จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤษภาคม 15, 2024, 08:30:26 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 95
106  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่ พี่ชัชวาลย์ อินทรภาษิต ผู้จากไป คือ นักกลอนธรรมศาสตร์ ฉกาจกล้า คือ นักเ เมื่อ: มีนาคม 01, 2020, 08:23:17 pm
แด่ พี่ชัชวาลย์  อินทรภาษิต ผู้จากไป

คือ  นักกลอนธรรมศาสตร์ ฉกาจกล้า
คือ   นักเจรจาที่ กล้าหาญ
คือ   นักรัก ยิ่งใหญ่ ใครจะปาน
คือ   นักบุญ บันดาล ช่วยทุกคน
คือ   ทนายใหญ่ ว่าความ นามกระเดื่อง
คือ   คนจริง เยี่ยมทุกเรื่อง  เฟื่องทุกหน
คิอ  ร่มโพธิ์ ร่มใทร  ให้ชั้นชน
คือ  พี่ชัช ของทุกคน  ที่จากไป
107  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / Skip to main content Home พระราชพงศาวดารกรุงเก่า... คำอธิบาย คำอธิบาย พระนิพนธ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2020, 03:10:35 am
Skip to main content
Home

พระราชพงศาวดารกรุงเก่า...
คำอธิบาย
คำอธิบาย พระนิพนธ์
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
ศุภมัศดุ ๑๐๔๒ ศกวอกนักษัตร ณ วัน ๔๑๒๕ คํ่า (พ.ศ. ๒๒๒๓) ทรงพระกรุณาโปรดตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอากฎหมายเหตุของพระโหราเขียนไว้แต่ก่อน แลกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ แลเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียวให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้

จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า เจ้าพะแนงเชิง

ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน ๖๖๕ ค่ำ เวลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๗๓๑ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๑๒) แรกสร้างวัดพระราม ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ ครั้นเถิงศักราช ๗๓๒ จอศก (พ.ศ. ๑๙๑๓) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา แลท่านจึงให้สมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสด็จไปเสวยราชสมบัติเมืองลพบุรี

ศักราช ๗๓๓ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองเหนือ แลได้เมืองเหนือทั้งปวง

ศักราช ๗๓๔ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๑๕) เสด็จไปเอาเมืองนครพังค่า แลเมืองแสงเชราได้เมือง

ศักราช ๗๓๕ ฉลูศก (พ.ศ. ๑๙๑๖) เสด็จไปเมืองชากังราวแลพระยาใสแก้วแลพระยาคำแหงเจ้าเมืองชากังราวออกต่อรบท่าน ๆ ได้ฆ่าพระยาใสแก้วตาย แลพระยาคำแหงแลพลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ แลทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา

ศักราช ๗๓๖ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๑๗) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า แลพระมหาเถรธรรมากัลญาณ แรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุฝ่ายบูรพทิศหน้าพระบันชั้นสิงห์สูงเส้น ๓ วา

ศักราช ๗๓๗ เถาะศก (พ.ศ. ๑๙๑๘) เสด็จไปเอาเมืองพิษณุโลก แลได้ตัวขุนสามแก้วเจ้าเมืองแลครัวอพยพมาครั้งนั้นมาก

ศักราช ๗๓๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๑๙) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นพระยาคำแหงแลท้าวผ่าคอง คิดด้วยกันว่าจะยอทัพหลวง แลจะทำมิได้ แลท้าวผ่าคองเลิกทัพหนี แลจึงเสด็จยกทัพหลวงตาม แลท้าวผ่าคองนั้นแตก แลจับได้ตัวท้าวพระยาแลเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน

ศักราช (๗๔๐) มะเมียศก (พ.ศ. ๑๙๒๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกรบทัพหลวงเป็นสามารถ แลเห็นว่าจะต่อด้วยทัพหลวงมิได้ จึงมหาธรรมราชาออกถวายบังคม

ศักราช ๗๔๗ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๒๙) เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แลให้เข้าปล้นเมืองนครลำภางมิได้ จึงแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่นนครเจ้าเมืองนครลำภาง ๆ นั้นจึงออกมาถวายบังคม แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน

ศักราชได้ ๗๕๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๓๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก แลเสด็จกลับคืน ครั้นเถิงกลางทางสมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพาน แลจึงเจ้าทองลันพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาได้ ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา แลท่านจึงให้พิฆาตเจ้าทองลันเสีย

ศักราช ๗๕๗ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๓๘) สมเด็จพระราเมศวรเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านเจ้าพระยาราม เสวยราชสมบัติ

ศักราช ๗๗๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๑๙๕๒) สมเด็จพระรามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าเสนาบดี แลท่านให้กุมเจ้าเสนาบดี ๆ หนีรอดแลข้ามไปอยู่ฟากปท่าคูจามนั้น แลเจ้าเสนาบดีจึงให้ไปเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรี ว่าจะยกเข้ามาเอาพระนครศรีอยุธยาถวาย ครั้นแลสมเด็จพระอินทราชาเจ้าเสด็จมาเถิงไซร้ จึงเจ้าเสนาบดียกพลเข้าไปปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้ จึงเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติ แลท่านจึงให้สมเด็จพระยารามเจ้าไปกินเมืองปท่าคูจาม

ศักราช ๗๘๑ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๖๒) มีข่าวมาว่าพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้านฤพาน แลเมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจล แลจึงเสด็จขึ้นไปเถิงเมืองพระบาง ครั้งนั้นพระยาบาลเมืองแลพระยารามออกถวายบังคม

ศักราช ๗๘๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๖๗) สมเด็จพระอินทราชาเจ้าทรงประชวร นฤพาน ครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยาแลเจ้าญี่พระยาพระราชกุมารท่านชนช้างด้วยกัน ณ สะพานป่าถ่าน เถิงพิราลัยทั้ง ๒ พระองค์ที่นั้น จึงพระราชกุมารเจ้าสามพระยาได้เสวยราชสมบัติพระนครอยุ (ธยา ทรงพระ) นามสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า แลท่านจึงให้ก่อพระเจดีย์สองพระองค์ สวมที่เจ้าพระยาอ้ายแลเจ้าพระยาญี่ชนช้างด้วยกัน เถิงอนิจภาพตำบลป่าถ่านนั้น ให้ศักราชนั้นสถาปนาวัดราชบุณ

ศักราช ๗๙๓ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๗๔) สมเด็จพระบรมราชาเจ้า เสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ แลท่านจึงให้พระราชกุมารท่าน พระนครอินทร์เจ้าเสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครหลวงนั้น ครั้งนั้นท่านจึงให้พระยาแก้ว พระยาไทย แลรูปภาพทั้งปวง มายังพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๘๐๐ มะเมียศก (พ.ศ. ๑๙๘๑) ครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า สร้างวัดมะเหยงคณ์เสวยราชสมบัติ แลสมเด็จพระราเมศวรเจ้าผู้เป็นพระราชกุมารท่านเสด็จไปเมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเห็นน้ำพระเนตรพระพุทธเจ้าพระชินราชตกมาเป็นโลหิต

ศักราช ๘๐๒ วอกศก (พ.ศ. ๑๙๘๓) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระราชมณเฑียร

ศักราช ๘๐๓ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๘๔) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข

ศักราช ๘๐๔ จอศก (พ.ศ. ๑๙๘๕) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แลเข้าปล้นเมืองมิได้ พอทรงพระประชวรแลทัพหลวงเสด็จกลับคืน

ศักราช ๘๐๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๘๗) เสด็จไปปราบพรรค แลตั้งทัพหลวง ตำบลปะทายเขษม ครั้งนั้นได้เชลย ๑๒๐,๐๐๐ ทัพหลวงเสด็จกลับคืน

ศักราช ๘๑๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๙๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า

ศักราช ๘๑๓ มะแมศก (พ.ศ. ๑๙๙๔) ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ก็เลิกทัพกลับคืน

ศักราช ๘๑๖ จอศก (พ.ศ. ๑๙๙๗) ครั้งนั้นคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมากนัก

ศักราช ๘๑๗ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๘๓) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองมลากา

ศักราช ๘๑๘ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๙๙) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองลิสบทีน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลโคน

ศักราช ๘๑๙ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๐๐) ครั้งนั้นข้าวแพงเป็นทะนานแล ๘๐๐ เบี้ย เมื่อคิดเสมอเบี้ยเฟื้องแล ๘๐๐ นั้น เกวียนนั้นเป็นเงินสามชั่งสิบบาท

ศักราช ๘๒๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๐๑) ครั้งนั้นให้บุณพระศาสนาบริบูรณ์ แลหล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ ชาติ

ศักราช ๘๒๒ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๐๓) เล่นการมหรสพฉลองพระ แลพระราชทานแก่สงฆ์แลพราหมณแลพรรณิพกทั้งปวง ครั้งนั้นพระยาซเลียงคิดเป็นขบถ พาเอาครัวทั้งปวงไปออกแต่มหาราช

ศักราช ๘๒๓ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๐๔) พระยาซเลียงนำมหาราชมาจะเอาเมืองพิษณุโลก เข้าปล้นเมืองเป็นสามารถมิได้เมือง แลจึงยกทัพเปร่อไปเอาเมืองกำแพงเพ็ชร แลเข้าปล้นเมืองเถิงเจ็ดวันมิได้เมือง แลมหาราชก็เลิกทัพคืนไปเชียงใหม่

ศักราช ๘๒๔ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๐๕) เมืองนครไทยพาเอาครัวอพยพหนีไปนาน แลให้พระกลาโหมไปตามได้คืนมา แล้วพระกลาโหมยกพลไปเอาเมืองสุโขทัย ได้เมืองคืนดุจเก่า

ศักราช ๘๒๕ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๐๖) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า ไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก แลตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาทรงพระนามสมเด็จบรมราชา ครั้งนั้นมหาราชท้าวลูกยกพลมาเอาเมืองสุโขทัย จึงสมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้าแลสมเด็จพระอินทราชาเสด็จไปกันเมือง แลสมเด็จพระราชาเจ้าตีทัพพระยาเถียนแตก แลทัพท่านมาปะทัพหมื่นนคร แลท่านได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร แลครั้งนั้นเป็นโกลาหลใหญ่ แลข้าเศิกลาวทั้งสี่ช้างเข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งช้างเดียวนั้น ครั้งนั้นสมเด็จพระอินทราชาเจ้าต้องปืนณพระพักตร์ แลทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป

ศักราช ๘๒๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๐๗) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี

ศักราช ๘๒๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๐๘) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้าทรงพระผนวช ณวัดจุฬามณีได้ ๘ เดือน แล้วลาพระผนวช.

ศักราช ๘๓๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๑๑) ครั้งนั้นมหาราชท้าวบุญ ชิงเอาเมืองเชียงใหม่แก่ท้าวลูก

ศักราช ๘๓๓ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๑๔) ได้ช้างเผือก

ศักราช ๘๓๔ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๑๕) พระราชสมภพพระราชโอรสท่าน

ศักราช ๘๓๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๑๖) หมื่นนครได้ลอกเอาทองพระเจ้า ลงมาหุ้มดาบ

ศักราช ๘๓๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๑๗) เสด็จไปเอาเมืองซเลียง

ศักราช ๘๓๗ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๑๘) มหาราชขอมาเป็นไมตรี

ศักราช ๘๓๙ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๒๐) แรกตั้งเมืองนครไทย

ศักราช ๘๔๑ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๒๒) พระยาสีหราชเดโชเถิงแก่กรรม

ศักราช ๘๔๒ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๒๓) พระยาล้านช้างเถิงแก่กรรม แลพระราชทานให้อภิเศกพระยาซ้ายขวาเป็นพระยาช้างแทน

ศักราช ๘๔๔ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๒๕) ท่านให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วัน ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงพระราชนิพนธ์มหาชาติ์คำหลวงจบบริบูรณ์

ศักราช ๘๔๕ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๒๖) สมเด็จพระบรมราชาเจ้า เสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย

ศักราช ๘๔๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๒๗) สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าแลสมเด็จพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ทรงพระผนวชทั้ง ๒ พระองค์

ศักราช ๘๔๗ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๒๘) พระราชโอรสท่านลาพระผนวช แลประดิษฐานพระองค์นั้นไว้ในที่พระมหาอุปราช

ศักราช ๘๔๘ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๒๙) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปวังช้างตำบลสำฤทธิบูรณ์

ศักราช ๘๔๙ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๓๐) ท้าวมหาราชลูกพิราไลย

ศักราช ๘๕๐ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๓๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองทวาย แลเมื่อจะเสียเมืองทวายนั้นเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ โคตกลูกตัวหนึ่งเป็นแปดเท้า ไก่ฟักไข่ออกตัวหนึ่งเป็นสี่เท้า ไก่ฟักไข่สามค่องออกลูกเป็นหกตัว อนึ่งข่าวสารงอกเป็นใบ อนึ่งในปีเดียวนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกเสด็จนฤพานณเมืองพิษณุโลก

ศักราช ๘๕๒ จอศก (พ.ศ. ๒๐๓๓) แรกให้ก่อกำแพงเมืองพิไชย

ศักราช ๘๕๓ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๓๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี

ศักราช ๘๕๔ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๓๕) ประดิษฐานมหาสถูปพระบรมธาตุสมเด็จพระบรมไตรโลก แลสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า

ศักราช ๘๕๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๓๙) ท่านประพฤติการเบญจาพิธพระองค์ท่าน แลให้เล่นการดึกดำบรรพ์

ศักราช ๘๕๙ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๔๐) ท่านให้ทำการปฐมกรรม

ศักราช ๘๖๑ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๔๒) แรกสร้างพระวิหารวัดศรีสรรเพชญ์

ศักราช ๘๖๒ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๔๓) สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า แรกให้หล่อพระพุทธเจ้าศรีสรรเพชญ์ แลแรกหล่อในวัน ๑๘๖ ค่ำ ครั้นเถิงศักราช ๘๖๕ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๔๖) วัน ๖๑๑๘ คํ่าฉลองพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชญ์ คณนาพระพุทธเจ้านั้น แต่พระบาทเถิงยอดพระรัศมีนั้น สูงได้ ๘ วา พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก กว้างพระพักตร์นั้น ๓ ศอก แลพระอุระนั้นกว้าง ๑๑ ศอก แลทองหล่อพระพุทธเจ้านั้นหนัก ๕ หมึ่น ๓ พันชั่ง ทองคำหุ้มนั้นหนักสองร้อยแปดสิบหกชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนื้อ ๗ น้ำสองขา ข้างหลังนั้นทองเนื้อ ๖ น้ำสองขา

ศักราช ๘๗๗ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๕๘) วัน ๓๑๕๑๑ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๘ ชั้น ๓ ฤกษ์ ๙ ฤกษ์ สมเด็จพระรามาธิบดี เสด็จไปเมืองนครลำภางได้เมือง

ศักราช ๘๘๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๖๑) ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างพระศรีสรรเพชญ์เสวยราชสมบัติ แรกตำราพิไชยสงครามแลแรกทำสารบาญชีพระราชสัมฤทธิทุกเมือง

ศักราช ๘๘๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๖๗) ครั้งนั้นเห็นงาช้างต้นเจ้าพระยาปราบแตกข้างขวายาวไป อนึ่งในเดือนนั้นมีผู้ทอดบัตรสนเท่ห์ครั้งนั้นให้ฆ่าขุนนางเสียมาก

ศักราช ๘๘๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๖๘) น้ำน้อยข้าวเสียสิ้นทั้งปวง อนึ่งแผ่นดินไหวทุกเมือง แล้วแลเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ ครั้นรุ่งปีขึ้นศักราช ๘๘๘ จอศก (พ.ศ. ๒๐๖๙) ข้าวสารแพงเป็น ๓ ทะนานต่อเฟื้องเบี้ยแปดร้อย เกวียนหนึ่งเป็นเงินชั่งหกตำลึง ครั้งนั้นประดิษฐานสมเด็จหน่อพุทธางกูรเจ้าในที่อุปราช แลให้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก

ศักราช ๘๙๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๗๒) เห็นอากาศนิมิตรเป็นอินท์ธนูแต่ทิศหรดี ผ่านอากาศมาทิศพายัพมีพรรณขาว วันนั้น ๑๘๑๒ คํ่า สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า เสด็จพระที่นั่งหอพระ ครั้นคํ่าลงวันนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระอาทิตยเจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จบรมราชาหน่อพุทธางกูร

ศักราช ๘๙๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๗๖) สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระราชกุมารได้เสวยราชสมบัติ

ครั้นเถิงศักราช ๘๙๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๗๗) พระราชกุมารท่านนั้นเป็นเหตุจึงได้ราชสมบัติแก่พระไชยราชาธิราชเจ้า

ศักราช ๙๐๐ จอศก (พ.ศ. ๒๐๘๑) แรกให้พูนดิน ณ วัดชีเชียงในเดือนหกนั้น แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าแลพระเจดีย์ เถิงเดือน ๑๑ เสด็จไปเชียงไกรเชียงกราน เถิงเดือน ๔ ขึ้น ๙ คํ่า เพลาคํ่าประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพยุพัดหนักหนา แลคอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก แลเรือไกรแก้วนั้นทลาย อนึ่งเมื่อเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพชรนั้นว่าพระยานารายณ์คิดเป็นขบถ แลให้กุมเอาพระยานารายณ์นั้นฆ่าเสีย ในเมืองกำแพงเพชร

