จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ มกราคม 31, 2016, 07:24:02 pm



หัวข้อ: เรือนนายหอม รามสูต บนถนนเทศา มีเรือนไทยที่มีสถาปัตยกรรมงดงามอยู่จำนวนมาก ล้วนเห
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ มกราคม 31, 2016, 07:24:02 pm
เรือนนายหอม รามสูต
   บนถนนเทศา มีเรือนไทยที่มีสถาปัตยกรรมงดงามอยู่จำนวนมาก ล้วนเหลือจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในเมืองกำแพงเพชร เมื่อเดือนเมษา ๒๕๐๖ จากวัดเสด็จ ก่อนถึงการประปากำแพงเพชร มีเรือนทรงปั้นหยา หลังใหญ่ ชั้นเดียว อยู่ติดถนนเทศา มีอายุ ราว ๑๐๐ ปี เป็นบ้านของ นายหอม รามสูต บุตรชายของหลวงพิพิธอภัย (หวน) รองเจ้าเมือง(รองผู้ว่าการเมือง)กำแพงเพชรในสมัยรัชกาลที่ ๕ และนางจัน เป็นน้องชายของแม่หวีด คนงามเมืองกำแพงเพชร  เป็นหลานของพระยารามรณรงคสงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชร ในอดีต นายหอมเกิดเมื่อ พศ. ๒๔๔๓ และเสียชีวิต เมื่อ ปี ๒๕๑๗ รวมอายุ ๗๔ ปี นายหอม สมรสกับ นางบุญสม ( ๒๔๔๕-๒๕๑๓) รวมอายุ ๖๘ ปี ท่าน เป็นคหบดีคนสำคัญท่านหนึ่งในเมืองกำแพงเพชร มีลูกหลานหลายคน
   หลวงพิพิธอภัย (หวล)บิดาของนายหอม  เป็นเจ้าของดาบฝักทองพระราชทานจากพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คนสุดท้าย เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น กำแพงเพชร ท่านได้ถวายดาบฝักทองคืนแด่พระพุทธเจ้าหลวง พระพุทธเจ้าหลวงทรง พระราชทานดาบฝักทอง ให้เป็นพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร มิฉะนั้น นายหอม รามสูต อาจเป็นเจ้าของดาบสำคัญนี้ ปัจจุบันบ้านหลังนี้ เป็นกรรมสิทธิ์ ของ นางศิริลักษณ์ ชาญเชี่ยว หลานตาของนายหอม รามสูต
   สถาปัตยกรรม
   บ้านหลังนี้ เป็นบ้านทรงปั้นหยา ( เรือนไม้แบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบี้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิด ไม่มีหน้าจั่วเรือนปั้นหยาปรากฏมีอยู่ที่หลังคาพระราชวังต่างๆที่สร้างในสมัยต้นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นแบบปั้นหยา จากเรือนปั้นหยาได้วิวัฒนาการมาเป็น เรือนมะนิลา คือ บางส่วนเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาแล้วเปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว ในสมัยที่เรือนแบบมะนิลาซึ่งคงจะแพร่หลายมาจากเมืองมะนิลา)  เข้ามาสู่ความ นิยมอย่างแพร่หลายในพระราชวัง แล้วสู่วังของเจ้านายในราชสำนัก และมาสู่เรือนของผู้มีอันจะกินในต่างจังหวัดในที่สุด
หลังคาทรงปั้นหยา ปัจจุบันจะนิยมทำหลังคาทรงปั้นหยากันมาก เพราะ ลักษณะของหลังคาปั้นหยานั้น จะมีด้านเฉียง 4 ด้าน ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ในทาง ฮวงจุ้ยบอกหลังคาทรงปั้นหยา น้ำจะไหลลงได้ทั้งสี่ด้านของบ้าน ในทางฮวงจุ้ยถือว่า ดี  ประโยชน์ของหลังคาทรงปั้นหยา ยังเป็นตัวป้องกันแดดและฝนได้ทุกด้านของบ้านอีกด้วย ทำให้ตัวบ้านไม่ปะทะกับลมฝนและแสงแดดที่มากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้บ้านได้รับความเสียหายได้ บ้านหลังนี้ได้รับการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาใหม่ จากกระเบื้องโบราณ เป็นกระเบื้องสมัยใหม่ แต่ยังรักษ่าโครงหลังคาไว้ บานเฟี้ยม เป็นการเข้าไม้แบบฝาปะกน พื้นบ้านเป็นไม้สัก ขัดใหม่ทั้งหลัง ปัจจุบันเปิดเป็นร้านขายเสื้อผ้าไทย นับว่าเป็นเรือนไทยอีกหลังที่น่าสนใจมากไม่แพ้เรือนโดๆ ในกำแพงเพชร
         สันติ อภัยราช