จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ เมษายน 18, 2012, 11:39:33 am



หัวข้อ: โองการแช่งน้ำ มีไว้เพื่อสาบานตน ไม่ให้คนทรยศต่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ เมษายน 18, 2012, 11:39:33 am
ลิลิตโองการแช่งน้ำ หรือ

ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า

สำหรับ คนที่ คิดคดทรยศต่อบ้านเมือง สาปแช่งคนโกง กิน สาปแช่งคน ไม่จงรักภักดีกับสถาบัน

(http://upic.me/i/vo/imagescaey9kty.jpg) (http://upic.me/show/34761842)
พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หรือ พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

  
   จัดขึ้นเพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการดื่มน้ำสาบานว่าจะจงรักภักดีและซื่อตรงต่อพระมหากษัตริย์ เป็นการให้สัตย์สาบานสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้นมีหลักฐานวรรณกรรมเรื่อง ลิลิตโองการแช่งน้ำ ใช้เป็นประกาศคำถวายสัตย์ในพระราชพิธีถือน้ำ พระราชพิธีดังกล่าวนี้ยังประกอบในโอกาสต่างๆ เช่น พระราชพิธีถือน้ำเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชพิธีถือน้ำเมื่อออกสงคราม นอกเหนือไปจากที่กระทำเป็นประจำทุกปี ๆ ละสองครั้ง ในสมัยอยุธยาข้าราชการถือน้ำที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ต่อมาย้ายไปที่วิหารพระ มงคลบพิตร เมื่อถือน้ำแล้วใช้ดอกไม้ธูปเทียนไปถวายบังคมพระเชษฐบิดร เป็นเทวรูปฉลองพระองค์ของพระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แล้วจึงเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินพร้อมกัน หากผู้ใดไม่สามารถเข้ามาถือน้ำในกรุงศรีอยุธยาได้ จะประกอบพระราชพิธีถือน้ำที่วัดอารามใหญ่ ๆ ในท้องที่นั้น
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยอยุธยาจะประกอบพระราชพิธีนี้ในวาระต่าง ๆ ๔ วาระด้วยกันคือ (สุภาพรรณ ณ บางช้าง, ๒๕๓๙ : ๑๑๘ ? ๑๔๘)
- พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสวยสิริราชสมบัติ กล่าวคือ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จสวรรคต พระบรมโอรสาธิราชผู้สืบราชสมบัติ ปรงโปรดเกล้าฯให้มีพระบรมราชโองการให้พระบรมวงนุสานุวงศ์ ข้าราชกาล เจ้าหัวเมืองน้อยใหญ่มาเข้าเฝ้ายังพระราชวังเพื่อดื่มน้ำถวายสัตย์สาบานแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินองศ์ใหม่
- พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปี อันประกอบด้วยเดือนห้าและเดือนสิบ  ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการตรวจสอบบรรดาข้าราชกาลและเจ้าหัวเมืองต่าง  ๆ หากผู้ใดไม่เข้ามาร่วมพิธีก็จะถือว่าเป็นกบฏ  อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่ข้าราชการด้วย
 - พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสงคราม เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินและประเทศชาติที่กำลังจะเสียสละชีวิตในการออกสงคราม เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังให้แก่เหล่าทหาร เพราะน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ด้วย
 - พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในทางการเมือง ถือเป็นพิธีช่วยประสานไมตรีและสร้างความมั่นคงทางการเมืองของบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ จะประกอบพระราชพิธีก็ต่อเมื่อเห็นว่า หัวเมืองนั้นแสดงความกระด้างกระเดื่องมีแนวโน้มจะแข็งเมือง