ศักราช ๙๐๗ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๘๘) วัน ๔๔๗ คํ่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า แลยกพลออกตั้งทัพไชยตำบลบางบาน ณวัน ๗๑๔๗ คํ่าจึงยกทัพหลวงจากที่ทัพไชยไปเมืองกำแพงเพชร เถิงณวัน ๓๙๗ คํ่า เสด็จออกตั้งทัพไชยณเมืองกำแพงเพชร ณวัน ๑๑๔๗ คํ่า ยกทัพไปตั้งเชียงทอง แล้วยกไปตั้งณเมืองเชียงใหม่ เถิงณวัน ๑ ๙ คํ่า ทัพหลวงเสด็จกลับคืนจากเมืองเชียงใหม่ เถิงวัน ๕๑๕๙ คํ่า ทัพหลวงเถิงเมืองกำแพงเพชร แล้วจึงเสด็จมายังพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายพระนครศรีอยุธยานั้นในวัน ๔๔๓ คํ่า เกิดเพลิงไหม้เถิง ๓ วันจึงดับได้ แลจึงมีบัญชีเรือนเพลิงไหม้นั้น ๑๐,๐๕๐ เรือน ณวัน ๑๑๑๒ คํ่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเมืองเชียงใหม่ แลให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า แลยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองกำแพงเพชร แรมทัพหลวงอยู่ณเมืองกำแพงเพชรนั้นเดือนหนึ่ง เถิงวัน๕๖๓ ค่ำ เสด็จออกตั้งทัพไชย เถิงณวัน ๑๙๓ ค่ำ จึงยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ แลณวัน ๓๓๔ คํ่า ได้เมืองลำพูนชัย วัน ๖๑๓๔ คํ่า มีอุบาทว์เห็นเลือดติดอยู่ณประตูบ้านแลเรือนแลวัดทั้งปวง ในเมืองแลนอกเมืองทั่วทุกตำบล เถิงวัน ๒๑๕๔ คํ่า ยกทัพหลวงเสด็จจากเมืองเชียงใหม่ มายังพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๐๘ มะเมียศกเดือน ๖ นั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าพระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ในปีนั้นแผ่นดินไหว

ศักราช ๙๑๐ วอกศก วัน ๗๕๕ คํ่า เสด็จออกสนามให้ชนช้าง แลงาช้างพระยาไฟนั้นหักเป็น ๓ ท่อน อนึ่งอยู่ ๒ วันช้างต้นพระฉัททันต์ไล่ร้องเป็นเสียงสังข์ อนึ่งประตูไพชยนต์ร้องเป็นอุบาทว์ เถิงวัน ๑๕๘ ค่ำสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าเป็นเหตุ จึงขุนชินราชได้ราชสมบัติ ๔๒ วัน แลขุนชินราชแลแม่ยั่วศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุ จึงเชิญสมเด็จพระเธียรราชาธิราชเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แลครั้นเสวยราชสมบัติได้ ๗ เดือน พระยาหงสาปังเสวกี ยกพลมายังพระนครศรีอยุธยาในเดือน ๔ นั้น เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้า เสด็จออกไปรบเศิกหงสานั้น สมเด็จพระองค์มเหสี แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรี เสด็จทรงช้างออกไปโดยเสด็จด้วย แลเมื่อได้รับเศิกหงสานั้น ทัพหน้าแตกมาปะทัพหลวงเป็นโกลาหลใหญ่ แลสมเด็จพระองค์มเหสี แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรีนั้น ได้รบด้วยข้าเศิกเถิงสิ้นชนม์กับคอช้างนั้น แลเศิกหงสาครั้งนั้น เสียสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรไปแก่พระยาหงสา แลจึงเอาพระยาปราบแลช้างต้นพระยานุภาพ ตามไปส่งให้พระยาหงสาเถิงเมืองกำแพงเพชร แลพระยาหงสาจึงส่งพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าสมเด็จพระราเมศวรเจ้า มายังพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๑๑ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๙๒) ณ วัน ๗๑๐๒ ค่ำ ได้ช้างเผือกพลาย ตำบลป่าตะนาวศรีสูง ๔ ศอกมีเศษ ชื่อปัจจัยนาเคนทร์ ครั้งนั้นแรกให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๑๒ จอศก (พ.ศ. ๒๐๙๓) เดือน ๘ ขึ้น ๒ คํ่า ทำการพระราชพิธีปฐมกรรมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าตำบลท่าแดง พระกรรมวาจาเป็นพฤฒิบาศ พระพิเชฏฐ์เป็นอัษฎาจารย์ พระอินโทรเป็นกรมการ

ศักราช ๙๑๔ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๙๕) ครั้งนั้นให้แปลงเรือแซเป็นเรือไชยแลหัวสัตว์

ศักราช ๙๑๕ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๙๖) เดือน ๗ นั้น แรกทำการพระราชพิธีมัธยมกรรมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิตำบลชัยนาทบูรี

ศักราช ๙๑๖ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๙๗) เสด็จไปวังช้างตำบลบางละมุง ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง อนึ่งในเดือน ๑๒ นั้น ได้ช้างพลายเผือกตำบลป่ากาญจน์บูรีสูง ๔ ศอกมีเศษ ชื่อพระคเชนโทรดม

ศักราช ๙๑๗ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๙๘) วน ๒๗๗ คํ่า ได้ช้างเผือกพลาย ตำบลป่าเพชรบุรี สูงสี่ศอกคืบหนึ่งช้างชื่อพระแก้วทรงบาตร์

ศักราช ๙๑๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๙๙) เดือน ๑๒ แต่งทัพไปละแวก พระยาองคสวรรคโลกเป็นทัพหลวง ถือพล ๓๐,๐๐๐ ให้พระมหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์ พระมหาเทพถือวัวเกวียน ๑๑ (.........) ฝ่ายทัพเรือไซร้ พระยาเยาวเป็นนายกอง ครั้งนั้นลมพัดขัด ทัพเรือมิทันทัพบกแลพระยารามลักษณ์ซึ่งเกณฑ์เข้าทัพบกนั้น เข้าบุกทัพในกลางคืน แลทัพพระยารามลักษณ์นั้นแตกมาปะทัพใหญ่ ครั้งนั้นเสียพระยาองคศวรรคโลก นายกองแลช้างม้ารี้พลมาก

ศักราช ๙๑๙ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๐๐) วัน ๑๑๔ คํ่า เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวังมาก อนึ่งในเดือน ๓ นั้นทำการพระราชพิธีอาจาริยาภิเศก แลทำการพระราชพิธีอินทราภิเศกในวังใหม่ อนึ่งเดือน ๔ นั้น พระราชทานสัตสดกมหาทาน แลให้ช้างเผือกพระราชทานมีกองเชิงเงิน ๔ เท้าช้างนั้น เป็นเงิน ๑,๖๐๐ บาท แลพระราชทานรถ ๗ รถเทียมด้วยม้า แลมีนางสำหรับรถนั้นเสมอรถ ๗ นาง อนึ่งในเดือน ๗ นั้น เสด็จไปวังช้างตำบลโตรกพระ ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง

ศักราช ๙๒๑ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๐๒) เสด็จไปวังช้างตำบลแสนตอ ได้ช้างพลายพัง ๔๐ ช้าง.

ศักราช ๙๒๒ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๐๓) เสด็จไปวังช้างตำบลวัดไก่ ได้ช้างพลายพัง ๕๐ ช้าง อนึ่งอยู่ในวัน ๗๘๑๒ คํ่าได้ช้างเผือก แลตาช้างนั้นมิได้เป็นเผือก แลลูกติดมาด้วยตัวหนึ่ง

ศักราช ๙๒๓ ระกาศก (พ.ศ. ๒๑๐๔) พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดมหาธาตุ แล้วหนีออกไปอยู่ตำบลม่วงมดแดง แลพระสังฆราชวัดป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์ ให้เข้ามาเข้าพระราชวัง ณ วัน ๗๑๙ คํ่า ครั้งนั้นพระยาสีหราชเดโชเป็นโทษรับพระราชอาชญาอยู่ แลพระยาสีหราชเดโชจึงให้ไปว่าแก่พระศรีศิลป์ว่า ครั้นพ้นวันพระแล้วจะให้ลงพระราชอาชญาฆ่าพระยาสีหราชเดโชเสีย แลขอให้เร่งยกเข้ามาให้ทันแต่ในวันพระนี้ แลพระศรีศิลป์จึงยกเข้ามาแต่ในวัน ๕๑๔๘ คํ่า เพลาเย็นนั้นมายังกรุง ครั้นรุ่งขึ้นในวันพระนั้น พระศรีศิลป์เข้าพระราชวังได้ ครั้งนั้นได้ พระศรีศิลป์มรณภาพในพระราชวังนั้น ครั้นแลรู้ว่าพระสังฆราชป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์เป็นแม่นแล้วไซร้ ก็ให้เอาพระสังฆราชป่าแก้วไปฆ่าเสีย

ศักราช ๙๒๔ จอศก (พ.ศ. ๒๑๐๕) เสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย ได้ช้างพลายพัง ๗๐ ช้าง

ศักราช ๙๒๕ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๐๖) พระเจ้าหงสานิพัตรยกพลลงมาในเดือน ๑๒ นั้น ครั้นเถิงวัน ๑๕๒ คํ่า พระเจ้าหงสาได้เมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเมืองพิษณุโลกข้าวแพง ๓ สัดต่อบาท อนึ่งคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมาก แล้วพระเจ้าหงสาจึงได้เมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง แล้วจึงยกพลลงมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา ครั้งนั้นฝ่ายกรุงพระมหานครศรีอยุธยาออกเป็นพระราชไมตรี แลสมเด็จพระมหากระษัตริย์เจ้าทั้งสองฝ่ายเสด็จมาทำสัตยาทิษฐานหลั่งน้ำสิโนทกตำบลวัดพระเมรุ แล้วจึงพระเจ้าหงสาขอเอาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรเจ้า แลช้างเผือก ๔ ช้างไปเมืองหงสา ครั้งนั้นพระยาศรีสุรต่านพระยาตานีมาช่วยการเศิก พระยาตานีนั้น เป็นขบถแลคุมชาวตานีทั้งปวงเข้าในพระราชวัง ครั้นแลเข้าในพระราชวังได้เอาช้างเผือกมาขี่ยืนอยู่ณท้องสนาม แล้วจึงลงช้างออกไปณทางตะแลงแกง แลชาวพระนครเอาพวนขึงไว้ต่อรบด้วยชาวตานี ๆ นั้นตายมาก แลพระยาตานีนั้นลงสำเภาหนีไปรอด ในปีเดียวนั้นพระเจ้าล้านช้างให้พระราชสารมาถวายว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้า แลทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พระเจ้าล้านช้าง แลครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้าทรงพระประชวร จึงพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระแก้วฟ้าพระราชบุตรี ให้แก่พระเจ้าล้านช้าง

ศักราช ๙๒๖ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๐๗) พระเจ้าล้านช้างจึงให้เชิญสมเด็จพระแก้วฟ้าพระราชบุตรี ลงมาส่งยังพระนครศรีอยุธยา แลว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้านั้น แลจึงพระราชทานสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าไปแก่พระเจ้าล้านช้าง ครั้งนั้นพระเจ้าหงสารู้เนื้อความทั้งปวงนั้น จึงแต่งทัพมาซุ่มอยู่กลางทาง แลออกชิงเอาสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าได้ ไปถวายแก่พระเจ้าหงสา อนึ่งในปีนั้น น้ำณกรุงพระนครศรีอยุธยานั้นน้อยนัก

ศักราช ๙๓๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๑๑) ในเดือน ๑๒ นั้น พระเจ้าหงสายกพลมาแต่เมืองหงสา ครั้นเถิงวัน ๖๑๑ คํ่า พระเจ้าหงสาเถิงกรุงพระนครศรีอยุธยา ตั้งทัพตำบลหล่มพลี แลเมื่อเศิกหงสาเข้าล้อมพระนครศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าทรงพระประชวรนฤพาน แลครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระมหินทราธิราชตรัสมิได้นำพาการเศิก แต่พระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นตรัสเอาพระทัยใส่ แลเสด็จไปบัญชาการที่จะรักษาพระนครทุกวัน ครั้นแลสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าตรัสว่าพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวเสด็จไปบัญชาการเศิกทุกวันดังนั้นก็มิไว้พระทัย ก็ให้เอาพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นไปฆ่าเสีย ณ วัดพระราม

ครั้งนั้นการเศิกซึ่งจะรักษาพระนครนั้นก็คลายลง ครั้นเถิงศักราช ๙๓๑ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๑๒) ณวัน ๑๑๑๙ คํ่า เพลารุ่งแล้วประมาณ ๓ นาฬิกาก็เสียกรุงพระนครศรีอยุธยาแก่พระเจ้าหงสา ครั้นเถิงวัน ๖๖๑๒ คํ่า ทำการปราบดาภิเศก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า เสวยราชสมบัติกรุงพระนครศรีอยุธยา อนึ่งเมื่อพระเจ้าหงสาเสด็จกลับคืนไปเมืองหงสานั้น พระเจ้าหงสาเอาสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าขึ้นไปด้วย

ศักราช ๙๓๒ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๑๑๓) พระยาละแวกยกพลมายังพระนครศรีอยุธยา พระยาละแวกยืนช้างตำบลสามพิหาร แลได้รบพุ่งกัน แลชาวในเมืองพระนครยิงปืนออกไป ต้องพระยาจัมปาธิราชตายกับคอช้าง ครั้งนั้นเศิกพระยาละแวกเลิกทัพกลับคืนไป ในปีนั้นน้ำ ณ กรุงพระนครศรีอยุธยามาก

ศักราช ๙๓๓ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๑๔) น้ำน้อย อนึ่งสมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้า เสด็จขึ้นไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก

ศักราช ๙๓๔ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๑๕) น้ำน้อยนัก

ศักราช ๙๓๕ ระกาศก (พ.ศ. ๒๑๑๖) น้ำน้อยเป็นมัธยม

ศักราช ๙๓๖ จอศก (พ.ศ. ๒๑๑๗) น้ำมากนัก ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงพระประชวรทรพิษ

ศักราช ๙๓๗ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๑๘) พระยาละแวกยกทัพเรือมายังพระนครศรีอยุธยา ในวน ๗๑๐๑ คํ่านั้น ชาวเมืองละแวกตั้งทัพเรือตำบลพะแนงเชิง แลได้รบพุ่งกัน ครั้งนั้นเศิกละแวกต้านมิได้เลิกทัพกลับไป แลจับเอาคนณเมืองปักษ์ใต้ไปครั้งนั้นมาก ในปีนั้นน้ำณกรุงศรีอยุธยาน้อย

ศักราช ๙๔๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๒๑) พระยาละแวกแต่งทัพให้มาเอาเมืองเพชรบุรี มิได้เมือง แลชาวละแวกนั้นกลับไป ครั้งนั้นพระยาจีนจันตุหนีมาแต่เมืองละแวกมาสู่พระราชสมภาร ครั้นอยู่มาพระยาจีนจันตุก็หนีกลับคืนไปเมือง

ศักราช ๙๔๒ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๒๓) รื้อกำแพงกรุงพระนครออกไปตั้งเถิงริมแม่น้ำ

ศักราช ๙๔๓ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) ญาณประเชียรเรียนศาสตราคม แลคิดเป็นขบถ คนทั้งปวงสมัครเข้าด้วยมาก แลยกมาจากเมืองลพบุรี แลยืนช้างอยู่ตำบลหัวตรี แลบรเทศคนหนึ่งอยู่ในเมืองนั้น ยิงปืนออกไปต้องญาณประเชียรตายกับคอช้าง แลในปีนั้นมีหนังสือมาแต่เมืองหงสา ว่าปีมะเส็งตรีนิศกนี้อธิกมาสมิได้ ฝ่ายกรุงพระนครศรีอยุธยานี้มีอธิกมาส อนึ่งในวัน ๗๙๒ คํ่า รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสานฤพาน อนึ่งในเดือน ๓ นั้น พระยาละแวกยกพลมาเมืองเพชรบุรี ครั้งนั้นเสียเมืองเพชรบุรีแก่พระยาละแวก

ศักราช ๙๔๔ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) พระยาละแวกแต่งทัพให้มาจับคนปลายด่านตะวันออก

ศักราช ๙๔๕ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๒๖) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้แต่จวนกลาโหม แลเพลิงนั้นลามไปเถิงในพระราชวัง แลลามไหม้ไปเมืองท้ายเมือง ครั้งนั้นรู้ข่าวมาว่า ข้างหงสาทำทางมาพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๔๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า เสวยราชสมบัติณเมืองพิษณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสากับพระเจ้าอางวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการเศิกพระเจ้าหงสา แลอยู่ในวัน ๕๓๕ ค่ำ ช้างต้นพลายสวัสดิมงคล แลช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์ชนกัน แลงาช้างต้นพลายสวัสดิมงคลลุ่ยข้างซ้าย แลโหรทำนายว่าห้ามยาตราแลมีพระราชโองการตรัสว่า ได้ตกแต่งการนั้นสรัพแล้วจึงเสด็จพยุหบาตราไป ครั้นเถิง ณ วัน ๔๙๕ คํ่า เสด็จออกตั้งทัพไชยตำบลวัดยมท้ายเมืองกำแพงเพชร ในวันนั้นแผ่นดินไหว แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปเถิงเมืองแกรง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลืบคืนมาพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายเมืองพิษณุโลกนั้นอยู่ในวัน ๔๘๑๐ ค่ำ เกิดอัศจรรย์แม่น้ำทรายหัวเมืองพิษณุโลกนั้นป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นนํ้านั้น ๓ ศอก อนึ่งเห็นสตรีภาพผู้หนึ่งหน้าประดุจหน้าช้าง แลทรงสัณฐานประดุจงวงช้างแลหูนั้นใหญ่ นั่งอยู่ณวัดประสาทหัวเมืองพิษณุโลก อนึ่งช้างใหญ่ตัวหนึ่งยืนอยู่ณท้องสนามนั้นอยู่ก็ล้มลงตายกับที่บัดเดี๋ยวนั้น อนึ่งเห็นตักแตนบินมาณอากาศเป็นอันมาก แลบังแสงอาทิตย์บดมาแล้วก็บินกระจัดกระจายสูญไป ในปีเดียวกันนั้นให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวงลงมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา ในปีเดียวกันนั้นพระเจ้าหงสาให้พระเจ้าสาวถีแลพระยาพสิมยกพลลงมายังกรุงพระนคร แลณวัน ๔๒๒ คํ่า เพลาเที่ยงคืนแล้ว ๒ นาฬิกา ๙ บาท เสด็จพยุหบาตราไปตั้งทัพตำบลสามขนอน ครั้งนั้นเศิกหงสาแตกพ่ายหนีไป อนึ่งม้าตัวหนึ่งตกลูกแลศีร์ษะม้านั้นเป็นศีรษะเดียว แต่ตัวม้านั้นเป็น ๒ ตัว แลเท้าม้านั้นตัวละสี่เท้าประดุจชิงศีรษะแก่กัน

