จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤษภาคม 15, 2024, 10:06:07 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 95
121  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / วาระการประชุม คณะกรรมการตามโครงการ ชากังราว นครแห่งศิลป์ หนึ่งพันสิบห้าปี เมื เมื่อ: สิงหาคม 05, 2019, 10:44:27 am
วาระการประชุม คณะกรรมการตามโครงการ   ชากังราว นครแห่งศิลป์
หนึ่งพันสิบห้าปี
เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร
วันที่ ๒๒ สิงหาคม  ๒๕๖๒ ณ ลานพระเจดีย์ วังพระธาตุ  ตำบลนครไตรตรึงษ์
๖ สิงหาคม ๖๒ ณ อบต.นครไตรตรึงษ์ เวลา ๑๓.๐๐ น.
...........................
วาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ การจัดงานตามโครงการ
“ ชากังราว นครแห่งศิลป์” ที่วัดวังพระธาตุ นครไตรตรึงษ์ กำแพงเพชร วัดพฤหัสที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ ตรงกับวันคล้ายวันประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวง เมือ่ ๑๑๓ ปี
มาแล้ว คือวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๔๙ จัดงาน เรื่อง หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชรวันที่ ๒๒ สิงหาคม  ๒๕๖๒ ณ ลานพระเจดีย์ วังพระธาตุ  ตำบลนครไตรตรึงษ์
วาระที่ ๒ เรื่อง ผลการประชุม เมื่อวันที่  ๘ กค. ๖๒  (อ.สันติ รายงาน)
พฤหัสบดีที่  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ (วันคล้ายวัน พระพุทธเจ้าหลวงประพาสต้นนครไตรตรึงษ์ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๙๙)
๑๖.๐๐ น. ตลาดประชารัฐ และตลาดโบราณ นครไตรตรึงษ์ พร้อม บริเวณ รอบพระเจดีย์   
               ด้านหน้า
๑๖.๓๐ น.  ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมงาน  “หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นคร 
               ไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร” ประมาณ ๑๐๐ ท่าน
          มอบหนังสือ เรื่อง หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร ท่านละ ๑ เล่ม สถานศึกษา และ เทศบาล อบต. อีก ๔๐๐ เล่ม รวม ๕๐๐ เล่ม
เปิดงานโดย ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
๑๗.๐๐น.    เสวนา เรื่อง เราจะสร้างสรรค์นครไตรตรึงษ์ ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวทาง   
                วัฒนธรรม ได้ อย่างไร โดย อ สันติ อภัยราช  ผู้ร่วมเสวนา 
                นายก ท้องถิ่นทั้งสามแห่ง อ.สุขศรี สิทธิ   อ.รุ่งเรือง สอนชู และ.................
๑๘.๓๐ น.    รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน (แจกคูปองอาหารหรือ เดินรับประทานได้ทุก   
                  ร้าน ในงาน ที่จัดแสดง(อบจ.เจ้าภาพ)
๑๘.๓๐ น.     ชมการแสดง พื้นบ้าน ของนครไตรตรึงษ์ และ ท้องถิ่นที่มาร่วมงาน โรงเรียน
                 และผู้เกี่ยวข้อง (ระหว่างรับประทานอาหาร)
๑๙.๓๐ น.   ชมการเล่านิทานประกอบการแสดง เรื่องท้าวแสนปม ของโรงเรียนชนะเลิศ  การประกวดเล่านิทานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
๒๐.๐๐ น.  ชมการแสดง ประกอบแสง เสียง เรื่อง หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร  โดย โรงเรียนนครไตรตรึงษ์ และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง
         ปิดงาน โดย...................................................
วาระที่ ๓  หน่วยงานและผู้รับผิดชอบ ในงาน เป็นผู้นำเสนอ ชี้แจง แถลงไข
๓,๑  การจัดสถานที่ ออกแบบ ระบบไฟฟ้า  ระบบความปลอดภัย . (อบต.ไตรตรึงษ์ และอบจ.กำแพงเพชร )
๓.๒ พิธีเปิดและต้อนรับแขกและลงทะเบียน  (อบต.นครไตรตรึงษ์ และอบจ.กำแพงเพชร และโรงเรียน นครไตรตรึงษ์และบ้านไตรตรึงษ์ )
๓.๓ นิทรรศการ พระพุทธเจ้าหลวง  (อบต.ไตรตรึงษ์)
๓.๔ จัดทำหนังสือเอกสารประกอบการเสวนา (อ.สันติ)
๓.๕ การจัดตลาดประชารัฐและการแสดง   (อบต.ไตรตรึงษ์ และอ.สุขศรี สิทธิและคณะ)
๓.๖ การเสวนา ( อ.สันติ และคณะ)
๓๗. พิธีกร (ต๋องและคณะ)
๓.๘ การแสดง ระหว่างรับประทานอาหาร (อ.สุขศรีและคณะ)
๓.๙ การเล่านิทาน เรื่องท้าวแสนปม โดยโรงเรียนชนะเลิศของ สนง.วธ.กพ.
       (อ.สันติ หรือ เจ้าหน้าที่ วัฒธรรม)
๓.๑๐ การแสดงละครประกอบแสงเสียง  เรื่อง หนึ่งพันสิบห้าปี
เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร
           (ผอ.โรงเรียนนครไตรตรึงษ์)
   ๓.๑๑ เรื่องการเงิน ค่าใช้จ่าย ตลอดงาน (อบจ.กพ.และอบต.ไตรตรึงษ์)
   ๓.๑๒ การเชิญแขก และรับรองแขก เชิญประธาน และแขก (อบต.ไตรตรึงษ์ อบจ.กพ.)
   ๑.๑๓ กำหนดการประชุมครั้งต่อไป
๕  เรื่องเพิ่มเติมอื่นๆ (ประธานและผู้ร่วมประชุมนำเสนอ )
                            ปิดประชุม

