          ในสมัยรัตนโกสินทร์กำหนดปีหนึ่งนั้นให้ประกอบขึ้น ๒ ครั้ง คือ ใน วันขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๕ และ วันแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๑๐  การถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในกรุงรัตนโกสินทร์ มี ๕ อย่างคือ (สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์, ๒๕๓๖ : ๓๐๗)
           ๑. ถือน้ำเมื่อพระเจ้าแผ่นดินได้รับราชสมบัติ เป็นพิธีจร
           ๒. ถือน้ำสำหรับผู้ที่ได้รับราชกาลอยู่แล้ว ต้องถือน้ำปีละ ๒ ครั้ง เป็นพิธีประจำ ท้ายพระราชพิธีพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ เข้าสู่เดือน ๕ ครั้งหนึ่ง และพิธีสารท เดือน ๑๐ ครั้งหนึ่ง
          ๓. ถือน้ำสำหรับผู้ซึ่งมาจากเมืองปัจจามิตรเข้ามาสู่บรมโพธิสมภาร เป็นพิธีจร
          ๔. ถือน้ำสำหรับทหารซึ่งถืออาวุธอยู่เสมอ ต้องถือน้ำทุกเดือน เป็นพิธีประจำ ประกอบขึ้นในวันขึ้น ๓ ค่ำของทุกเดือน
          ๕. ถือน้ำสำหรับผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชการ ต้องถือน้ำทุกเดือน เป็นพิธีจร
     การพิธีถือน้ำประกอบขึ้นที่วักพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งพระพุทธรูปชัยวัฒน์เงิน รัชกาลที่ ๑  พระชัย รัชกาลที่ ๕ พระชัยเนาวโลหะน้อยสำหรับนำเสด็จพระราชดำเนิน พระปริยัติธรรมสามพระคัมภีร์ และเทวรูปพระอิศวร พระอุมา พระนารายณ์ พระพรหม พระแสงศรสาม พระแสงพอกเพชรรัตน์ พระแสงต่าง ๆ สำหรับจุ่มลงในหีบมุขบรรจุน้ำตั้งอยู่หน้าโต๊ะหมู่พระพุทธรูป มีพระชันหยก เทียนสำหรับพระราชพิธี พระถ้วยแก้วโมราจานรองกรอบทองคำประดับเพชร เครื่องต้นสำรับหนึ่ง ริมฐานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีม้าเท้าคู้ทองเหลือง ตั้งหมอน้ำเงินสิบสองหม้อ ขันสาครตั้งข้างล่างสองขัน โยงสายสิญจน์ถึงกันตลอด พระสงฆ์ ๓๘ รูปเจริญพระพุทธมนต์
       พระมหาราชครูอ่านโองการแช่งน้ำ เมื่ออ่านโองการจบ เจ้ากรมพราหมณ์พฤฒิบาศเชิญพระแสงดาบออกจากฝัก ชุบน้ำในหม้อเงินและขันสาครทุกใบไปพร้อม กับที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ดนตรีประโคม  เมื่อชุบพระแสงศาสตราเสร็จ พระมหาราชครูแห่น้ำที่ชุบพระแสงลงในเครื่องโมราเครื่องต้น เจือกับน้ำพระราชพิธีพราหมณ์ จากนั้นเจ้ากรมพฤฒิบาศรับพระขันหยกไปเท เจือปนในหม้อเงินและขันสาคร
        พระมหาราชครูพิธีนำน้ำมาถวายพระเจ้าแผ่นดินเสวย ซึ่งแต่เดิม ผู้ที่ถือน้ำนั้นจะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าหัวเมืองประเทศราชทั้งหลาย ข้าราชการเท่านั้น มาครั้งรัชกาลที่ ๔ ทรงเริ่มที่จะถือน้ำด้วย เป็นการแสดงถึงความซื่อสัตย์ต่อการบริหารประเทศและอาณาประชาราชทั้งหลาย  เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสวยเสร็จ จึงเป็นลำดับของพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าหัวเมือง และบรรดาข้าราชกาลตามลำดับศักดินาที่มีตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป ส่วนบรรดาพวกที่อยู่ไกลจากเมืองหลวงจะประกอบพระราชพิธีถือน้ำในวันเดียวกันนี้ที่อารามหลวง อนึ่งถ้าผู้ใดขาดการถือน้ำจะมีโทษถึงตายยกเว้นแต่ไข้ป่วย (สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์, ๒๕๓๖ : ๓๐๙)