ศักราช ๙๔๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๑๒๘) พระเจ้าสาวถียกพลลงมาครั้งหนึ่งเล่า ตั้งทัพตำบลสะเกษ แลตั้งอยู่แต่ณเดือนยี่เถิงเดือนสี่ ครั้นเถิงวัน ๔๗๕ ค่ำ เวลารุ่งแล้ว ๔ นาฬิกาบาท เสด็จพยุหบาตราตั้งทัพไชยตำบลหล่มพลี แล ณ วัน ๗๑๐๕ ค่ำ เสด็จจากทัพไชยโดยทางชลมารคไปทางป่าโมก มีนกกระทุงบินมาทั้งซ้ายขวาเป็นอันมากนำหน้าเรือพระที่นั่งไป ครั้นเถิงวัน ๕๑๔๕ คํ่า เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายมงคลทวีปออกดาช้างม้าทั้งปวงอยู่ณริมน้ำ แลพระอาทิตย์ทรงกลดแลรัศมีกลดนั้นส่องลงมาต้องช้างพระที่นั่ง มีทรงสัณฐานประดุจเงากลดนั้นมากั้งช้างพระที่นั่ง ครั้งนั้นตีทัพพระเจ้าสาวถีซึ่งตั้งอยู่ตำบลสะเกษนั้นแตกพ่ายไป ในปีเดียวนั้นมหาอุปราชายกพลมาโดยทางกำแพงเพชร ตั้งทำนาอยู่ที่นั่น

ศักราช ๙๔๘ จอศก (พ.ศ. ๒๑๒๙) ณวัน ๒๘๑๒ ค่ำ พระเจ้าหงสางาจีสยางยกพลลงมาเถิงกรุงพระนคร ณวัน ๕๒๒ ค่ำ แลพระเจ้าหงสาเข้าล้อมพระนคร แลตั้งทัพตำบลขนอนปากคู แลทัพมหาอุปราชาตั้งขนอนบางตนาว แลทัพทั้งปวงนั้นก็ตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่ แลครั้งนั้นได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ แลพระเจ้าหงสาเลิกทัพคืนไปในศักราช ๙๔๙ นั้น (พ.ศ. ๒๑๓๐) วัน ๒๑๔๕ คํ่า เสด็จโดยทางชลมารคไปตีทัพมหาอุปราชา อันตั้งอยู่ขนอนบางตะนาวนั้นแตกพ่ายลงไปตั้งอยู่ ณ บางกระดาน วัน ๖๑๐๖ คํ่า เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพมหาอุปราชา อันลงไปตั้งอยู่ณบางกระดานนั้นแตกพ่ายไป วัน ๕๑๗ คํ่า เสด็จพระราชดำเนินพยุหบาตราออกตั้งทัพไชยณวัดเดช แลตั้งค่ายขุดคูเป็นสามารถ วัน๕๘๗ คํ่า เอาปืนใหญ่ลงสำเภา ขึ้นไปยิงเอาค่ายพระเจ้าหงสา ๆ ต้านมิได้ก็เลิกทัพไปตั้งณป่าโมกใหญ่ วัน ๒๑๐๔ คํ่า เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพข้าเศิก ๆ นั้นแตกพ่ายไป แลไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนค่ายพระเจ้าหงสานั้น วัน ๓๑๐๔ ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินออกตั้งเป็นทัพซุ่ม ณ ทุ่งหล่มพลี แลออกตีทัพข้าเศิก ครั้งนั้นได้รบพุ่งตะลุมบอนกันกับม้าพระที่นั่ง แลทรงพระแสงทวนแทงเหล่าทหารตาย ครั้นข้าเศิกแตกพ่ายเข้าค่ายแลไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนเถิงหน้าค่าย วัน ๒๑๐๓ ค่ำ เพลานาฬิกาหนึ่งจะรุ่ง เสด็จยกทัพออกไปตีทัพพระยานคร ซึ่งตั้งอยู่ณปากน้ำมุทุเลานั้น ครั้งนั้นเข้าตีทัพได้เถิงในค่าย แลข้าเศิกพ่ายหนีจากค่ายข้าเศิกเสียสิ้น แลพระเจ้าหงสาก็เลิกทัพคืนไป แลพระยาละแวกมาตั้งณบางซาย ครั้งนั้นเสด็จออกไปชุมพลทั้งปวงณบางกระดาน เถิงวัน ๕๑๓ คํ่าเพลาอุษาโยค เสด็จพยุหบาตราจากบางกระดานไปตั้งทัพไชย ณซายเคือง แล้วเสด็จไปละแวก ครั้งนั้นได้ช้างม้าผู้คนมาก

ศักราช ๙๕๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๓๑) ณวัน ๒๘๑๒ คํ่า แผ่นดินไหว

ศักราช ๙๕๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๑๓๒) ข้าวแพงเป็นเกวียนละสิบตำลึง ปิดตราพระยานารายณ์กำชับ วัน ๖๗๒ คํ่า แผ่นดินไหว

ศักราช ๙๕๒ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๓๓) วัน ๑๑๓๘ ค่ำ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระพฤฒาราชนฤพาน วัน ๓๒๑๒ คํ่า มหาอุปราชายกทัพมาโดยทางกาญจนบุรี ครั้งนั้นได้ตัวพระยาพสิมตำบลตะเข้สามพัน

ศักราช ๙๕๔ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๓๕) วัน ๖๒๑๒ คํ่า อุปราชายกมาแต่หงสาณวัน ๗๑๑ คํ่า เพดานช้างต้นพระยาไชยานุภาพตกออกมาใหญ่ประมาณ ๕ องคุลี ครั้นเถิงเดือนยี่มหาอุปราชายกมาเถิงแดนเมืองสุพรรณบุรี แต่ตั้งทัพตำบลพังตรุ วัน ๑๙๒ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๔ นาฬิกา ๒ บาท เสด็จพยุหบาตราโดยทางชลมารค ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพไชยตำบลม่วงหวาน แลณวัน ๔๑๒๒ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๙ บาท เสด็จพยุหบาตราโดยสถลมารค อนึ่งเมื่อใกล้รุ่งขึ้นวัน ๑๒ คํ่านั้น เห็นพระสารีริกธาตุปาฏิหาริย์ไปโดยทางซึ่งจะเสด็จนั้น เถิงวัน ๒๒๒ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๕ นาฬิกา ๓ บาท เสด็จทรงช้างต้นพระยาไชยานุภาพ เสด็จออกรบมหาอุปราชาตำบลหนองสาหร่าย ครั้งนั้นมิได้ตามฤกษ์แลฝ่าย (ฝ่า) ฤกษ์หน่อยหนึ่ง แลเมื่อได้ชนช้างด้วยมหาอุปราชานั้น สมเด็จพระนารายน์บพิตรเป็นเจ้า ต้องปืนณพระหัตถ์ข้างขวาหน่อยหนึ่ง อนึ่งเมื่อมหาอุปราชาขี่ข้างออกมายืนอยู่นั้น หมวกมหาอุปราชาใส่นั้นตกลงเถิงดิน แลเอาคืนขึ้นใส่เล่า ครั้งนั้นมหาอุปราชาขาดคอช้างตายในที่นั้น แลช้างต้นพระยาไชยานุภาพ ซึ่งทรงแลได้ชนด้วยมหาอุปราชาแลมีไชยชำนะนั้น พระราชทานให้ชื่อเจ้าพระยาปราบหงสา

ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๓๖) วัน ๒๕๑๐ คํ่า เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท ครั้งนั้นทรงพระโกรธแก่มอญ ให้เอามอญเผาเสียประมาณ ๑๐๐ ณวัน ๖๑๐๒ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท เสด็จพยุหบาตราไปเอาเมืองละแวก แลตั้งทัพไชยตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้นได้ตัวพระยาศรีสุพรรณในวัน ๑๑๔ ค่ำนั้น

ศักราช ๙๕๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๑๓๗) ยกทัพไปเมืองสะโตง

ศักราช ๙๕๗ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๓๘) วัน ๑๓๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท เสด็จยพุหบาตราไปเมืองหงสา ครั้งก่อนฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพไชยตำบลม่วงหวาน เถิงวัน ๑๑๓๔ คํ่า เพลาเที่ยงคืนแล้ว เข้าปล้นหงสามิได้ ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา

ศักราช ๙๕๘ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๓๙) วัน ๓๔๖ คํ่า ลาวหนี ขุนจ่าเมืองรบลาวตำบลตะเคียนด้วน แลณวัน ๕๖๓ คํ่า ฝนตกหนักหนาสามวันดุจฤดูฝน

ศักราช ๙๖๑ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๔๒) วัน ๕๑๑๑๑ คํ่า เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๘ บาท เสด็จพยุหบาตราไปเมืองตองอู ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลีตั้งทัพไชยตำบลวัดตาล แลในเดือน ๑๑ นั้นสงกรานต์ พระเสาร์แต่ราศีกันย์ไปราศีดุลย์ ครั้นเถิงวัน ๔๑๐๔ คํ่า เสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองตองอู แลทัพหลวงเข้าตั้งใกล้เมืองตองอูประมาณ ๓๐ เส้น แลตั้งอยู่ที่นั้นสองเดือน ขาดอาหารพ้นกำลัง ไพร่พลทั้งปวงตายด้วยอดอาหารเป็นอันมาก ครั้นวัน ๔๖๖ คํ่า ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมายังพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๖๓ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๑๔๔) เดือน ๗ เดือนเดียวนั้นมีสุริยุปราคา ในปีนั้นรับพระอิศวรแลพระนารายณ์เป็นเจ้า ไปถวายพระพรพร้อมกันวันเดียวทั้ง ๔ คานหาม

ศักราช ๙๖๔ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๔๕) เสด็จไปประพาสลพบุรี

ศักราช ๙๖๕ เถาะศก (พ.ศ. ๒๑๔๖) ทัพพระเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้

ศักราช ๙๖๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๔๗) วัน ๕๖๒ คํ่า เสด็จพยุหบาตรจากป่าโมกโดยทางชลมารค แลฟันไม้ข่มนามตำบลเอกราช ตั้งทัพไชยตำบลพระหล่อ วันนั้นเป็นวันอุน แลเป็นสงกรานต์ พระเสาร์ไปราศีธนูเป็นองค์ษาหนึ่ง ครั้งนั้นครั้นเสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองหลวงตำบลทุ่งดอนแก้ว

‹ คำอธิบาย พระนิพนธ์up
สนับสนุนโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
แชร์ชวนกันอ่าน
27
แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ
รับสมัครข่าวสารห้องสมุดและหนังสือใหม่ล่าสุด
email address
108  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่พ่อทิม นาคคุ้ม อสม ดีเด่น.มา กว่ายี่สิบเจ็ดปีที่จากไป ราวตะวันดับ ลับลา ไปจ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2020, 10:15:07 pm
แด่พ่อทิม นาคคุ้ม อสม ดีเด่น.มา กว่ายี่สิบเจ็ดปีที่จากไป

ราวตะวันดับ ลับลา ไปจากโลก
วิปโยค โศกศัลย์ ไร้หรรษา
โลกมืดมิด ดับตะวัน ดับจันทรา
พ่อลับลา จากไป  ไม่กลับมา

พ่อยิ่งใหญ่ มีหัวใจ เสียสละ
พ่อมานะ การงาน พ่อห่วงหา
รับใช้ชาติ บ้านเมือง  เหล่าประชา
สุดพรรณนา พ่อมาจาก พรากดวงใจ

อาสาสมัคร  มีศรัทธา  มหาศาล
พ่อช่วยงาน ราชการ ด้วยแจ่มใส
พ่อทำงาน  ทุ่มเท  ดวงฤทัย
พ่อยิ่งใหญ่  ในใจ  ให้กำแพง

ใจพ่อทิม  นาคคุ้ม  ช่างกว้างขวาง
พ่อช่วยเหลือ  ทุกทาง  ทั่วหนแห่ง
หลายสิบปี เสียสละ สุดแจกแจง
พ่อแสดง  ความดีงาม  เมื่อยามเป็น

เมื่อฟ้าพราก พ่อไป ใจเหมือนขาด
พ่อนิราศ  โลกไป  ไม่แลเห็น
ร่างพ่อลับ.ดับแล้ว  เรือนเราเย็น
พ่อทิมเป็น เทพแล้ว  เรืองนภา