122  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / คำนิยม นางสาวเมธาวี ลิ่มวชิรโชติ ผู้ขอเข้ารับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลในโครงการ “ เมื่อ: สิงหาคม 04, 2019, 11:34:43 am
คำนิยม
นางสาวเมธาวี ลิ่มวชิรโชติ
ผู้ขอเข้ารับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลในโครงการ “สรรหาคนดี ศรีสังคม”
.......................................................................
ผมนายสันติ อภัยราช อาจารย์ ๓ ระดับ ๙ อดีตประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร สามสมัย ปัจจุบันเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร  รางวัลคนดีศรีกำแพงเพชร คนดีแทนคุณแผ่นดิน ขอรับรองนางสาวเมธาวี ลิ่มวชิรโชติ ว่า
นางสาวเมธาวี ลิ่มวชิรโชติ เป็นเยาวชน ที่มาเป็นสมาชิกสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   สี่ปีที่เรียนรู้อยู่ในสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร ทำให้ผมรู้จักและคุ้นเคยกับเธอและครอบครัวเธอเป็นอย่างดี
นางสาวเมธาวี ลิ่มวชิรโชติ เป็นเยาวชนกี่มีความกตัญญูรู้คุณ ต่อทุกคนอย่างดียิ่ง เธออ่อนน้อมถ่อมตนแต่มีมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
นางสาวเมธาวี ลิ่มวชิรโชติ เป็นคนขยัน มีคุณธรรม อ่อนน้อมถ่อมตน มีคุณธรรม ๘ประการของสถานศึกษาอย่างครบถ้วน คือขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ ต่อทุกคนที่ได้สัมผัสหรือรู้จักกับเธอทุกคน
จึงยืนยันว่านางสาวเมธาวี  ลิ่มวชิรโชติ  สมควรที่จะได้รับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลในโครงการ “สรรหาคนดี ศรีสังคม”ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร อย่างที่สุด
                                         
                                                        ลงชื่อ .....................................................
                             ( นายสันติ  อภัยราช)
ตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
                          โทร ๐๘๑  ๔๗๕  ๕๕๕๗


123  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / คำนิยม นายรัฐพงษ์ สืบวงษา ผู้ขอเข้ารับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลในโครงการ “สรรหาคน เมื่อ: สิงหาคม 04, 2019, 11:34:03 am
คำนิยม
นายรัฐพงษ์ สืบวงษา
ผู้ขอเข้ารับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลในโครงการ “สรรหาคนดี ศรีสังคม”
.......................................................................
ผมนายสันติ อภัยราช อาจารย์ ๓ ระดับ ๙ อดีตประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร สามสมัย ปัจจุบันเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร  รางวัลคนดีศรีกำแพงเพชร คนดีแทนคุณแผ่นดิน ขอรับรองและชื่นชม นายรัฐพงษ์ สืบวงษา ว่า
นายรัฐพงษ์ สืบวงษา นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม เป็นเยาวชนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและเหมาะสม ตามโครงการ “สรรหาคนดี ศรีสังคม” ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร โดยที่ผมเคยได้ทำงานร่วมกับ นายรัฐพงษ์ สืบวงษา หลายโครงการ ในฐานะวิทยากร และทำหน้าที่ ฝึกสอนและเป็นแบบอย่าง(โคช) ให้เขามาตลอด สามปี ของนายรัฐพงษ์ สืบวงษา จึงทราบว่า
นายรัฐพงษ์ สืบวงษา เป็นเยาวชนที่กตัญญู ต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ ตลอดจนแผ่นดิน กำแพงเพชรและชาติไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา โดยการเข้ารับสมัครและได้รับเลือกตั้งิดำรงตำแหน่ง ประธานสภานักเรียนโรงเรียนกำแพงเพชร มาอย่างมีคุณภาพตลอดปีการศึกษา ๒๕๖๑
นายรัฐพงษ์ สืบวงษา ซื่อสัตย์สุจิต เป็นที่เชื่อถือของทุกคนที่ได้พบเห็นหรือทำงานร่วมกันกับเขาเป็นคนที่มีจิตอาสา ในการทำงานทุกเรื่องทำอย่างเต็มกำลัง โดยมิได้ท้อถอย  เป็นเป็นแบบอย่าง ที่ขยันขันแข็ง มีเมตตาช่วยเหลือทุกคนที่มีโอกาสทุกครั้ง ที่เด่นที่สุดคือเป็นอ่อนน้อมถ่อมตนทำให้ผมชื่นชมในตัวเขาตลอดมา
จึงยืนยันว่านายรัฐพงษ์ สืบวงษาสมควรที่จะได้รับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลในโครงการ “สรรหาคนดี ศรีสังคม”ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกำแพงเพชร อย่างที่สุด
                                         
                                                        ลงชื่อ .....................................................
                             ( นายสันติ  อภัยราช)
ตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
                          โทร ๐๘๑  ๔๗๕  ๕๕๕๗
คำนิยม
124  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / คอร์ปรับชัน คืออะไร บรรยายพิเศษ ผู้บริหารสถานศึกษา เสาร์ ๒๗ กค. ๖๒ โดม อนุบาล เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2019, 10:51:33 am
คอร์ปรับชัน คืออะไร
บรรยายพิเศษ  ผู้บริหารสถานศึกษา เสาร์ ๒๗ กค. ๖๒  โดม อนุบาลกำแพงเพชร
  รูปแบบและพฤติกรรมการคอร์รัปชัน  แบ่งการทุจริตใน 3 ระดับ ดังนี้
1 การทุจริตสีขาว คือ เป็นการกระทำที่ไม่เลวร้าย ไม่ได้ตั้งใจและไม่ได้คามคิดว่าจะเป็นการคอร์รัปชัน
2 การทุจริตสีเทา คือ เป็นการกระทำผิดที่คนบางกลุ่มยังีความเห็นแตกต่างออกไป เสียงส่วนใหญ่ยังมีความเห็นครุมเครือ  แต่การกระทำไม่ผิดกฎหมาย
3 การทุจริตสีดำ คือ เป็นการกระทำที่ถูกตำหนิและเห็นสมควรว่าถูกลงโทษ เป็นการกระทำที่ผิดกำหมาย ผิดกระบวนการยุติธรรม
                 หากสังคมไทยยังไม่สามารถหยุดยั้งเชื้อ "คอร์รัปชัน" นี้ได้ ประเทศไทยจะกลายเป็น หลุมดำ ที่ทำลายขีดความสามารถในการแข่งขันด้านจิตสำนึกกับประเทศอื่นๆ
1 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)
“ไม่ทนต่อการทุจริต   4 กลยุทธ์ คือ
กลยุทธ์ที่ 1 ปรับฐาน ความคิดทุกช่วงวัย สถาบันการศึกษามีส่วนมากี่สุด
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต
กลยุทธ์ที่ 3 ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต และ
กลยุทธ์ที่ 4 เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community)และบูรณาการทุก ภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต


หัวข้อวิชา 4 วิชา ประกอบด้วย
1) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
 2) ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
3) STRONG : จิตพอเพียงต้าน
4) พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสภาปฏิรูป
แห่งชาติ
(๑) ยุทธศาสตร์การปลูกฝัง “คนไทย ไม่โกง”เพื่อปฏิรูปคนให้มีจิตสำนึก
(๒) ยุทธศาสตร์การป้องกันด้วยการเสริมสร้างสังคม ธรรมาภิบาลเพื่อเป็นระบบป้องกันการทุจริตเสมือนการสร้างระบบภูมิต้านทานแก่ทุกภาคส่วนในสังคม
 (๓) ยุทธศาสตร์การปราบปราม เพื่อปฏิรูประบบและกระบวนการจัดการต ่อกรณีการทุจริต
 ได้จำแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ออกเป็น ๗ รูปแบบ คือ
๑) การรับผลประโยชน์ต่างๆ (Accepting benefits)
๒) การทำธุรกิจกับตนเอง (Self - dealing)
๓) การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ
 ๔) การทำงานพิเศษ (Outside employment or moonlighting)
 ๕) การรู้ข้อมูลภายใน (Inside information)
 ๖) การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจ
 ๗) การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork - barreling)
 ๘) การใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แก่เครือญาติหรือพวกพ้อง (Nepotism) หรือ
 ๙) การใช้อิทธิพลเข้าไปมีผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐอื่น (influence) เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือพวก ๆ
   “การปฏิบัติงานแบบใช้ระบบคิดฐานสิบ (Analog)”
    คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐยังมีระบบ การคิดที่ยังแยกเรื่องตำแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตนออกจากกันไม่ได้นำประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ ส่วนรวมมาปะปนกันไปหมดแยกแยะไม่ออกว่าสิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนตนสิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนรวม นำบุคลากรหรือทรัพย์สินของราชการมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน เบียดบังราชการ เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตน เครือญาติหรือพวกพ้อง เหนือกว่าประโยชน์ของส่วนรวมหรือของหน่วยงาน จะคอยแสวงหา ประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีเกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วน รวม จะยึดประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
 “การปฏิบัติงานแบบใช้ระบบคิดฐานสอง (Digital)” คือการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีระบบการคิด ที่สามารถแยกเรื่องตำแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตนออกจากกัน แยกออกอย่างชัดเจนว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด สิ่งไหนทำได้สิ่งไหนทำไม่ได้สิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนตนสิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนรวม ไม่นำมาปะปนกัน ไม่นำบุคลากรหรือทรัพย์สินของราชการมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่เบียดบังราชการเห็นแก่ประโยชน์ ส่วนรวมหรือของหน่วยงานเหนือกว่าประโยชน์ของส่วนตน เครือญาติและพวกพ้องไม่แสวงหาประโยชน์ จากตำแหน่งหน้าที่ราชการไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากการ ปฏิบัติหน้าที่กรณีเกิดการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนและ



คำอธิบายความหมายของ “STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต”
 ๑) S (sufficient) : ความพอเพียง
 ๒) T (transparent) : ความโปร่งใส ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชนต้องปฏิบัติ งานบนฐานของความโปร่งใสตรวจสอบได้ดังนั้น จึงต้องมีและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติระเบียบ ข้อปฏิบัติ กฎหมาย ด้านความโปร่งใส ซึ่งต้องให้ความรู้ความเข้าใจ(knowledge) และปลุกให้ตื่นรู้(realise)
๓) R (realise) : ความตื่นรู้
 ๔) O (onward) : มุ่งไปข้างหน้า
 ๕) N (knowledge) : ความรู้
๖) G (generosity) : ความเอื้ออาทร
ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชัน
เงินเดือนข้าราชการที่ต่ำ
การขาดการศึกษาของประชาชน
ช่องว่างทางรายได้ระหว่างชนชั้นต่างๆ
การขาดความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดิน
ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง
การไร้ซึ่งประชาธิปไตย
การขาดเสรีภาพในการแสดงออก
ระบบราชการที่เทอะทะ
และ อำนาจแบบรวมศูนย์
การขจัดรากเหง้าการคอร์รัปชันแบบไทยๆ
หน่วยงานต่างๆ ให้โปร่งใสไร้การคอร์รัปชัน
เช่น ศาลปกครอง
 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
 ผู้ตรวจการแผ่นดิน
 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
 และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังได้เพิ่มบทบาทแก่ NGOs และภาคประชาสังคมให้สามารถเข้ามาร่วมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
จิตพอเพียง ต้าน ทุจริต
ถ้าไม่ทุจริตในประเทศไทย
   สร้าง ม ราชภัฎ ได้ ๑๒๐๐ แห่ง
   สร้าง รพ.ใหญ่       ๑๗๗ แห่ง
   สถานีตำรวจ           ๑๗๐๐๐ แห่ง
   รัฐสภา         ๓๐ แห่ง
   รถไฟฟ้ารางคู่      ๑๒ สาย
   รถไฟฟ้า บี ที เอส    ๒๐ สถานี
   มัธยมขนาดใหญ่       ๕๑๐๐ แห่ง
   โรงเรียนประถม   ๕๐๐๐๐ แห่ง   

125  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / กำหนดการฉบับหารือ ๘ กค. ๖๒ ณ อบต.นครไตรตรึงษ์ เวลา ๑๓.๐๐ น. ชากังราว นครแห่งศิล เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2019, 09:44:16 am
กำหนดการฉบับหารือ  ๘ กค. ๖๒ ณ อบต.นครไตรตรึงษ์ เวลา ๑๓.๐๐ น.
ชากังราว นครแห่งศิลป์
ตอน
หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร
วันที่ ๒๒ สิงหาคม  ๒๕๖๒ ณ ลานพระเจดีย์ วังพระธาตุ  ตำบลนครไตรตรึงษ์
...........................
ผู้เกี่ยวข้อง
      ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
      ๒.อบต. ไตรตรีงษ์
      ๓ เทศบาลอ่างทอง
      ๔.เทศบาลเทพนคร
      ๕.ผู้นำและปราชญ์ท้องถิ่น รวมทั้งประชาชน ในท้องถิ่น
      ๖.โรงเรียนนครไตรตรึงษ์
      ๗.โรงเรียนบ้านไตรตรึงษ์
      ๘. สำนักงานวัฒนธรรม จว  กพ.
      ๙. ....................................................
      ๑๐........................................................