คำประกาศถวายสัตย์สาบานในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในรัชการที่ ๕  มีดังนี้
(http://upic.me/i/eq/imagescad4pj0v.jpg) (http://upic.me/show/34761877)
               ?ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกระทำสัตยาธิฐานสบถสาบานถวายแต่พระเจ้าอยู่หัวจำเพาะพระพักตร์ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ด้วยข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำราชกาลฉลองพระเดชพระคุณโดยสัจสุจริต ซื่อตรง แต่ความสัจจริง มิได้กบฏประทุษร้าย มิได้เอาน้ำใจไปแผ่เผื่อไว้แก่ไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน เพื่อจะให้กระทำประทุษร้ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ถ้ามีการศึกยกมากระทำแก่พระนครก็ดี พระพุทธเจ้าอยู่หัวจะใช้ข้าพระพุทธเจ้าไปกระทำสงครามแห่งใด ตำบลใดก็ดี ถ้าข้าพระพุทธเจ้าเกรงกลัวข้าศึกมากกว่าเจ้า ไม่ทำการเอาชัยชนะข้าศึกได้ ขอให้เทพยเจ้าอันรักษาโลกในมงคลจักรวาฬ หมื่นโกฎิจักรวาฬแสนโกฏิจักรวาฬ มาเข้าดลพระทัยพระเจ้าอยู่หัว ให้ตัดหัวผ่าอกข้าพระพุทธเจ้า แต่ในปัจจุบันขณะเดียวนี้เถิด อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าเห็นแก่จักษุได้ฟังแก่โสต รู้ว่าผู้อื่นคิดกบฏประทุษร้ายด้วยความทุจริตผิดด้วยพระราชบัญญัติ แล้วนำเอาเนื้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ ถ้าข้าพระพุทธเจ้ามิได้ ตั้งอยู่ในความสัจสาบานดุจกล่าวมานี้ ขอจงภูมิเทวดา อารักษเทวดา อากาศเทวดา รุกขเทวดา ท้าวจตุโลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศโลกบาลอันมีฤทธิ์สิทธิศักดิ์ลงสังหารผลาญชีวิต ฯ ข้า ฯ ให้ฉินทภินทะพินาศ ด้วยอุปะปีฬก, อุปเฉทคกรรมุปะฆาฏด้วยอัสนีบาตรสายฟ้าฟาด ราชสัตถาวุธดาบ องครักษ์จักรนารายณ์ กระบือเสี่ยว ช้างแทง เสือสัตว์อันร้ายในน้ำในบก จงพิฆาฏอย่าให้ปราศจากปัญจวีสติมหาภัย 25 ประการ และทวดึงส์ กรรมกรณ์ 32 ประการ ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัจจาธิษฐานนี้แล้ว จงบันดาลให้เกิดฝีพิษ ฝีกาลอติสารชราพาธ ฉันนะวุติโรคร้าย 96 ประการ ให้อกาลมรณภาพตายด้วยความทุกข์เวทนาลำบากให้ประจักษ์แก่ตาโลกใน 3 วัน 7 วัน แล้วจงไปบังเกิดในมหานรกหมกไหม้อยู่สิ้นแสนกัลป์อนันตชาติ ครั้งสิ้นกรรมจากที่นั้นแล้ว แล้วจงไปบังเกิดในภพใด ๆ อย่าให้ข้าพระพุทธเจ้าพบพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ซึ่งจะมาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เลย ถ้าข้าพระพุทธเจ้าตั้งในกตัญญูกตเวที ความสัจสุจริตโดยบรรยายกล่าวมาแต่หนหลัง ขอจงภูมิเทวดา อารักษเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดา ท้าวจัตุโลกบาล ท้าวอัฐโลกบาล ท้าวทัศโลกบาล เทวดาผู้มีฤทธิ์สิทธิศักดิ์ จงช่วยอภิบาลข้าพระพุทธเจ้าให้เจริยศรีสวัสดิ์โดยบรรยายอันกล่าวมานั้นจงทุกประการ ข้าพระพุทธเจ้ารับพระราชทานน้ำพิพัฒสัจจาธิษฐานแล้ว จงให้ข้าพระพุทธเจ้าบังเกิดสุขสวัสดิภาพพ้นจากฉันนะวุฒิโรค ๙๖ ประการ เจริญอายุวรรณะสุขพละ ให้ถึงแก่อายุบริเฉทกำหนดด้วยสุขเวทนา ดุจนอนหลับแล้ว และตื่นขึ้นในดุสิตพิมาน เสวยทิพยสุไขสวรรย์สิ้นแสนกัลป์อนันตชาติครั้นข้าพระพุทธเจ้าจากสวรรค์เทวโลกแล้ว ลงมาในมนุษย์โลกจงได้พบพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า แล้วเสร็จแก่พุทธภูมิ อรหัตภูมิ พ้นจากสารทุกข์ด้วยความสัจสุจริตกตัญญูนั้นเถิด? (ดูใน เบญจมาศ พลอินทร์, ๒๔๒๓ : ๒๓)


