จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ ตุลาคม 25, 2013, 09:10:47 am



หัวข้อ: สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) กับเมืองกำแพงเพชร
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ ตุลาคม 25, 2013, 09:10:47 am
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช  (เจริญ สุวฑฺฒโน) กับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)  กับเมืองกำแพงเพชร
สมเด็จพระสังฆราช เป็นประมุข เป็นที่เคารพสักการะของคณะสงฆ์ และเป็นผู้นำหมู่สงฆ์ที่เรียกว่า ?สกลมหาสังฆปริณายก? ตำแหน่งนี้มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีจารึกไว้ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ราว พ.ศ. ๑๘๓๕ ว่า ?พระนครสุโขทัย มีสังฆราช มีปู่ครู มีมหาเถร มีเถร? ตามตำนานคณะสงฆ์ พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้อธิบายถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไว้ตอนหนึ่งว่า
?สังฆราชเห็นจะเป็นสังฆนายกชั้นสูงสุด ตำแหน่งปู่ครู ตรงกับคำที่เราเรียกว่า พระครูในทุกวันนี้ เป็นตำแหน่งสังฆนายกรองลงมาจากสังฆราช สันนิษฐานว่าเอาอย่างมาจากยศพราหมณ์ ซึ่งมีตำแหน่งพระราชครู พระครูผู้สอนแบบประเพณี แต่พระมหาเถระและเถระที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกนั้น เห็นจะมีความหมายว่า พระภิกษุที่มีพรรษาอายุและทรงคุณธรรมในทางพระศาสนาเป็นมาเถระและเถระตามวินัยบัญญัติ มิได้เป็นสมณศักที่พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง?
และในตอนหนึ่งทรงนิพนธ์ไว้ว่า
"ในประเทศสยาม เมื่อพระนครสุโขทัยเป็นราชธานีเห็นจะมีสังฆราชมากกว่าองค์เดียว ด้วยวิธีการปกครองราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลราชธานีเป็นเมืองประเทศราช แม้เมืองใกล้ราชธานี ที่เป็นเมืองใหญ่ ก็ตั้งเจ้านายออกไปปกครองอย่างทำนองประเทศราช เมืองใหญ่เมืองหนึ่งน่าจะมีสังฆราชองค์หนึ่งเป็นสังฆนายกในเมืองนั้น"
รายพระนามสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ลำดับ   รูป   รายพระนาม   เริ่มวาระ   สิ้นสุดวาระ   สถิต ณ
1      สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ศรี)
พ.ศ. 2325
พ.ศ. 2337
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

2      สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ศุข)
พ.ศ. 2337
พ.ศ. 2359
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

3      สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(มี)
พ.ศ. 2359
พ.ศ. 2362
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

4      สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(สุก ญาณสังวร)
พ.ศ. 2363
พ.ศ. 2365
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

5      สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ด่อน)
พ.ศ. 2365
พ.ศ. 2385
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

6      สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(นาค)
พ.ศ. 2386
พ.ศ. 2392
วัดราชบูรณะราชวรวิหาร

7      สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
(พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวัณณรังสี)
พ.ศ. 2394
พ.ศ. 2396
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

8      สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺคโต)
พ.ศ. 2434
พ.ศ. 2435
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

9      สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(สา ปุสฺสเทโว)
พ.ศ. 2436
พ.ศ. 2442
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

10      สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)
พ.ศ. 2443
พ.ศ. 2464
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

11      สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
พ.ศ. 2465
พ.ศ. 2480
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

12      สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(แพ ติสฺสเทโว)
พ.ศ. 2481
พ.ศ. 2487
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

13      สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต)
พ.ศ. 2488
พ.ศ. 2501
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

14      สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ปลด กิตฺติโสภโณ)
พ.ศ. 2503
พ.ศ. 2505
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

15      สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(อยู่ ญาโณทโย)
พ.ศ. 2506
พ.ศ. 2508
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

16      สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(จวน อุฏฐายี)
พ.ศ. 2508
พ.ศ. 2514
วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร

17      สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ปุ่น ปุณฺณสิริ)
พ.ศ. 2515
พ.ศ. 2517
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

18      สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(วาสน์ วาสโน)
พ.ศ. 2517
พ.ศ. 2531
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