แม้ร่างลับ  ดับแล้ว ดวงแก้วจาก
ความดีไม่ เคยพราก พ่อห่วงหา
ขอพ่อสู่  สรวงสวรรค์  เสกมรรตา
วัฒนา คู่สวรรค์ นิรันดร์เทอญ
109  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / #ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์ ... #ดาบรามเพชรรัตน์ อนุสรณ์เจ้ากำแพงเพชร ... #พระ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2020, 09:08:36 pm
#ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์
...
#ดาบรามเพชรรัตน์  อนุสรณ์เจ้ากำแพงเพชร
...
#พระแสงราชศัสตราแห่งเมืองกำแพงเพชร เป็นพระแสงประจำเมืองเล่มเดียวในประเทศที่เป็นของเก่าที่แท้จริง เนื่องด้วยเป็นพระแสงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ให้เป็นบำเหน็จความดีความชอบในการศึกปัตตานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แก่ พระยากำแพงเพชร นุช  ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 2 ต่อจากบิดา ส่วนพระแสงประจำเมืองของจังหวัดอื่น ๆ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
...
#พระยากำแพงเพชรนุช  นั้นเป็นใคร ??  ทำไมจึงได้รับพระราชทานพระแสงทองคำ ??
...
ในสงครามเก้าทัพนั้น สมรภูมิทางใต้ อย่างหัวเมืองแขกมลายู นั้นมีความสำคัญเท่าๆ กับหัวเมืองเหนือ โดยเฉพาะรัฐปัตตานี อันเป็นศูนย์กลางอำนาจแห่งหนึ่งในคาบสมุทรมลายู การที่สยามรบชนะยึดเมืองปัตตานีได้ พร้อมชะลอปืนใหญ่อย่าง พญาตานี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจทางการทหารมาไว้ยังกรุงเทพฯ ตามธรรมเนียมการศึกสงครามนั้นก็เหมือนกับที่สยามสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชตีเวียงจันทร์แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังกรุงธนุรี นั่นเอง
...
การศึกปัตตานีในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้นมี 3 ครั้ง คือ ศึกใหญ่ในช่วงสงคราม 9 ทัพ ปี พ.ศ. 2328  ศึกปัตตานีครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2334 และศึกปัตตานีครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2351 ซึ่งใน 2 ครั้งหลัง จัดเป็นศึกปราบกบฏ  จึงมีคำถามว่า พระยากำแพงเพชรนุช ท่านได้ความดีความชอบจากศึกไหน ฮืม ซึ่งเราคงต้องสืบค้นกันต่อไป
...
ในเอกสารที่บันทึกถึงพระยากำแพงเพชรนุชนั้น มีการกล่าวว่าท่านเป็นก๊กวังหลัง  คำว่า ก๊กวังหลัง นั้นตีความหมายได้ค่อนข้างกว้างมาก แต่ไม่น่าจะใช่ขุนนางในกรมพระราชวังหลัง เพราะรัชกาลที่ 1 ทรงแต่งตั้งหลานขึ้นเป็นกรมพระราชวังหลัง ครั้งเมื่อเสร็จศึกสงครามเก้าทัพ และกรมพระราชวังหลังทรงขึ้นไปปราบศึกหัวเมืองเหนือ มิใช่หัวเมืองใต้ อย่าง ศึกปัตตานี ดังนั้นจึงเหลือเพียงประการเดียว คือ พระยากำแพงเพชรนุช ต้องมีความเกี่ยวข้องในระดับเครือญาติ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
...
#พระยากำแพงเพชรนุช นั้นถึงจะมิได้มีความสำคัญเทียบเท่าเจ้าหัวเมืองเหนือ อย่าง เชียงใหม่ ลำปาง หรือน่าน ที่เสมือนเจ้าประเทศราชในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นที่มาของราชสกุล อย่าง ณ เชียงใหม่  ณ ลำปาง หรือ ณ น่าน เป็นต้น
 แต่ตามบันทึกนั้นปรากฏว่า ภรรยาของท่านสืบสายโลหิตเจ้าเมืองเชียงแสน และมีเชื้อสายชาวกาวเมืองน่าน  ยิ่งเป็นเครื่องช่วยยืนยันถึงโอกาสที่ พระยากำแพงเพชรนุช จะเป็นหนึ่งในพระประยูรญาติ หรือเป็นเครือญาติที่เกี่ยวพันกับรัชกาลที่ 1 มากยิ่งขึ้นอีกประการหนึ่ง และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลูกหลานของพระยากำแพงเพชรนุช ได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองกำแพงเพชรกันมาอีกหลายรุ่นเกือบ 100 ปี จึงเปลี่ยนเจ้าเมืองเป็นคนจากสกุลอื่นแทนในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5
...
#พระแสงราชศัสตราแห่งกำแพงเพชร
...
การได้รับพระราชทานพระแสงดาบจากรัชกาลที่ 1 ในลักษณะนี้ เรียกได้ว่าเป็นการพระราชทานไว้เป็นประจำ ผู้ที่ได้รับพระราชทานย่อมต้องเป็นที่โปรดปรานเป็นพิเศษ แต่ถือว่าเป็นการพระราชทานเป็นส่วนพระองค์เพื่อส่วนตัวของผู้นั้นเอง พระแสงดาบนี้จึงมิได้มีอำนาจอาญาสิทธิ์ในราชการเมือง  ซึ่งสุดท้ายจากพระแสงราชศัสตราจึงเลือนกลายเป็นดาบประจำตระกูลไปในที่สุด (กรมศิลปากร , พระแสงราชศัสตราประจำเมือง : ๒๕๓๙ หน้า ๕๒ )
...
ตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์มานั้น มีการพระราชทานพระแสงดาบในลักษณะนี้เพียง 2 เล่ม ซึ่งอีกเล่มหนึ่งคือ พระแสงดาบที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 พระราชทานให้กับเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แต่ปัจจุบันจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ ส่วนพระแสงดาบกำแพงเพชร เก็บรักษาไว้ที่ห้องมั่นคง สำนักงานคลังจังหวัดกำแพงเพชร โดยไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม ยกเว้นทายาทพระยากำแพงเพชร ในสายสกุลต่างๆ ที่มาร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายพระพุทธเจ้าหลวง เนื่องในวันปิยะมหาราช เดือนตุลาคม เท่านั้น
...
สายสกุลทายาทพระยากำแพงเพชร นั้น มี 9 สกุลหลัก คือ กำแหงสงคราม กลิ่นบัว นาคน้อย นุชนิยม รอดศิริ รามบุตร รามสูต ศุภดิษฐ์ และอินทรสูต และยังมีสกุลที่เกี่ยวข้องอีก 6 สกุล ปัจจุบันผู้ที่เป็นทายาทสายเลือดพระยากำแพงเพชรน่าจะมีถึงหลักพันคน บางท่านเป็นนายทหารระดับผู้ใหญ่ บางท่านเป็นนักธุรกิจใหญ่ เป็นข้าราชการผู้ใหญ่ เป็นครูอาจารย์ เป็นพ่อค้า เป็นเกษตรกร เรียกได้ว่า ครอบคลุมทุกระดับชั้น
...
ผมในฐานะทายาทรุ่นที่ 9 ในสายสกุล รามสูต ทายาทจากสายพระยารามรณณรงค์สงคราม (เกิด) เจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 7 แห่งรัชสมัยรัตนโกสินทร์  ซึ่งเป็นหลานตาของพระยากำแพงเพชรนุช ด้วยจิตสำนึกในเกียรติภูมิของบรรพบุรุษทุกๆ รุ่น ลงมาถึงบิดาและมารดาของผม  ที่ล้วนรับราชการสนองคุณแผ่นดินมาโดยตลอด จึงขอยอยกพระแสงดาบกำแพงเพชร ขึ้นเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์  ศัสตราทายาท  อันดาบรามเพชรรัตน์นั้น คำว่า “ราม” มาจากตำแหน่งเจ้าเมืองกำแพงเพชร คือ ออกญารามรณณรงค์สงครามฯ คำว่า “เพชร” มาจากชื่อเมืองกำแพงเพชร  คำว่า “รัตน์” (รัตนะ) ที่แปลว่าแก้ว นั้นมาจาก พระแก้วมรกต ที่เคยประดิษฐาน ณ วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชร  ดาบรามเพชรรัตน์เล่มนี้จึงมีต้นกำเนิดเป็นสิ่งสำคัญ เป็นเรื่องราวและตำนานของเมืองกำแพงเพชรไว้อย่างครอบคลุม  ให้ปรากฏเป็นอนุสรณ์แห่งเจ้ากำแพงเพชร สืบไป
...
โดยในการนี้ได้จำลองลักษณะใบดาบของพระแสงกำแพงเพชร ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างดาบ ในการนี้ ศัสตราเมธี ครูพรชัย ตุ้ยดง ได้ใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ยืนยันว่า พระแสงดาบกำแพงเพชรนี้ เป็นดาบ ล้านนาทรงเจ้าลำปาง ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ ปราชญ์เมืองกำแพงเพชร อาจารย์สันติ อภัยราช ที่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการบูรณะพระแสงดาบกำแพงเพชรองค์จริงมาตั้งแต่ต้น ว่าเป็นดาบล้านนา อย่างมิต้องสงสัย 
...
โดยพระแสงราชศัสตราเมืองกำแพงเพชรนั้น ใบทรงเจ้าลำปางยาว 18 นิ้ว ด้ามยาว 15.5 นิ้ว ใบกว้างสุด 1 นิ้ว หลูบด้วยทองคำทั้งด้ามและฝักตามจารีตดาบล้านนา เพียงแต่ที่ด้ามไม่ใส่ลูกแก้ว ที่คอด้าม ก่อนการบูรณะมีน้ำหนักรวมด้ามฝักและใบ 636.2 กรัม
...
ดาบรามเพชรรัตน์ ใบทรงเจ้าลำปางยาว 20 นิ้ว ด้ามยาวรวม 18 นิ้ว ใบตีจากอุกกาบาตชนิดเหล็ก ด้ามไม้ไผ่สีสุกโค้งธรรมชาติ และฝักไม้สักทอง ทั้งด้ามและฝักหลูบด้วยเงินแท้ชุบทองคำ ส้นด้ามใส่แก้วผลึกใสกลึง ปลายฝักหลูบด้วยแผ่นทองแดง สร้างตามศิลป์และจารีตล้านนาผสมลาว โดยในการนี้ ผมได้นำคติความเชื่อเรื่อง อัษฎมงคล 8 ประการ ของพุทธนิกายตันตระ มาประยุกต์และสอดแทรกในการหลูบดาบรามเพชรรัตน์
 
#ส้นด้าม เป็นแก้วผลึกแกะลายก้นหอยสังข์มงคล มีดอกบัวมงคลบานมารองรับ
#ด้าม ใส่บัวรัดมีลายหนาเป็นข้อ ๆ แทน ฉัตรมงคล 9 ชั้นและ 5 ชั้น
#กลุ่มลายบัว ในทุกข้อ จบด้วยบัวลายหางปลามงคล
#บัวรัดตรงรอยต่อด้ามกับฝัก มีลายเปียถัก 4 หรือลายเงื่อนมงคล
#ใส่ตะหวา ทองแดงตอกลายธรรมจักรมงคล
#ฝัก ใส่กลุ่มลายบัวคู่ แบ่งฝักเป็น 3 ช่วง แทน ตุงมงคลหรือธงทางล้านนา
#ตัวฝักแทนภาชนะ หม้อน้ำ ปูรณฆฏะ โดยแกะลายดอกพุดตานที่ขอบฝัก
...
#งานหลูบเงินชุบทอง นี้จะสำเร็จออกมามิได้หากไม่ได้ สล่าหลูบเงินผู้มีฝีมือฉกาจฉกรรจ์ อย่าง #สล่าแคบหมู ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี พ.ศ.2563 นายธีร์ธวัช  แก้วอุด มาเป็นผู้สร้างสรรค์งาน  สำหรับดาบรามเพชรรัตน์ เล่มนี้ ยังมีรายละเอียดที่ผมอยากนำเสนอเพิ่มเติมอีกในครั้งต่อไป อาจเป็นในงานพินิจศาสตราฯ ที่จะจัดขึ้นในเดือนนี้ ที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จึงขอเชิญชวนท่านผู้สนใจ มาเที่ยวชมงานได้ ซึ่งจะมีดาบที่สวยงามและทรงคุณค่าของท่านอื่นๆอีกมากมายมาให้ร่วมชมกัน
110  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / วิธีการเลี้ยงลูก บทพูดบทที่๔ ของสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร เลี้ยงลูกด้วยหนังสือ (บท เมื่อ: ธันวาคม 28, 2019, 08:33:04 pm
วิธีการเลี้ยงลูก บทพูดบทที่๔ ของสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร
เลี้ยงลูกด้วยหนังสือ (บท4)
เมื่อท่านออกไปทานข้าวนอกบ้านแล้วเห็นครอบครังนึงที่มี คุณพ่อ คุณแม่ เด็กเล็กๆ ไปทานข้าวด้วยกัน ท่านน่าจะรู้สึกดีใช่ไหมคะ

แต่ถ้าคุณมองไปแล้วเห็นคนในครอบครัวนั้น มีโทรศัพท์ หรือไอแพดกันคนละเครื่อง คุณพ่อกำลังแชท คุณแม่ท่องอินเตอร์เนต คุณลูกเล่นเกมส์ หรือดูการ์ตูนในไอแพดล่ะคะ คุณจะรู้สึกอย่างไร

ถ้าดิฉันเห็นแบบนี้ทีไรดิฉันค่อนข้างจะมีความรู้สึกร่วมมาก และชอบเฝ้าสังเกตการณ์ ว่าครอบครัวนั้นเค้าจะทำอย่างไรกันต่อ ที่ชอบสังเกตุเพราะว่าเราจะได้เอาประยุกต์ใช้กับครอบครัวเราได้ว่า

เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ถ้าเราไม่ยื่นเทคโนโยีใส่เด็กๆเมื่อเราทำกิจกรรมนอกสถานที่

ความรู้สึกร่วมที่ดิฉันพูดถึงคือ ดิฉันรู้สึกเห็นใจเด็กคนนั้นทันที ที่รู้สึกรู้สึกเห็นใจก็เพราะว่า พวกเขาก็มากันครบทีมทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ

แต่พวกเขามาแค่ตัวค่ะ เขาไม่ได้เอาหัวใจมาด้วย พวกเขาขาดความใส่ใจซึ่งกันและกัน ขาดปฏิสัมพันธ์ ขาดการพูดคุย ไม่มีการมองตากัน ไร้ซึ่งการสัมผัสกันทั้งทางกายและทางใจ

ตามธรรมชาติของเด็กเล็กแล้วเรื่องการส่งเสียงดัง วิ่งเล่น งอแง เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องธรรมชาติมากๆ เพราะเด็กเค้าพลังเยอะ เค้าต้องใช้ร่างกายพิสูจน์พลัง และเค้ายังรอคอยไม่เก่ง

ถ้าคุณพ่อคุณแม่คิดว่า รับมือกับเด็กไม่ได้ก็ให้พยายามเลือกร้านที่สิ่งแวดล้อมมีที่ให้วิ่งเล่น มีเครื่องเล่น หรือเลือกทานข้าวที่บ้านไปเลย ดีกว่าที่จะออกไปทานข้าวนอกบ้าน แล้วยื่นเทคโนโลยีให้เด็กเพื่อให้เด็กเงียบ และนั่งนิ่งๆ

จริงๆแล้ววันนี้ดิฉันมีวิธีอื่นมานำเสนอ และรับรองผลด้วยค่ะ

เราจะเปลี่ยนจากการยื่นเทคโนโลยีให้เด็กๆ เป็นการยื่นหนังสือให้พวกเขาแทน ท่านสมาชิกลองนึกภาพตามนะคะ ระหว่างที่เด็กอยู่กับหน้าจอแล้วใช้นิ้วเขี่ยเลือนหน้าจอ หรือนั่งจิ้มเล่นเกมส์ หรือสายตานั่งจ้องภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว

เป็นระยะเวลานานๆ กับเด็กนั่งอ่านหนังสือโดยใช้เวลาเท่ากัน ท่านมีความรู้สึกต่างกันไหมคะ  ดิฉันเคยเอาคำถามนี้ไปถามเด็กๆที่บ้านว่า เล่นเกมส์ กับอ่านหนังสือ ชอบแบบไหนมากกว่ากัน เด็กๆตอบเลยไม่คิดค่ะ คือ เล่นเกมส์  เพราะอะไร

ก็เพราะว่ามันสนุกมากน่ะสิคะ

แต่ท่านเชื่อไหมคะว่าเด็กที่บ้านของดิฉัน ได้เล่นเกมส์เฉพาะวันศุกร์เย็น เสาร์ และอาทิตย์เท่านั้น ส่วนวันที่ไป รร ไม่ได้เล่น แต่ช่วงระหว่างปิดเทอมก็มีให้เล่นได้ทุกวัน

 แต่ก่อนที่จะให้เล่นเกมส์เค้าต้องจัดการงานส่วนตัวของเขาให้เรียบร้อยก่อน

ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน การบ้านปิดเทอม ซ้อมดนตรี และท้ายสุด เกมส์ก็จะเป็นสื่งที่หอมหวานสำหรับพวกเขาเพราะกว่าจะได้เล่น มันยากลำบากมาก เพราะต้องผ่านด่านที่แม่ตั้งไว้ให้เสร็จและต้องเรียบร้อยดีด้วย

ในวันธรรมดาที่เราไม่ให้เล่นเกมส์ เราก็มีหนังสือให้อ่านตามความสนใจของพวกเด็กๆ ที่บ้านดิฉันจะจัดมุมหนังสือมีหนังสือที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน วรรณกรรม หนังสือความรู้ทั่วไป ทั้งไทยและเทศ

ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก พอเค้าเบื่อ เค้าไม่มีอะไรทำ เกมส์ก็เล่นไม่ได้เพราะไม่ใช่วันที่เล่นได้ เค้าก็จะหันมาพึ่งหนังสือเอง โดยไม่ต้องบังคับมาให้อ่าน แต่สถานการณ์มันบังคับเองว่าไม่มีอะไรทำ อ่านหนังสือก็ได้

หนังสือที่อ่านก็ควรจะเหมาะกับช่วงวัยของเด็กๆด้วย ตอนที่ยังเล็กๆคุณพ่อ คุณแม่มีหน้าที่อ่านให้เด็กฟัง ในช่วงก่อน 3 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เพราะว่าเด็กจะรู้ว่าพ่อแม่มีอยู่จริงก็ตอนที่เด็กต้องการเรา แล้วเราอยู่ตรงนั้นเพื่อเขา

ได้เอาเด็กนั่งตักในอ้อมกอด แล้วอ่านหนังสือ  ได้นอนข้างๆกันอ่านนิทานให้ฟัง  มันเป็นความรู้สึกที่อบอุ่นมาก และเวลาแบบนี้มันผ่านแล้วผ่านเลยมันเรียกคืนมาไม่ได้ค่ะ เวลาแบบนี้เรียกว่าเวลาคุณภาพ

 ถ้าเราทำได้แบบนี้สม่ำเสมอจนถึงวัยที่เค้าอ่านเองได้

หรือจริงๆไม่ได้อยู่ที่อายุว่ากี่ขวบถึงจะเลิกให้เขาฟัง ตราบใดที่เค้าต้องการให้เราอ่านให้ฟังอยู่ นั่นเป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ แสดงว่าเค้ายังต้องการเราอีกมาก

พอโตขึ้นเค้าจะรักการอ่าน ไม่มีอะไรทำก็หันกลับมาอ่านหนังสือได้ หรือวันที่ต้องการผ่อนคลาย หรือความสนุก หนังสือก็สามารถช่วยได้

ข้อดีของหนังสือมีมากมาย

หนังสือส่งเสริมจินตนาการให้กับเด็กๆ ยิ่งวรรณกรรมที่ได้นักเขียนดีๆ สมองของเด็กจะโลดแล่นมากเป็นพิเศษ

หนังสือให้ความรู้ ความรู้ที่เราต้องค้นคว้า ต้องหา

หนังสือให้ความสัมพันธ์กันในครอบครัว ถ้าเราอ่านให้ฟังก็จะได้ความอบอุ่นมาเพิ่ม หรือต่างคนต่างอ่าน ก็สามารถเอามาถกกัน ปรึกษาหารือกันได้

หนังสือสอนให้เรามีทางออกในวันที่เราไม่มีอะไรทำ เราก็หยิบหนังสือมาเพื่อความบันเทิงแก้เบื่อได้

การอ่านหนังสือ จะส่งผลให้เด็กเป็นคนรักการอ่าน และติดตัวเด็กไปอีกนานเท่านาน ซึ่งจะเป็นสิ่งมีค่ามากที่สุดที่ไม่ว่าโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ ไอแพด หรือ พี่เลี้ยงเด็กคนไหนก็ทำแทนไม่ได้

อรอนงค์ สุรเจริญชัยกุล
บันทึกเมื่อ
25/12/62
111  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ♤ สะเทือนไปทั่วทั้งวงการศึกษาของประเทศจีน...... เมื่อภรรยาประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เมื่อ: ธันวาคม 28, 2019, 03:35:55 am
♤ สะเทือนไปทั่วทั้งวงการศึกษาของประเทศจีน......

เมื่อภรรยาประธานาธิบดีสีจิ้นผิง (เผิงลี่หยวน) ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องคะแนนสอบเอ็นทรานซ์ ได้สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งวงการศึกษาของประเทศจีน......

