จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ มีนาคม 16, 2012, 06:16:16 pm



หัวข้อ: ๑๗ มีนาคม วันนายขนมต้ม สามัญชน ไพร่ เชลยศึก คนแรกที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้อย่างให้เกียรต
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ มีนาคม 16, 2012, 06:16:16 pm
๑๗ มีนาคม วันนายขนมต้ม
สามัญชน ไพร่  เชลยศึกคนแรกที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้อย่างให้เกียรติ
                               
                      
(http://upic.me/i/8o/0images3.jpg) (http://upic.me/show/33866402)


  
                    อังวะธิราชเจ้า                พุกาม
                          ฉลองธานตุร่างกุ้งงาม               ครึกครื้น
                          ขนมต้มชื่อชาวสยาม                 ตนหนึ่ง
                          ขันต่อยตีพวกพื้น                      ม่านรู้ครูมวยฯ
                                    ฉับฉวยชกฉกช้ำ          ฉุบฉับ
                          โถมทุบทุ่มถองทับ                    ถีบท้าว
                          เตะตีต่อยตุบตับ                             ตบตัก
                          หมดหมู่เมงมอญม้าว                 ม่านเมื้อหมางเมินฯ
                                       เกินสิบต่อยบ่ซ้ำ           สองยก
                          ม่านกษัตริย์หัตถ์ลูบอก             โอษฐ์พร้อง
                          ชาติสยามผิยามตก                     ไร้ยาก  ไฉนนา
                          ยังแต่ตัวยังต้อง                            ห่อนได้ภัยมีฯ
                                      ฉากนี้สมพากย์พร้อง    เพรงสุภา- ษิตเฮย
                          เคยปากหากพูดมา                     มากครั้ง
                        ?กรุงศรีอยุธยา                           ไป่ขาด  ดีเลย?
                          รูปฉากพากย์ติดตั้ง                    ต่อให้เห็นจริงฯ
     นายขนมต้ม เป็นไพร่ สามัญชน และเชลยศึก คนแรก ที่ประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์พม่า บันทึกและยกย่องไว้ นับว่าหาได้ยากยิ่ง ที่สามัญชน จะได้ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดาร  ดังความว่า
 
    เมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้ปฏิสังขรณ์และก่อเสริมพระเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้งเป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ. 2317 พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ 17 มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร ขุนนางพม่ากราบทูลว่า "นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก"

         พระเจ้ามังระจึงตรัสสั่งให้เอาตัวนายขนมต้ม นักมวยดีมีฝีมือตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาถวาย พระเจ้ามังระได้ให้จัดมวยพม่าเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้ม โดยจัดให้ชกต่อหน้าพระที่นั่ง ปรากฏว่านายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึงยกก็แพ้ถึงเก้าคนสิบคนก็สู้ไม่ได้ พระเจ้ามังระทอดพระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระตรัสสรรเสริญนายขนมต้มว่า ตรัสชม นายขนมต้มว่า
คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่แตกสามัคคี และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
พระเจ้ามังระทรงให้รางวัลแก่ขนมต้ม เป็นนางสนมถึงสองคนเพื่อไปทำเมีย แต่ขนมต้มปฏิเสธและทูลขอให้พระเจ้ามังระ ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่คนไทยได้เป็นอิสระ ไม่ตกเป็นเชลยของพม่าอีกต่อไป พระเจ้ามังระเป็นกษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ ทรงปลดปล่อยคนไทยเป็นอิสระจากการตกเป็นเชลยศึกของพม่า

นายขนมต้ม เกิดวันอังคาร เดือนยี่ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๒๙๓ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่บ้านกุ่ม (ปัจจุบันคือ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) บิดาชื่อนายเกิด มารดาชื่อนางอี่ มีพี่น้อง ๒ คนคือ
๑.นางเอื้อย ถูกพม่าฆ่าตายเมื่อเล็กๆ
๒.นายขนมต้ม
นายขนมต้มต้องอยู่วัดตั้งแต่เล็กๆ อายุประมาณ ๑๐ ขวบ พ่อแม่ถูกพม่าฆ่าตายหมด และเริ่มฝึกวิชามวยไทย ตั้งแต่เริ่มแตกหนุ่ม จนในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่า จึงถูกกวาดต้อนไปเมืองพม่า

(http://upic.me/i/l2/0images4.jpg) (http://upic.me/show/33866578)

จากเกียรติยศของ นายขนมต้ม ทางราชการจึงจัดสร้างอนุสาวรีย์ นายขนมต้มขึ้น ดังมีรายละเอียดังต่อไปนี้
        อนุสาวรีย์นายขนมต้มแห่งนี้ชมรมตนบ้านกุ่มบางบาลลูกหลานนายขนมต้ม ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดสร้างอนุสาวรีย์นายขนมต้มและศูนย์การเรียนรู้ชุมชนประจำตำบล ที่เป็นถิ่นกำเนินของนายขนมต้มที่ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนายขนมต้มเป็นนักมวยไทยชื่อดังสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ที่เคยไปสร้างชื้อถึงประเทศพม่าและมีชื่อเสียงในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ในเรื่องแม่ไม้มวยไทย และความจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  
ซึ่งปัจจุบันชาวตำบลบ้านกุ่มที่ถือเป็นลูกหลานนายขนมต้ม มีประสงค์ต้องการรำลึกเกียรติประวัติของนายขนมต้มและเผยแพร่เกียรติประวัติและแม่ไม้มวยไทยให้เป็นที่รู้จัก  โดยได้ร่วมกันจัดสร้างรูปหล่อโลหะขนาด 2 เท่าเสร็จเรียบร้อยแล้วและนำประดิษฐานบนแท่นอนุสาวรีย์ที่หน้าโรงเรียนวัดจุฬามณี โดยจะมีการทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการพร้อมจัดกิจกรรมไว้ครูมวยไทย การส่งเสริมการละเล่นแบบไทย การแข่งขันมวยไทย การแสดงฟันดาบ การทำอาหารพื้นเมือง
  
     วันที่ 16 มี.ค. นายวิชัย ศรีขวัญ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดอนุสาวรีย์นายขนมต้ม ที่ลานกิจกรรมหน้าโรงเรียนวัดจุฬามณี  ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยมีนักมวยไทยชื่อดังในอดีตเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก เช่น อภิเดช ศิษย์หิรัญ  ทั้งนี้ยังเป็นกิจกรรมเพื่อฉลองวันนายขนมต้มที่ตรงกับวันที่ 17 มีนาคมของทุกปี
    

         เหตุการณ์ที่นายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่า เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317 จึงถือว่าวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันเกียรติประวัติของนักมวยไทย ถือเป็น วันมวยไทย ชาวพระนครศรีอยุธยาได้พร้อมใจกันสร้าง "อนุสาวรีย์นายขนมต้ม" ไว้ที่บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
       นายขนมต้มนับว่าเป็นสามัญชน ไพร่  เชลยศึก  คนแรกที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้อย่างให้เกียรติ
จึงควรได้รับการคารวะ จากคนไทยทุกคน เนื่องในวัน นายขนมต้ม ๑๗ มีนาคม

                                                                                                     สันติ อภัยราช