19      สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
(เจริญ สุวฑฺฒโน)
พ.ศ. 2532
พ.ศ. 2556
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ? 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต[1]
พระกรุณาธิคุณกับเมืองกำแพงเพชร
ทรงอุปถัมภ์  พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ (เรือนไทย)ในพระสังฆราชูปภัมถ์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งนี้ เนื่องจากจังหวัดกำแพงเพชรมีประวัติที่ยาวนาน อุดมไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตุ และชาติพันธ์ต่างๆ อันเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ประจำถิ่น ด้วยเหตุดังกล่าว มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส.ในพระสังฆราชูปภัมถ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พร้อมคณะกรรมการ ได้มีมติจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ถวายเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พศ.2539 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ มีรูปร่างเป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง บนเนื้อที่ 25 ไร่ 49 ตารางวา ใช้งบประมาณก่อสร้าง 61.065.863 บาท
ทรงอุปถัมภ์ วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)
เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ในการพระราชทานเพลิงศพ พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) และเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอาคารสมเด็จพระญาณสังวร หอสมุดสมเด็จพระญาณสังวร และตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ต่อมาได้มีการปรับปรุงบริเวณพื้นที่และก่อสร้างอาคารเสนาสนะต่างภายในวัดนาควัชรโภณ เป็นลำดับ คือ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มหาราชินี, พ.ศ. ๒๕๓๖ ก่อสร้างอาคาร ๘๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราช วิหารพระไพรีพินาศ, อาคารที่พักพระภิกษุ-สามเณร เป็นต้น รวมงบประมาณการพัฒนาด้านสาธาณูปการ และการจัดการศึกษาแผนกต่างๆ ของสำนักเรียนวัดนาควัชรโสภณ ที่ได้รับการอุปถัมภ์จากมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ โดยการบริจาคร่วมของพุทธศาสนิกชน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๖๐,๔๗๗,๔๗๖.- บาท (หกสิบล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยเจ็ดสิบหกบาทถ้วน)
ปัจจุบัน วัดนาควัชรโสภณ ใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม แผนกบาลี แผนกสามัญศึกษา และยังเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สำหรับเยาวชน แห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นสำนักเรียนที่ใช้เป็นสถานที่สอบธรรมชั้นนวกะภูมิและสอบธรรมสนามหลวง สำหรับพระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุติกนิกายมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ในเขตนี้อีกด้วย จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดอุทยานการศึกษา และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดนาควัชรโสภณ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙
พ.ศ. ๒๕๔๒ พระจันทโคจรคุณ (เฉลิม วีรธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดนาควัชรโสภณ ได้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ เป็น เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร-พิจิตร-พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์-ตาก (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๔๓ พระจันทโคจรคุณ (เฉลิม วีรธมฺโม) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ที่ ?พระราชสารโมลี? เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๓
ทั้งหมดอยู่ในความกรุณาของ พระมหาสมจิตต์  อภิจิตโต  เลขานุการ มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ที่นำความทั้งหมด มาจังหวัดกำแพงเพชร
สังฆราชา นิราศ ประพาสฟ้า                    ชาวประชา หมองหม่น กร่นร่ำไห้
พระอาจารย์ จอมกษัตริย์ ทรงฉัตรไทย           นิราศไป สู่สวรรค์ ฉันท์นิพพาน
หนึ่งศตวรรษ ทรงอุบัติ ขจัดทุกข์                 เจริญสุข เจริญธรรม อธิษฐาน
ขอพระองค์ ทรงเทพ นิรันดร์กาล                ทุกวันวาร คุ้มไทย พ้นภัยเทอญ

 พระกรุณาธิคุณกับเมืองกำแพงเพชร
ทรงอุปถัมภ์  พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ (เรือนไทย)ในพระสังฆราชูปภัมถ์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งนี้ เนื่องจากจังหวัดกำแพงเพชรมีประวัติที่ยาวนาน อุดมไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตุ และชาติพันธ์ต่างๆ อันเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ประจำถิ่น ด้วยเหตุดังกล่าว มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส.ในพระสังฆราชูปภัมถ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก พร้อมคณะกรรมการ ได้มีมติจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ถวายเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พศ.2539 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ มีรูปร่างเป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง บนเนื้อที่ 25 ไร่ 49 ตารางวา ใช้งบประมาณก่อสร้าง 61.065.863 บาท
ทรงอุปถัมภ์ วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)
เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ในการพระราชทานเพลิงศพ พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) และเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอาคารสมเด็จพระญาณสังวร หอสมุดสมเด็จพระญาณสังวร และตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ต่อมาได้มีการปรับปรุงบริเวณพื้นที่และก่อสร้างอาคารเสนาสนะต่างภายในวัดนาควัชรโภณ เป็นลำดับ คือ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มหาราชินี, พ.ศ. ๒๕๓๖ ก่อสร้างอาคาร ๘๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราช วิหารพระไพรีพินาศ, อาคารที่พักพระภิกษุ-สามเณร เป็นต้น รวมงบประมาณการพัฒนาด้านสาธาณูปการ และการจัดการศึกษาแผนกต่างๆ ของสำนักเรียนวัดนาควัชรโสภณ ที่ได้รับการอุปถัมภ์จากมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ โดยการบริจาคร่วมของพุทธศาสนิกชน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๖๐,๔๗๗,๔๗๖.- บาท (หกสิบล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยเจ็ดสิบหกบาทถ้วน)
ปัจจุบัน วัดนาควัชรโสภณ ใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม แผนกบาลี แผนกสามัญศึกษา และยังเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สำหรับเยาวชน แห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นสำนักเรียนที่ใช้เป็นสถานที่สอบธรรมชั้นนวกะภูมิและสอบธรรมสนามหลวง สำหรับพระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุติกนิกายมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ในเขตนี้อีกด้วย จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดอุทยานการศึกษา และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดนาควัชรโสภณ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙
พ.ศ. ๒๕๔๒ พระจันทโคจรคุณ (เฉลิม วีรธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดนาควัชรโสภณ ได้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ เป็น เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร-พิจิตร-พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์-ตาก (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๔๓ พระจันทโคจรคุณ (เฉลิม วีรธมฺโม) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ที่ ?พระราชสารโมลี? เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๓
ทั้งหมดอยู่ในความกรุณาของ พระมหาสมจิตต์  อภิจิตโต  เลขานุการ มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ที่นำความทั้งหมด มาจังหวัดกำแพงเพชร
สังฆราชา นิราศ ประพาสฟ้า                    ชาวประชา หมองหม่น กร่นร่ำไห้
พระอาจารย์ จอมกษัตริย์ ทรงฉัตรไทย           นิราศไป สู่สวรรค์ ฉันท์นิพพาน
หนึ่งศตวรรษ ทรงอุบัติ ขจัดทุกข์                 เจริญสุข เจริญธรรม อธิษฐาน
ขอพระองค์ ทรงเทพ นิรันดร์กาล                ทุกวันวาร คุ้มไทย พ้นภัยเทอญ

 

สันติ อภัยราช



สันติ อภัยราช