คะแนนสอบของลูก ไม่ได้มีความสำคัญเทียบเท่ากับการสอนให้ลูกรู้จักสำนึกในบุญคุณ รู้จักเรียนรู้การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ลูกจะมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทอง ผู้ปกครองจะมีวิธีอบรมปลูกฝังอย่างไร การที่จะให้ทรัพย์สินแก่ลูกหลาน ทำไมไม่คิดจะสร้างลูกให้กลายเป็นทรัพย์สินล้ำค่าเล่า นั่นคือการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีของสังคม

ดังนั้นการเก็บสะสมทรัพย์สินมหาศาลให้กับลูกหลานไม่สามารถเทียบเท่ากับการให้ข้อคิดดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตดังต่อไปนี้

1. ลูกรัก...ลูกต้องเรียนรู้ที่จะทำอาหาร นี่ไม่ได้เกี่ยวกับการดูแลปรนนิบัติคนอื่น แต่เมื่อคราที่คนที่รักลูกไม่ได้อยู่ข้างกายลูก ลูกก็จะสามารถดูแลตนเองได้ (อยู่รอดได้ด้วยตนเอง)

2. ลูกรัก...ลูกจะต้องเรียนรู้ที่จะขับรถ นี่ไม่ได้เกี่ยวกับฐานะตำแหน่งหน้าที่ เพราะเช่นนี้แล้ว ลูกก็จะสามารถไปในทุกๆ ที่ลูกอยากไปทุกเวลา ไม่ต้องไปขอร้องใคร (มีอิสระเสรี)

3. ลูกรัก...ลูกจะต้องเข้าเรียนมหาวิทยาลัย และต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้มาตรฐาน นี่ไม่ได้เกี่ยวกับการรับรองฐานะการศึกษา ในชีวิตคนเราจำเป็นต้องผ่านประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยสัก 3-4 ปี ซึ่งเป็นชีวิตที่ไม่มีเงื่อนไข และเป็นชีวิตที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะให้มีสติปัญญา ความนึกคิดและการใช้เหตุผล (เมื่อเข้าไปสู่สังคมก็เสมือนเข้าไปสู่ชีวิตจริง)

4. ลูกรัก...ลูกรู้หรือไม่ ฝากรอยเท้าไกลเท่าไหน จิตใจจะกว้างเท่านั้น เมื่อใจกว้างแล้ว ลูกจึงจะมีความสุข หากเดินไปได้ไม่ไกล ให้หนังสือช่วยพาลูกเดินไป (เปิดกว้างโลกทัศน์ของตนเองโดยอาศัยโลกแห่งความรู้)

5. ลูกรัก...หากโลกนี้เหลือเพียงน้ำสองถ้วย ให้เก็บถ้วยหนึ่งเอาไว้ดื่ม ส่วนอีกถ้วยหนึ่งใช้ทำความสะอาดใบหน้าและชุดชั้นในของลูก (การเห็นคุณค่าของตัวเองไม่เกี่ยวกับความจนความรวย)

6. ลูกรัก...หากฟ้าถล่มทลายลงมา ก็ไม่ต้องร้องไห้ และไม่ต้องบ่นว่าอะไร เพราะไม่อย่างนั้นจะทำให้คนที่รักลูกยิ่งเจ็บปวดใจ ส่วนคนที่เกลียดลูกจะยิ่งได้ใจ (ยอมรับชะตากรรมอย่างสงบ คนที่เรารักจะมีความสุข)

7. ลูกรัก...ต่อให้ต้องกินข้าวคลุกซีอิ๊วขาว ก็ต้องปูผ้าปูโต๊ะที่สะอาด และนั่งลงไปอย่างสง่างาม ใช้ชีวิตที่เรียบง่ายอย่างใส่ใจในคุณภาพ (มารยาทและสถานการณ์ไม่เกี่ยวข้องกัน)

8. ลูกรัก...เมื่อไปยังสถานที่ไกลๆ จำไว้ว่านอกจากจะต้องนำกล้องถ่ายรูปไปแล้ว ก็ต้องนำปากกาและกระดาษไปด้วย วิวทิวทัศน์นั้นเหมือนกัน แต่อารมณ์ที่ดูวิวทิวทัศน์นั้นไม่สามารถกลับมาซ้ำเหมือนเดิมได้อีก สวี่เสียเค่อ (xu xia ke) นักภูมิศาสตร์ นักเดินทางชาวจีนที่เป็นสวี่เสียเค่อในวันนี้,มิใช่เพราะเดินทางมากที่สุด เขายิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงเพราะการบันทึกเรื่องราวและประสบการณ์อย่างละเอียดถี่ถ้วนที่ได้จากการเดินทางที่ทิ้งไว้ให้กับชนรุ่นหลัง

9. ลูกรัก...ลูกจะต้องมีพื้นที่เป็นของตนเอง ต่อให้มีแค่ 5 ตารางเมตรก็ตาม เพราะตอนที่ลูกทะเลาะกับคนรักและฉุนโกรธเดินออกมา ก็ไม่ถึงกลับร่อนเร่ไปตามถนน พบเจอกับคนไม่ดี สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือเมื่อตอนที่ลูกใจร้อน ก็จะมีสถานที่ที่ทำให้ลูกใจเย็นลงได้ ให้หัวใจของลูกได้พักไว้ในมุมนั้น (อุปนิสัยแบบอิสระ)

10. ลูกรัก...เมื่อตอนยังเด็กจะต้องมีความรู้ เมื่อโตขึ้นจะต้องมีประสบการณ์ ลูกจึงจะมีชีวิตที่เจริญก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพ (อ่านประสบการณ์ของผู้อื่น และหาประสบการณ์ให้กับตนเอง)

11. ลูกรัก...ไม่ว่าเวลาใดก็ตาม ก็จงเป็นคนดีมีเมตตา โปรดจำไว้ว่า การมีจิตใจดี ก็จะทำให้ลูกเป็นผู้ที่ได้รับความคุ้มครองดูแลอย่างดีที่สุดจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย (การคุ้มครองดูแลนี้ไม่ใช่ความร่ำรวยและอำนาจ ทำดีย่อมได้ดีตอบแทน)

12. ลูกรัก...รอยยิ้ม ความสง่างาม ความมั่นใจ นั้นเป็นทรัพย์สินทางจิตใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด หากมีสิ่งเหล่านี้ ลูกจะมีทุกสิ่งทุกอย่าง (นี่ก็คือจิตวิญญาณของ "ผู้ดี")

แปล แอม (สุวิไล) @ เจนบรรเจิด
112  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ริมธารน้ำ รินไหล ใจร่วมรัก วนารี ที่ประจักษ์ แสนสดใส เพื่อนร่วมรุ่น แสนรัก ประจ เมื่อ: ธันวาคม 02, 2019, 09:35:45 am
ริมธารน้ำ รินไหล ใจร่วมรัก
วนารี ที่ประจักษ์  แสนสดใส
เพื่อนร่วมรุ่น แสนรัก ประจักษ์ใจ
คลองลานไกล ไม่เกินกว่า สามัคคี
เล่นน้ำตก คลองลาน สมานสมัย
ร่วมไหว้พระ ด้วยใจ   ในศักดิ์ศรี
พยาบาล ส ป ร.  ร่วมชีวี
หลายสิบปี ไม่พบกัน  ยังมั่นคง



นานแสนนาน ไม่พบหน้า พาคิดถึง
ขอบคุณฟ้า ความคนึง     ให้โหยหา
สี่สิบเอ็ด    ปีเศษ             ได้เจรจา
ความคิดถึง นำพา   มาพบกัน
อายุเข้า เจ็ดสิบ ราวสิบเจ็ด
ด้วยความรัก เราระเห็จ มาสังสรรค์
สัญญาว่า อีกกี่ปี ร่วมยืนยัน
จะพบกัน ด้วยศรัทธา มาหาเธอ
113  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ชากังราว คือ กำแพงเพชร ฟัง ชม หลักฐานสำคัญ จากจารึก และพงศาวดาร ทาง อสมท.กพ. บ เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2019, 02:44:49 am
ชากังราว คือ  กำแพงเพชร  ฟัง ชม หลักฐานสำคัญ จากจารึก และพงศาวดาร ทาง อสมท.กพ. บ่ายสอง และทาง สวท.กพ. บ่ายสาม โดย อ.สันติ อภัยราช อ.รุ่งเรือง สอนชู และเยาวชนคนดี ยุทธนา ทองดี เสาร์ ๑๖ พย. จะได้เลิกเถียงกันเสียที
มีหลักฐาน สรุปได้ดังนี้

๑. ในจารึกหลักที่ 8 ศิลาจารึกภูเขาสุมนกูฏ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไทย  จารึกเมื่อพุทธศักราช 1912 ในจารึกกล่าวถึงเชื่อเมืองต่าง ๆของสองฝั่งแม่น้ำปิง ได้แก่ เมือง  พระบาง  ชากังราว  สุพรรณภาว นครพระชุม  เมืองพาน  แต่ไม่มีชื่อเมืองกำแพงเพชร  แสดงว่าชากังราว อยู่ลุ่มน้้าปิง

๒ ในกฎหมายลักษณะลักพา   มีพระราชกฤษฎีกาของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดี บทที่ 1  ตั้งเมื่อปีมะแม  จุลศักราช  717  พ.ศ.  1899   (ควรจะเป็น  1898)  ภายหลังสร้างพระนครศรีอยุธยาได้ 5 ปี  มีเนื้อความว่า  นายสามขลากราบบังคมทูลด้วยเรื่องข้าหนีเจ้า  ไพร่หนีนายว่า  มีผู้เอาไปถึงเฉลี่ยงสุโขทัย  ทุ่งย้าง  บางยม  สองแก้ว  (สองแคว) สระหลวง ชาวดงราวกำแพงเพชร  เมืองท่านเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังนี้  และมีผู้เอาทาสเอาไพร่ท่านมาขาย   และเจ้าทาสเจ้าไพร่แห่งพระนครศรีอยุธยาและมากล่าวพิพาทว่า  ให้ผู้ไถ่ไล่เอาเบี้ยแก่ผู้ขายนั้นคืน  ข้าพระพุทธเจ้าขอเรียนพระราชปฏิบัติ  จึงมีรับสั่งว่า  ขายกันแต่ในพระนครศรีอยุธยาดังนี้  และสูบังคับให้ผู้ไถ่เอาเบี้ยแก่ผู้ขายสิยังยาก  อย่าว่าแต่ข้าหนีเจ้าไพร่หนีนาย  และเขาลักเอาไปขายถึงเฉลี่ยงสุโขทัย  ทุ่งย้าง  บางยม        สองแก้ว   สระหลวง  ชาวดงราวกำแพงเพชร  ใต้หล้าฟ้าเขียวขาดจากมือเจ้าทาสไพร่ไปไกล  จะมาพิพาทฉันเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี  เมืองสุพรรณบุรี  สะพง  คลองพับ  แพรกศรีราชาธิราช  พระนครพรหมนั้น    บมิชอบเลย?  กฎหมายบทนี้ตั้งภายหลังพระมหาธรรมราชาลิไทยได้ราชสมบัติปีที่ 1 ชาดงราว กำแพงเพชร หมายถึงชากังราว

๓.จากคำสรุปของพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงวินิจฉัยเรื่องเมืองชากังราวได้อย่างละเอียดว่า
             ข้าพเจ้าจะต้องอธิบายเรื่องเมืองชากังราวไว้ตรงนี้สักหน่อยหนึ่ง ด้วยยังไม่ได้พบอธิบายในที่อื่นว่าเมืองชากังราว เป็นเมืองไหนแน่ในปัจจุบันนี้  ในหนังสือพระราชพงศาวดารมีเรื่องเกี่ยวกับเมืองชากังรายหลายแห่ง ในตอนแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชนี้ เป็นอย่างมาก แต่ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ยังออกชื่อเสียงชากังราวลงไปถึงแผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบแผนที่เข้ากับเรื่องที่มาใน พระราชพงศาวดารเห็นว่า เมืองชากังราวจะเป็นเมืองอื่น นอกจากเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้ไม่ได้ และได้พบหลักฐานประกอบในพระราชกฤษฎีกาของ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เรียกชื่อเมือง "ชาวดงราว" กำแพงเพชรควบไว้ดังนี้ (คำว่า ชาดงราว นั้นเชื่อได้แน่ว่า ผู้คัดลอกเขียนผิดมาจาก ชากังราวนั่นเอง) 
              จากข้อความที่นำมากล่าวนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสรุปไว้ว่า เมืองชากังราว     คือ เมืองกำแพงเพชร

จากหลักฐานดังกล่่าว ควรจะสรุปได้ว่า ชากังราว คือกำแพงเพชร นั่นเอง
114  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / โคลงบันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ล้นเกล้ารัชกาลที่๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี (ตอนที่๑ บ เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2019, 02:41:40 am
โคลงบันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ล้นเกล้ารัชกาลที่๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี (ตอนที่๑ บทที่๑ ถึงบทที่๕)

๑. สืบสานวัฒนธรรมค่าล้ำ     เลอพิศ
ยลถ่ายทอดแสนวิจิตร            ท่วมฟ้า
ละเอียดอ่อนราวนิมิตร            เพียงหนึ่ง โลกนอ
บันทึกสิริทัศน์ท้า                    สืบด้วยคำโคลง
๒.จรรโลงไทยวัฒน์ด้วย         วิถีไทย
จักรพรรดิครองฤทัย                ราษฏร์ถ้วน
โอรสสืบราชสมบัติไข              วชิรา ลงกรณ์นอ
เจิดจำรัสราษฎร์ล้วน                เด่นชี้สยามมินทร์
๓ ยินประเพณีแต่ครั้ง               สุโขทัย
อินทราทิตย์มีชัย                       แต่งตั้ง
บรมราชาภิเษกไกร                   เกรียงยื่ง นาพ่อ
สานต่อมาแต่ครั้ง                      ชื่นแท้บรรพชน
๔.อยุธยายลยุทธยั้ง                 ราชา
อภิเษกวัฒนา                             เทิดไท้
หลายศตวรรษา                          สืบต่อ
ข้าขอบันทึกเรื่องไว้                   อภิเษกล้ำคำโคลง
๕.ธนบุรีโยงเรื่องไว้                    เพียงนิด
กู้ชาติสงครามวิปริต                    กอบกู้
อภิเษกคือชีพิต                            องค์พ่อ วชิรปราการนา
สืบได้เพียงแค่รู้                            เร่งขึ้นครองไทย

โคลงบันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ล้นเกล้ารัชกาลที่๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี (ตอนที่๒ บทที่ ๖ ถึงบทที่๑๐)
๖. รัตนโกสินทร์เสกสร้าง     ประเพณี
บรมราชาภิเษกมี                    ถี่ถ้วน
เก้ารัชกาลจักรี                       สืบต่อ
ถีงอภิเษกเอกล้วน                 สืบไท้ทศสมัย
๗.เกรียงไกร น้ำอภิเษกล้ำ      ครบสยาม
ส่งปลุกเสกเลิศนาม                 พระแก้ว
เตรียมพระมูรธาตาม               อภิเษก
ชลศักดิ์สิทธิ์เพริศแพร้ว         เคลื่อนล้ำเลิศดิถี
๘. กำแพงเพชรมีเสกน้ำ         บ่อสาม   แสนนา
ประวัติพระนเรศยาม                 พักสร้าง
เสวย ใช้ เสกน้ำนาม                สรงบ่อ นี้นอ
ตำนานมีเอกอ้าง                      ส่งไท้ทรงธรรม
๙. จารึกล้ำสุพรรณบัตรอ้าง     ออกนาม
มหาวชิราลงกรณ์ขาม              เขตกว้าง
สี่ ห้า หก พฤษภ ยาม                พิเศษ
บรมราชาภิเษกอ้าง                   ดิถีนี้เลิศวิถี
๑๐. มเหสีอัครรั้ง                     สุทิดา  องค์นอ
คู่บรมกษัตรา                             เสกตั้ง
สิริโฉมจรรยา                             งามยิ่ง นาแม่
สมบารมีสมครั้ง                          นาฏนี้ครองเกษม
โคลงบันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ล้นเกล้ารัชกาลที่๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี (ตอนที่๓ บทที่๑๑ ถึงบทที่ ๑๕)
๑๑. กราบพระแก้วมรกตด้วย    ศรัทธา
กราบพระสยามเทวา                ยิ่งแก้ว
กราบหลักเมืองรัตนา                หลักมิ่ง เมืองนา
กราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์แพร้ว             เพริศด้วยประเพณี
๑๒ พิธีพราหมณ์สืบแล้ว            พันปี
บรมราชาภิเษกวิถึ                        ถูกต้อง
จักรพรรดิราชมี                            ทศพิธ ธรรมนอ
สืบราชวงศ์จักรก้อง                     ราษฎร์ซร้องสรรเสริญ
๑๓.ดำเนินพิธีสังฆราชเจ้า           ประธาน
นายกประยุทธประสาน                 สืบไท้
พรามณ์พิธีร่วมจาร                        สุพรรณบัตร
ทองคำบรรจงเพริศไว้                   ธิราชเจ้าจอมสยาม
๑๔.เฉลิมสยามเฉลิมรัฐเจ้า         จอมกษัตริย์
ทรงเถลิงราชสมบัติ                      สืบไท้
ภูมิพล เลิศขัตติย์                          ครองต่อ  องค์นา
พสกอวยถวายพร่ำได้                  ต่อไท้ราชา
๑๕.เริ่มราชาภิเษกแล้ว                รัตนา
สี่พฤษภามหา                               ฤกษ์แล้ว
ห้า หก พฤษภา                             ศักราช  เดียวนอ
สองพันหกสิบสองแก้ว                  เกียรติก้องโลก
โคลงบันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ล้นเกล้ารัชกาลที่๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี (ตอนที่๔ บทที่ ๑๖ ถึง ๒๐)
๑๖.สี่พฤษภาเสด็จขึ้น    ไพศาล ทักษิณนอ
เช้าสิบโมงเพื่อสนาน       ภิเษกน้ำ
รับศีลมหาสงฆ์ขาน          รับต่อ รูปนอ
เปลี่ยนเครื่องทรงองค์ย้ำ  ประดับไท้เลอองค์
๑๗.พระบรมวงศ์เอกท้าว     เสด็จสนอง บาทนอ
เข้าเฝ้าแน่นเนืองนอง          แนบไท้
เครื่องราชาภิเษก รอง          พระบาท  ไท้นา
แท่นอุทุมพรแกร่งไว้             เทพเจ้าสนององค์
๑๘.ทรงขึ้นถวายแท่นไท้        สรงสาคร
สหัสธาราจร                          สู่ท้าว
สังฆราชสรงบวร                    หลังท่าน องค์นอ
ถวายธาราครองด้าว               เท่าน้ำนององค์
๑๙.พราหมณ์ถวายมงคลล้ำ   เลิศฤทธิ์
ใบมะตูมชีพิต                           ทัดแก้ว
สรงธาราศักดิ์สิทธิ์                    องค์อาบ ไท้นอ
คือครองทุกเทศแล้ว                 ถวายน้ำบรรณาการ
๒๐. วัฒนธรรม์ค่าล้ำ                 เป็นเอก
รักษาประเพณีเสก                      กษัตริย์แก้ว
บรมราชาภิเษก                           เหนือสิ่ง ใดนา
ปีนใหญ่ถวายพระพรแล้ว            สนั่นก้องเวหาหาว

