จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ มิถุนายน 22, 2015, 09:57:28 pm



หัวข้อ: ตำนานพระอินทร์เป่าสังข์
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ มิถุนายน 22, 2015, 09:57:28 pm
ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ" ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์ เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบ[5] โดยอิงตามคติในวรรณคดีโบราณว่า พระอินทร์มีหน้าที่เป่าสังข์ชื่อ "ปาญจนันท์" ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก และโดยความเชื่อในศาสนาฮินดู สังข์ถือเป็นมงคลสามประการคือ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวท และตัวสังข์มีรอยนิ้วพระหัตถ์ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนาพราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย สอดคล้องกับหลักการประชาสัมพันธ์ ที่เป็นการเผยแพร่ชี้แจงประชาชนให้เข้าใจอย่างกว้างขวาง และสร้างความเข้าใจอันดี จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์เพื่อเรียกประชุมของเทวดา ตราสัญลักษณ์นี้ใช้สีม่วงเป็นสีหลักของตรา ซึ่งเป็นสีของงานประชาสัมพันธ์ และใช้มาจนกระทั่งเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน
พระอินทร์ คือ ราชาแห่งเทพ เป็นประมุขแห่งเทวดาทั้งปวง พระอินทร์ ทรงเป็นหัวหน้าแห่งเหล่าเทวดา เป็นเทพผู้บังคับกำกับฤดูกาล เป็นเจ้าแห่งอากาศ ฟ้าฝน โดยพระองค์มีจตุรมหาเสนาคือ เทพอัคคี (ไฟ) เทพวายุ (ลม) เทพวรุณ (ฝน) เทพยม (ความตาย) โดยจะรวมกันเป็นเทพสภา โดยร่วมกันดูแลความทุกข์แห่งสวรรค์ บางทีพระอินทร์ทรงเป็นแม่ทัพในการทำสงครามระหว่างเทวดากับอสูร พระอินทร์ทรงเป็นราชาคู่กับอินทรานีราชินีแห่งสวรรค์ โดยทั้งคู่กำเนิดจากพระพรหม พระอินทร์มีเทวลักษณะเป็นเทพบุตรรูปงาม น่าเกรงขาม ทรงมีพระวรกายสีทอง บางตำนานกล่าวว่ามีวรกายสีแดงดั่งดวงอาทิตย์ สวมใส่อาภรณ์ฝ้าฝ้ายสีขาวบริสุทธิ์ พระวรกายประดับประดาด้วยดอกไม้ สวมมงกุฎทรงกระบองซึ่งบ่งบอกว่าเป็นเทพเจ้าสูงสุด ทรงวัชระ(สายฟ้า)เป็นอาวุธ ทรงช้างเอราวัณ เป็นเทพพาหนะ
พระอินทร์ หรือที่รู้จักกันอีกหลายๆชื่อ เช่น ท้าวสหัสนัยน์ ท้าวโกสีย์ ท้าวสักกะ เทวราช อมรินทร์ ศักรินทร์ มัฆวาน หรือเพรชรปาณี เป็นต้น พระอินทร์มีลักษณะคล้ายพระนารายณ์ มีรูปกายที่สวยงาม และมีผิวสีเขียว แต่ในบางครั้งจะเปลี่ยนเป็นสีทองจนถึงขาวนวล ตามแต่โอกาส พระหัตถ์ของพระอินทร์จะถือวัชระเพื่อใช้ปราบ พฤตาสูร หรือ ผีร้ายแห่งความแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังมีศาสตราวุธอื่นๆอีก เช่น ศรศักรธนู พระขรรค์ ปรัญชะ ขอ และร่างแห
พาหนะของพระอินทร์ คือ รถเทียมม้าสีแดง และม้าแก้วทรงสีขาว ชื่อว่า อุจไฉศรพ  ซึ่งเกิดจากเกษียรสมุทร อีกทั้งยังมีช้างทรง 3 เศียร (แต่เดิมมีถึง 33 เศียร) นามว่า คชาเอราวัณ หรือซึ่งปกติจะเป็นเทพบุตรผู้หล่อเหลา และชอบดื่มเหล้า และจะแปลงกายเป็นช้างเอราวัณเมื่อพระอินทร์จะไปไหน
