จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤษภาคม 06, 2024, 04:04:27 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
 51 
 เมื่อ: มีนาคม 20, 2023, 04:47:51 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
นายอดุลย์ โพธิ์อ่วม
ศิษย์เก่าดีเดน รร.ปราสาทอนุสรณ์ ขึ้นเวที 29 ธค 65

ประวัติการศึกษา
- ป.1.-ป.4 ที่ วัดปราสาท
-ป.5. - ป.7 ที่ รร.วิสุทธิศึกษา
-มศ 1. มศ.3 ที่ รร.โชติรวี นว
-มศ. 4- มศ.5 ที่ รร.กำแพงเพชรพิทยาคม
ระดับ ป.ตรี ที่ม.ราชภัฏ กพ คณะวิทยาการการจัดการ.

ประวัติการทำงาน
-ธ.กรุงไทย จก  25 ปี 6 เดือน
-นายก อบต.คณฑี 3 สมัย
-ประธานสหกรณ์คณฑีพัฒนา จก. 3 สมัย
-คณะกรรมการ CEO จวกพ
-คณะกรรมการท่องเที่ยวจว.กพ
-เหรัญญิกสมาคมกีฬา จว.กพ 3 สมัย
- ที่ปรึกษาที่ดินจว.กพ 2 สมัย
-คณะกรรมการพัฒนาลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่
-อนุกรรมการพัฒนา ม.ราชภัฏ กพ.
-ที่ปรึกษาคณะวิทยาการ
 การจัดการ ม.ราชภัฏ กพ.
-เป็นวิทยาอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ใน รร.ตำรวจตะเวนชายแดน
-เป็นวิทยากรโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร
-อนุกรรมการพิจารณาเงินกู้สหกรณ์ จว.กพ
-คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการจัดหาปัจจัยการผลิต
-ประธานชมรมชากังราวออฟโรด

รางวัลที่ได้รับ
-ผู้นำท้องถิ่นดีเด่น
-รางวัล เพชรของแผ่นดิน
-๑ รางวัลล้านความดี เทิดไท้องค์ราชันย์
-ตามรอยพระราชปณิธาน สร้างสรรค์งานเพื่อแผ่นดิน
-ศิษย์เก่า ม.ราชภัฏดีเดิน
-บุคคลดีเด่นแห่งปี สาขาการปกครองท้องถิ่น

 52 
 เมื่อ: มีนาคม 18, 2023, 04:53:44 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
วีรบุรุษ แห่ง เมืองคณฑี  คุณอดุลย์ โพธิ์อ่วม

 53 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2023, 12:44:00 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
รำโคมประทีป
งามเอยงามประทีป ระยิบยับ
ส่องสว่างแสงประดับ เจดีย์ใหญ่
พระบรมธาตุ ศูนย์รวมแห่งจิตใจ
งามวิไลนางรำ นำศรัทธา

หลักฐานเก่าที่สุดคือหลักฐาน จาก ตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สมัยสุโขทัย กล่าวถึงประทีปโคมไฟ ในการนำทางเสด็จ ของพระร่วงเจ้า ที่บรรดาสาวงาม ถือ  ประทึปโคมไฟ เพื่อส่องสว่างทางแห่งธรรม นำมรรคา บูชาพระ
บรมธาตุ
สันนิษฐานว่า ในระหว่างขบวนเสด็จหยุด เมื่อถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ อาทิ พระมหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ นางผู้ถือประทีปโคมไฟ จะร่ายรำ
ถวาย พระบรมสารีริกธาตุ แสงไฟจากโคมประทีป จะส่องสว่างงดงามตามท่วงท่ารำ    การรำโคมประทีป นิยมรำในเวลากลางคืน ..ช่วงย่ำสนธยา เป็นต้นไปงดงามราวกับการเคลื่อนคล้อยของดวงดาวประดับนภา เป็นที่เพลินตาและเพลินใจต่อพระร่วงเจ้าและชาวประชาที่ถวายสักการะ พระบรมสารีรืกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ตราบนิรันดร์สมัยกระทั่ง ในกาลปัจจุบัน
รำลึกองค์ พุทธะ ผู้ยิ่งใหญ่
กว่าโพธิ์ไทร ศรัทธา มหาศาล
รำประทีป โคมไฟ อยู่เหนือกาล
ขอสว่างทุกวันวาร ในใจเทอญ