๒๑เขตด้าวสรรทั่วไท้      ราชา
ทรงพระเจริญวัฒนา    เทพเจ้า
อวตารรัตนา      ครองราชย์  เลิศนา
ทรงเกษมประเสริฐเกล้า   ยิ่งด้วยราชัน
115  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ๑๕ พย. สุขสันต์วันเกิดอ้าง อังคณา งามจิตงามศรัทธา ท่วมท้น งามกายเ เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2019, 02:09:03 am
สุขสันต์วันเกิดอ้าง        อังคณา
งามจิตงามศรัทธา         ท่วมท้น
งามกายเลิศรัตนา          นองแผ่น   กำแพงนอ
แพทย์ใหญ่ใจเลิศล้น     ลึกล้ำลออคุณ
116  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ดังดวงแก้ว แวววับ ลับจากโลก ลมวิโยค โหยหา ฟ้าห่มหาย คือวันเที่ยง ตะเภา เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2019, 03:22:44 am
ดังดวงแก้ว แวววับ   ลับจากโลก
 ลมวิโยค    โหยหา   ฟ้าห่มหาย
คือวันเที่ยง   ตะเภาน้อย  ชีวาวาย
เสียสละ มากมาย ในกำแพง

เธอทำงาน มากล้น  หลากหลายสิ่ง
เป็นคนจริง ดับสูญ ทุกหนแห่ง
อนิจจา โรคร้าย  ไม่เปลี่ยนแปลง
ดับลับแสง ศรัทธา  ประชาชน

ทำหน้าที่ ทุกอย่าง เธอสร้างสรรค์
มีชีวัน เพื่อคนอื่น ไม่หวังผล
แสงสุดท้าย ลับไป ในบัดดล
ความสงัด สลัดพ้น ความงดงาม

เมื่อถึงคราว  จำพราก จากรักแล้ว
คือดวงแก้ว ดับแสง พ้นขวากหนาม
ขอเธอสุข บนสวรรค์  ไม่ลืมนาม
ขอวันเที่ยง   เป็นนิยาม  เยี่ยงนิรันดร์

  สันติ อภัยราช
117  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ เป็นบันทึกจากการปฏิบัติภาระ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2019, 04:29:41 am
ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ เป็นบันทึกจากการปฏิบัติภาระกิจของ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ห้ว รัชการที่ ๕

ประวัติโดยสังเขป ของพระกำแหงสงคราม
   
 เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2399 วันอังคารขึ้น หกค่ำ เดือนแปด ปีมะโรง ณ จวนเก่า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม นุชนิยม) สืบสกุลโดยตรงมาจากพระยาเกียรติพระยาราม ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพระเจ้านันทบุเรง(พระเจ้าหงสาวดี)ได้สวามิภักดิ์ติดตาม สมเด็จพระนเรศวร มหาราช พร้อมกับพระมหาเถรคันฉ่อง ในคราวประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกลง ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลล่วงมาจนถึงปู่ทวด คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภียพิริยะพาหะ(นุช)
       มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ในวันที่ท่านคลอดนั้น พระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม นุชนิยม)ผู้บิดากำลังคุมกำลังพลจะไปปราบศึกกบถเจ้าอนุวงศ์ และขณะที่ขบวนทัพพร้อมจะออกเดินทางไปนั้น มีคนที่บ้านมาคุกเข่าอยู่ข้างๆ รายงานว่า ขณะนี้คุณหญิงได้คลอดลูกออกมาแล้ว ท่านบิดาหันไปถามว่าเป็นหญิงหรือชาย เมื่อได้คำตอบว่าเป็นชาย ท่านก็สั่งว่า
            “ให้ตั้งชื่อมันว่า ฤกษ์” แล้วสั่งให้เหล่าทหารเคลื่อนพลด้วยจิตใจที่มั่นคงและเข้มแข็งทันทีโดยไม่รีรอ
       สกุลนี้มีมีหลักฐานบ้านช่องอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร และได้สืบสกุลต่อๆกันมาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรหลายชั่วอายุ เมื่อเยาว์วัยพระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม)ได้นำไปฝากไว้กับ เจ้าพระยาภูธราภัย เพื่อให้ได้รับการอบรมศึกษาเล่าเรียนตามระเบียบแบบแผนอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นประเพณีนิยมสำหรับผู้ที่หวังทำราชการสืบไปในภายภาคหน้า เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่มีฝีมือในการเขียนหนังสือ ท่านเจ้าพระยาฯจึงได้ใช้สอยอย่างใกล้ชิด โดยให้ดำรงตำแหน่งทนายหน้าหอ
      ต่อมาจนเมื่อมีอายุสมควรรับราชการ เจ้าพระยาภูธราภัย จึงได้ฝากให้เข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทย กับท่านพระยาราชวรานุกูล(เวก บุนยรัตพันธุ์) บุตรท่านเจ้าพระยาภูธราภัย นั้นมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาแต่เยาว์ ตราบจนกระทั่งได้ไปร่วมราชการศึกปราบฮ่องครั้งที่ ๑ เมื่อพ. ๒๔๑๘  และศึกฮ่อครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖

ความเรื่องปราบศึกฮ่อมีดังนี้
      พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ”ไต้เผง” จะช่วงขิงอำนาจกับพวก”เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ”จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐
      ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”
      พวกฮ่อนี้ต่อมาได้หัวหน้าที่มีวสามเข้มแข็งในการรบ จึงทำการส้องสุมสมัครพรรคพวกจนมีกำลังแข็งแรงแล้ว จึงยกขึ้นไปตีหัวเมืองญวน จีนกับญวนรวมกำลังกันรบแต่สู้พวกฮ่อไม่ได้ พวกฮ่อจึงเข้าครอบครองเมืองต่างๆในเขตแดนตังเกี๋ย
      ต่อมาพวกฮ่อเกิดแตกแยกกัน รบพุ่งกันขึ้นฝ่ายแพ้พาสมัครพรรคพวกอพยพไปตั้งดินแดนอยู่แคว้นสิบสองจุไทย ใช้ธงประจำกองทัพสีเหลือง เรียก”ฮ่อธงเหลือง” ส่วน พวกที่อยู่ในแดนตั้งเกี๋ยใช้ธงประจำสีดำ  เรียก “ฮ่อธงดำ” พวกฮ่อธงดำนี้ต่อมาทำไมตีกับญวนแล้วช่วยกันรบพุ่งขับไล่ ฮ่อธงเหลือง ๆ จึงต้องถอยหนีแล้วไปปล้นสดมภ์หัวเมืองชายแดนและเมืองในสิบสองจุไทยได้หลายเมือง ญวนส่งทัพมาปราบปรามก็พ่ายแพ้ แก่พวกฮ่อธงเหลือง
      ต่อมาฮ่อธงเลืองได้มาตั้งถิ่นฐานและค่ายใหญ่ในทุ่งเชียงคำ เตรียมเข้าตีเมืองหนองคายและหลวงพระบาง คณะกรมการเมืองหลวงพระบางและหนองคายจึงมีใบบอกลงมากรุงเทพฯ เพื่อขอให้ไทยจัดกองทัพไปช่วยเหลือ
      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งแม่ทัพนายกองขึ้นไป ๕ นาย แยกออกเป็น ๕ ทัพเดินทางไปปราบพวกฮ่อ
      กองทัพของพระยามหาอำมาตย์(ชื่น กัลยาณมิตร)ซึ่งยกไปปราบฮ่อทางเทอืงหนองคาย ได้รบพุ่งขับไล่พวกฮ่อทางเมืองเวียงจันทร์แตกหนีไป ส่วนทัพของเจ้าพระยาภูธราภัย ซึ่งยกไปปราบพวกฮ่อที่หลวงพระบางก็มีบัญชาให้พระสุริยภักดี(เวก บุนยรัตพันธุ์) ผู้บุตรยกทพไปตีพวกฮ่อแตกยับเยิน จนกระทั่งถึงทุ่งเชียงคำ การปราฮ่อครั้งนี้ พระกำแหงสงครามในขณะนั้นเป็นนายหมวดทัพหน้า ของทัพพระสุริยะภักดี เมื่อตีพวกฮ่อแตกทัพหนีจากเมืองไปพอสมควรแล้ว เจ้าพระยาภูธราภัยจึงมีบัญชาให้ยกทัพกลับคืนกรุงเทพฯ
      ใน พ.ศ. ๒๔๒๖ พวกฮ่อธงเหลืองที่แตกหนีไปจากหนองคายและเมืองหลวงพระบางก็กลับเข้าไปตั้งมั่นในญวนอีก จีนกับญวนจึงร่วมกันเข้าโอบตีพวกฮ่อธงเหลืองเป็นสามารถ หัวหน้าฮ่อธงเหลืองตายในที่รบ พวกที่เหลือก็แตกกระจัดพลัดพรายแยกกันอยู่เป็นกองเล็กกองน้อย เข้าปล้นสดมภ์บ้านเล็กเมืองน้อยในสิบสองจุไทย
      พวกฮ่อธงเหลืองมีหัวหน้าเข้มแข็งอีกคนหนึ่ง พาสมัครพรรคพวกลงมาตั้วค่ายใหญ่อยู่ที่ทุ่งเชียงคำอีกครั้งหนึ่ง ส้องสุมผู้คนไว้เป็นจำนวนมาก แล้วยกเข้าปลั่นเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ซึ่งขึ้นอยู่กับเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบางเห็นเหลือกำลงที่จะต่อสู้ จึงมีใบบอกมายังกรุงเทพฯ ขอกองทัพขึ้นไปปราบพวกฮ่อ
      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้พระยาพิชัย(มิ่ง)กับพระสุโขทัย(ครุฑ)ยกกองทัพล่วงหน้าไปช่วยเมืองหลวงพระบางก่อน และให้พระยาราชวรานุกูล(เวก บุนยรัตพันธุ์)บุตรเจ้าพระยาภูธราภัยเป็นแม่ทัพใหญ่ตามขึ้นไปสมทบอีกทัพหนึ่ง
      ในฐานะที่ใกล้ขชิดสนมสนมกันแต่เยาว์และเคยไปร่วมงานศึกมาด้วยกันตั้งแต่ท่านเป็นพระสุริยภกดี ในคราวปราบฮ่อเมือปี พ.ศ. ๒๔๑๘  พระยาราชวรานุกูล จึงให้พระกำแหงสงครามซึ่งขณะนี้นได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิชัยภักดี การเกณฑ์ทัพครั้งนี้พลรบเป็นพลเรือนส่วนใหญ่ เพราะเป็นการเกณฑ์พลตามแบบโบราณ หลวงพิชัยภักดีในฐานะนายหมวดอยู่ในทหารกองหน้า ต้องยกพลไปโดยรีบเร่ง ด้วยความลำบากตรากตรำเป็นสาหัส ประชุมพลที่เมืองพิชัยแล้วเดินทัพผ่านเมืองแพร่ น่าน 
      จากนั้นก็เดินทัพเลียบฝั่งโขงไปจนถึงเชียงแมนแล้วหยุดบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ตามประเพณีของเมืองหลวงพระบางที่เคยปฏิบัติมา ต่อจากนั้นกองทัพเดินเลียบฝั่งไปอีกจนถึงท่าเลื่อนที่ท่าเลื่อนเจ้านครหลวงพระบางได้จัดกองเรือมารับกองทัพข้ามไปยังเมืองหลวงพระบาง พักที่หลวงพระบางพอให้ไพร่พลหายเห็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแล้ว กองทัพก็เคลื่อนตรงไปยังทุ่งเชียงคำ
      การเดินทัพครั้งนี้ทางเดินทุรกันดารยิ่งกว่าที่เดินทัพมาแล้ว ต้องบุกป่าฝ่าดงข้ามเขาข้ามห้วยและต้องเดินทางแข่งกับเวลา ภูเขาที่ข้ามส่วนมากเป็นเขาสูง บางลูกเมื่อขึ้นไปบนไหล่เขาแล้วมองลงมาดูข้างล่างจะเห็นก้อนเมฆลอยต่ำอยู่กว่าจุดที่กองทัพยืนอยู่ ไม่เห็นภูมิประเทศด้านล่าง เพราะก้อนเมฆบังหมด รู้สึกอากาศเย็นมากผิดปรกติ แต่เมื่อลงมาถึงเชิงเขาด้านตรงข้ามแล้วจึงทราบว่าฝนตกลงมาไม่น้อยโดยที่แม่ทัพนายกองและไพร่พลไม่มีใครเปียกฝนเลย
      พวกฮ่อที่คุมสมัครพรรคพวกเป็นกองโจรกองเล็กกองน้อย เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพไทยกยกขึ้นไปปราบปราม ก็พากันถอยร่นไปรวมอยู่ ณ ทุ่งเชียงคำ อันเป็นค่ายที่มั่นคงแข็งแรงแน่นหนากว่าค่ายอื่นๆ โดยเหตุที่ว่าพวกฮ่อยกลงมายึดทุ่งเชียงคำเป็นที่มั่นมาหลายปีแล้วจึงได้ปลูกไผ่ไว้หนาแน่น เป็นระเนียดค่ายล้อมรอบ จนกระทั่งเป็นเสมือนกำแพงค่าย
      กองทัพของพระยาราชวรานุกูลจึงเข้าสมทบกับกองทัพของพระยาพิชัย(มิ่ง)และพระยาสุโขทัย(ครุฑ)ล้อมค่ายพวกฮ่อไว้แน่นหนา ทางฝ่ายไทยได้เอาปืนใหญ่ตั้งระดมยิงระเนียดค่าย ก็ไม่สามารถยิงทลายกอไผ่ได้ นอกจากใช้ปืนยาวคอยยิงพวกฮ่อที่คอยแอบซุ่มอยู่ตามกอไผ่
      กองทหารไทยยกเข้าประชิดคราวใดมักจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะมองไม่เห็นตัวข้าศึก และถูกพวกฮ่อลอบยิงเอาเนืองๆ พระยาราชวรานุกูลได้ออกบัญชาการรบ ในระยะใกล้ชิดโดยมิได้หวาดเกรงภัยอันตรายใดๆอันจะบังเกิดขึ้น หลวงพิชัยภักดีได้รับบัญชาให้เข้าหักค่ายทางหนึ่ง ถูกกระสุนปืนยิงที่ขาขวาในการรบประจันบานครั้งนั้น ท่านแม่ทัพเองก็ได้รับบาดเจ็บเช่นกันในขณะที่บัญชาการรบ แม้กระนั้นก็ตามทั้งสองท่านก็ไม่ได้ย่อท้อ คงบัญชาการต่อสู้ให้ทหารไทยกยพลเข้าประชิดโอบล้อมค่ายฮ่อให้ใกล้เข้าไปอีก วางเสือป่าแมวมองจุกช่องล้อมวงตัดกำลังมิให้พวกฮ่อ ออกมาหาเสบียงอาหารและน้ำบริโภคได้
      พวกฮ่อตั้งมั่นอยู่ในค่ายได้ไม่นานเกิดการขัดสนเหลือกำลังที่จะต่อสู้ จึงส่งฑูตออกมาเจรจาขอยอมแพ้ ขอถือน้ำพิพัฒน์สัตยายอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาขึ้นต่อไทยสืบไป แต่การเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกัน เพราะพระยาราชวรานุกูล ตั้งข้อแม้ว่าจะต้องให้พวกฮ่อส่งศาสตรวุธที่มีอยู่มอบให้ไทยทั้งหมดเสียก่อนแล้วให้พวกฮ่อ ออกมาหาจะไม่ทำอันตราย พวกฮ่อไม่ไว้ใจเกรงว่าไทยจะทำอุบายจึงไม่ออกมา กองทัพไทยจึงต้องตั้งล้อมไว้เป็นแรมเดือน
      ต่อมากองทัพไทยเกิดขัดสนเสบียงอาหาร เนื่องจากทางต้นทางส่งเสบียงไม่ทันตามกำหนกด  และต้องประสพโรคภัยไข้เจ็บด้วย ท่านแม่ทัพเห็นว่าขืนล้อมค่ายอยู่ต่อไปก็ยิ่งเดือดร้อนเสียหายมากขึ้น จึงให้เลิกทัพกลับมายังเมืองหนองคายแล้วส่งใบอบกมายังกรุงเทพฯ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้นายพันเอกพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ผู้บังคับการกรมทหารรักษาพระราชวังเป็นแม่ทัพยกไปช่วยพระยาราชวรานุกูลปราบฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ พวกฮ่อทราบข่าวว่าทางกรุงเทพฯส่งกองทัพขึ่นไปช่วยก็รีบจัดการอพยพผู้คนเผาค่ายที่ทุ่งเชียงคำทิ้งหลบหนีแตกซ่านกระเซ็นไป กองทัพไทยก็เลิกทัพกลับมาพักที่หนองคายชั่วคราวจากนั้นไม่นานก็ทรงบัญชาให้เคลื่อนพลกลับคืนกรุงเทพฯ
      หลวงพิชัยภักดีได้รับบัญชาให้คุมทหารส่วนหนึ่งยับยั้งอยู่ ณ เมืองหลวงพระบาง เพื่อป้องกันมิให้พวกฮ่อสายอื่นเข้ามาลอบปล้นสดมภ์หมู่บ้านเล็กหมู่บ้านน้อยในเขตเมือหลวงพระบาง ต่อมาอีกสามปี เมื่อเหตุการณ์ค่อยสงบลงแล้ว จึงเดินทางกลับเมืองกำแพงเพชร
      เมื่อเสร็จราชการรศึก หลวงพิชัยภักดีเข้าพรรพชาอุปสมบทเป็นสมณเพศตามประเพณีนิยม ในขณะที่บวชอยู่ ท่านมีชื่อเสียงในการเทศน์มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทศน์มหาชาติ กัณท์ที่ถนัดและเป็นที่นิยมชมชอบของผู้ฟังคือกัณท์ มหาพน กุมารและมัทรี เล่ากันว่าเสียงและทำนองเสนาะดีนัก ถึงกับเทศน์หาจตุปัจจัยจนสร้างศาลาการเปรียญที่วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร นอกจากนี้ท่านยังสอนการเทศน์ให้แก่พระสงฆ์ไว้หลายรูป เช่นพระครูสวรรค์คณาจารย์ เอาวาสวัดวัดโพธารามปากน้ำโพรูปหนึ่ง
        เมื่อลาสิขาบทแล้วไม่นานก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระกำแหงสงคราม" รับราชการในตำแหน่งพระพลนายด่าน จังหวัดกำแพงเพชร มีหน้าที่รักษาเขตชายแดนระหว่างกำแพงเพชรติดต่อกับเขตพม่าทางด่านแม่ละเมา 
           พระกำแหงสงครามรับราชการในตำแหน่งนี้สืบมาด้วยดีจนล่วงเข้าวัยชรา เห็นว่ากำลังร่างกายลดน้อยถอยลงไม่สามารถจะรับราชการสนองพระเดชพระคุณได้เต็มสติกำลัง จึงกราบถวายบังคมลาออกจากหน้าที่ราชการไปประกอบอาชีพส่วนตัว และเพื่อสะดวกแก่การค้าท่านอพยพครอบครัวไปตั้งหลักฐานอยู่ทีบ้านเกาะมะตัน ตำบลปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และรับหน้าทีเป็นกรมการพิเศษของจังหวัดช่วยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสงชูโต)ในการจัดตั้งค่ายทหาร(ค่ายสุรศักดิ์มนตรี-มณฑลทหารบกที่ ๗ ปัจจุบัน มทบ.๓๒ )ของจังหวัดลำปาง
      พระกำแหงสงคราม ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคชราในวันศุกร์ที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ บ้านแลง ตำบลบ้านหมาก อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ในช่วงที่หลบภัยทางอากาศอยู่ที่นั่น สิริอายุได้ ๘๘ ปี และรับพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.๒๔๙๑