พระอินทร์ มีมเหสีหลายคน ไม่ว่าจะเป็น นางสุธรรมา สุชาดา สุนันทา สุจิตรา และยังมีนางฟ้าเป็นชายาอีกเก้าสิบสองนาง รวมถึงมีนางบำเรออีกยี่สิบสี่ล้านนาง โดยในสมัยพระพุทธเจ้าพระอินทร์ได้ทรงดีดพิณสามสายถวายพระสติพระโพธิสัตว์ในการทำทุกขกิริยา

ตั้งแต่ในสมัยโบราณ ศาสนาพราหมณ์ หรือ ศาสนาฮินดู จะนับถือให้พระอินทร์เป็นใหญ่สูงสุด โดยศาสนาพราหมณ์ฮินดูถือว่าพระอินทร์ถือเป็นเทพเจ้าองค์แรกสุดของจวบจนถึงปัจจุบัน การบูชาพระอินทร์ก็ยังคงมีอยู่ในหมู่ผู้ศรัทธาทั่วไป เพียงแต่ในศาสนาฮินดูอาจถูกลดบทบาทลง และยกย่องพระพรหม พระวิษณุ (พระนารายณ์) และ พระศิวะ (พระอิศวร) ขึ้นมาเป็นใหญ่แทน
เมื่อครั้งสมัยโบราณ พระอินทร์ถือเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอานุภาพสูงที่สุดในเหล่าบรรดาเทพ พระองค์สามารถดลบันดาลให้เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล บันดาลให้พืชพรรณงดงาม และบันดาลให้เกิดภัยทางธรรมชาติที่เป็นภัยอันร้ายแรงได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นพายุ ฝนตก น้ำท่วม ฟ้าร้อง หรือฟ้าผ่า เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะพระอินทร์มีวัชระหรือสายฟ้าเป็นศาสตราวุธคู่กาย ซึ่งอาวุธนี้สามารถสร้างสายฝน ฟ้าผ่า หรือฟ้าร้องตามที่ต้องการได้ วัชระเป็นศาสตราวุธที่มีอำนาจทรงพลังเป็นอย่างมาก สามารถผ่ามหาสมุทร ผ่าภูเขาได้ หรือผ่าท้องฟ้าได้ดั่งใจนึก
เมื่อกล่าวถึงพระวรกายของพระอินทร์ ก็มีตำรากล่าวว่าพระอินทร์มีกายสีเหลืองทองสดใส ส่วนอีกตำรากล่าวว่าพระอินทร์มีผิวสีแดงเข้ม สวมอาภรณ์สะอาดสะอ้าน สวยสดงดงาม  มีเครื่องประดับเป็นเพชรนิลจินดามากมาย เช่น สร้อยคอ กำไลข้อมือ แหวน มงกุฎอันตระการตา เป็นต้น และมีสร้อยเป็นงู  เชื่อกันว่าศิลปินผู้ใดที่วาดรูปพระอินทร์ได้งดงามจะถือกันว่าเป็นมหากุศลอย่างยิ่งของบุคคลคนนั้น
พระอินทร์มีความสามารถในการแปลงกายได้สารพัด อีกทั้งยังล่องหนไปไหนมาไหนก็ได้ พระอินทร์สามารถเนรมิตให้ร่างกายเล็กเท่ามด หรือเนรมิตให้ร่างกายยิ่งใหญ่มโหฬารดั่งภูเขาก็ได้ตามที่ใจปรารถนา
พระอินทร์จึงถือเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่เหนือชีวิตของสรรพสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย พระอินทร์จึงเป็นเทพที่จิตใจประเสริฐ พระองค์มีหน้าที่คอยคุ้มครองผู้ที่กระทำความดีอยู่เสมอ ปกป้องดูแลโลกให้พ้นจากสิ่งอันตรายเลวร้ายต่างๆ  และยังเป็นผู้นำเหล่าเทพเจ้าให้ไปกำจัดอสูรร้ายที่ตั้งใจเข้ามาสร้างความเดือดร้อนให้แก่โลกมนุษย์
นอกเหนือจากศาสนาพราหมณ์แล้ว ศาสนาพุทธก็นับถือให้พระอินทร์เป็นเทพผู้รักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่ยงถึง 5,000 ปี เช่นกัน ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากพระอินทร์เป็นถือเทวกษัตริย์ ซึ่งหมายความว่า เป็นราชาแห่งเหล่าทวยเทพ ผู้มีอำนาจในการทำลายมารที่คอยนำพาพระพุทธศาสนาไปในทางเสื่อมเสีย
เมื่อพระอินทร์ได้ทรงสร้างอาณาจักรอันยิ่งใหญ่บนสรวงสวรรค์แล้ว พระองค์ก็ทรงเนรมิตให้เกิดเป็นเหล่าเทวดาที่อยู่บนสรวงสวรรค์อย่างมีความสุข และปราศจากความทุกข์เศร้าใดๆ