 54 
 เมื่อ: กันยายน 04, 2022, 10:05:33 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
เพลง พิษฐาน
บันทึกเพลงพื้นบ้านที่จะกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ คือ บันทึกเรื่อง รำพิษฐาน หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า การเก็บดอกไม้เข้าโบสถ์                                                                                                         
   ลุงเหรียญเล่าว่าในช่วงของวันตรุษสงกรานต์ของทุกปี ชาวบ้านของตำบลวังแขม จะพากันไปทำบุญตักบาตรกันที่วัดวังแขม หรือวัดจันทารามในปัจจุบันครั้นพอทำบุญเสร็จแล้ว บรรดาหนุ่มๆสาวๆ ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้สวยที่ปลูกอยู่ตามบ้าน แล้วนำมาบรรจงเรียงใส่พานให้สวยงาม                                           เมื่อนำดอกไม้ใส่พานได้อย่างสวยงามแล้ว ก็พากันนำมาถวายพระประธานในโบสถ์คือหลวงพ่อศรีมงคล          ซึ่งเป็นพระประธานในโบสถ์เก่า  ซึ่งสร้างกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรียกว่า “พิษฐาน” ในโบสถ์กัน                     การนำดอกไม้มาพิษฐานในโบสถ์ หญิงและชายจะนั่งคนละข้างกัน แล้วต่างคนต่างนำพานดอกไม้ กราบพระกันตามประเพณี เมื่อเสร็จจากกราบหลวงพ่อศรีมงคลแล้ว ฝ่ายชายจะหันมาทางฝ่ายหญิง แล้วเริ่มร้องเพลงเกี้ยวสาวที่นั่งในโบสถ์ ในทำนองเพลงพิษฐาน บทร้องจะร้อง เป็นการโต้ตอบกับระหว่างชายหญิง ฝ่ายหญิงจะร้องก่อนว่า
“ ตั้งใจหมายจิตยอดพิษฐานเอย  สองมือถือพานทองเอาดอกพุด  เกิดมาชาติหน้าแสนใดก็ขอให้ได้บริสุทธิ์  พิษฐานบรรเลงขอให้เกรงอย่างพิษฐานเอย”                                                                                                    ฝ่ายชายจะร้องต่อ โดยจะเปลี่ยนกลอนตรงท้ายบทตรงชื่อดอกไม้ให้ลงกับชื่อฝ่ายหญิงที่ตนเองร้องแซวว่า    “ตั้งใจหมายจิตยอดเจ้าพิษฐานเอย  สองมือถือพานเอาดอกกระดังงา   เกิดชาติหน้าแสดใดก็ขอให้ได้กับแม่วรรณา  พิษฐานบรรเลงขอให้เกรงอย่างพิษบานเอย”                                                                               เมื่อฝ่ายชายร้องจบ ฝ่ายหญิงก็จะโต้ตอบว่า “ตั้งใจหมายจิตเจ้าพิษฐานเอย  สองมือถือพานเอาดอกกระดังงาให้พี่ทำบุญเสียให้เกือบตาย  ก็ยังไม่ได้กับแม่วรรณา  พิษฐานบรรเลงขออย่าให้เกรงพิษฐานเอย”  ทั้งพ่อเพลงและแม่เพลง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะร้องโต้ตอบกันเป็นลักษณะของกลอนสดเป็นการใช้ปฏิภาณไหวพริบมาร้องซึ่งกันและกัน  แต่จะลงท้ายบทกลอนด้วยคำว่า “เอย” เสมอ หลังจากร้องโต้ตองเพลงพิษฐานในโบสถ์แล้วก็พากันกราบพระ และออกมาร้องรำทำเพลงกันต่อที่หน้าโบสถ์ เป็นเพลงโต้ตอบกันในลักษณะแนะนำหมู่บ้าน โดยร้องเป็นเพลงคล้ายเพลงพวกมาลัยจนเวลาใกล้เที่ยง                                  เมื่อถึงเวลาเที่ยง ฝ่ายหญิงก็จะชวนฝ่ายชายไปรับประทานอาหารกลางวันกันที่บ้านเพื่อแสดงออกถึงความสนิทสนมและคุ้นเคยกันในกลุ่ม                                                                                                                  ครั้นตะวันเริ่มบ่าย  พระอาทิตย์อ่อนแสงลง ก็จะพากันไปเล่นรำวงที่ริมหาดทรายหน้าวัด โดยร้องเป็นเพลงรำวงง่ายๆเช่น “จำปีลอยมา  จำปาลอยวน  จะรำก็รำ  อย่ามาทำเดินวน” แล้วก็ร้องเพลงอื่นๆเป็นเพลงรำวงตามถนัด นอกจากการเล่นรำวงกันริมท่า บางพวกก็จะมีกิจกรรมอื่นๆเช่นการเล่นลูกโยน และขนทรายเข้าวัดไปร่วมกันก่อพระเจดีย์ทรายในวัดซึ่งเป็นรูปเจดีย์ใหญ่องค์เดียวที่ทุกคนร่วมแรงร่วมใจช่วยกันก่อขึ้นมาปรากฏเห็นเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ อยู่ในวัดจันทารามมาตราบเท่าทุกวันนี้