กำหนดการ
พฤหัสบดีที่  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ (วันคล้ายวัน พระพุทธเจ้าหลวงประพาสต้นนครไตรตรึงษ์ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๔๙)
๑๖.๐๐ น. ตลาดประชารัฐ และตลาดโบราณ นครไตรตรึงษ์ พร้อม บริเวณ รอบพระเจดีย์    
               ด้านหน้า
๑๖.๓๐ น.  ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมงาน  “หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นคร  
               ไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร” ประมาณ ๑๐๐ ท่าน
          มอบหนังสือ เรื่อง หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร ท่านละ ๑ เล่ม สถานศึกษา และ เทศบาล อบต. อีก ๔๐๐ เล่ม รวม ๕๐๐ เล่ม
เปิดงานโดย ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
๑๗.๐๐น.    เสวนา เรื่อง เราจะสร้างสรรค์นครไตรตรึงษ์ ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวทาง  
                วัฒนธรรม ได้ อย่างไร โดย อ สันติ อภัยราช  ผู้ร่วมเสวนา  
                นายก ท้องถิ่นทั้งสามแห่ง อ.สุขศรี สิทธิ   อ.รุ่งเรือง สอนชู และ.................
๑๘.๓๐ น.    รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน (แจกคูปองอาหารหรือ เดินรับประทานได้ทุก    
                  ร้าน ในงาน ที่จัดแสดง(อบจ.เจ้าภาพ)
๑๘.๓๐ น.     ชมการแสดง พื้นบ้าน ของนครไตรตรึงษ์ และ ท้องถิ่นที่มาร่วมงาน โรงเรียน
                 และผู้เกี่ยวข้อง (ระหว่างรับประทานอาหาร)
๑๙.๓๐ น.   ชมการเล่านิทานประกอบการแสดง เรื่องท้าวแสนปม ของโรงเรียนชนะเลิศ  การประกวดเล่านิทานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
๒๐.๐๐ น.  ชมการแสดง ประกอบแสง เสียง เรื่อง หนึ่งพันสิบห้าปี เมืองมหัศจรรย์ นครไตรตรึงษ์ พระนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร  โดย โรงเรียนนครไตรตรึงษ์ และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง
         ปิดงาน โดย....................................................



















126  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / -------ขับเสภา----- สามสิบปี สมศักดิ์ศรี ไมตรีสง่า สีเทา – แสด ล้ำค่า พาเ เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2019, 03:42:16 pm
-------ขับเสภา-----

สามสิบปี สมศักดิ์ศรี   ไมตรีสง่า 
สีเทา – แสด ล้ำค่า   พาเฉิดฉาย
ลูก มอ นอ. ยังมั่นคงมิเสื่อมคลาย
แม้มลาย    ชื่อคงอยู่  คู่แผ่นดิน
-------ซาวด์กลอน-----ลาวสมเด็จ
อันสมเด็จ พระมหา กษัตริย์ราช   เป็นขวัญชาติ ธงชัย ไทยทั้งผอง
เป็นฉัตรแก้ว คุ้มเกศ ประเทศครอง  ทรงปกป้อง ประชาราษฎร์ ให้ร่มเย็น
 ชื่นพระคุณ ทรงการุณ ไทยอุ่นอก       ไทจะปก ป้องพระคุณ การุณเห็น
  เทอดบูชา พระคุณไว้ ไร้ลำเค็ญ         ธ ทรงเป็น พระภูมินทร์ เหนือถิ่นไทย
  ร่วมจงรัก  ภักดี  มิวายเว้น                  ให้สมเป็น ไทยชาติ  แสนยิ่งใหญ่
มั่นภักดี  บาทธุลี  มิเปลี่ยนใจ                  รวมฤทัย จิตอาสา  ราชาเอย
-----เพลง รัชกาลที่ 10 ทรงพระเจริญ------





-------ซาวด์พูด-----คำหวาน
 ท่านประธานและผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน
 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร  รู้สึกซาบซึ้งในพระคุณของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้จัดกิจกรรมที่ดีงามและทรงคุณค่า ให้แก่เยาวชน และช่วยสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ในโอกาสพิเศษ วาระครบรอบ 30 ปีของ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในครั้งนี้
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ได้นำบทเพลงสรรเสริญ และเฉลิมพระเกียรติ   “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “
 เป็นการแสดงถึงความ จงรัก ภักดี และสรรเสริญพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงพระคุณอันประเสริฐ ในการสร้างความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง  รวมทั้งการสร้างสรรค์วัฒนธรรม  และพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบมา และบทเพลงพระเทพของชาวไทย  เพื่อ…แสดงความจงรักภักดี ต่อ พระองค์ดุจเดียวกัน



-------ซาวกลอน-----
           พระเทพรัตนปราชญ์ดนตรี           ทรงสืบสาน  คีตกวี  ให้ยิ่งใหญ่
         เป็นคุณค่ามรดกแก่ชาวไทย        ที่เชิดหน้าชูตาไว้แสนปรีดา
          ราชสุดา เป็นที่ภักดิ์ แก่นักเรียน       ทรงเยี่ยมเยียนให้โอกาสการศึกษา
           ให้เด็กไทยมีความรู้เกิดปัญญา           ให้ก่อร่างสร้างคุณค่าสืบสานดี
          พระกนิษฐาธิราชทรงเปี่ยมล้ำ               ธ  ทรงธรรมตามกษัตริย์ทุกวิถี
         คือเจ้าหญิง วิเศษองค์ วงศ์จักรี           ขอสดุดีพระองค์ไว้กลางใจชน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหาร ข้าราชการ และนักเรียน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกคน ในโรงเรียน องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