อย่างไรก็ตาม พระอินทร์มีศัตรูคู่อาฆาตที่สำคัญที่สุดคือ งูยักษ์วริตรา ทั้งสองได้ทำสงครามกันหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็กินระยะเวลาอันแสนยาวนาน แต่ในทุกๆครั้ง พระอินทร์ก็จะเป็นฝ่ายได้รับชนะเสมอ ทำให้พระอินทร์กลายเป็นสัญลักษณ์แห่ง “ธรรมะ” ส่วนงูยักษ์เป็นสัญลักษณ์ของ “อธรรม” ซึ่งอยู่คู่กันอย่างไม่มีวันดับสูญได้เลย

ตำรากล่าวถึงท้าวสักกะเทวราช ซึ่งเป็นอีกพระนามหนึ่งของพระอินทร์ ไว้ว่า พระอินทร์เป็นผู้ที่เกิดมาจากผู้มีจิตใจเมตตาที่ได้ร่วมกันสร้างเส้นทางและศาลาเพื่อถวายเป็นทานจำนวน 33 คน  เมื่อผู้ใจเมตตาเหล่านั้นเสียชีวิตไปก็ไปเกิดเป็นเทวดา พระอินทร์จึงเกิดจากการที่เทวดาเหล่านี้ได้รวมร่างกัน ในขณะที่ ช้างทรง 33 เศียรของพระอินทร์ ก็ใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงผู้กระทำคุณความดีทั้ง 33 คนนั่นเอง
กล่าวกันว่าพระอาสน์ หรือพระที่นั่งของพระอินทร์จะมีคุณสมบัติพิเศษบางอย่าง กล่าวคือ เมื่อใดที่พระอาสน์ร้อนขึ้นมา แสดงว่า ขณะนั้นโลกมนุษย์กำลังเกิดเหตุร้าย หรือมีอสูรออกอาละวาด เมื่อนั้น พระอินทร์ก็จะเสร็จออกจากสรวงสวรรค์ และแปลงกายเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีร่างกายแข็งแรงกำยำ เพื่อลงมาปราบอสูรให้หมดสิ้นไป
เชื่อว่าผู้ใดที่ได้เคยประกอบความดีบนโลกมนุษย์ เมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ก็จะไปเกิดเป็นเทวดา และประทับอยู่บนสรวงสวรรค์อันเป็นวิมานของพระอินทร์
คำศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับพระอินทร์
พระอินทร์   [N] Indra, Example: พระอินทร์มีศาสตราวุธอาทิ ศรศักรธนู พระขรรค์ ปรัญชะ ขอและร่างแห, Count unit: องค์, Thai definition: ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช
ดาวดึงส์   [ดาววะ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี มีพระอินทร์เป็นผู้ครอง. (ป. ตาวต??ส; ส. ตฺรยสฺตฺร??ศตฺ).
ตรัยตรึงศ์   [ไตฺรตฺรึง] น. ดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้นที่พระอินทร์ครอง. (ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ; ป. เตตฺตึส ว่า สามสิบสาม).
ตรีทศ   น. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า สามสิบ).
ตรีเนตร   น. ชื่อหนึ่งของพระอิศวร แปลว่า ผู้มีนัยน์ตา ๓ ตา โบราณมักเรียกว่า พระอินสวน และเขียนเป็น พระอินศวร ต่อมาจึงใช้เพี้ยนไป หมายถึง พระอินทร์. (ส. ตฺริเนตฺร).
ตรีภพนาถ   น. ที่พึ่งแห่งภพ ๓, พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, ใช้ทั่วไปถึงผู้อื่นด้วย เช่น กษัตริย์ ก็มี.
ตรีโลกนาถ   [-โลกกะนาด] น. พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, พระศิวะ. (ส. ตฺริโลกนาถ).
โกสินทร์   [-สิน] น. พระอินทร์. (ตัดมาจาก ป. โกสิย + ส. อินฺทฺร).
โกสีย์   น. พระอินทร์ เช่น ล้าเลอศกรุงโกสีย์ หยาดหล้า. (ทวาทศมาส). (ป. โกสิย).
กรินทร์   น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุ ผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).
เทพบดี   [เทบบอดี] น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอินทร์. (ส.).
