรางวัล ไม่เคยเผยแพรหรือปรากฏที่ใดมาก่อน
๒.๒ มีเนื้อหาสาระครอบคลุมการส่งเสริมการปฏิบัติตนอยู่ในหลักคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต แก้ไขปัญหาการทุจริต และไม่ทุจริต คอร์รัปชั่น

๒.๓ การดําเนินการประกวด
๒.๓.๑ การประกวดเรียงความ และการกล่าวสุนทรพจน์ แบ่งเป็นระดับ ดังนี้
ก. ระดับจังหวัดและ
ข. ระดับภาค      
ค. ระดับประเทศ  
๒.๓.๒ การประกวดการแต่งเพลงพื้นบาน้ประกอบชุดการแสดงแบ่งเป็นการประกวด ระดับจังหวัด กรุงเทพมหานคร และระดับภาค เท่านั้น
        
๓. การสมัครและการส่งผลงานเข้าประกวด และระยะเวลาการรับสมัคร
๓.๑ ส่วนภูมิภาค ยื่นใบสมัครและส่งผลงานเข้าประกวดที่สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด
๓.๒ กรุงเทพมหานคร ยื่นใบสมัครและส่งผลงานเข้าประกวดที่กลุ่มโครงการพิเศษ สํานัก กิจการพิเศษ สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ หากส่งทางไปรษณีย์จะพิจารณาวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสําคัญ
๓.๓ ผู้สมัครทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค สามารถดาวน์โหลดใบสมัครและเกณฑ์ การประกวดทางเว็บไซต์  http://www.culture.go.th หรือขอรับเอกสารได้จากสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด        
๓.๔ ส่งผลงานเข้าประกวดทุกประเภท ระหว่างวันที่ ๑๕ พฤษภาคม - ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓  ในวันและเวลาราชการ  
         
๔. รางวัลการประกวด
๔.๑ ผู้ชนะการประกวดแต่ละประเภททุกระดับในจังหวัด และกรุงเทพมหานคร จะได?รับเกียรติบัตรจากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และเงินรางวัล ดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม   เงินรางวัล    ๑,๐๐๐ บาท  
- รางวัลดีเด่น                 เงินรางวัล        ๘๐๐ บาท  
- รางวัลสร้างสรรค์         เงินรางวัล        ๕๐๐ บาท  
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล  (เฉพาะเกียรติบัตร)
๔.๒ ผู้ชนะการประกวดประเภทเรียงความ และการกล่าวสุนทรพจน์ ระดับภาคของผู้เข้า ประกวดแต่ละระดับ จะได้รับเงินรางวัลและโล่รางวัล ดังนี้    
 - รางวัลยอดเยี่ยม เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท  และโล่เกียรติยศของรัฐมนตรีว่าการกระทวงวัฒนธรรม    
- รางวัลดีเด่น        เงินรางวัล   ๕,๐๐๐ บาท  และโล่เกียรติยศของปลัดกระทรวงวัฒนธรรม    
 - รางวัลสร้างสรรค์ เงินรางวัล   ๓,๐๐๐ บาท และโล่เกียรติยศของเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ    
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล ๆ ละ  ๑,๐๐๐ บาท และโล่เกียรติยศของรองเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๔.๓ ผู้ชนะการประกวดประเภทเรียงความและการกล่าวสุนทรพจน์ระดับประเทศของผู้เข้า ประกวดแต่ละระดับ จะได้รับเงินรางวัลและโล่รางวัล ดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท  และโล่เกียรติยศของนายกรัฐมนตรี    
- รางวัลดีเด่น        เงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท  และโล่เกียรติยศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- รางวัลสร้างสรรค์ เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท  และโล่เกียรติยศของปลัดกระทรวงวัฒนธรรม    
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล ๆ ละ  ๕,๐๐๐ บาท  และโล่รางวัลของเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
      
๔.๔ ผู้ชนะการประกวดการแต่งเพลงพื้นบ้านประกอบชุดการแสดงแต่ละภาคจะได้รับเงินรางวัล และโล่รางวัล ดังนี้                        
- รางวัลยอดเยี่ยม เงินรางวัล ๒๕,๐๐๐ บาท  และโล่เกียรติยศของนายกรัฐมนตรี    
- รางวัลดีเด่น        เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท  และโล่เกียรติยศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- รางวัลสร้างสรรค์ เงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท  และโล่เกียรติยศของปลัดกระทรวงวัฒนธรรม    
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล ๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท และโล่รางวัลของเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ    
๕. การตัดสิน การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
๖. สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติขอสงวนสิทธิ์ในการนําผลงานที่ชนะการประกวด ทุกประเภทไปใช้งาน และ นําไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์  ตลอดจนสิทธิ์ในการปรับปรุงให้มีความเหมาะสม กับการใช้งานในการส่งเสริมคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส ป้องกันการทุจริต คอร์รัปชั่นต่อไป
        