-----เพลง พระเทพของชาวไทย------
127  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / นิทานท้าวแสนปม นานมาแล้วมีชายผู้หนี่ง ถูกลอยแพมาติดที่เกาะขี้เหล็ก ซึ่งอยู่ใต้เม เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2019, 02:58:35 pm
นิทานท้าวแสนปม
นานมาแล้วมีชายผู้หนี่ง ถูกลอยแพมาติดที่เกาะขี้เหล็ก ซึ่งอยู่ใต้เมืองกำแพงเพชร ชายผู้นั้นมีรูปร่างน่าเกลียดมีปุ่มปมขึ้นเต็มตัว ชาวบ้านจึงเรียกเขาว่า แสนปม และเรียกเกาะขี้เหล็กว่า เกาะตาปม ตามชื่อแสนปม นายแสนปมทำไร่ ปลูกพริก ปลูกมะเขืออยู่ที่เกาะปมนี้ และมีมะเขือต้นหนึ่ง อยู่หน้ากระท่อมมีผลใหญ่มาก เพราะแสนปม   ปัสสวะรดทุกวัน
      วันหนึ่งพระราชธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์นามว่าพระนางอุษา เสด็จประพาสที่เกาะปม ทอดพระเนตรเห็นผลมะเขือ ก็นึกอยากเสวย จึงรับสั่งให้นางสนมไปขอเจ้าของมะเขือ แสนปมจึงเก็บผลมะเขือ ที่อยู่หน้ากระท่อม ให้นางสนมไปถวาย หลังจากพระราชธิดาอุษาเสวยผลมะเขือไปไม่นานก็ทรงครรภ์ เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ ทรงพิโรธมาก เพราะพระราชธิดาไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นพ่อ นอกจากว่าเสวยผลมะเขือ ของแสนปมเท่านั้น
          ต่อมาพระราชธิดา ทรงมีพระประสูติกาล เป็นพระราชโอรส เจริญวัยน่ารัก รูปโฉมงดงาม  เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ ผู้เป็นพระราชบิดา ต้องการหาพ่อให้กับพระราชนัดดา จึงรับสั่งให้เสนา อำมาตย์ ป่าวประกาศให้ผู้ชายทุกคน มาเสี่ยงทายเป็นพระบิดาของพระราชโอรส ว่า ถ้าผู้ใดเป็นบิดาขอให้โอรสคลานเข้าไปหา บรรดาผู้ชายทุกคน ไม่ว่าหนุ่มแก่ชรา ยาจก เข็ญใจ เศรษฐี รวมทั้ง เจ้าต่างเมือง ต่างพากันมาเสี่ยงทาย เป็นบิดาของพระราชโอรส แต่พระราชโอรสไม่ได้คลานไปหาใครเลย แม้จะใช้ของล่อใจอย่างไรก็ตาม
          เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ทรงแปลกพระทัย จึงให้เสนาไปตามแสนปม ซึ่งยังไม่ได้มาเสี่ยงทายในครั้งนี้ ให้มาเข้าเฝ้า เพื่อลองเสี่ยงทายเป็นบิดา เพราะทั้งเมืองเหลือแสนปมเพียงคนเดียว
          แสนปมจึงต้องมาเข้าเฝ้า พร้อมทั้งถือก้อนข้าวเย็นมาหนึ่งก้อน เมื่อมาถึงจึงอธิษฐานว่าถ้าเป็นบุตรตนเองให้รับข้าวเย็น  แล้วยื่นก้อนข้าวเย็นให้ พระราชโอรสก็คลานเข้ามาหาและรับข้าวเย็นจากแสนปม เจ้าเมืองไตรตรึงษ์จึงจำยกพระราชธิดาอุษา ให้ แก่แสนปม และพิโรธเป็นอันมากและไล่ให้กลับไปอยู่ที่เกาะปม ทั้งนางอุษาและราชนัดดา
       วันหนึ่งท้าวแสนปมไปทอดแหที่คลองขมิ้น เพื่อหาเลี้ยงเมียและลูก  แต่ทอดแหครั้งใดก็ได้แต่ขมิ้นจนเต็มลำเรือ แสนปมจึงแปลกใจมาก เมื่อกลับไปบ้านขมิ้นกลับกลายเป็นทองคำ แสนปมจึงนำทองคำไปทำเปลอู่ ให้ลูกชาย และตั้งชื่อลูกว่าอู่ทอง
          ทุกวันแสนปมจะไปถางไร่ จนกระทั่งวันหนึ่งแสนปมไปถึงไร่ก็พบว่าต้นไม้ที่ถางไว้กลับขึ้นงดงามตามเดิม แสนปมจึงถากถางใหม่ แต่วันรุ่งขึ้นก็ปรากฏเหตุการณ์ เหมือนเดิม แสนปมจึงแอบดู ก็เห็นลิงตัวหนึ่งเดินตีกลอง ออกมาจากป่า ต้นไม้ก็กลับขึ้นงอกงามเหมือนเดิม
   แสนปมจับลิงแปลง ได้ และลิงมอบกลองวิเศษให้บอกว่าเป็นกลองวิเศษเมื่อตีแล้วจะขออะไรก็ได้  แสนปม จึงตีขอให้มีรูปงาม แล้วกลับมาที่บ้านของตน ในสภาพของชายรูปงาม
    เมื่อกลับมาถึงบ้าน พระราชธิดาไม่เชื่อว่าเป็นแสนปม แสนปมจึงเล่าเรื่องให้ฟัง และทดลองตีกลองให้ดู กลับเป็นแสนปมตามเดิม พระราชธิดาจึงเชื่อ และตีกลองให้เป็นชายรูปงามอีกครั้ง   จากนั้นท้าวแสนปม จึงตีกลองเพื่อเนรมิต เมืองใหม่ ให้ชื่อว่าเมืองกรุงเทพนคร  อยู่ฝั่งตรงข้ามเมืองไตรตรึงษ์  และตั้งตัวเป็นเจ้าเมือง ผู้คนจึงเรียกขานว่าท้าวแสนปม  เมื่อท้าวแสนปม สิ้นพระชนม์  พระราชโอรส คือ เจ้าชายอู่ทอง ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ในเมืองเทพนคร ต่อจากพระราชบิดา ทรงพระนามว่า พระเจ้าอู่ทอง ต่อมาเมืองเทพนคร เกิดโรคระบาด และประกอบกับตลิ่งพังทลายตกน้ำ เนื่องจากน้ำกัดเซาะ พระเจ้าอู่ทอง จึงอพยพผู้คนมาสร้างเมืองใหม่ นามว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา  เป็นพระนครหลวงพระนครศรีอยุธยาสืบมา ถึง ๔๑๗ ปี มีพระมหากษัตริย์สืบต่อมาถึง ๓๖ พระองค์
                 นิทานเรื่องท้าวแสนปม เป็นตำนานและเรื่องราวของ กำเนิดพระเจ้าอู่ทองปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีเรื่องเล่าที่สืบทอด มาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่ตำบลไตรตรึงษ์ มีหลักฐานชัดเจน ตามเรื่องเล่า เช่นศาลท้าวแสนปม ที่มีผู้คนมากราบไหว้ต่อเนื่อง มานานแสนนาน มีเกาะตาปม มีมะเขือพร้าว(มะเขือใหญ่ที่สามารถเขียนเพลงยาวได้) มีเมือง  เทพนคร เมืองนครไตรตรึงษ์ เป็นหลักฐานสำคัญ ทำให้เชื่อมั่นว่า นิทานท้าวแสนปม เกิดขึ้นที่ เมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครอย่างแน่นอน
                                                                 สันติ อภัยราช
          