ธนธานี   [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
นันทวัน   [นันทะ] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. นนฺทวน).
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์   น. แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่สถิต ของพระอินทร์.
ปาริฉัตร, ปาริชาต   น. ต้นไม้สวรรค์ในสวนพระอินทร์, ต้นทองหลาง. (ป. ปาริจฺฉตฺต, ปาริชาต; ส. ปาริชาต).
ปารุสกวัน   [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
ผู้หญิงยิงเรือ   (สํา) น. ผู้หญิงทั่วไป เช่น ของพม่าเป็นเรื่องของ พระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ, ผู้หญิงริงเรือ ก็ว่า เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง. (อภัย).
ไพชยนต์   [ชะยน] น. ชื่อรถและวิมานของพระอินทร์; ปราสาททั่วไปของ หลวง; ธงของพระอินทร์. (ส. ไวชยนฺต, ไวชยนฺตี; ป. เวชยนฺต).
พันตา, พันเนตร   น. พระอินทร์.
เพชรปาณี   [เพ็ดชะ] น. พระอินทร์. (ส.).
เพชรายุธ   [เพ็ดชะรายุด] น. อาวุธเพชรของพระอินทร์, ชื่อหนึ่งของ พระอินทร์. (ส. วชฺร + อาวุธ).
มฆวัน, มัฆวา, มัฆวาน   [มะคะ-, มักคะ-] น. พระอินทร์. (ส. มฆวนฺ; ป. มฆวา).
มหินท์   น. พระอินทร์. (ป.).
มเหนทร์   น. พระอินทร์. (ส.).
มัฆวา, มัฆวาน   น. พระอินทร์. (ป. มฆวา, มฆวนฺตุ; ส. มฆวนฺ).
มิสกวัน   น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. มิสฺสกวน; ส. มิศฺรกวน); ป่าที่มีไม้ต่าง ๆ ระคนกัน.
เมรุ, เมรุ-   [เมน, เม-รุ-] น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่; ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอดว่า เมรุ. (ป.).
วชิร, วชิระ   [วะชิระ] น. สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์. (ป.; ส. วชฺร).
วชิรปาณี, วชิรหัตถ์   น. 'ผู้ถือวชิระ' คือ พระอินทร์. (ป.; ส. วชฺรปาณิ, วชฺรหสฺต).
วชิราวุธ   น. 'ผู้มีวชิระเป็นอาวุธ' คือ พระอินทร์. (ป.).
วสุ   น. ทรัพย์, สมบัติ; ชื่อเทวดาหมู่หนึ่งมี ๘ องค์ด้วยกัน เป็นบริวาร ของพระอินทร์. (ป., ส.).
วัชรปาณี   น. 'ผู้ถือวชิระ' คือ พระอินทร์, วชิรปาณี ก็ว่า, ชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งตามคติฝ่ายมหายาน พระหัตถ์ทรงสายฟ้า. (ส. วชฺรปาณิ).
วัชรินทร์   น. พระอินทร์. (ส. วชฺรินฺ, วชฺร + อินฺทฺร). วัชรี น. พระอินทร์. (ส.).
วัชเรนทร์   น. พระอินทร์. (ส. วชฺร + อินฺทฺร).
วาสพ   [วาสบ] น. พระอินทร์. (ส., ป. วาสว).
วิเชียร   น. วชิระ, สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์.
เวชยันต์   [เวดชะ] น. ชื่อวิมานหรือรถของพระอินทร์. (ป.; ส. ไวชยนฺต).
ศักยภาพ   [สักกะยะพาบ] (ปรัชญา) น. ภาวะแฝง, อํานาจหรือ คุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ อาจทําให้พัฒนาหรือให้ปรากฏ เป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ เช่น เขามีศักยภาพในการทำงานสูง น้ำตก ขนาดใหญ่มีศักยภาพในการให้พลังงานได้มาก.ศักย ๒[สักกะยะ] น. ศากยะ. (ส. ศากฺย; ป. สกฺย).ศักย์, ศักยะ[สัก, สักกะยะ] (ไฟฟ้า) น. พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์.ศักร[สักกฺระ] น. พระอินทร์. (ส.; ป. สกฺก).
ศักรภพน์   น. โลกพระอินทร์, สวรรค์ชั้นดาวดึงส์. (ส.).
สุชัมบดี   น. ชื่อพระอินทร์. (ป. สุชมฺปติ ว่า ผัวของนางสุชาดา).