 55 
 เมื่อ: กันยายน 04, 2022, 10:03:20 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
ประวัติหลวงพ่อทวีปวัดจันทาราม

พระสิทธิธรรมเวที นามเดิม ทวีป  นามสกุล สมพงษ์ เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้อง ๔คน                         ของคุณพ่อเฟื่อง คุณแม่บุญเกิด สมพงษ์  เกิดเมื่อวันที่อังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๗๗ ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ณ หมู่ที่ ๕ ต. แม่ลาด อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
บรรพาชา
เมื่อวันที่  ๒๖ กรกฎาคม  ๒๔๙๓  ณ  วัดโมลี ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ. นนทบุรี                                   โดยมี พระราชปรีชามุนี เป็นพระอุปัชฌาย์                                                                                                                          อุปสมบท
เมื่อวันที่  ๔ พฤษภาคม  ๒๔๙๗ ณ วัดโมลี ต.บางรัก อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี โดยมี พระราชปรีชามุนีเป็นพระอุปัชฌาย์  พระปรีชานนทโมลีเป็นพระกรรมวาจาจารย์พระมหาเยื้อน สิรินฺโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์                วิทยฐานะ
พ.ศ.  ๒๔๘๙   สำเร็จชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่ามะขาม ต.แม่ลาด อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
พ.ศ.   ๒๔๙๗     สอบได้ น.ธ. เอก  สำนักเรียนวัดโมลี  จ.นนทบุรี
พ.ศ.    ๒๕๐๒    สอบได้  ป.ธ.  ๕   สำนักเรียนวัดโมลี  จ. นนทบุรี
การศึกษาพิเศษสอบได้ วิชาพิเศษมูล (พ)                                                                                                                    งานปกครอง
พ.ศ.   ๒๕๐๘   เป็นเจ้าอาวาสวัดจันทาราม
พ.ศ.    ๒๕๑๑    เป็นเจ้าคณะตำบลวังแขม – วังยาง
พ.ศ.    ๒๕๑๒   เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.     ๒๕๑๙   เป็นเจ้าคณะอำเภอคลองขลุง
พ.ศ.      ๒๕๓๖  เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร

งานศึกษา
พ.ศ.    ๒๕๐๑     เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำสำนักศาสนศึกษาวัดโมลี
พ.ศ.     ๒๕๐๘    เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ประจำสำนักศาสนศึกษาวัดจันทาราม
พ.ศ.     ๒๕๑๕    เป็นครูใหญ่โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่   วัดจันทาราม
พ.ศ.      ๒๕๑๙  - ๒๕๓๙  เป็นประธานในการสอบธรรมสนามหลวงประจำ  อ.คลองขลุง กิ่ง อ.ทรายทองวัฒนา และกิ่ง อ.ปางศิลาทอง
งายเผยแพร่
พ.ศ.    ๒๕๑๒   เป็นพระธรรมทูตสายที่  ๓  ประจำอำเภอคลองขลุง
พ.ศ.     ๒๕๑๒  เป็นวิทยากรประจำโรงเรียนมิตรอารี  โรงเรียนบ้านท่ามะขาม โรงเรียนบ้านวังแขม  โรงเรียนวังแขมวิทยาคม 
งานสาธารณูปการ
พ.ศ.  ๒๕๐๗  ได้บูรณะและปฏิสังขรณ์  วัดจันทารามใหม่เกือบทั้งหมด ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้
สมณศักดิ์
พ.ศ.    ๒๕๑๖    เป็นพระครูสัญญาบัตร  ที่พระครูโสภณพัชรญาณ เจ้าคณะตำบลชั้นโท
พ.ศ.   ๒๕๒๐      ได้เลื่อนสมณศักดิ์   เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นโท
พ.ศ.    ๒๕๒๔      ได้เลื่อนสมณศักดิ์  เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
พ.ศ.    ๒๕๓๙       ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เปรียญที่ พระสิทธิธรรมเวที เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกครองราช ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




 56 
 เมื่อ: กันยายน 04, 2022, 10:00:13 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
ประวัติหลวงพ่อศรีมงคล  และประวัติ รอยพระพุทธบาทจำลอง
วัดจันทาราม  ตำบลวังแขม  อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
      
      ตามที่ นายร่อน  มีชัย  อายุ 81  ปี ได้ เล่า  ว่า วิหารที่หลวงพ่อศรีมงคล ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันนี้ว่าจะเป็นชาวพม่า เป็นผู้สร้าง ขึ้นนั้นเพราะว่าวิหารหลวงพ่อศรีมงคลได้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก  และเป็นทิศที่ประเทศของพม่าไม่ทราบว่าในปีใดและพ.ศ.ใด   ได้แต่ทราบว่าเป็นวิหารที่เก่าแก่มาก ตามที่คนเก่าแก่เล่ามา  เป็นเวลานับ มาหลายร้อยปี
      ส่วนรอยพระพุทธบาท จำลองที่เป็นเนื้อโลหะ ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพ่อศรีมงคลก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครทราบที่แน่ชัดว่าได้มาอย่างไร และตั้งแต่เมื่อปีใด และ พ.ศ.ใด เช่นกัน ก็ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ เช่น ลุงร่อน    มีชัยและลุงเหรียญ   นาคนาม  ที่เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงกับวัด มาโดยตลอดได้   สอบถามแล้วได้รับคำตอบว่าตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียน อยู่โรงเรียนวัดก็ได้เห็นรอยพระพุทธบาทมีอยู่ในวิหารหลวงพ่อศรีมงคลแล้ว  ต่อจากนั้นลุงเหรียญยังบอกอีกว่ามีตัวอักษรอยู่ที่ใบสีมาวิหารหลวงพ่อศรีมงคล  และเป็นตัวเลข ว่า   ร.ศ.120   ไม่ทราบว่า จะตรงกับ พ.ศ.ใด  และหมายความว่าอะไร ตามที่สอบถามคนเก่าๆ  แล้วก็ได้ข้อมูลมา  เพียงเท่านี้เอง  ก่อนนั้น เมื่อทางวัดมีงานเทศกาล ใดๆ เช่นงานประจำปีปิดทองไหว้พระ ก็จะยกรอยพระพุทธบาทจำลองออกมาให้ชาวบ้านได้ปิดทองรอยพระพุทธบาทกันเป็นประจำ  ต่อมาทางคณะกรรมการวัด ก็จะนำออกมาให้ชาวบ้านได้ปิดทองกันในวันงานเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้  แต่ในตอนนี้ฝาที่สำหรับปิด-เปิดไว้ใส่ปัจจัย  ได้ถูกพวกมิจฉาชีพลักไปเสียแล้ว   ทางวัดก็ไม่ทราบว่าถูกลักไปตั้งแต่เมื่อไรเช่นกัน    สำหรับในตอนนี้พระที่วัดได้ช่วยกันเอาไปเก็บไว้ที่อุโบสถหลังใหม่แล้ว  เพื่อป้องกันพวกมิจฉาชีพและเพื่อความปลอดภัย