+++++++++++++++
118  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติความป็นมา ของ สายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูล พระยากำแพงเพชร เมื่อ: ตุลาคม 28, 2019, 04:23:45 am
ประวัติความป็นมา ของ สายสกุล “นุชนิยม”
และความเกี่ยวพันกับตระกูล พระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม)กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง

ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุล นั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้ คำนำหน้า”ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5  และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

จึงทรง พระราชทาน นามสกุลให้ ว่า “นุชนิยม” ทรงอธิบายว่า มาจากคำสมาส “นุช + นิยะมะ แปลว่า " กำหนดโดยพระยากำแพงเพชร นุช "

แต่เขียนให้เป็นแบบ ไทยๆว่า “นุชนิยม” โดยให้คงรูปภาษาโรมันไว้แบบเดิม คือ  NUJANIYAMA –นูจานิยามา  (นุชนิยะมะ) ดังนั้น นามสกุลพระราชทานพิเศษลำดับที่ 4787 นี้จึงใช้ นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน

(บันทึก - ในการทำพาสปอร์ต มีปัญหาในการใช้นามสกุล NUJANIYAMA เพราะเวลาในการเรียกขึ้นเครื่องบิน จะออกเสียงเป็น"นูจานิยาม่า"ทางกรมการกงศุล ฝ่ายทำพาสปอร์ต จึงขอให้เปลี่ยนนามสกุลที่ออกเสียงตรงกับภาษาไทย จึงมี ทั้ง NOOCHNIYOM และ NUCHNIYOM ครับ)

ต้นสกุล นุชนิยม คือ พระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิริยปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร-นุช) เดิมรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ในรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระยากำแพงเพชร-นุช มีภรรยาเรียกกันว่า ท่านผู้หญิงชี แต่ชื่อจริงเรียก ”กาว” เป็นราชธิดาเจ้าผู้ครองนครเชียงราย พระยากำแพงเพชร-นุช เป็นญาติกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังเรียกกันว่าท่านเจ้าโต สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ครั้นพระยากำแพงเพชร-นุช ได้ไปราชการทัพหลายครั้ง มีความดีความชอบ องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้พระราชทาน ดาบด้ามทองฝักทองคำเป็นบำเหน็จ (ดาบนี้อยู่ที่ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร) และอีกทั้งได้รับพระราชทานตำแหน่งให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร

พระยากำแพงเพชร-นุช มีบุตรกับท่านผู้หญิงชีคือ
1 ท่านผู้หญิง แพง เป็นภรรยาพระกำแพงเพชร (นาค) มีบุตรด้วยกัน 6 คน ชาย5 หญิง 1 คือ
1.1 พระยากำแพงเพชร (บัว) ไปราชการทัพเวียงจันทร์ กลับมาก็ถึงอนิจกรรมในเวลานั้น
1.2 เป็นพระยาสวรรคโลก (เถื่อน) ลงไปรับราชการอยู่กรุงเทพฯเป็นพระยาราชสงครามไปราชการทัพเวียงจันทร์ ได้ลาวเชลยมา 100 ครัวมีความชอบโปรดเกล้าให้ขึ้นมาเป็นพระยากำแพงเพชรแทนพี่ชายและได้รับพระราชทานลาว 100 ครัวเรือนด้วย ได้ให้เชลยตั้งบ้านเรือนอยู่วัดป่าหมู เหนือบ้านหลวงมนตรี ปัจจุบันเรียกว่า “เกาะยายจันทร์” รับราชการได้ 16 ปีเศษ พระยากำแพงเพชร (เถื่อน) ก็ถึงอนิจกรรม
1.3 ชื่อ น้อย เป็นพระพลอยู่แล้ว ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยากำแพงเพชร รับราชการ 15 ปี ถึงแก่อนิจกรรม
1.4 ชื่อ เกิด รับราชการเป็นพระยาตากอยู่ 10 ปี ไปราชการทัพเชียงตุง กลับจากทัพได้เลื่อนเป็นพระยากำแพงเพชรแทนพี่ชาย อยู่ 11 ปี จึงถึงแก่อนิจกรรม (เป็นปู่ของพระกำแหงสงคราม- ฤกษ์ นุชนิยม)
1.5 ชื่อ สุดใจ รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯเป็นที่ พลพ่าย
(ท่านทั้ง 5 นี้เป็นมหาดเล็กหุ้มแพรทุกท่าน)
1.6 ชื่อ อิ่ม เป็นท้าวอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และรับราชการอยู่จนแผ่นดินพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในระหว่างนั้น พระอินทรเดช (บัว) เป็นคนกรุงเก่าต่างสกุลมาเป็นผู้รักษาการเมืองคือ ต้นสกุลรามโกมุท มารับราชการได้ 3 ปีก็ออกจากที่นั่น
2 ท่านผู้หญิงพลับ
3 บุตรชายที่เป็นพระฤทธิเดช รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ

จาก 1.4 พระยากำแพงเพชร (เกิด) สมรสกับท่านผู้หญิงทรัพย์ มีบุตร ธิดา รวม 9 คน คือ 1.คุณย่าหุ่น 2.คุณย่านก-คุณปู่เสือ 3.คุณย่าขำ 4.หลวงวิเศษสงคราม (ดิษฐ์) 5.คุณย่าผึ้ง-พระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม นุชนิยม) 6.หลวงพิพิธอภัย (ต่าย รามสูต) 7.พระยากำแพงเพชร (อ้น รามสูต) 8.คุณหญิงภู่-พระยากำแพงเพชร (หรุ่น อินทรสูต) 9.คุณย่าทองหยิบ

ต่อมาทั้ง 9 ท่านได้สืบสายสกุลรวม อย่างน้อย 15 สายสกุลคือ

สายสกุลสายตรง - กำแหงสงคราม, กลิ่นบัว, นาคน้อย, นุชนิยม, รอดศิริ, รามบุตร, รามสูต, ศุภดิษฐ์ และอินทรสูต---เรียงตามอักษร

สายสกุลที่เกี่ยวข้อง - กัลยาณมิตร สายพระสุจริตรักษา, ชูทรัพย์, ชูพินิจ, รัชดารักษ์, รามโกมุท และวิชัยขัทคะ-สายพระศรีพัฒนาการ
พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม) เกิดจากคุณย่าผึ้ง ในวันที่พระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม) ผู้บิดา กำลังจัดทัพไปรบในสงครามขบถเจ้าอนุวงศ์ คนที่บ้านมาแจ้งว่าท่านได้บุตรชาย ท่านบอกให้คนมารายงานว่า "ให้ตั้งชื่อลูกที่เกิดมาว่า ชื่อ"ฤกษ์" แล้วออกทัพไปราชการสงครามด้วยจิตใจที่เด็ดเดี่ยว
พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์) รับราชการสนองพระเดชพระคุณรับใช้ชาติในสงครามปราบศึกฮ่อ รัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนสงบราบคาบ แล้วกลับมาอยู่กำแพงเพชร จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ สอง เกษียณอายุราชการ แต่ไปช่วยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ในตำแหน่งกรมการพิเศษ ก่อตั้งค่ายสุรศักดิ์มนตรี มณฑลทหารบกที่ 7 จังหวัดลำปาง
ในปัจจุบัน มีผู้ใช้นามสกุล"นุชนิยม"มีจำนวนประมาณ 350 คน
119  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ที่นี่ ณ กำแพงเพชร หอเกียรติยศบุคคลดีเด่น (Hall of fame) จังหวัดกำแพงเพชร สมาค เมื่อ: ตุลาคม 02, 2019, 05:23:00 am

ที่นี่ ณ กำแพงเพชร
หอเกียรติยศบุคคลดีเด่น (Hall of fame) จังหวัดกำแพงเพชร

สมาคมนักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนกำแพงเพชร

ขอประกาศเกียรติคุณ ยกย่องคุณความดี และเป็นเกียรติยศแก่คนดี



                เรียงลำดับรายชื่อตามอาชีพดังต่อไปนี้ ครู, ข้าราชการทั่วไป, ตำรวจ, นักธุรกิจ และผู้นำท้องถิ่น

        บุคคลดีเด่นปี 2535 นายสกุล เรืองศิริรักษ์, นพ.สัมพันธ์ ฮันตระกูล, พ.ต.ต.ปัญญา    อยู่เอม และนายธำรง อัศวสุธีรกุล

        บุคคลดีเด่นปี 2538 นายสำราญ คำบุญ, นายวิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์, ร.ต.ท.ธวัชชัย เจริญสุขรุ่งเรือง, นางวาริน วัฒนศิริ และนายสำราญ มหบุญพาชัย,

                บุคคลดีเด่นปี 2539 นายคมสันต์ ศรีสงคราม, น.ส.ทิฐินันท์ สุขนันตพงศ์, พ.ต.ท.นิคม สภาพพร และนายยงยุทธ ว่องแก้ว

                บุคคลดีเด่นปี 2542 นายปริพนธ์ กรรณิกา, นพ.กำชัย รังสิมันต์ไพบูลย์, ด.ต.กำปั่น   บุญรอด และนางสุวนิช ภู่ขจร

                บุคคลดีเด่นปี 2543 นายสันติ อภัยราช, นายปริญญา ปานทอง, ชุดสืบสวน สภ.อ.เมืองกำแพงเพชร, นายมณเฑียร พุ่มริ้ว และนายณรงค์ แสงอโน

                บุคคลดีเด่นปี 2544 นายเรืองศักดิ์ แสงทอง, นายสมหมาย ฉัตรทอง, พ.ต.ท.อัศจรรย์ สังวโรสกุล, นายพิทักษ์ มหบุญพาชัย และหน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลกำแพงเพชร

                บุคคลดีเด่นปี 2545 นายเสนอ เพชรพราย, นายสมศักดิ์ มีครุฑ, ชุดสืบสวนภูธรจังหวัดกำแพงเพชร, นายสมศักดิ์ ขำสกุล และนายภูวนาท มุสิกภูตานนท์

                บุคคลดีเด่นปี 2546 ผศ.รัตนา รักการ, นายธงชัย ธรรมสุคติ, พ.ต.ท.ไพศาล คงเพชรศักดิ์, นายนพดล ตัญเจริญสุขกิจ และนายประเทือง เกตุอ่ำ

                บุคคลดีเด่นปี 2547 นายสมศักดิ์ ศรีละโพธิ์, นายกฤช อาทิตย์แก้ว, พล.ต.ต.ยงยุทธ งามเกษม, นายมนต์ชัย รุ่งชาญชัย และนางพยอม สุขโรจน์

        บุคคลดีเด่นปี 2549 นายประกาศิต อิทธิการกูล, นายพิสุทธิ์ บุษยพรรณพงศ์, พ.ต.ต. ปติพงศ์ คิสาลัง, นายอัมพร ประยูรวงษ์, นายอนุพงษ์ เรืองชัยศิวเวท และนายจุลพันธ์ ทับทิม

                บุคคลดีเด่นปี 2550 นายสมชาติ จูจันทร์, นายสมเกียรติ สุวรรณนิมิต, พ.ต.ท.สมนึก นวลคำ, นายเสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ และนายจุลพันธ์ ทับทิม

                บุคคลดีเด่นปี 2551 นายสมบัติ ตันเจริญ, นายวิทยา ผิวผ่อง, ข้าราชการตำรวจ สภ.ทรงธรรม และนายกมล สิมเมือง

                บุคคลดีเด่นปี 2552 นายประจักษ์ ศรสาลี, นายถาวร เฉิดพันธุ์, พ.ต.ต.เชาวลิต รัมวุฒิ,
นางรุ่งทิพย์ เรืองวิไลทรัพย์ และนายสมมาตร บุญฤทธิ์

                บุคคลดีเด่นปี 2553 นางวรรณา โชคประเสริฐถาวร, นางอรอนงค์ กลางนภา, พ.ต.ต.พงษ์ศักดิ์ วิริยะเขษม  พร้อมคณะชุด 50, นางรัชนี อัศวสุธีรกุล และนายธำรง จันคง

                บุคคลดีเด่นปี 2554 น.ส.ละมัย มีขันหมาก, นพ.ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร, ร.ต.อ.ธนะชัย เหลืองเพชรรัตน์, นายสุวรรณ ศุภกิจเจริญ และนายมาณพ ศิริไพบูลย์

                บุคคลดีเด่นปี 2555 นายไพโรจน์ ชนะภัย, นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์, พ.ต.อ.ธนวรรธ์ อยู่คง, และนางประสพพร จงสวัสดิ์

                บุคคลดีเด่นปี 2556 นายยงยุทธ บดีรัฐ, นายรณชัย จิตรวิเศษ, พ.ต.อ.ชลิตร         วิริยะไกรศรีกุล, นายวิโรจน์ ธีรวัฒน์วาที และนายโชคชัย ถมอินทร์

                บุคคลดีเด่นปี 2557 นางอัมพร เต็มศิริรักษ์, นพ.รังสันต์ ชัยกิจอำนวยโชค, ด.ต.สมาน สายด้วง, นายสรวิชญ์ ธันยบูรณ์สถาพร และนายพยอม อยู่พันธ์