สุรบดี   น. พระอินทร์. (ส. สุรปติ).
สุรินทร์   น. พระอินทร์. (ส.; ป. สุรินฺท).
สุเรนทร์   น. พระอินทร์. (ส.).
โสม ๒   น. นํ้าคั้นจากต้นของไม้เถาชนิดหนึ่ง กรองแล้วนำมาผสม กับเนยใส เพื่อใช้เซ่นสรวงพระอินทร์และเทพอื่น ๆ. (ส.).
สวรรคบดี   [สะหฺวันคะบอดี] น. เจ้าเมืองสวรรค์ คือ พระอินทร์. (ส. สฺวรฺคปติ). สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ (สํา) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำ ความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง.
พระคาถาบูชาองค์ท่านท้าวอัมรินทราธิราช (พระอินทร์)
แบบที่ ๑
 โอม ตราจาร อินทร มวิตาร มินทรัง หเว หเว สุหวัย สุรอินทรัม มัณยามิ ศักร ปรุหูต อินทรัม สวสิต โน มัฆวา ธาตวินทรัช โอม อินทรายะ นมัช
แบบที่ ๒
 โอม นะโม มหาอินทรจักรโข อรหังพุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะพะกะสะ สะปะอิปิ อิติอรหัง มหาไตรโลกัง พุทธัง มหาเทวัง ประสิทธิเต
แบบที่ ๓
 โอม  สักกะ  เทวะวันทานัง  สุขิตา  มหาลาโภ
ทุติยัมปิ  สักกะ  เทวะวันทานัง  สุขิตา  มหาลาโภ
ตะติยัมปิ  สักกะ  เทวะวันทานัง  สุขิตา  มหาลาโภ
แบบที่ ๔
โอม พระอินทราราชาธิราชะ อุปาทะวะตายะ เอยยะรา
 พาหานายะ ปุระพะทิสะ ฐิตายะ อาคัจฉันตุ กุญชะติ
 ขิปปายะ วิปปะยันตุ สวาปะ สะวาหายะ สัพพะอุปาทะ
 วนาสายะ สุขขะ วัทฒะโก โหตุ อายุวัทฒะนะ สุขะ พะลัง
 อัมหากังรักปะตุ สวาหะ สวาหายะ
บูชาพระอินทร์ เพื่อขอให้ชีวิตราบรื่น เรียบร้อย ปราศจากทุกข์ภัยกล้ำกราย
ตำนานหอยสังข์
ความเป็นมาของ หอยสังข์ ซึ่งถือกันว่า เป็นอุดมมงคลสูงยิ่ง จนทำให้ต้องนำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ก็มีที่มาจาก เรื่องเล่าเป็นปรัมปราต่อกันมาว่า
        มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า สังข์อสูร ยักษ์ตนนี้ได้มาพบพระพรหม ในขณะที่บรรทม หลับอยู่และมีพระเวทต่าง ๆ ไหลออกมาจากพระโอษฐ์ ก็ให้เกิดความอิจฉาขึ้น จึงได้ขโมยเอาพระเวทต่าง ๆ นั้นไปเสีย
 
       เพื่อที่พวกพราหมณ์จะได้ไม่มีพระเวท เป็นเครื่องสวดอ้อนวอน พระพรหม และเทพเจ้าองค์อื่น ๆได้อีก แต่ในขณะเดียว กันนั้น พระนารายณ์ผู้เป็นเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็น การกระทำของยักษ์สังข์อสูรนั้น ทุกประการ
       จึงติดตามไปเพื่อจะเอาพระเวทนั้นกลับคืนมา เมื่อยักษ์สังข์อสูรเห็นพระนารายณ์ ติดตามตนมาในระยะกระชั้นชิด เช่นนั้นก็เห็นว่าเป็นการจวนตัว จึงได้กลืนพระเวททั้งหมด ลงไปไว้ในท้องของตนแล้ว กระโดดลงไปในน้ำมหาสมุทร ดำน้ำหนีหายไปทันที