อ้างอิง http://www.gotoknow.org/blog/vatin-history/344375
         http://www.ohmpps.go.th/searchsheetlist_en.php?get

๏ โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี ภีรุอวตาร อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนาย ฯ (แทงพระแสงศรปลัยวาต)  
                

 
ร่าย  
๏ โอมปรเมศวรา ผายผาหลวงอะคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้า ฆ่าพิฆนจัญไร ฯ (แทงพระแสงศรอัคนิวาต)  
                

 
ร่าย  
๏ โอมชัยชัยไขโสฬสพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ไทยมิตรดา มหากฤตราไตร อมไตยโลเกศ จงตรีศักดิท่าน พิญาณ ปรมาธิเบศ ไทธเรศสุรสิทธิพ่อ เสวยพรหมาณฑ์ใช่น้อย ประถมบุญภารดิเรก บูรภพบรู้กี่ร้อย ก่อมา ฯ (แทงพระแสงศรพรหมาศ)  
                

 
๏ นานาอเนกน้าวเดิมกัลป์  จักร่ำจักราพาฬเมื่อไหม้  
กล่าวถึงตระวันเจ็ดอันพลุ่ง  น้ำแล้งไข้ขอดหาย ฯ  
๏ เจ็ดปลามันพุ่งหล้าเป็นไฟ  วาบจัตุราบายแผ่นขว้ำ  
ชักไตรตรึงษ์เป็นเผ้า  แลบ่ล้ำสีลอง ฯ  
๏ สามรรถญาณครเพราะเกล้าครองพรหม  ฝูงเทพนองบนปานเบียดแป้ง  
สรลมเต็มพระสุธาวาสแห่งหั้น  ฟ้าแจ้งจอดนิโรโธ ฯ  
๏ กล่าวถึงน้ำฟ้าฟาดฟองหาว  ดับเดโชฉ่ำหล้า  
ปลาดินดาวเดือนแอ่น  ลมกล้าป่วนไปมา ฯ  
๏ แลเป็นแผ่นเมืองอินทร์  เมืองธาดาแรกตั้ง  
ขุนแผนแรกเอาดินดูที่  ทุกยั้งฟ้าก่อคืน ฯ  
๏ แลเป็นสี่ปวงดิน  เป็นเขายืนทรง้ำหล้า  
เป็นเรือนอินทร์ถาเถือก  เป็นสร้อยฟ้าคลี่จึ่งบาน ฯ  
๏ จึ่งเจ้าตั้งผาเผือกผาเยอ  ผาหอมหวานจึ่งขึ้น  
หอมอายดินเลอก่อน  สรดึ้นหมู่แมนมา ฯ  
๏ ตนเขาเรืองร่อนหล้าเลอหาว  หาวันคืนไป่ได้  
จ้าวชิมดินแสงหล่น  เพียงดับไต้มืดมูล ฯ  
๏ ว่นว่นตาขอเรือง  เป็นพระสูรย์ส่องหล้า  
เป็นเดือนดาวเมืองฉ่ำ  เห็นฟ้าเห็นแผ่นดิน ฯ  
๏ แลมีค่ำมีวัน  กินสาลีเปลือกปล้อน  