นายฟุ้ง     ปานสุด
กำนันตำบลวังแขม
ผู้ให้ข้อมูล เพิ่มเติม


 57 
 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2022, 04:12:41 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
รู้ทัน และป้องกัน การทุจริต ประพฤติมิชอบ ในวงราชการ (ฉบับย่อ)
๑, การติดสินบน ในประวัติศาสตร์
   ๑.๑ พระยาจักรี รับสินบนเป็นไส้ศึก ให้อยุธยา
   ๑.๒ นายแสนตำนาน บ่อสามแสน กำแพงเพชร
        ๑.๓ พระยากำแพง ถูกฟ้อง เรื่องการทุจริต ต่อหน้าที่
๒. การทุจริต ประพฤติมิชอบ เดิมเรียกว่า ฉ้อราษฎร์ บังหลวง
๓. การพัฒนาการทุจริต และประพฤติมิชอบ
   ๓.๑ การรับสินบน การให้สินบท
        ๓.๒ การรวมมือกัน ทุจริต ระหว่างข้าราชการ พ่อค้า ผู้รับเหมา ประชาชน
       ๓.๓  การทุจริต เชิงนโยบาย ร้ายแรงมาก
๔. รูปแบบการทุจริต
   ๔.๑ ทุจริตสีดำ    คน รับไม่ได้
       ๔.๒   ทุจริตสีเทา   รับได้บางคน
       ๔.๓   ทุจริตสีขาว   การใช้อภิสิทธิ์
๕. เราเคยชินกับการทุจริต หรือ
        ๕.๑ ส่วนใหญ่เคยรับว่าเยเกี่ยวข้อง
        ๕.๒  ร้อยละ ๙๐ ยอมรับว่าเคยลัดคิว
         ๕.๓ ร้อยละ ๘๐ เคยรับสินบน
            ๕.๔ ร้อยละ๘๑ ยอมรับว่า เคยใช้ของหลวง ในเรื่องส่วนตัว
             ๕.๕ ร้อยละ ๘๐ ยอมรับว่า เคยรับทรัพย์สิน ในหน้าที่
              ๕.๖ ร้อยละ ๙๓ ยอมรับว่า เคยลอกการบ้าน
              ๕.๗ ร้อยละ ๖๐ ยอมรับว่า เคยทำผิดกฎจราจร
              ๕.๘ ร้อยละ ๓๔ ยอมรับว่าเคยถูกรีดไถ จากข้าราชการ
              ๕.๙ ร้อยละ ๒๔ ยอมรับว่า ว่าเคยรับเงิน นักการเมือง เลือกตั้ง
     ๕.๑๐ ร้อยละ ๒๐ ยอมรับว่า เคยให้สิทธิ์พืเศษ  แก่พี่น้อง
๖. ทำมไมคนต้องคอร์รัปชั่น
     ๖.๑ ต้องการสำเร็จสูงสุด ในชีวิต
     ๖.๒ ต้องการการยกย่องและยอมรับ
     ๖.๓ ต้องการเป็นเจ้าของ
     ๖.๔ ต้องการ ปลอดภัย และมั่นคง
๗. ทำไมสามารถทุจริต ได้
    ๗.๑ ไม่พอเพียง ไม่ซื่อสัตย์
    ๗.๒  มีโอกาส
   ๗.๓ มีปัญหาการเงิน
๘. สาเหตุที่ทุจริต
    ๘.๑ มีความโลภ 
๘.๒ มีโอกาส 
๘.๓ ขาดจริยธรรม
๘.๔ รู้ว่าเสี่ยง แต่คุ้ม
๙. รูปแบบคอร์รัปชั้น
   ๙.๑ เรียกเงินใต้โต๊ะ
        ๙.๒ ค่าตอมมิชชั่น
   ๙.๓ สินบน ผูกขาดโครงการ
   ๙.๔ การเล่นพวก
   ๙.๕ การใช้อำนาจช่วยพี่น้อง
๑๐.  การแก้ไขการทุจริต
   ๑๐.๑ เริ่มจากตัวเอง
   ๑๐.๒ ปลุกใจ คนรุ่นใหม่
   ๑๐.๓ ปลูกฝังความถูกต้อง
         ๑๐.๔ จัดตั้งชมรมสตรอง จิตพอเพียง ต้านทุจริต ทั้งประเทศ
๑๑. ทำตัวเป็นแบบอย่าง
   ๑๑.๑ ทำประโยชน์ให้ส่วนรวม
   ๑๑.๒ ไม่ทนต่อการทุจริต
   ๑๑.๓ เป็นแบบอย่าง
๑๒ ปราบปราม เป็นหน้าที่ ของ ป.ป.ช.

