จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ พฤศจิกายน 18, 2019, 02:44:49 am



หัวข้อ: ชากังราว คือ กำแพงเพชร ฟัง ชม หลักฐานสำคัญ จากจารึก และพงศาวดาร ทาง อสมท.กพ. บ
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ พฤศจิกายน 18, 2019, 02:44:49 am
ชากังราว คือ  กำแพงเพชร  ฟัง ชม หลักฐานสำคัญ จากจารึก และพงศาวดาร ทาง อสมท.กพ. บ่ายสอง และทาง สวท.กพ. บ่ายสาม โดย อ.สันติ อภัยราช อ.รุ่งเรือง สอนชู และเยาวชนคนดี ยุทธนา ทองดี เสาร์ ๑๖ พย. จะได้เลิกเถียงกันเสียที
มีหลักฐาน สรุปได้ดังนี้

๑. ในจารึกหลักที่ 8 ศิลาจารึกภูเขาสุมนกูฏ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไทย  จารึกเมื่อพุทธศักราช 1912 ในจารึกกล่าวถึงเชื่อเมืองต่าง ๆของสองฝั่งแม่น้ำปิง ได้แก่ เมือง  พระบาง  ชากังราว  สุพรรณภาว นครพระชุม  เมืองพาน  แต่ไม่มีชื่อเมืองกำแพงเพชร  แสดงว่าชากังราว อยู่ลุ่มน้้าปิง

๒ ในกฎหมายลักษณะลักพา   มีพระราชกฤษฎีกาของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดี บทที่ 1  ตั้งเมื่อปีมะแม  จุลศักราช  717  พ.ศ.  1899   (ควรจะเป็น  1898)  ภายหลังสร้างพระนครศรีอยุธยาได้ 5 ปี  มีเนื้อความว่า  นายสามขลากราบบังคมทูลด้วยเรื่องข้าหนีเจ้า  ไพร่หนีนายว่า  มีผู้เอาไปถึงเฉลี่ยงสุโขทัย  ทุ่งย้าง  บางยม  สองแก้ว  (สองแคว) สระหลวง ชาวดงราวกำแพงเพชร  เมืองท่านเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังนี้  และมีผู้เอาทาสเอาไพร่ท่านมาขาย   และเจ้าทาสเจ้าไพร่แห่งพระนครศรีอยุธยาและมากล่าวพิพาทว่า  ให้ผู้ไถ่ไล่เอาเบี้ยแก่ผู้ขายนั้นคืน  ข้าพระพุทธเจ้าขอเรียนพระราชปฏิบัติ  จึงมีรับสั่งว่า  ขายกันแต่ในพระนครศรีอยุธยาดังนี้  และสูบังคับให้ผู้ไถ่เอาเบี้ยแก่ผู้ขายสิยังยาก  อย่าว่าแต่ข้าหนีเจ้าไพร่หนีนาย  และเขาลักเอาไปขายถึงเฉลี่ยงสุโขทัย  ทุ่งย้าง  บางยม        สองแก้ว   สระหลวง  ชาวดงราวกำแพงเพชร  ใต้หล้าฟ้าเขียวขาดจากมือเจ้าทาสไพร่ไปไกล  จะมาพิพาทฉันเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี  เมืองสุพรรณบุรี  สะพง  คลองพับ  แพรกศรีราชาธิราช  พระนครพรหมนั้น    บมิชอบเลย?  กฎหมายบทนี้ตั้งภายหลังพระมหาธรรมราชาลิไทยได้ราชสมบัติปีที่ 1 ชาดงราว กำแพงเพชร หมายถึงชากังราว

๓.จากคำสรุปของพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงวินิจฉัยเรื่องเมืองชากังราวได้อย่างละเอียดว่า
             ข้าพเจ้าจะต้องอธิบายเรื่องเมืองชากังราวไว้ตรงนี้สักหน่อยหนึ่ง ด้วยยังไม่ได้พบอธิบายในที่อื่นว่าเมืองชากังราว เป็นเมืองไหนแน่ในปัจจุบันนี้  ในหนังสือพระราชพงศาวดารมีเรื่องเกี่ยวกับเมืองชากังรายหลายแห่ง ในตอนแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชนี้ เป็นอย่างมาก แต่ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ยังออกชื่อเสียงชากังราวลงไปถึงแผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบแผนที่เข้ากับเรื่องที่มาใน พระราชพงศาวดารเห็นว่า เมืองชากังราวจะเป็นเมืองอื่น นอกจากเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้ไม่ได้ และได้พบหลักฐานประกอบในพระราชกฤษฎีกาของ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เรียกชื่อเมือง "ชาวดงราว" กำแพงเพชรควบไว้ดังนี้ (คำว่า ชาดงราว นั้นเชื่อได้แน่ว่า ผู้คัดลอกเขียนผิดมาจาก ชากังราวนั่นเอง) 
              จากข้อความที่นำมากล่าวนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสรุปไว้ว่า เมืองชากังราว     คือ เมืองกำแพงเพชร

จากหลักฐานดังกล่่าว ควรจะสรุปได้ว่า ชากังราว คือกำแพงเพชร นั่นเอง