๗. กําหนดการการตัดสิน ประกาศผล และการมอบรางวัล
๗.๑ คณะกรรมการระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานครดําเนินการตัดสินการประกวดทุกประเภทให้แล้วเสร็จ ระหว่างในวันที่ ๒๐-๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
๗.๒ คณะกรรมการระดับภาคดําเนินการตัดสินการประกวดทุกประเภทให้แล้วเสร็จ ระหว่าง วันที่ ๕ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓  การมอบรางวัลในระดับจังหวัด และระดับภาค ให้สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัด และสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดที่ทําหน้าที่จัดการประกวดระดับภาค เป็นผู้กําหนดวัน เวลามอบ หลังจากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ส่งใบเกียรติบัตรและโล่รางวัลให้แล้ว
๗.๓ คณะกรรมการตัดสินระดับประเทศดําเนินการตัดสินการประกวดทุกประเภทให้แล้ว เสร็จ ระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม - ๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
๗.๔ จัดพิธีมอบรางวัลระดับภาคและระดับประเทศทุกประเภทการแข่งขัน ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓  

หมายเหตุ  สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://www.sunti-apairach.com/letter
http://www.lovekpp.com
http://province.m-culture.go.th/kamphangphet
139  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / Re: วัฒนธรรมความปลอดภัย เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 06:28:04 pm
การประกวดระดับประเทศ มีรายละเอียดการประกวด ดังนี้
การประกวดระดับประเทศ จัดประกวดโดยนำผลงานการประกวดแต่ละประเภท ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับภาค
มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับประเทศ โดยมีเงินรางวัล ดังต่อไปนี้
การประกวดภาพยนตร์สั้น ระดับประเทศ มีรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท

๓. การประกวดการ์ตูนแอนิเมชั่น
การประกวดระดับภาค มีรายละเอียดการประกวดดังนี้
๓.๑ หัวข้อการประกวด
หัวข้อ ?ไทยรวมพลัง ป้องกันภัย?
๓.๒ เนื้อหา   มีเนื้อหาในด้านการส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยในด้านสุขนิสัย ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
และด้านการป้องกันอุบัติเหตุ
๓.๓ วิธีการสมัครและเงื่อนไขการผลิตผลงาน
๑) วิธีการสมัคร  ผู้เข้าสมัครต้องเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือประชาชนทั่วไป  
มีรายละเอียดดังนี้
- ขอใบสมัครได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หรือที่กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายทางวัฒนธรรม ๓
สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขที่ ๑๔ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐  โทรศัพท์๐๒ ๒๔๗ ๐๐๑๓ ต่อ ๑๔๒๐, ๑๕๑๗ โทรสาร๐๒ ๖๔๕ ๒๙๕๘ หรือดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้)
        ๒) เงื่อนไขการผลิตผลงาน
-  เนื้อหาการ์ตูนแอนิเมชั่น ๓ มิติ ความยาว ๕ - ๑๐ นาที (รวม title และ End credit)
- ผลิตผลงานโดยใช้โปรแกรมประเภท 3D animation หรือ Flash Animation โดย
บันทึกลงในแผ่น VCD หรือ DVD ให้เป็นไฟล์ .exe หรือไฟล์ที่สามารถเปิดดูกับเครื่องเล่น DVD ทั่วไปได้
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้นมา มิได้ลอกเลียนแบบมาจาก
ที่ใดที่หนึ่ง
- เนื้อหาของการ์ตูนแอนิเมชั่น ต้องไม่เสนอในรูปแบบที่ขัดต่อศีลธรรม ระเบียบ จารีต ประเพณี
ของสังคม  
- ผู้เข้าประกวดต้องเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์การผลิต และดำเนินการผลิตเอง
- ถ้ามีการนำผลงานหรือ ผลผลิตอื่นๆ ที่มีลิขสิทธิ์ เช่น เพลง หรือ เสียงอื่นใดมาประกอบใน
เนื้อหาการ์ตูน ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานนั้น ๆ อย่างถูกต้อง (แจ้งข้อมูลยืนยันกับเจ้าหน้าที่โครงการ) ผู้จัดการประกวดจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น หากพบในภายหลังว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
- ผลงานที่เข้ารอบการประกวด ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ใน
การนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

๓.๔ วิธีการส่งผลงาน

      - ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด สามารถจัดส่งผลงานไม่เกิน ๑ ชิ้น
- ให้ส่งผลงานโดยบันทึกใส่แผ่น VCD หรือ DVD  รวม ๓ ชุด  พร้อมเอกสารอธิบายรายละเอียดต่อไปนี้  
ชื่อเรื่อง  วัตถุประสงค์  และเรื่องย่อของการ์ตูน  ไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ เอ ๔  ทั้งนี้ ขอความร่วมมือในการส่งภาพนิ่งจากการ์ตูนมาพร้อมด้วย (จำนวน  ๒ รูป)
     - ส่งผลงานด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓

๓.๕ เกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน ใช้เกณฑ์การตัดสินในคะแนนรวม ๑๐๐ คะแนน โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาประกอบ
ไปด้วยประเด็นดังต่อไปนี้

๑) ความคิดสร้างสรรค์             ๓๐    คะแนน
๒) เนื้อหา                  ๓๐   คะแนน
๓) การออกแบบ หรือ คุณภาพของภาพ และความสวยงาม   ๒๐   คะแนน
๔) การใช้ประโยชน์ของเสียงเพลง และเสียงประกอบ      ๒๐   คะแนน
๕) หากไม่มีผลงานใดที่ส่งเข้าประกวดเหมาะสมจะได้รับรางวัลคณะกรรมการ ฯ ขอสงวนสิทธิ์ให้เว้นว่างจากรางวัลนั้น ๆ
๖) คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุดคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น

๓.๖ ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดระดับภาค จะได้รับรางวัลดังนี้

- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท

๓.๗ การเผยแพร่ผลงาน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จะนำการ์ตูนแอนิเมชั่นที่ชนะการประกวด เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในสื่อ และให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่สำนักงาน ฯ เห็นสมควรต่อไป

การประกวดระดับประเทศ มีรายละเอียดการประกวด ดังนี้
   การประกวดระดับประเทศ จัดประกวดโดยนำผลงานการประกวดแต่ละประเภท ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับภาค มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับประเทศ โดยมีเงินรางวัล ดังต่อไปนี้
การประกวดการ์ตูนแอนิเมชั่น ระดับประเทศ มีรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท

กำหนดการตัดสิน ประกาศผล และการมอบรางวัล
๑) คณะกรรมการระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานครดำเนินการตัดสินการประกวดทุกประเภทให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
๒) คณะกรรมการระดับภาค ดำเนินการตัดสินการประกวดทุกประเภทให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓
๓) คณะกรรมการตัดสินระดับประเทศดำเนินการตัดสินการประกวดให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
๔) จัดพิธีมอบรางวัลระดับประเทศทุกประเภทการแข่งขัน ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม  ๒๕๕๓      

            

หมายเหตุ สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://www.sunti-apairach.com/letter
http://www.lovekpp.com
http://province.m-culture.go.th/kamphangphet
140  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / วัฒนธรรมความปลอดภัย >> ประกวดกล่าวสุนทรพจน์ เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 06:26:43 pm
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ในปีงบประมาณ  ๒๕๕๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักรู้เรื่อง ?วัฒนธรรมความปลอดภัย? เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนเกิดการประพฤติปฏิบัติเรื่องวัฒนธรรมประชาธิปไตยในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้จัดกิจกรรมการประกวด กล่าวสุนทรพจน์ ภาพยนตร์สั้นและการ์ตูนแอนิเมชั่น เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้แสดงความสามารถและเป็นการส่งเสริมให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ที่เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวด โดยมีรายละเอียดดังนี้

๑. การประกวดสุนทรพจน์
การประกวดระดับจังหวัด มีรายละเอียดการประกวด ดังนี้

     ๑. การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ ?วัฒนธรรมความปลอดภัย ใส่ใจตั้งแต่วันนี้? ผู้เข้าประกวดคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา  ตอนปลาย มีรายละเอียดดังนี้
๑.๑  เนื้อหาสามารถบรรยายถึงการดูแลความปลอดภัยในด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และอุบัติเหตุ
๑.๒  ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนมีเวลาในการพูด ๕ นาที ในการพูดแต่ละครั้ง จะพูดเกิน หรือขาดจากเวลาที่กำหนด  ไว้ได้เพียง ๑ นาที หากเกินหรือขาดมากกว่านั้นจะถูกตัดคะแนน
๑.๓ รูปแบบเหมือนการเตรียมการพูดในโอกาสต่างๆ โดยแบ่งบทพูดออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนลงท้าย
๑.๔  แข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ ณ สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร โรงเรียนอนุบาลวาริน (ออกอากาศสด) วันอาทิตย์ที่ ๒๗  มิถุนายน ๒๕๕๓ ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ น. เป็นต้นไป  และผู้เข้าแข่งขันสามารถลงสมัครแข่งขันได้เพียง ๑ หัวข้อ
สามารถขอใบสมัครการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้) ส่งใบสมัครได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓  หากส่งทางไปรษณีย์จะถือตามวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ (สอบถามรายละเอียดได้ที่ อาจารย์สันติ  อภัยราช ๐๘๑ ๔๗๕๕๕๕๗ , นางสาวภัณฑิรา รามสูต ๐๘๙ ๑๕๐๖๓๐๙)


ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ระดับจังหวัด จะได้รับรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล   ๑,๐๐๐ บาท   
- รางวัลดีเด่น      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล       ๘๐๐ บาท   
- รางวัลสร้างสรรค์      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล       ๕๐๐ บาท   
   
- รางวัลชมเชย (๒ รางวัล)   ได้รับเกียรติบัตร
การประกวดระดับภาค มีรายละเอียดการประกวดดังนี้
     การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ ?วัฒนธรรมความปลอดภัย ใส่ใจตั้งแต่วันนี้? ประกวดโดยนำผู้ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดระดับจังหวัดในภาคนั้น ๆ (ตามการแบ่งภาควัฒนธรรม)  มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับภาค

ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ระดับภาค จะได้รับรางวัลแต่ละประเภท ดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล   ๑๐,๐๐๐ บาท   
- รางวัลดีเด่น      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท   
- รางวัลสร้างสรรค์      ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล      ๓,๐๐๐ บาท   
- รางวัลชมเชย (๒ รางวัล)   ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล      ๑,๐๐๐ บาท   

การประกวดระดับประเทศ มีรายละเอียดการประกวด ดังนี้
   การประกวดระดับประเทศ จัดประกวดโดยนำผลงานการประกวดแต่ละประเภท ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับภาค
มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับประเทศ โดยมีเงินรางวัล ดังต่อไปนี้

การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ ระดับประเทศ มีรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท

๒. การประกวดภาพยนตร์สั้น
การประกวดระดับภาค มีรายละเอียดการประกวดดังนี้
๒.๑ หัวข้อการประกวด หัวข้อ ?ไทยรวมพลัง ป้องกันภัย?
๒.๒ เนื้อหา มีเนื้อหาในด้านการส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยในด้านสุขนิสัย ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้าน การป้องกันอุบัติเหตุ
๒.๓ วิธีการสมัคร และเงื่อนไขการผลิตผลงาน
๑) วิธีการสมัคร  ผู้เข้าสมัครต้องเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือประชาชนทั่วไป มีรายละเอียดดังนี้
 - สมัครเป็นทีม ทีมละไม่น้อยกว่า ๓ คน
 - ขอใบสมัครได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หรือที่กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายทางวัฒนธรรม ๓ สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขที่ ๑๔ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐  โทรศัพท์๐๒ ๒๔๗ ๐๐๑๓ ต่อ ๑๔๒๐, ๑๕๑๗ โทรสาร๐๒ ๖๔๕ ๒๙๕๘ หรือดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้)

๒) เงื่อนไขในการผลิตงาน

- เนื้อหาภาพยนตร์ความยาว ๕ ? ๑๐ นาที (รวม title และ End credit)
- ภาพยนตร์สั้น ใช้คนแสดง (Life Action)
- บันทึกลงแผ่น VCD หรือ DVD ให้เป็นไฟล์ที่สามารถเปิดดูกับเครื่องเล่น DVD ทั่วไปได้
- ไม่นำเสนอเนื้อหาที่ขัดกับศีลธรรมอันดีงามของสังคม
 - ผู้เข้าร่วมประกวดต้องเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์การผลิตและดำเนินการผลิตเอง โดยส่งเข้าประกวดในนามกลุ่ม
- ถ้ามีการนำผลงานหรือ ผลผลิตอื่นๆ ที่มีลิขสิทธิ์ เช่น เพลง หรือ เสียงอื่นใดมาประกอบในภาพยนตร์ ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานนั้นๆ อย่างถูกต้อง (แจ้งข้อมูลยืนยันกับเจ้าหน้าที่โครงการ) ผู้จัดการประกวดจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น หากพบในภายหลังว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
- ผลงานที่เข้ารอบการประกวด ๑๐ เรื่องสุดท้าย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติในการนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

๒.๔ วิธีการส่งผลงาน
- ผู้สมัครสามารถส่งผลงานได้ทีมละ ๑ เรื่อง
- ให้ส่งผลงานโดยบันทึกใส่แผ่น VCD หรือ DVD รวม ๓  ชุด  พร้อมเอกสารอธิบายรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง  วัตถุประสงค์ และเรื่องย่อภาพยนตร์สั้น ไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษเอ ๔
- ส่งผลงานด้วยตัวเองหรือส่งทางไปรษณีย์ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ภาพยนตร์สั้นที่ชนะการประกวด ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงาน ฯ สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามความเหมาะสม

๒.๕ เกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน
ใช้เกณฑ์คะแนนรวม ๑๐๐ คะแนน โดยพิจารณาประเด็น ดังต่อไปนี้
๑) เนื้อหา  ๔๐  คะแนนเนื้อหาสามารถสื่อถึงการให้ความสำคัญกับประชาธิปไตย
๒)  ความคิดสร้างสรรค์  ๓๐  คะแนนความแปลกใหม่ ความน่าสนใจ หรือกระบวนการเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตามหัวข้อที่นำเสนอ
๓) การนำเสนอ(การเล่าเรื่อง)  ๓๐ คะแนนการใช้ภาษา ภาพ เสียง องค์ประกอบอื่น ๆ เพื่อการสื่อความหมายดังกล่าว
๔) หากไม่มีผลงานใดที่ส่งเข้าประกวดเหมาะสมจะได้รับรางวัล คณะกรรมการ ฯ  ขอสงวนสิทธิ์ให้เว้นว่างจากรางวัลนั้น ๆ
๕) คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุดคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์และนักวิชาการ

๒.๖ ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดระดับภาค จะได้รับรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์         ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๒ รางวัล      ได้รับโล่ พร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท

๒.๗ การเผยแพร่ผลงาน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จะนำภาพยนตร์สั้นที่ชนะการประกวด เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในสื่อ และให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่สำนักงาน ฯ เห็นสมควรต่อไป
141  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / Re: การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 06:23:03 pm
๕.๕ เกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน
๑) ความคิดสร้างสรรค์                ๓๐    คะแนน
๒) เนื้อหา                  ๓๐   คะแนน
๓) การออกแบบ หรือ คุณภาพของภาพ และความสวยงาม   ๒๐   คะแนน
๔) การใช้ประโยชน์ของเสียงเพลง และเสียงประกอบ      ๒๐   คะแนน
๕) หากไม่มีผลงานใดที่ส่งเข้าประกวดเหมาะสมจะได้รับรางวัล คณะกรรมการ ฯ  
ขอสงวนสิทธิ์ให้เว้นว่างจากรางวัลนั้น ๆ
๖)  คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด  คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงผู้ทรงคุณวุฒิด้านมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น

๕.๖ ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดระดับภาค จะได้รับรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม     จำนวน ๑ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น     จำนวน ๑ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์ จำนวน ๑ รางวัล      ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล    ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย      จำนวน ๒ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล     ๕,๐๐๐ บาท

การประกวดระดับประเทศ
มีรายละเอียดการประกวด ดังนี้
   สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดประกวดโดยนำผลงานการประกวดแต่ละประเภท ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับภาค มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับประเทศ โดยมีเงินรางวัล ดังต่อไปนี้