      เมื่อพระนารายณ์เห็นดังนั้น จึงได้เนรมิตร่างของพระองค์ให้เป็นปลาใหญ่ เที่ยวค้นหาตัวยักษ์สังข์อสูร เพื่อจะจับตัวไว้ให้ได้ก่อนที่ยักษ์สังข์อสูรนั้นจะทำลายพระเวทต่าง ๆ ให้หมดไปจากโลกในที่สุด พระนารายณ์ก็จับตัวยักษ์สังข์อสูรเอาไว้ได้ แล้วจึงทวงถามเอาพระเวทคืน แต่ยักษ์สังข์อสูรนั้นไม่ได้มีการเจรจา โต้ตอบแต่ประการใด ได้แต่นิ่ง เฉยอยู่เท่านั้น
      เมื่อพระนารายณ์ผู้เป็นเจ้าพิจารณาดูไปก็ได้ทราบว่ายักษ์สังข์อสูรได้ กลืนเอาพระเวทเข้าไว้ในท้องของตน จึงได้เอาพระหัตถ์บีบที่ปากของยักษ์สังข์อสูร จนเนื้อที่ปากนั้นปริ ออกมาตามระหว่างนิ้วของพระองค์แต่เมื่อทรงเห็นว่ายักษ์สังข์อสูรนั้น ยังไม่ยอมคืนพระเวทอีก
     จึงได้ทรงเอานิ้วพระหัตถ์ล้วง เข้าไปในท้องของสังข์อสูร แล้วทรงค้นหาพระ เวทซึ่งอยู่ในท้องของสังข์อสูร เมื่อทรงเอาพระเวทกลับคืน ออกมาจาก ท้องของยักษ์สังข์อสูรได้จนหมดเรียบร้อยทุกพระคัมภีร์แล้ว
      พระนารายณ์ผู้เป็นเจ้าจึงได้ทรงสาปยักษ์สังข์อสูรนั้นว่า ขอให้เจ้าจงมีสภาพร่างกายเป็นอย่างนี้และจงอยู่แต่ในน้ำสืบไป อย่าได้ขึ้นมาบนบกอีกต่อไปเลย เมื่อชาวมนุษย์ทำ งานมงคลใด ๆ จึงค่อยมาจับเอาตัวเอ็งไปร่วมในงานพิธีมงคลนั้นด้วย เมื่อทรงสาปแล้วได้ทรงทิ้งร่างของยักษ์สังข์อสูรนั้น ลงไปในมหาสมุทรทันที แล้วจึงได้เอาพระเวทนั้น มาส่งคืนให้แก่ พระพรหมผู้เป็นเจ้าของเดิม
      เมื่อยักษ์สังข์อสูรนั้นอยู่ในน้ำมหาสมุทรเนิ่นนานเข้าจึงได้กลับกลายมาเป็นหอยสังข์ และมีสภาพเหมือนกับคำสาปที่ พระนารายณ์ได้สาปไว้ทุกประการ ตามบริเวณร่างกาย ของหอยสังข์นั้นได้มีรอยนิ้วพระหัตถ์ ของพระนารายณ์ ผู้เป็นเจ้ายังปรากฏอยู่  
      ในขณะที่พระองค์ทรงบีบปากเพื่อค้นหาคัมภีร์พระเวทเมื่อครั้งแรก และที่ปากของหอยสังข์ จึงเป็นรอยยาวออกมานั้น ก็เพราะพระนารายณ์ท่านลากคัมภีร์พระเวทต่าง ๆ ออกมาทางปาก ครั้นเมื่อถึงเวลาจะ ทำพิธีมงคลต่าง ๆ จึงจะนำหอยสังข์นั้นมาเข้าร่วมอยู่ในงานพิธีมงคล อย่างพิธีแต่งงานเพราะ หอยสังข์เคยเป็นที่บรรจุ พระเวทต่าง ๆ ไว้ ในท้องของตนจนครบทุกประการนั่นเอง
      สังข์ หรือ หอยสังข์นั้น ประชาชนชาวไทย ต่างก็มีความนับถือกันว่า เป็นของที่เป็นอุดมมงคลอย่างสูงยิ่ง และในงานพิธีมงคลต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นในบ้านเรือน ของประชาชนชาว ไทยเรา เช่น งานมงคลสมรส เป็นต้น เราก็มักจะได้พบหอยสังข์

     ซึ่งใช้เป็นที่หลั่งน้ำแก่คู่บ่าวสาว เพื่อจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข หอยสังข์นั้นนอกจากจะใช้เป็นเครื่องหลั่งน้ำเพื่อให้มีความสุขความเจริญแล้ว ยังใช้เป่าเพื่อให้ได้ยินเสียง ให้เกิด ความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
“””””””””””””””””””””””



(http://upic.me/i/x7/0dmjt.gif) (http://upic.me/show/55948202)
(http://upic.me/i/07/fpuaw.jpg) (http://upic.me/show/55948211)