128  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / Re: ผู้ใหญ่อีกหนึ่งท่าน​ ที่ผมและชาวกำแพงเพชร​ต้องกราบขอบพระคุณ​ท่าน​ คือท่านอาจา เมื่อ: มิถุนายน 21, 2019, 03:54:32 am
การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคุณสมบัติ ของผู้นำเสมอ เล่าปี่ จากคนทอเสื่อขาย กลายเป็นจักรพรรดิ์จีนได้เพราะ ท่านมีคุณสมบัติ "คารวะแก่ชนทุกชั้น" รักษาตัวให้ดี ภายหน้าจะได้จะได้เป็นปราชญ์ใหญ่ของแผ่นดิน
129  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ผู้ใหญ่อีกหนึ่งท่าน​ ที่ผมและชาวกำแพงเพชร​ต้องกราบขอบพระคุณ​ท่าน​ คือท่านอาจา เมื่อ: มิถุนายน 21, 2019, 03:52:44 am
ผู้ใหญ่อีกหนึ่งท่าน​  ที่ผมและชาวกำแพงเพชร​ต้องกราบขอบพระคุณ​ท่าน​   คือท่านอาจารย์​สันติ​ อภัยราช​ ผู้ทรงคุณวุฒิ​ทางวัฒนธรรม​จังหวัด​กำแพงเพชร​ ที่ผมเคารพรักท่าน​  และวิสาสะเรียกท่านว่าคุณ​ตา​ และท่านก็ได้เมตตาผมเรียกหลานเสมอมา
       ผมได้รู้จักกับอาจารย์​สันติ​ ครั้งแรก​เมื่อ​ ๑๒​ ปีที่แล้ว​ ในวัย​ ป.๓​ ซึ่งขณะนั้นเป็นนักเรียนคณะลำตัดของคุณครู​ ลมัย มีขันหมากโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร​ โดยได้มีโอกาสทำงานกับท่าน​ ในการแสดงแสงสีเสียงของจังห​วัด​กำแพงเพชร​ทุกปี​  และมีโอกาสได้ร่วมงานกับท่านอย่างจริงจังเป็นเวลาร่วม​๒​ ปี​ ท่านเป็นผู้ใหญ่ใจดี​  มีเมตตา​  ขันติธรรมสูงมาก​  เพียบพร้อมด้วยคุณวุฒิ​ วัยวุฒิ​ มากด้วยประสบการณ์​  ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ใหญ่​ที่เป็นปูชนียบุคคล​ และเป็นผู้ใหญ่ยุคแรกๆ​ ที่ได้ศึกษารวบรวมเรื่องราวทางวัฒนธรรม​ ประเพณี​ วิถี​ ประวัติศาสตร์​ ของจังหวีดกำแพงเพชร​ และเผยแพร่อยู่ในทุกโอกาส​  อย่างที่เราๆชาวกำแพงเพชรทราบดี
         ในโอกาสการจัดงานครั้งนี้​ ท่านก็ได้ให้ความเมตตาโครงการของผม​  ด้วยความเมตตา​  กระผมกราบขอบพระคุณ​คุณตา​ ที่ได้เมตตา​ อบรมสั่งสอน​ ชี้แนะ​ และดูแลเมตตากรุณาหลานเสมอมา​  กราบขอบพระคุณ​คุณ​ตาครับ
       สุดท้ายนี้ขออาราธนา​คุณพระศรีรัตนตรัย​ คุณเทพยดา​ อารักษ์​ หลักเมือง​ และพระบารมีแห่งพระแสงราชศัสตรา​  กอปรกับคุณความดีที่คุณตาสั่งสมมา  ดลบัลดาลให้คุณตา​ มีสุขภาพแข็งแรง​ มีความสุขครับผม​  กราบขอบพระคุณ​ครับ
130  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / คำสดุดีพระมหาธรรมราชาลิไทย พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักปราชญ์ผู้ เมื่อ: มิถุนายน 16, 2019, 11:39:16 am
คำสดุดีพระมหาธรรมราชาลิไทย

พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ทั้งทางโลก และทางธรรม ในทางโลกพระองค์ทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถทรงรวบรวมอาณาจักรสุโขทัยที่บรรดาเมืองต่างๆ พากันประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับเมืองสุโขทัยในคราวเปลี่ยนรัชกาล ให้กลับมาเป็นปึกแผ่นที่มั่นคงอีกครา
ในทางธรรม พระองค์ทรงได้รับยกย่อง ให้เป็นราชาแห่งธรรมะ นามพระมหาธรรมราชาลิไท เพราะองค์ทรงมีวิเทโศบายที่ชาญฉลาด ทรงนำศาสนาพุทธ มาประสานรอยร้าว ของเมืองต่างๆ ทรงนำรอยพระพุทธบาท มาประดิษฐานในนครที่อยู่ในแว่นแคว้นสุโขทัยทุกเมือง ทำให้พุทธศาสนาเป็นปีกแผ่นและมั่นคง ในอาณาจักรสุโขทัย รวมทั้งรวมเมืองสุโขทัยให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ อย่างงดงามโดยไม่เสียเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกัน ดังข้อความในจารึกนครชุม ที่พระองค์ทรงเสด็จเมืองนครชุม เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๑๙๐๐ คือในวันนี้ เมื่อ ๖๖๒ปีที่ผ่านมา  ทรงประดิษฐาน จารึกหลักศิลานี้ไว้ ณ หน้าอุโบสถวัดพระบรมธาตุแห่งนี้  ความว่า
“พระยาลือไทยราช ผู้เป็นลูกพระยาเลอไทย เป็นหลานแก่พระยารามราช เมื่อได้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยได้ราชาภิเษก อันฝูงเท้าพระยาทั้งหลายอันเป็นมิตรสหาย อันมีในสี่ทิศนี้ แต่งกระยาดงวาย ของฝากหมากปลามาไหว้อันยัดยัญอภิเษกเป็นท้าวเป็นพระยาจึงขึ้นชื่อศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช.
และกล่าวถึง พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงสถาปนาพระบรมสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ไว้ที่เมืองนครชุมมีความชัดเจนความว่า
...หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมปีนี้นั้น พระมหาธาตุอันนี้ใช่ธาตุอันสามานย์ คือพระธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดาย เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิ์ อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธ มาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้
และในจารึกนครชุมได้ กล่าวถึงอานิสงส์ การนบไหว้และบูชา พระบรมธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ ว่า มีอานิสงส์เหมือน ได้ไหว้และบูชาต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าดังความว่า
 ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล.......”.
พระมหาธรรมราชาลิไทย จึงเป็นเสมือนหนึ่งหลักชัย สิ่งยึดมั่นของพวกเราชาวพุทธศาสนาทุกคน พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เมื่อ ๖๖๒ปีมาแล้ว ทำให้พระพุทธศาสนามั่นคงในเมืองนครชุม กำแพงเพชร ยืนยงมา นานแสนนาน ชาวเราจึงควรที่จะรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ตราบชั่วนิรันดร์กาล
..................................