บมีผู้ต้อนแต่งบรรณา  เลือกผู้ยิ่งยศเปนราชาอะคร้าว  
เรียกนามสมมติราชเจ้า  จึ่งตั้งท้าวเจ้าแผ่นดิน ฯ  
๏ สมมติแกล้วตั้งอาทิตย์เดิมกัลป์  สายท่านทรงธรณินทร์เรื่อยหล้า  
วันเสาร์วันอังคารวันไอยอาทิ์  กลอยแรกตั้งฟ้ากล่าวแช่งผี ฯ  
๏ เชืยกบาศด้วยชันรอง  ชื่อพระกำปู่เจ้า  
ท่านรังผยองมาแขก  แรกตั้งขวัญเข้าธูปเทียน ฯ  
๏ เหล็กกล้าหญ้าแพรกบั้นใบตูม  เชียรเชียรใบบาตรน้ำ  
โอมโอมภูมิเทเวศ  สืบค้ำฟ้าเที่ยงเฮยย่ำเฮย ฯ  
๏ ผู้ใดเภทจงคด  พาจกจากซึ่งหน้า  
ถือขันสรดใบพลูตานเสียด  หว้ายชั้นฟ้าคู่แมน ฯ  
๏ มารเฟียดไททศพล ช่วยดู  ไตรแดนจักอยู่ค้อย  
ธรรมมารคปรตเยกช่วยดู  ห้าร้อยเฑียรแมนเดียว ฯ  
๏ อเนกถ่องพระสงฆ์ช่วยดู  เขียวจรรยายิ่งได้  
ขุนหงส์ทองเกล้าสี่ช่วยดู  ชรอ่ำฟ้าใต้แผ่นหงาย ฯ  
๏ ฟ้าฟัดพรีใจยังช่วยดู  ใจตายตนบใกล้  
สี่ปวงผีหาวแห่งช่วยดู  พื้นใต้ชื่อกามภูมิ ฯ  
๏ ฟ้าชรแร่งหกคลองช่วยดู  ครูมคลองแผ่นช้างเผือก  
ผีกลางหาวหารแอ่นช่วยดู  เสี่ยงเงือกงูวางขึ้นลง ฯ  
๏ ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู  เอาธงเป็นหมอกหว้าย  
เจ้าผาดำสามเส้าช่วยดู  แสนผีพึงยอมท้าว  
๏ เจ้าผาดำผาเผือกช่วยดู  หันเหย้าวปู่สมิงพราย ฯ  
เจ้าผาหลวงผากลายช่วยดู ฯ  
๏ ดีร้ายบอกคนจำ  ผีพรายผีชรหมื่นดำช่วยดู  
กำรูคลื่นเป็นเปลว  บซื่อน้ำตัดคอ ฯ  
๏ ตัดคอเร็วให้ขาด  บซื่อมล้างออเอาใส่เล้า  
บซื่อน้ำหยาดท้องเป็นรุ้ง  บซื่อแร้งกาเต้าแตกตา ฯ  
๏ เจาะเพาะพุงใบแบ่ง  บซื่อหมาหมีเสือเข่นเขี้ยว  
เขี้ยวชาชแวงยายี  ยมราชเกี้ยวตาตาวช่วยดู ฯ  
๏ ชื่อทุณพีตัวโตรด  ลมฝนฉาวทั่วฟ้าช่วยดู  
ฟ้าจรโลดลิวขวาน  ขุนกล้าแกล้วขี่ยูงช่วยดู ฯ  
๏ เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม  สิบหน้าเจ้าอสูรช่วยดู  
พระรามพระลักษณชวักอร  แผนทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดู ฯ  
                