           
   



 58 
 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 08:01:04 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
=== โครงการเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น เครือข่ายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ===

วันเสาร์ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕
ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่าและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดโครงการเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น เครือข่ายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้การนำของรองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปิน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
ในการนี้ นางสาวนุชรินทร์ภัทร์ ธีระบุญยะ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วย นางสาวพชรพรรณ ชุ่มเปี่ยม ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และนางสาวกนกวรรณ สมบุญโสด นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมโครงการ โดยนายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม เข้ารับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง “รางวัลศรีสุวรรณภิงคาร” สาขาวรรณศิลป์ พร้อมทั้งประสานชุมชนคุณธรรมบ้านวังพระธาตุร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลไตรตรึงษ์ นำการแสดง “ระบำ ก.ไก่” ไปแสดงในงานดังกล่าวด้วย ณ อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
#สาสน์ศิลป์วัฒนธรรมกำแพงเพชร

ขอเชิญกดถูกใจและกดติดตามแฟนเพจของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรได้ที่
https://www.facebook.com/KPPProvincialCulturalOffice

 59 
 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 07:58:40 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
=== โครงการสัมมนาเรื่องแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ภาคเหนือตอนล่าง ===

วันเสาร์ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕
นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเรื่องแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) การบรรยายพิเศษข้อมูลพื้นฐานระดับประเทศภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทำงานฯ และการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเพื่อรับฟังความคิดเห็น จำนวน ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์ กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง และกลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน
ในการนี้ นางสาวนุชรินทร์ภัทร์ ธีระบุญยะ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้ นางสาวปฐมาภรณ์ จริยวิทยานนท์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ เข้าร่วมโครงการ พร้อมกันนี้ ผู้จัดโครงการได้เชิญนายสันติ อภัยราช ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา และนางชนิกา ศรีวรรธนศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม เข้าร่วมกิจกรรมระดมความคิดในแต่ละกลุ่มด้วย ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
#สาสน์ศิลป์วัฒนธรรมกำแพงเพชร

ขอเชิญกดถูกใจและกดติดตามแฟนเพจของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรได้ที่
https://www.facebook.com/KPPProvincialCulturalOffice