   
131  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / คำนำ หนังสือ ร่องรอยความรุ่งเรือง ในบุรีศรีกำแพงเพชร ฉบับที่ท่านกำลังอ่านอยู่น เมื่อ: มิถุนายน 10, 2019, 01:13:56 pm
คำนำ
      หนังสือ ร่องรอยความรุ่งเรือง ในบุรีศรีกำแพงเพชร ฉบับที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ เป็นหนังสือที่กล่าวถึงเรื่องราวของเมืองกำแพงเพชรอย่างทรงคุณค่า มากในทุกด้าน ทั้งประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี ตลอดจนภูมิปัญญ่าในอดีตของกำแพงเพชรไว้อย่างงดงาม แหวกแนวจากหนังสือฉบับอื่นๆ ที่เขียนถึงมืองกำแพงเพชร ภาพและรูปเล่มตลอดถึงวิธีการนำเสนอ ทันสมัยและงดงามมากๆ นับว่าเป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ที่น่าอ่านที่สุดอีกฉบับหนึ่ง
      โดยเฉพาะในเรื่องราวที่กล่าวถึงคุณจรัล ดำรงรัตน์ สุดยอดฝีมือในการเป็นนักริเริ่มสร้างสรรค์ และประวัติการทำงานที่น่าสนใจและเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลัง  ได้อย่างอเนกอนันต์   คุณจรัล ดำรงรัตน์ ท่านเป็นคนกำแพงเพชร ที่ สร้างสรรค์งานที่ยิ่งใหญ่แก่ชาวกำแพงเพชร มาตลอด เรื่องราวของท่าน ได้แทรกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมาได้อย่างละเอียด โดยยังไม่มีการบันทึกไว้อย่างละเอียดและกว้างขวาง เหมือนหนังสือฉบับนี้ซึ่งได้เรียบเรียงตามคำบอกเล่าของท่าน อย่างน่าอ่านและเห็นภาพพจน์ที่ชัดเจนที่สุด
      คุณสง่า ลือชาพัฒนพร ผู้เรียบเรียง หนังสือที่ทรงคุณค่าฉบับนี้ เป็นนักเขียนมือทอง ของประเทศไทย เขียนได้น่าอ่านและน่าติดตามได้อย่างน่าสนใจยิ่ง ที่สามารถเขียนเรื่องที่แห้งแล้ง ให้มีสีสันและน่าอ่านอย่างสมบูรณ์
      ในนามของชาวกำแพงเพชร ต้องขอบคุณคุณจรัล ดำรงรัตน์ ที่ดำริ บันทึกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ผ่านชิวิตของท่าน และได้ลงทุนจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ด้วยเงินส่วนตัวของท่าน และขอบคุณ คุณสง่า ลือชาพัฒนพร ที่บรรจงรจนาหนังสือฉบับนี้เพื่อคนกำแพงเพชรและผู้สนใจทุกคน ขอขอบคุณทั้งสองท่านและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ในนามชาวกำแพงเพช
                        สันติ อภัยราช
132  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่ พันธุ์ เพชรบูรณ์ (สมบัติ โฆษิตานนท์) สรวงสวรรค์ ชั้นกวี วิถีปราชญ์ เมื่อ: มิถุนายน 05, 2019, 11:15:26 pm
แด่ พันธุ์   เพชรบูรณ์  (สมบัติ โฆษิตานนท์)
      สรวงสวรรค์ ชั้นกวี วิถีปราชญ์                   แสนองอาจ ยิ่งใหญ่  ใครจะเหมือน
เปิดสวรรค์ ต้อนรับกวี  มิลืมเลือน                  ท่านได้เยือน สรวงสวรค์ ชั้นกวี
เมืองกำแพงเพชรของเรา มีกวีเอกคนหนึ่ง ใช้นามปากกาว่า พันธุ์ เพชรบูรณ์ ได้เขียนบทกวีจำนวนมากตีพิมพ์ ในหนังสือในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ และระดับจังหวัด และระดับสถาบัน ใฝ่เรียน ใฝรู้ เขียนบทกวีโดยเฉพาะกลอน ได้ในระดับครูทีเดียว ท่านที่เห็นผลงานหรือได้อ่านผลงานของท่าน จะไม่เชื่อเลยว่า ท่านพิการร่างกาย ค่อนข้างมาก แต่สมองและจิตใจของท่าน น่าเคารพนับถือมาก หาคนร่างกายสมบูรณ์เทียบได้ยากยิ่ง ท่านที่ผมกล่าวถึงคือ กวีเอกของเมือง กำแพงเพชรของเรา โดยใชนามปากกาว่า พันธุ์   เพชรบูรณ์  และนามจรืงท่านท่านคือ  นายสมบัติ โฆษิตานนท์
ผมเคยร่วมกับท่านและนักกลอนอีกหลายท่าน ตั้ง ชมรมนักกลอนนครชากังราว ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ เราประชุมเขียนกลอนกันทุกเดือน เปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ  อยู่หลายปี ต่อมาหลายคนได้แยกย้ายไปรับราชการหรือไปทำงานที่อื่นๆ ทำให้สมาชิกของเราเหลือไม่กี่คน แต่เราก็พบปะกันเนืองๆ พันธุ์   เพชรบูรณ์  (สมบัติ โฆษิตานนท์) เดินทางมาประชุมทุกครั้งแม้ร่างกายจะลำบาก เดินไม่สะดวกและพูดไม่ชัด แต่ก็เขียนกลอนได้ดีมาก และขยันเขียนมากที่สุด ในกลุ่มของเรา ท่านจะโทรศัพท์มาหาบ่อยๆ มาพบที่ทำงานบ่อยๆ ด้วยความรักต่องานเขียนของท่าน
ผมได้รับคำร้องขอจากผู้อำนวยการกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร (นายศุภชัย ศรีงาม) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ระดับประเทศที่ช่วยเหลือให้ พันธุ์   เพชรบูรณ์  (สมบัติ โฆษิตานนท์ ได้พิมพ์ผลงานลงในหนังสือที่ท่านรับผิดชอบ   ให้ช่วยเรียบเรียง ประวัติของพันธุ์   เพชรบูรณ์  (สมบัติ โฆษิตานนท์) ให้ด้วย
พันธุ์   เพชรบูรณ์  (สมบัติ โฆษิตานนท์) ท่านได้เสียชีวิต ในวัยเจ็ดสิบสามปี ท่ามกลางความเสียใจของผู้ที่รู้จักท่านทุกคน