 
ร่าย  
๏ ปล้ำเงี้ยวรอนราญรงค์ ผีดงผีหมื่นถ้ำ ล้ำหมื่นผา มาหนน้ำหนบก ตกนอกขอกฟ้าแมน แดนฟ้าตั้งฟ้าต่อ ล่อหลวงเต้า ทั้งเหง้าภูติพนัสบดี ศรีพรหมรักษ์ยักษ์กุมาร หลายบ้านหลายเท่า ล้วนผีห่าผีเหว เร็วยิ่งลมบ้า หน้าเท่าแผง แรงไกยเอาขวัญ ครั้นมาถึงถับเสียงเยียชระแรงชระแรง แฝงข่าวยินเยียรชระรางชระราง รางชางจุบปาก เยียจะเจียวจะเจียว เขี้ยวสรคาน อานมลิ้น เยียละลายละลาย ตราบมีในฟ้าในดิน บินมาเยียพพลุ่ง จุ่งมาสูบเอา เขาผู้บซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถเกียจกาย วายกระทู้ฟาดฟัด ควานแควนมัดศอก หอกดิ้นเด้าเท้าถก หลกเท้าให้ไปมิทันตาย หงายระงมระงม ยมบาลลากไป ไฟนรกปลาบปลิ้นดิ้นพลาง เขาวางเหนืออพิจี ผู้บดีบซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถแก่เจ้า ผู้ผ่านเกล้าอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหา จักรพรรดิศรราชาธิราช ท่านมีอำนาจมีบุญ คุณอเนกา อันอาศัยร่ม แลอาจข่มชัก หักกิ่งฆ่า อาจถอนด้วยฤทธานุภาพ บาปเบียนตน พันธุ์พวกพ้อง ญาติกามาไส้ร ไขว้ใจจอด ทอดใจรัก ชักเกลอสหาย ตนทั้งหลายมาเพื่อจะทำขบถ ทดโทรห แก่เจ้าตนไส้ร จงเทพยุดาฝูงนี้ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี อย่าให้มีสุขสวัสดีเมื่อใด อย่ากินเข้าเพื่อไฟจนตาย ฯ  
                

 
๏ จงไปเป็นเปลวปล่อง  อย่าอาไศรยแก่น้ำจนตาย  
น้ำคลองกลอกเป็นพิษ  นอนเรือนคำรนคาจนตาย ฯ  
๏ คาบิดเปนตาวงุ้ม  ลืมตาหงายสู่ฟ้าจนตาย  
ฟ้ากระทุ่มทับลง  ก้มหน้าลงแผ่นดินจนตาย  
แล่งแผ่นดินปลงเอาชีพไป  สีลองกินไฟต่างง้วน ฯ  
                

 
ร่าย  
๏ จรเข้ริบเสือฟัด หมีแรดถวัดแสนงขนาย หอกปืนปลายปักครอบใครต้องจอบจงตาย งูเงี้ยวพิษทั้งหลายลุ่มฟ้า ตายต่ำหน้ายังดิน นรินทรหยาบหลายหล้า ใครกวินซื่อแท้ผ่านฟ้า ป่าวอวยพร ฯ  
                

 
๏ อำนาจแปล้เมือแมนอำมรสิทธิ  มีศรีบุญพ่อก่อเศกเหง้า  
ยศท้าวตริไตรจักร  ใครซื่อเจ้าเติมนาง ฯ  
๏ มิ่งเมืองบุญศักดิ์แพร่  ใครซื่อรางควายทอง  
เพิ่มช้างม้าแผ่วัวควาย  ใครซื่อฟ้าส่องย้าวเร่งยิน ฯ  
๏ เพรงรัตนพรายพรรณยื่น  ใครซื่อสินเภตรา  
เพิ่มเข้าหมื่นมหาไชย  ใครซื่อใครรักเจ้าจงยศ ฯ  
๏ กลืนชนมาให้ยืนยิ่ง  เทพายศล่มฟ้า  
อย่ารู้ว่าอันตราย  ใจกล้าได้ดังเพชร ฯ  
                

 
ร่าย  
๏ ขจายขจรอเนกบุญ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศรราชเรื่อยหล้า สุขผ่านฟ้าเบิกสมบูรณ์พ่อสมบูรณ์ ฯ  
                

เชิงอรรถ
อ้างอิง
รับข้อมูลจาก "http://www.reurnthai.com/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3"
หมวดหมู่: วรรณคดีไทย | วรรณคดีอยุธยา | ลิลิต