 60 
 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 07:53:16 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) รากฐาน ภูมิภาษา ปัญญาแผ่นดิน ลึกซึ้งรากเหง้า ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก
.
วันที่ 9 กรกฏาคม 2565 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก  คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, มูลนิธิสร้างเสริมศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน และ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” ประจำภาคเหนือตอนล่างขึ้น ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก , ผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ , ครูบาอาจารย์ , ปราชญ์พื้นที่ และศิลปินผู้เกี่ยวข้องอีกหลากหลาย เพื่อประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดให้มีองค์กรในรูปสถาบันเพื่อบริหารจัดการดูแลให้เป็นเอกภาพ ไม่กระจัดกระจายดังสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
            งานเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร และกล์าวรายงานโดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทํางานฯ จากนั้นมีพิธีเปิดการสัมมนาและการบรรยายพิเศษเรื่อง “ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” โดยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม และการบรรยายเรื่อง ข้อมูลพื้นฐานระดับประเทศภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทํางานฯ
.
       ตามด้วยการแบ่งกลุ่มระดมความคิด เพื่อรับฟังความคิดเห็น จํานวน 3 กลุ่ม อาทิ 1.กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์ โดย นายเจน สงสมพันธ์ นายภาณุพงษ์ คงจันทร์ และนายธนบัตร ใจอินทร์, 2.กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง โดย นายพินิจ นิลรัตน์ ผศ.ดร.ขวัญชนก นัยจรัญ และดร.สุวรรณี ทองรอด และ 3.กลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน โดย ผศ.ดร.อํานาจ เอี่ยมสําอางค์
ผศ.ดร. ว่าที่รัอยตรีโสภณ ลาวรรณ์ ,ดร.ภูริตา เรืองจิรยศ และ ดร.น่านฟ้า จันทะพรม
.
จากนั้นมีการนําเสนอผลการระดมความคิดกลุ่มย่อยและรับฟังความคิดเห็น ดําเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ประธานคณะทํางาน พิจารณาฯ ภาคเหนือ และมีพิธีปิดการสัมมนา โดย นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธารคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะ และวัฒนธรรม
.
     ซึ่งในการระดมความคิดเห็นนี้นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวว่า ภาษา ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ยังคงเป็นสิ่งที่สะท้อนความงามและความเจริญของมนุษย์ทั้งยังเป็นรากฐาน พื้นฐาน และภูมิฐาน อันเป็นอารยะธรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะอยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงานของภาครัฐ โดยมีภาคเอกชนสนับสนุน แต่สำหรับภาคประชาชนอาจยังไม่ได้มีบทบาทและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การสะท้อนปัญหา การพัฒนานโยบาย การเร่งรัดติดตามและการเสนอแนะที่มีแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน หัวข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดให้มีองค์กรในรูปแบบสถาบันเพื่อบริหารจัดการดูแลให้เอกภาพ มิใช่กระจัดกระจายดังสภาพที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดความล้าหลังทางวัฒนธรรมแล้ว ยังอาจตกเป็นเหยื่อทางวัฒนธรรม
.
            สถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์กรมหาชน) นี้ต้องมีลักษณะพลังสามภาคส่วน คือ ภาคราชการ ภาคเอกชน (ธุรกิจ) ภาคประชาชน ดังเรียก ไตรภาคี ซึ่งต้องเป็นเอกภาพกันอย่างมีดุลยภาพอันเป็นเรื่องต้องลงลึกในรายละเอียดต่อไป เพราะเรื่องของศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินนี้สำคัญเกินกว่าจะปล่อยให้อยู่ในมือของราชการแต่โดยลำพังเพียงเท่านั้นจึงเกิดเป็นเวทีต่างๆทั้ง 4 ภูมิภาคขึ้น โดยในแต่ละกลุ่มจะแบ่งศิลปินออกเป็นดังนี้ 1.กลุ่มภาษาและวรรณศิลป์ จะมี นักเขียน นักแปล สำนักพิมพ์ ภาษาถิ่น 2.กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง จะมีแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ของดีชุมชน และ 3.กลุ่มปัญญาแผ่นดิน จะมีปราชญ์ด้านแผนโบราณ หัตถกรรม ศาสนา ประเพณี อาหาร ศิลปะการแสดง และศิลปะพื้นบ้านแขนงต่างๆ
          จากนั้นมีการบรรเลงดนตรี  อ่านกวี  งานเขียน และอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกันโดยศิลปินในพื้นที่อีกด้วย ดังภาพบรรยากาศเหล่านี้.....
.
           ทั้งนี้สามารถติดตามเวทีจากภาคอีสานตอนบน ที่ จ.อุบลราชธานี และภาคกลาง ที่กรุงเทฟมหานครได้เร็วๆ นี่ที่นี่ได้เช่นกัน จะเมื่อไหร่ อย่างไร... โปรดติดตาม...

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!