จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ กรกฎาคม 26, 2019, 10:51:33 am



หัวข้อ: คอร์ปรับชัน คืออะไร บรรยายพิเศษ ผู้บริหารสถานศึกษา เสาร์ ๒๗ กค. ๖๒ โดม อนุบาล
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ กรกฎาคม 26, 2019, 10:51:33 am
คอร์ปรับชัน คืออะไร
บรรยายพิเศษ  ผู้บริหารสถานศึกษา เสาร์ ๒๗ กค. ๖๒  โดม อนุบาลกำแพงเพชร
  รูปแบบและพฤติกรรมการคอร์รัปชัน  แบ่งการทุจริตใน 3 ระดับ ดังนี้
1 การทุจริตสีขาว คือ เป็นการกระทำที่ไม่เลวร้าย ไม่ได้ตั้งใจและไม่ได้คามคิดว่าจะเป็นการคอร์รัปชัน
2 การทุจริตสีเทา คือ เป็นการกระทำผิดที่คนบางกลุ่มยังีความเห็นแตกต่างออกไป เสียงส่วนใหญ่ยังมีความเห็นครุมเครือ  แต่การกระทำไม่ผิดกฎหมาย
3 การทุจริตสีดำ คือ เป็นการกระทำที่ถูกตำหนิและเห็นสมควรว่าถูกลงโทษ เป็นการกระทำที่ผิดกำหมาย ผิดกระบวนการยุติธรรม
                 หากสังคมไทยยังไม่สามารถหยุดยั้งเชื้อ "คอร์รัปชัน" นี้ได้ ประเทศไทยจะกลายเป็น หลุมดำ ที่ทำลายขีดความสามารถในการแข่งขันด้านจิตสำนึกกับประเทศอื่นๆ
1 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)
“ไม่ทนต่อการทุจริต   4 กลยุทธ์ คือ
กลยุทธ์ที่ 1 ปรับฐาน ความคิดทุกช่วงวัย สถาบันการศึกษามีส่วนมากี่สุด
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต
กลยุทธ์ที่ 3 ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต และ
กลยุทธ์ที่ 4 เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community)และบูรณาการทุก ภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต


หัวข้อวิชา 4 วิชา ประกอบด้วย
1) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
 2) ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
3) STRONG : จิตพอเพียงต้าน
4) พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสภาปฏิรูป
แห่งชาติ
(๑) ยุทธศาสตร์การปลูกฝัง “คนไทย ไม่โกง”เพื่อปฏิรูปคนให้มีจิตสำนึก
(๒) ยุทธศาสตร์การป้องกันด้วยการเสริมสร้างสังคม ธรรมาภิบาลเพื่อเป็นระบบป้องกันการทุจริตเสมือนการสร้างระบบภูมิต้านทานแก่ทุกภาคส่วนในสังคม
 (๓) ยุทธศาสตร์การปราบปราม เพื่อปฏิรูประบบและกระบวนการจัดการต ่อกรณีการทุจริต
 ได้จำแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ออกเป็น ๗ รูปแบบ คือ
๑) การรับผลประโยชน์ต่างๆ (Accepting benefits)
๒) การทำธุรกิจกับตนเอง (Self - dealing)
๓) การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ
 ๔) การทำงานพิเศษ (Outside employment or moonlighting)
 ๕) การรู้ข้อมูลภายใน (Inside information)
 ๖) การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจ
 ๗) การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork - barreling)
 ๘) การใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แก่เครือญาติหรือพวกพ้อง (Nepotism) หรือ
 ๙) การใช้อิทธิพลเข้าไปมีผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐอื่น (influence) เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือพวก ๆ
   “การปฏิบัติงานแบบใช้ระบบคิดฐานสิบ (Analog)”
    คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐยังมีระบบ การคิดที่ยังแยกเรื่องตำแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตนออกจากกันไม่ได้นำประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ ส่วนรวมมาปะปนกันไปหมดแยกแยะไม่ออกว่าสิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนตนสิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนรวม นำบุคลากรหรือทรัพย์สินของราชการมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน เบียดบังราชการ เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตน เครือญาติหรือพวกพ้อง เหนือกว่าประโยชน์ของส่วนรวมหรือของหน่วยงาน จะคอยแสวงหา ประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีเกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วน รวม จะยึดประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
 “การปฏิบัติงานแบบใช้ระบบคิดฐานสอง (Digital)” คือการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีระบบการคิด ที่สามารถแยกเรื่องตำแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตนออกจากกัน แยกออกอย่างชัดเจนว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด สิ่งไหนทำได้สิ่งไหนทำไม่ได้สิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนตนสิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนรวม ไม่นำมาปะปนกัน ไม่นำบุคลากรหรือทรัพย์สินของราชการมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่เบียดบังราชการเห็นแก่ประโยชน์ ส่วนรวมหรือของหน่วยงานเหนือกว่าประโยชน์ของส่วนตน เครือญาติและพวกพ้องไม่แสวงหาประโยชน์ จากตำแหน่งหน้าที่ราชการไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากการ ปฏิบัติหน้าที่กรณีเกิดการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนและ



คำอธิบายความหมายของ “STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต”
 ๑) S (sufficient) : ความพอเพียง
 ๒) T (transparent) : ความโปร่งใส ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชนต้องปฏิบัติ งานบนฐานของความโปร่งใสตรวจสอบได้ดังนั้น จึงต้องมีและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติระเบียบ ข้อปฏิบัติ กฎหมาย ด้านความโปร่งใส ซึ่งต้องให้ความรู้ความเข้าใจ(knowledge) และปลุกให้ตื่นรู้(realise)
๓) R (realise) : ความตื่นรู้
 ๔) O (onward) : มุ่งไปข้างหน้า
 ๕) N (knowledge) : ความรู้
๖) G (generosity) : ความเอื้ออาทร
ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชัน
เงินเดือนข้าราชการที่ต่ำ
การขาดการศึกษาของประชาชน
ช่องว่างทางรายได้ระหว่างชนชั้นต่างๆ
การขาดความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดิน
ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง
การไร้ซึ่งประชาธิปไตย
การขาดเสรีภาพในการแสดงออก
ระบบราชการที่เทอะทะ
และ อำนาจแบบรวมศูนย์
การขจัดรากเหง้าการคอร์รัปชันแบบไทยๆ
หน่วยงานต่างๆ ให้โปร่งใสไร้การคอร์รัปชัน
เช่น ศาลปกครอง
 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
 ผู้ตรวจการแผ่นดิน
 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
 และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังได้เพิ่มบทบาทแก่ NGOs และภาคประชาสังคมให้สามารถเข้ามาร่วมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
จิตพอเพียง ต้าน ทุจริต
ถ้าไม่ทุจริตในประเทศไทย
   สร้าง ม ราชภัฎ ได้ ๑๒๐๐ แห่ง
   สร้าง รพ.ใหญ่       ๑๗๗ แห่ง
   สถานีตำรวจ           ๑๗๐๐๐ แห่ง
   รัฐสภา         ๓๐ แห่ง
   รถไฟฟ้ารางคู่      ๑๒ สาย
   รถไฟฟ้า บี ที เอส    ๒๐ สถานี
   มัธยมขนาดใหญ่       ๕๑๐๐ แห่ง
   โรงเรียนประถม   ๕๐๐๐๐ แห่ง