๑. การประกวดวาดภาพ เรียงความ และกล่าวสุนทรพจน์  มีรางวัล ดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม      จำนวน ๑ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล      ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น      จำนวน ๑ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล     ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์   จำนวน ๑ รางวัล ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล        ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย       จำนวน ๑ รางวัล ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท

๒. การประกวดภาพยนตร์สั้น และการ์ตูนแอนิเมชั่น  มีรางวัลแต่ละประเภท ดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม      จำนวน ๑ รางวัล ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล     ๒๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น      จำนวน ๑ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล    ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์   จำนวน ๑ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล    ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย       จำนวน ๑ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล   ๑๐,๐๐๐ บาท

กำหนดการตัดสิน ประกาศผล และการมอบรางวัล
๑) คณะกรรมการระดับจังหวัดดำเนินการตัดสินการประกวดทุกประเภทให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
๒) คณะกรรมการระดับภาค ดำเนินการตัดสินการประกวดทุกประเภทให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓
๓) คณะกรรมการตัดสินระดับประเทศดำเนินการตัดสินการประกวดให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
๔)  จัดพิธีมอบรางวัลระดับประเทศทุกประเภทการแข่งขัน ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓      


หมายเหตุ สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://www.sunti-apairach.com/letter  
http://www.lovekpp.com
http://province.m-culture.go.th/kamphangphet
142  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / Re: การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 06:21:41 pm
การประกวดระดับภาค
ประเภทและรายละเอียดการประกวด

๑. การประกวดวาดภาพ หัวข้อ ?ประชาธิปไตยของฉัน?
๒. การประกวดเรียงความ หัวข้อ ?ประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน?
๓. การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ ?ประชาธิปไตยในวิถีชีวิต?
          ประกวดโดยนำผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดระดับจังหวัดในภาคนั้น ๆ (ตามการแบ่งภาควัฒนธรรม)  มาประกวดเพื่อหาผู้ชนะการประกวดระดับภาค

โดยมีรางวัลสำหรับผู้ที่ได้รับการตัดสินการประกวดวาดภาพ เรียงความ และกล่าวสุนทรพจน์ระดับภาคแต่ละประเภท ดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม    จำนวน  ๑ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล   ๑๐,๐๐๐ บาท   
- รางวัลดีเด่น             จำนวน  ๑ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล     ๕,๐๐๐ บาท
-  รางวัลสร้างสรรค์        จำนวน  ๑ รางวัล    ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล     ๓,๐๐๐ บาท   
-  รางวัลชมเชย      จำนวน ๒ รางวัล   ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล     ๑,๐๐๐ บาท   

๔. การประกวดภาพยนตร์สั้น หัวข้อ ?ประชาธิปไตยในวิถีชีวิต?

๔.๑  คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
       ผู้เข้าสมัครต้องเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือประชาชนทั่วไป  
๔.๒  วิธีการสมัคร
๔.๒.๑  ขอใบสมัคร และส่งใบสมัครได้ที่ตัวแทนภาค ได้แก่
- ภาคเหนือ ส่งที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
- ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่งที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี
- ภาคใต้ ส่งที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

๔.๒.๒ ใบสมัครสามารถดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้)

๔.๒.๓ ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓

๔.๓  เงื่อนไขการผลิตผลงาน
๔.๓.๑ มีเนื้อหาในด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมประชาธิปไตยในครอบครัว โรงเรียน ชุมชนหรือสังคม         
๔.๓.๒ เนื้อหาภาพยนตร์ความยาว ๕ ? ๑๐ นาที (รวม title และ End credit)
๔.๓.๓ ภาพยนตร์สั้น ใช้คนแสดง (Life Action)
๔.๓.๔  บันทึกลงแผ่น VCD หรือ DVD ให้เป็นไฟล์ที่สามารถเปิดดูกับเครื่องเล่น DVD ทั่วไปได้
๔.๓.๕ ไม่นำเสนอเนื้อหาที่ขัดกับศีลธรรมอันดีงามของสังคม
๔.๓.๖ ผู้เข้าร่วมประกวดต้องเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์การผลิตและดำเนินการผลิตเอง โดยส่งเข้าประกวดในนามกลุ่ม

๔.๓.๗ ถ้ามีการนำผลงานหรือ ผลผลิตอื่น ๆ ที่มีลิขสิทธิ์ เช่น เพลง หรือ เสียงอื่นใดมาประกอบในภาพยนตร์ ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานนั้น ๆ อย่างถูกต้อง (แจ้งข้อมูลยืนยันกับเจ้าหน้าที่โครงการ) ผู้จัดการประกวดจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น หากพบในภายหลังว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว

๔.๔ วิธีการส่งผลงาน

๔.๔.๑ ผู้สมัครสามารถส่งผลงานได้ทีมละ ๑ เรื่อง
๔.๔.๒ ให้ส่งผลงานโดยบันทึกใส่แผ่น VCD หรือ DVD รวม ๓ ชุด พร้อมเอกสารอธิบายรายละเอียด
ดังต่อไปนี้  ชื่อเรื่อง  วัตถุประสงค์ และเรื่องย่อภาพยนตร์สั้น ไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ A ๔
๔.๔.๓ ส่งผลงานด้วยตัวเองหรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังตัวแทนภาค ตามรายละเอียดในเอกสาร แนบท้ายประกาศ
๔.๔.๔ ผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมด ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ในการนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์สาธารณะได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน

๔.๕ เกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน
        ใช้เกณฑ์คะแนนรวม ๑๐๐ คะแนน โดยพิจารณาประเด็น ดังต่อไปนี้
๑) เนื้อหา  ๔๐  คะแนนมีเนื้อหาด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมประชาธิปไตยในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน หรือสังคม
๒) ความคิดสร้างสรรค์  ๓๐  คะแนนความแปลกใหม่ ความน่าสนใจ หรือกระบวนการเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตามหัวข้อที่นำเสนอ
๓) การนำเสนอ(การเล่าเรื่อง)  ๓๐ คะแนนการใช้ภาษา ภาพ เสียง องค์ประกอบอื่น ๆ เพื่อการสื่อความหมายดังกล่าว
๔) หากไม่มีผลงานใดที่ส่งเข้าประกวดเหมาะสมจะได้รับรางวัล คณะกรรมการ ฯ  ขอสงวนสิทธิ์
ให้เว้นว่างจากรางวัลนั้น ๆ
๕)  คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์

๔.๖ ประเภทรางวัล
ผู้ที่ชนะการประกวดระดับภาค จะได้รับรางวัลดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม       จำนวน ๑ รางวัล      ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล     ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลดีเด่น       จำนวน ๑ รางวัล      ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล     ๑๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลสร้างสรรค์   จำนวน ๑ รางวัล      ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล     ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย       จำนวน ๒ รางวัล      ได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล      ๕,๐๐๐ บาท

๕. การประกวดการ์ตูนแอนิเมชั่น หัวข้อ ?ประชาธิปไตยในวิถีชีวิต?
๕.๑  คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
       ผู้เข้าสมัครต้องเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือประชาชนทั่วไป  
๕.๒  วิธีการสมัคร
๕.๒.๑  ขอใบสมัคร และส่งใบสมัครได้ที่ตัวแทนภาค ได้แก่
- ภาคเหนือ ส่งที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
- ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่งที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี
- ภาคใต้ ส่งที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
๕.๒.๒ ใบสมัครสามารถดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์  www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้)
๕.๒.๓ ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓

๕.๓  เงื่อนไขการผลิตผลงาน
๕.๓.๑ มีเนื้อหาในด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมประชาธิปไตยในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน หรือสังคม         
๕.๓.๒   การ์ตูนแอนิเมชั่น ๓ มิติ ความยาว ๕ - ๑๐ นาที (รวม title และ End credit)
๕.๓.๓  ผลิตผลงานโดยใช้โปรแกรมประเภท 3D animation หรือ Flash Animation โดยบันทึกลงในแผ่น VCD หรือ DVD ให้เป็นไฟล์ .exe หรือไฟล์ที่สามารถเปิดดูกับเครื่องเล่น DVD ทั่วไปได้
๕.๓.๔ เนื้อหาของการ์ตูนแอนิเมชั่น ต้องไม่เสนอในรูปแบบที่ขัดต่อศีลธรรม ระเบียบ จารีต ประเพณี ของสังคม  
๕.๓.๕  ผู้เข้าประกวดต้องเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์การผลิต และดำเนินการผลิตเอง
๕.๓.๖ ถ้ามีการนำผลงานหรือ ผลผลิตอื่นๆ ที่มีลิขสิทธิ์ เช่น เพลง หรือ เสียงอื่นใดมา
ประกอบในเนื้อหาการ์ตูน ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานนั้น ๆ อย่างถูกต้อง (แจ้งข้อมูลยืนยันกับเจ้าหน้าที่โครงการ) ผู้จัดการประกวดจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น หากพบในภายหลังว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว

๕.๔ วิธีการส่งผลงาน
๕.๔.๑  ผู้สมัครสามารถส่งผลงานได้ทีมละ ๑ เรื่อง
๕.๔.๒ ให้ส่งผลงานโดยบันทึกใส่แผ่น VCD หรือ DVD รวม ๓ ชุด พร้อมเอกสารอธิบายรายละเอียดดังต่อไปนี้  ชื่อเรื่อง  วัตถุประสงค์ และเรื่องย่อไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ A ๔
๕.๔.๓ ส่งผลงานด้วยตัวเองหรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังตัวแทนภาค ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓
๕.๔.๔ ผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมด ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในการนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์สาธารณะได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน
143  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย >> ประกวดวาดภาพ เรียงความ กล่าวสุนทรพจน์ เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 06:18:11 pm
        สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงกำหนดจัดกิจกรรมการประกวดวาดภาพ เรียงความ กล่าวสุนทรพจน์ ภาพยนตร์สั้น และการ์ตูนแอนิเมชั่น เพื่อให้นักเรียน  นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้แสดงความสามารถและเป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่เสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย

        สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวด โดยมีรายละเอียดดังนี้

การประกวดระดับจังหวัด
ประเภทการประกวด  แบ่งการประกวดออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
๑. การประกวดวาดภาพ หัวข้อ ?ประชาธิปไตยของฉัน?
๑.๑ คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
นักเรียนระดับประถมศึกษา
๑.๒ หลักเกณฑ์การประกวด
๑.๒.๑ เนื้อหาของภาพสื่อถึงการเสริมสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน / สังคม
๑.๒.๒ วาดภาพพร้อมระบายสีด้วยตนเอง ลงในกระดาษวาดภาพขนาด A ๓
๑.๒.๓ ภาพที่เข้าแข่งขัน ต้องมีรายละเอียด ชื่อสถานศึกษา / ชื่อ ? สกุล ผู้เข้าแข่งขัน/ระดับชั้น / ชื่อภาพ  
และคำบรรยายภาพความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ ส่งผลงานได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ภายในวันศุกร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓  
๑.๒.๔ ผลงานภาพวาด ที่ได้รับรางวัล ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติใน
การนำไปเผยแพร่เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย    
   