                บุคคลดีเด่นปี 2558 นายบุญเพ็ง ศรีจันทร์, นายเทวัญ หุตะเสวี, พ.ต.อ.เอนก จันทร์ศร, นางก้อนแก้ว พลอาจ และนายสุนทร รัตนากร


                บุคคลดีเด่นปี 2559 ผศ.เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา, นายรุ่งชัย ใบกว้าง, พ.ต.ท.ปริญญา ปานท้วม, นายโกสินทร์ จงพัฒนสมบัติ และ นพ.พิชัย ศิริพรพาณิชย์

                บุคคลดีเด่นปี 2560 ดร.บรรจบ ภูโสดา, นายธวัชชัย เกตุพันธ์, พ.ต.ท.ณัฐดนัยพล    ปิ่นทอง, นายสุภชัย ปิติวุฒิ และนางพวงเพชร บรรณา





  ขออภัย เนื่องจากข้อมูลบางส่วนสูญหาย ยังหาไม่พบ หรือไม่ได้ประกาศ บุคคลดีเด่นบางปีจึงไม่ปรากฏ

หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม โปรดแจ้งให้สมาคมทราบด้วย จักเป็นพระคุณอย่างสูง

 

                                                                                                           รวบรวมโดย......... ปรภาค ปรภาคธรรม

                                                                                                     (อดีตนายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนกำแพงเพชร 4 สมัย)

 
เพลงจังหวัดกำแพงเพชร (เนื้อเพลง)
 
เพลงกำแพงเพชรบ้านของเรา

 กรุพระเครื่อง เลื่องลือซุ้มกอ กำแพงเพชรหนอ เป็นเมืองโบราณ
น้ำตกกล่าวขาน สวยงาม เห็นมาช้านาน น้ำตกคลองลาน งามตา
ไม้ในป่า สวยจริง เราไม่ตัดทิ้ง ตระหง่านหนักหนา
ลานกระบือล้ำค่า น้ำมันขุดมา จึงมีประโยชน์ ผลดี
แม่น้ำปิง ไหลผ่านทุกวัน กำแพงเพชรนั้น สง่าราศี
แม้งานแห่งปี งานนบพระมี เล่นเพลง พร้อมสารทไทย กล้วยไข่หวาน
งามกำแพงเพชรงาม คงมั่นทุกยาม ร่วมใจสมาน
มั่นในปณิธาน แซ่ซ้องประสาน กำแพงเพชร บ้านของเรา

(พิมพ์ชื่อเพลง แล้วค้นหาใน youtube หรือ google เพื่อรับฟังเพลงนี้)



เพลงเชิญเที่ยวกำแพงเพชร

 ถิ่นหนึ่งงามเรือง เกิดเมือง กำแพงเพชรพราว โบราณกล่าวขาน เมืองชากังราว นานมา
ฤาเทพเทวัญ เสกพา ให้กำแพงงามเลอค่า สถิตตรึงตรา แคว้นสุโขทัย
เกิดอุทยาน ประวัติศาสตร์เมือง วิไล ประชาใกล้ไกล เดินทางเร็วไว มาชม
เราต้องรักษา ศรัทธา ผองชาวประชา เกลียวกลม ให้งามชวนชม แห่งเมืองกำแพง
โอ้มรดก ของโลก เหมือนโชคของเรา เพริศเพรา งามไปทุกแห่ง
ภาพงาม วามแฝง บรรเจิดดังแสง เสน่ห์จริง พริ้งเพรา
จึงกล่าวเชิญชวน ท่านเยือน กำแพงเพชรเรา เพลินใจไม่เหงา ความงาม พริ้งเพราเกินพร่ำ
เชิญท่าน นำพาเฉลย พักพิงดังเคย คืนค่ำ ขับเป็นลำนำ เที่ยวเมืองกำแพง

(พิมพ์ชื่อเพลง แล้วค้นหาใน youtube หรือ google เพื่อรับฟังเพลงนี้)



เพลงสิบเอ็ดอำเภอ

เมืองกำแพงเพชร มีเจ็ดอำเภอ กับสี่กิ่งอำเภอ งามล้ำเลอค่า

สวยพราวตา เหมือนเพชรพา พะพร่างพราวแสง เรารักเมืองกำแพง เพชรสำแดง เปล่งแสงพราวพราย

สวยพราวตา เหมือนเพชรพา พะพร่างพราวแสง เรารักเมืองกำแพง เพชรสำแดง เปล่งแสงพราวพราย

เด่นอำเภอเมือง งามเรืองรองก็ พรานกระต่าย คลองขลุง ดูสวยแพรวพราย งามคลองลาน วิมานธานี

อีกลานกระบือ งามไทรงาม นั้นงามเกินที่ ขาณุวรลักษบุรี อำเภอดีนี้ได้นำพา

กิ่งทุ่งทราย ปางศิลาทอง เมืองสวยดังเพชรดังทอง งามเรืองรองนั้น โกสัมพี

สดสวย บึงสามัคคี รวมสี่กิ่งนี้ เป็นเมืองกำแพง



เพลงรามคำแหงกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองกล้วยไข่ ป่าไม้น้ำตก มรดกโบราณ
น้ำมันลานกระบือ มีชื่อมานาน คนขานระบือไกล
รามคำแหง กำแพงเพชรงาม ทุกผู้ทุกนาม ลูกพ่อขุนรวมไว้
น้ำเงินทอง รวมน้ำใจ รามทั้งจังหวัด อยู่หนใด ใครยากไร้ เราใจกังวล

* สามัคคี ช่วยสังคม ให้เขานิยม ให้ประโยชน์ ปวงชน
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มนัสเปี่ยมล้น ตราบสิ้นจนชีวา
ยึดมั่นใน คำขวัญฝังใจ รู้จักอภัย และตั้งใจศึกษา
บูชาพ่อขุนทุกครา สนองคุณชาติ ดังสมญา รามคำแหง กำแพงเพชรเอย (ซ้ำ *)
เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง
เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง.



เพลงรำวงกำแพงเพชรเมืองทอง

(สร้อย) โอ้กำแพงเพชรเมืองทอง ยามมองช่างสวยวิไล เหลียวมองไปทางไหน ล้วนแล้วก็งามทุกสิ่ง

สวยงามธรรมชาติ น้ำสะอาด เมื่อยามค่ำคืน สวยงามระรื่น ชื่นตา พารักให้สุขใจ

หญิง) เมืองเก่าชากังราว เด่นอะคร้าว นับมานานปี รุ่งเรืองสดสี โสภีโสภาลาวัณย์

แสนภูมิจิตใจ พิไลกระไรนะนั่น สุโขทัยคู่กัน เหมือนพระจันทร์กับอาทิตย์คู่

ชาย) กล้วยไข่เมืองกำแพงเรา ใคร ๆ เขานิยมกันไป ไร่งามน้ำใส สมใจแสนเพลินงามตา

สมจินต์สุขใจ พักกายสุขยามนิทรา จะไม่ลืมวาจา ขอสัญญาจะมานิรันดร์ (สร้อย)

หญิง) สาวหนุ่มเมืองกำแพง อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ประเพณีไซร้ นบพระเล่นเพลงเรามี

ชาย) ร่วมมือร่วมใจ รักษาให้นานน้องพี่ เทิดคุณความดี มีของดีต้องคงไว้มั่น

พร้อม) เราอยู่เมืองกำแพง เราไม่แล้ง น้ำใจแรงกาย ช่วยกันขวนขวาย ร่วมใจสามัคคีกัน

แม้นมีศึกมา หนใดไม่เคยนึกหวั่น สงบสุขสันต์ รักกันให้นานนะเจ้า (สร้อย 2 รอบ........จบ)

(พิมพ์ชื่อเพลง แล้วค้นหาใน youtube หรือ google เพื่อรับฟังเพลงนี้)



 เพลงมาร์ชกำแพงเพชร

 หมู่ ช.-ญ.) นามประเทือง เมืองกำแพงเพชรของเรานี้ เป็นเมืองดี ควรที่ภูมิใจ
อดีตกาลหน้าด่าน เมืองเอกแคว้นไทย สำคัญยิ่งใหญ่ ควรได้กล่าวขาน
ชากังราวชื่อเดิมเมื่อครั้ง ยังรุ่งเรือง เป็นนามเมือง มาแต่โบราณ
สิ่งที่เห็นย่อมเป็น ประจักษ์พยาน แม้ล่วงเลยผ่าน เนิ่นนานสืบมา

หมู่ ช.) พระเครื่องของเรา   หมู่ ญ. รับ) พระเครื่องของเรา
หมู่ ช.) เป็นยอดนิยม   หมู่ ญ.รับ) เป็นยอดนิยม
หมู่ ช.) ในสังคมชื่อเสียงลือชา  หมู่ ญ.) กำแพงเพชร เมืองพุทธศาสนา ประเพณีมุ่งรักษา จวบจนบัดนี้
หมู่ ช.) เมืองที่สมบูรณ์     หมู่ ญ.รับ) เมืองที่สมบูรณ์
หมู่ ช.) พูนสุขทุกครา   หมู่ ญ.รับ) พูนสุขทุกครา
หมู่ ช.) ทรัพยากรนั้นมากมี   หมู่ ญ.) แร่ป่าไม้ผลิตผลเกษตรก็ดี ประชากรต่างเปรมปรีดิ์ สุขศรีรื่นรมย์
หมู่ ญ.) กำแพงเพชรเป็นนาม ของความกล้าแกร่ง ชนเข้มแข็ง ทำดีพื้นที่อุดม
มีอาราม และเจดีย์ที่งามสม ใครเคยมา ต่างพากล่าวชม นิยมทั่วกัน
หมู่ ช.) มุ่งเทิดทูนราชา และราชินี ราษฎร์เรานี้ภักดี พระเป็นมิ่งขวัญ
เมืองกำแพงเพชร จึงร่มเย็นสุขสันต์ ชาวกำแพง กอบกิจขยัน รักกันยิ่งเอย



เพลงรำวงกำแพงเพชร

(สร้อย) กำแพงเพชรเป็นเมืองใหญ่ ทั่วแดนวิไล สดใสสะพรั่งตา
ไม้ก็งาม น้ำก็มีปลา ข้าวเต็มไร่นา สุขหรรษาในชีวี
ชาย) วันนี้ได้มา พบหน้าชื่นใจ เห็นเจ้าแต่ไกล ชวนใฝ่ในฤดี
สาวอำเภอเมือง ขาณุวรลักษบุรี คลองขลุง สดศรี พรานกระต่าย นี้มองอยู่ดูขำคม
หญิง) ท่าทีเจ้าชู้ ทำดูแกล้งไก๋ หรือจะมาใช้ ไม้เก่าให้หลงลม
รู้กันมานาน ปากหวานจะพานเป็นขม อย่าคิดแสร้งชม มาแอบปรารมภ์ ปลิ้นปลอกหลอกน้องเลย
 (สร้อย)
ชาย) พี่นี้ใช่มี วจียอกย้อน น้องอย่าแง่งอน ค้อนพี่ไปนักเอย
สาว ลานกระบือ ไทรงาม คลองลาน แม่เอ๋ย พี่นี้เปิดเผย โอ้ทรามเชย เจ้าเอ่ยให้ช้ำไย
หญิง) ที่เย้าก็ชาวกำแพงด้วยกัน น้องใช่เหยียดหยัน ยังหวั่นในฤทัย
พี่ชายเมียงมอง จะปองสาวอำเภอใด หากแม้ต้องใจ ขันหมากเร็วไว คงได้ดังสมจินต์
(สร้อย)
ชาย) พี่นั้นขยันสร้างตัวเพื่อน้อง คิดเก็บเงินทอง ไว้หมั้นเจ้ายุพิน
พื้นดินเราดี มากมีที่ทางทำกิน ได้ทรัพย์สินออมสิน คงสุขชีวิน ในถิ่นทองของเรา
หญิง) โอ้แสนชื่นใจ พี่ชายยิ่งนัก อุ๊ย ช่างน่ารัก มิได้ทำซบเซา
ผู้ชายกำแพง เข้มแข็งมาแต่เนิ่นเนา ไม่แพ้ใครเขา จังหวัดของเรา จึงสุขและสมบูรณ์
(สร้อย)

(พิมพ์ชื่อเพลง แล้วค้นหาใน youtube หรือ google เพื่อรับฟังเพลงนี้)



เพลงเมืองงามกำแพงเพชร

 ชาย) กำแพงเพชร เพชรเอกของเมืองไทย เมืองที่วิไล ชวนใจให้ใฝ่ถึง
มีความงามติดตรึง หวนคะนึง ยังซึ้งอยู่ในฤดี
หญิง) อดีตหลัง ยังได้เห็นทุกแห่ง ซุ้มป้อมกำแพง รายล้อมรอบธานี
กำแพงเพชรแดนนี้ ล้วนมากมี สิ่งที่ชวนทัศนา
ชาย) วัดพระธาตุ โสภางามเพริศแพร้ว หญิง) โอ้วัดพระแก้ว แวววับจับตา
ชาย) พิพิธภัณฑ์ อีกพระแสงราชศาสตรา  หญิง) ภูมิใจหนักหนา หาเมืองใดเปรียบเหมือน
ชาย) โอ้คนงาม งามยิ่งแล้วน้ำใจ ไม่อยากจากไป เมื่อยาม ได้มาเยือน
หญิง) กำแพงเพชร ติดเตือน ถึงแรมเลือน กี่เดือนปี มิลืมเลย



เพลงกำแพงเพชรแดนสวรรค์

แม่ปิงไหลหลั่ง สองฝั่งชล ดังจิตคน ชาวกำแพงเพชร เปี่ยมน้ำใจ
ทั่วถิ่นใกล้ไกล เห็นรอยยิ้ม พริ้มพร่างไป พาสดใส เบิกบาน
ทุกแห่งธรรมชาติ สวยบาดตา ทั้งภูผา ป้อมกำแพง เกาะแก่งสายธาร
น้ำตกคลองลาน วังชมพู ดูตระการ พร้อมบางพาน บ้านทุ่งเศรษฐี
ชื่อเสียงเลื่องลือ เมืองชื่อไตรตรึงษ์ ชวนใฝ่ถึง เรื่องหนึ่งที่รู้ กันด้วยดี
มีตำนาน ท้าวแสนปม สร้างธานี ล่วงมานานปี ยังเห็นอยู่ทั่วกัน
งามหาดแม่ปิง พริ้งพร่างพราว สวยจริงสาว ผิวนวลขาว ชวนผูกสัมพันธ์
ชายก็งานขยัน กำแพงเพชร แดนสวรรค์ เมืองมิ่งขวัญ ที่รักแห่งเรา

 

 
120  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / กำหนดการ โครงการชากังราว นครแห่งศิลป์ ตอน หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นค เมื่อ: สิงหาคม 08, 2019, 11:03:06 am
กำหนดการ   โครงการชากังราว นครแห่งศิลป์
ตอน หนึ่งพันสิบห้าปี   เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร
วันที่ ๒๒ สิงหาคม  ๒๕๖๒ ณ ลานพระเจดีย์ วังพระธาตุ  ตำบลนครไตรตรึงษ์พฤหัสบดีที่  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ (วันคล้ายวัน พระพุทธเจ้าหลวงประพาสต้นนครไตรตรึงษ์ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๙๙)
“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””
๑๖.๓๐ น.  ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมงาน  “หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นคร 
               ไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร” ประมาณ ๒๐๐ ท่าน
๑๗.๐๐ น.   เปิดงานโดย  นายเชาวลิตร  แสงอุทัย   ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
รายงานการจัดงานโดย นายสุนทร  รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
๑๗.๒๐น.    เสวนา เรื่อง เราจะสร้างสรรค์นครไตรตรึงษ์ ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวทาง   
                วัฒนธรรม ได้อย่างไร โดย
๑.อ สันติ อภัยราช  ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม
๒.นายกอบต.นครไตรตรึงษ์
๓.นายกเทศบาลเทพนคร
๔.นายกเทศบาลอ่างทอง
๕.อ.สุขศรี     สิทธิ   ปราชญ์ท้องถิ่นนครไตรตรึงษ์
๖.อ.รุ่งเรือง สอนชู   ปราชญ์ท้องถิ่นเมืองเทพนคร          
๑๘.๔๐ น.    รับประทานอาหารท้องถิ่นร่วมกัน ตามประเพณี ชาวเมืองนครไตรตรึงษ์   
๑๘.๔๐ น.     ชมการแสดง พื้นบ้าน ของชาวนครไตรตรึงษ์ และ ท้องถิ่นที่มาร่วมงาน
                  และผู้เกี่ยวข้อง (ระหว่างรับประทานอาหาร) ฟังเพลงเพราะๆ จากศิลปินเพลงชาวกำแพงเพชร
๑๙.๓๐ น.   ชมการเล่านิทานประกอบการแสดง เรื่องท้าวแสนปม ของโรงเรียนชนะเลิศ  การประกวดเล่านิทานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร (โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม)
๒๐.๐๐ น ฟังเพลงกำแพงเพชร จากศิลปินเมืองกำแพงเพชร
๒๐.๑๕น.  ชมการแสดง ประกอบแสง เสียง เรื่อง หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร  โดย โรงเรียนนครไตรตรึงษ์ และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง
๒๑.๓๐ น. ปิดงาน
หมายเหตุ        ชมการแสดง และรับประทานอาหารพื้นถิ่นนครไตรตรึงษ์ กว่า ๒๐ ร้าน ฟรี
การแต่งกาย ตามวิถีไทยย้อนยุค (แบบงานอุ่นไอรัก)
ประชาชนอาจ แต่งกายแบบพื้นบ้านย้อนยุค)




หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 95
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!