๒. การประกวดเรียงความ หัวข้อ ?ประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน?
๒.๑ คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
๒.๒ หลักเกณฑ์การประกวด
๒.๒.๑ เนื้อหาของเรียงความ สื่อถึงการเสริมสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน/สังคม
๒.๒.๒ ผู้เข้าแข่งขันต้องเขียนเรียงความด้วยตนเอง ลงในกระดาษ A ๔ ความยาวไม่เกิน ๓               หน้ากระดาษ  ด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ส่งผลงานได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ภายในวันศุกร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓  

๒.๒.๓  เรียงความที่เข้าแข่งขัน ต้องมีรายละเอียด ชื่อสถานศึกษา /ชื่อ ? สกุล ผู้เข้าแข่งขัน/ ระดับชั้น
๒.๒.๔  ผลงานเรียงความของผู้เข้าแข่งขัน ที่ได้รับรางวัลถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานคณะกรรมการ      วัฒนธรรมแห่งชาติในการนำไปเผยแพร่เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย    
๒.๓ วิธีการส่งผลงานเข้าประกวด
๒.๓.๑ ส่วนภูมิภาค ขอใบสมัครและส่งผลงานได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในจังหวัดของท่าน
๒.๓.๒ ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ หากส่งทางไปรษณีย์จะถือตามวันที่
ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ

๓. การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ ?ประชาธิปไตยในวิถีชีวิต?
๓.๑ คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
 เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
๓.๒ หลักเกณฑ์การประกวด
๓.๒.๑  เนื้อหาสามารถบรรยายถึงการเสริมสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน/สังคม
๓.๒.๒ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนมีเวลาในการพูด ๕ นาที ในการพูดแต่ละครั้ง จะพูดเกินหรือขาดจากเวลาที่
กำหนดไว้ได้เพียง ๑ นาที หากเกินหรือขาดมากกว่านั้นจะถูกตัดคะแนน
 ๓.๒.๓ รูปแบบเหมือนการเตรียมการพูดในโอกาสต่าง ๆ  โดยแบ่งบทพูดออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนนำ  ส่วน
เนื้อหา และส่วนลงท้าย                    

๓.๓ วิธีการเข้าร่วมประกวด
 ๓.๓.๑  ส่วนภูมิภาค ขอใบสมัครและส่งใบสมัครได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในจังหวัดของท่าน                  
๓.๓.๒ ผู้สมัครส่งใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ หากส่งทางไปรษณีย์จะถือตามวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ
 ๓.๓.๓ แข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ ณ สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร โรงเรียนอนุบาลวาริน (ออกอากาศสด) วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ น. เป็นต้นไป  และผู้เข้าแข่งขันสามารถลงสมัครแข่งขันได้เพียง ๑ หัวข้อ
สามารถขอใบสมัครการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด หรือดาวน์โหลด
ใบสมัครได้ที่ www.culture.go.th (ใบสมัครสามารถทำสำเนาได้) และส่งใบสมัครได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓  หากส่งทางไปรษณีย์จะถือตามวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ (สอบถามรายละเอียดได้ที่อาจารย์สันติ  อภัยราช ๐๘๑ ๔๗๕๕๕๕๗ , นางสาวภัณฑิรา รามสูต ๐๘๙ ๑๕๐๖๓๐๙)

รางวัลการประกวด
ผู้ที่ชนะการประกวดวาดภาพ เรียงความ และกล่าวสุนทรพจน์ระดับจังหวัด จะได้รับรางวัลแต่ละประเภท ดังนี้
- รางวัลยอดเยี่ยม   จำนวน ๑ รางวัล     ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล      ๑,๐๐๐ บาท   
- รางวัลดีเด่น           จำนวน ๑ รางวัล     ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล         ๘๐๐ บาท   
- รางวัลสร้างสรรค์  จำนวน ๑ รางวัล     ได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล         ๕๐๐ บาท   
- รางวัลชมเชย       จำนวน ๒ รางวัล     ได้รับเกียรติบัตร
144  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / อาลัยรัก นายเทพนิมิตร คุณุ (ตั้ม) เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2010, 05:59:05 pm
อาลัยรัก
นายเทพนิมิตร   คุณุ  (ตั้ม)

         ชายหนุ่ม รูปงาม บุคลิกดี มากด้วยความสามารถ ในทุกด้าน มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้เสียสละ เพื่อบ้านเมือง เป็นนักแสดงนำ ในการแสดงแสงเสียง ในงานประเพณีนบพระ เล่นเพลง หลายปี และเคยแสดงนำ ในการแสดงแสงเสียง เทศกาลลอยกระทง ด้วยความเป็นคนดีและเป็นผู้รับผิดชอบอย่างยิ่ง จึงเป็นที่รัก ของผู้ใหญ่  เป็นที่เลื่อมใสของคนรุ่นเดียวกัน และเป็นตัวอย่างที่น่าเคารพนับถือของของรุ่นน้อง
        
          นายเทพนิมิต คุณุ  คือบุคคลสำคัญที่กล่าวถึงในข้างต้น  แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง ชิวิตที่กำลังโดดเด่น และรุ่งเรืองของเขา ไปถูกพรากไปจากบุคคลที่เขารักไปด้วยวัยเพียง ๓๒ ปี ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อขึ้นวันใหม่ของวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เพียงไม่กี่นาที  นับเป็นความสูญเสีย ที่ยิ่งใหญ่ ของวงการที่ เทพนิมิต คุณุ เกี่ยวข้องในทุกวงการ เป็นความสูญเสียที่แสนเจ็บปวดอย่างไม่สามารถกล่าวเป็นตัวอักษรได้
          
          เทพนิมิต คุณุ เกิดเมื่อวันที่  ๖ กันยายน ๒๕๒๑   เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวน ๖ คน ของครูแก้ว นายชาครินทร์ คุณุ  กับคุณครูกรรณิการ์ คุณุ ครูโรงเรียนเพ็ชรศึกษา โรงเรียนเก่าแก่ในตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรของเรา  เทพนิมิตร มีชื่อที่เรียกกันเล่นๆว่า ตั้ม  เป็นเด็กที่น่ารัก และเป็นที่รักของผู้ที่ได้พบเห็น ตั้มทุกคน
          
          เมื่อนายเทพนิมิต มีวัยที่พร้อมที่จะเข้าเรียน ได้เริ่มศึกษาที่โรงเรียนที่แม่สอนอยู่คือเพ็ชรศึกษา  เรียนอยู่ ที่โรงเรียนเพ็ชรศึกษาจนจบประถมศึกษาตอนปลาย จึงเข้ามาเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม  ตำบลนครชุม ใกล้กับโรงเรียนที่แม่สอนเช่นกัน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นายเทพนิมิต คุณุ ได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จนจบการศึกษา ในระดับสามัญแล้ว ได้มาศึกษาต่อในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาอีเล็กโทรนิค ที่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร เมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้เริ่มทำงานที่ร้าน นานาภัณฑ์ บริเวณต้นโพ หน้าเมืองกำแพงเพชร และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ในสาขาวิชา เทคโนโลยีอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์  รับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๑  ระหว่างเรียนทำงานที่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จนกระทั่งสามารถสอบบรรจุ ทำงานได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลโกสัมพี ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๒  ทำงานอยู่ได้ประมาณ ๙ เดือน จนถึงวันที่สูญเสียในวันนี้
          
          นายเทพนิมิต คุณุ  พบรักกับนางสาวกานดา ศิวพรพิทักษ์ ตั้งแต่เรียนอยู่โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม  ซึ่งกำลังจะทำพิธีมงคลสมรส ในเดือน หน้า คือเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ ที่จะถึงนี้
        
          เทพนิมิต คุณุ ได้ช่วยจังหวัดกำแพงเพชร ในการแสดงเป็นผู้แสดงนำ ในการแสดง แสงเสียง งานประเพณี นบพระเล่นเพลงมาหลายปี โดยการเชิญชวนของอาจารย์สันติ อภัยราช ประธานสภาวัฒนธรรมกำแพงเพชร ผู้รับผิดชอบในการจัดงาน หลายปี เป็นผู้ที่มีความสามารถในการแสดงมาก เป็นที่ประทับตาประทับใจ แก่ผู้ชมและผู้ร่วมงานทุกคน
        
          และเหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดจะคาดเดาได้ว่าจะเกิดการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้
นายเทพนิมิต คุณุ หรือตั้ม เดินทางกลับจากที่ทำงานองค์การบริหารส่วนตำบลโกสัมพี
ในคืนวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ต่อ วันที่๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เวลาประมาณ ๒๔ นาฬิกา ๓๐ นาที  เดินทางกลับบ้านที่กิโลแปด ตำบลสระแก้ว เกิดอุบัติเหตุสำคัญรถชนกับต้นไม้ ทำให้ เทพนิมิต คุณุ เสียชีวิตทันที  ทำให้ผู้ที่ทราบข่าวทุกคน ไม่เชื่อในการสูญเสียในครั้งนี้  แต่แล้วการสูญเสียครั้งสำคัญนี้เป็นเรื่องจริง ทุกคนที่รักเทพนิมิตร ต่างทำใจไม่ได้  แต่แล้วก็ต้องยอมรับในความจริงที่ไม่น่าเกิดในที่สุด ขอให้เทพนิมิต  คุณุ เดินทางไป สู่สัมปรายภพ มีความสุขในโลกหน้า สมกับที่ได้ทำความดีในโลกนี้มาอย่างสมบูรณ์ ในทุกหน้าที่ของ ตั้ม เทพนิมิต ตุณุ

          เมื่อคนดี  จากไป ใจแทบขาด     เทพนิมิตร     ดั่งญาติ    ที่ยิ่งใหญ่
 มีความรัก  ในงาน ความจริงใจ             เทพนิมิตร     คงไว้       ในใจชน
          ต่อแต่นี้ไม่มีแล้ว พระเอกกล้า       เทพนิมิตร     สู่นภา      สวรรค์หน
แสนสุขุม   คัมภีรภาพ  กับทุกคน            เทพนิมิตร     มีผล        คุณความดี
          ขอให้เธอ สู่สวรรค์ อันสูงส่ง        เทพนิมิตร     ยังคง       ทรงศักดิ์ศรี
จากไปแล้ว จากแต่กาย  คืนปฐพี           เทพนิมิตร     คนนี้        อยู่กลางใจ
               
                       สันติ อภัยราช
          ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
                      ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!