นายสมบัติโฆษิตานนท์เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์พุทธศักราช 2489 อายุ 73 ปี ถูมิลำเนาที่เกิด นายสมบัติโฆษิตานนท์หรือที่หลายคนรู้จักในนามอากู๋เกิดที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นบุตรของคุณพ่อตัวเท้าคุณแม่กินเองโฆษิตานนท์มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คนอากู๋เป็นบุตรคนที่ 6 ซึ่งพี่น้องทั้ง 6 คนประกอบด้วย 1 นายประเสริฐโฆษิตานนท์เสียชีวิตแล้ว
 2 นายประสิทธิ์วิบูลย์ยานนท์ เสียชีวิตแล้ว
 3 นายชัยบูรณ์โฆษิตานนท์
 4 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงวัชรีบัวชุม
 5 นางรัตตินันท์ ลีสวัสดิ์ porn และ
6 นายสมบัติโฆษิตานนท์ผู้วายชนม์

ด้านการศึกษา นายสมบัติโฆษิตานนท์หรืออากู๋ สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเพชรพิทยาคมจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอากู๋ เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นมานะตั้งใจในเรื่องของการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างดี
ท่านเเป็นโสด ตลอดชีวิต อยุ่อย่างสมถะ รักการเขียนกลอนเป็นชีวิตจิตใจ ตั้งแต่หนุ่มจนกระทั่งถึงวันสิ้นชีวิต มีผลงานหลายร้อยเรื่อง แต่ละเรื่องล้วนน่าสนใจทั้งสิ้น ขอให้ดวงวิญญาณของท่านสถิต ณ สรวงสวรรค์ชั้นกวีอย่างที่ท่านปรารถนาด้วยเทอญ
แสนเสียดาย เทพกวี ศรีภาษา
พันธุ์ เพชรบูรณ์ ยอดวิชา กวีศิลป์
พิการกาย แต่หัวใจ เหนือชีวิน
ในแผ่นดิน กำแพงเพชร เด็ดหัวใจ
ฟ้ามาพราก จากไป ใจแสนเศร้า
ผองพวกเรา คิดถึง สิ้นผ่องใส
ขอเทพรับ เทพกวี ศรีวิไล
สรวงสวรรค์ ทรงรับไว้ ด้วยใจวอน
133  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / พราหมณ์ กับ พุทธ แตกต่างกันอย่างไร ? ของฝากวันวิสาขบูชา ในปัจจุบันหลักคำสอนของศ เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2019, 12:37:42 pm
พราหมณ์ กับ พุทธ แตกต่างกันอย่างไร ? ของฝากวันวิสาขบูชา

ในปัจจุบันหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ได้ผสมหรือปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนามาช้านานแล้วโดยชาวพุทธไม่รู้ตัว จึงทำให้ชาวพุทธเข้าใจหลักพุทธศาสนาที่แท้จริงผิดพลาดไปหมด แล้วก็มีการปฏิบัติที่ผิดพลาดตามไปด้วย จึงทำให้ชาวพุทธไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า คือกลายเป็นว่า ชาวพุทธนั้นมีแต่ชื่อว่าเป็นพุทธ แต่การปฏิบัติกลับกลายเป็นพราหมณ์กันไปหมดโดยไม่รู้ตัว และยังยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่ตัวเองยึดถือปฏิบัติอยู่นี้คือคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าอีกด้วย อีกทั้งเมื่อมีผู้นำคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาบอกกล่าว ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อที่ผสมหรือปลอมปนกับพราหมณ์อยู่ จึงทำให้ชาวพุทธไม่ยอมรับ แถมบางคนยังต่อต้านอีกด้วย ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจว่าพุทธแท้ๆนั้นสอนว่าอย่างไร? และพราหมณ์เขาสอนอย่างไร? บทความนี้จึงได้สรุปหลักของพุทธกับพราหมณ์ที่แตกต่างกันเอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อศาสนาทั้งสองอย่างถูกต้องต่อไป

๑. เรื่องสิ่งสูงสุด
- ศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู) เป็นศาสนาประเภทเทวนิยมคือเคารพยอมรับเรื่องเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด โดยเทพเจ้า ๓ องค์ที่ชาวฮินดูให้ความเคารพสูงสุดอันได้แก่
๑. พระพรหม ที่เป็นเทพเจ้าผู้สร้างหรือให้กำเนิดทุกสิ่งในจักรวาลขึ้นมา
๒. พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ที่เป็นเทพเจ้าผู้ปกป้องรักษา
๓. พระอิศวร หรือพระศิวะ ที่เป็นเทพเจ้าผู้ทำลาย
เทพเจ้าทั้ง ๓ องค์นี้รวมเรียกว่า ตรีมูรติ ที่เป็นเทพเจ้าสูงสุด แต่ชาวฮินดูยังนับถือเทพเจ้ารองๆลงมาอีกมากประมาณ ๓๐๐ ล้างองค์

- ศาสนาพุทธ จะสอนว่า สิ่งสูงสุดในโลกและในจักรวาล ที่คอยควบคุมและดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปก็คือธรรมชาติ ที่แสดงออกมาในลักษณะของกฎของธรรมชาติที่ชื่อว่า กฎอิทัปปัจจยตา (คือกฎที่มีใจความสรุปว่า “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมีเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น”)

๒. เรื่องการกำเนิดชีวิต
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า โลกและทุกชีวิตเกิดมาจากพระพรหมเป็นผู้สร้างขึ้นมาและคอยควบคุมอยู่ (พรหมลิขิต) ส่วนพระนารายณ์จะเป็นผู้คอยปกป้องรักษา (โดยการอวตารลงมาเป็นเป็นมนุษย์ เช่น เป็นพระรามเพื่อฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายมนุษย์ หรือเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อสอนมนุษย์ผิดๆเพื่อให้มนุษย์ตกนรกกันมากๆ เพราะสวรรค์เต็มหมดแล้ว เป็นต้น) ส่วนพระอิศวรจะเป็นผู้ทำลาย

- ศาสนาพุทธ จะสอนว่า โลกนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยมีธาตุ ๔ เป็นพื้นฐาน คือ ๑. ธาตุดิน (ของแข็ง) ๒. ธาตุน้ำ (ของเหลว) ๓. ธาตุไฟ (ความร้อน) ๔. ธาตุลม (อากาศ) โดยธาตุทั้ง
๔ นี้จะปรุงแต่งกันทำให้เกิดเป็นวัตถุสิ่งของต่างๆขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยวัตถุสิ่งของทั้งหลายนี้จะอาศัยธาตุว่าง (สุญญากาศ) ตั้งอยู่ และธาตุทั้ง ๔ นี้ยังปรุงแต่งให้เกิดวัตถุที่แสนมหัศจรรย์ (คือร่างกายของมนุษย์ สัตว์ และพืช) ขึ้นมาอีกด้วย โดยวัตถุที่แสนมหัศจรรย์นี้ก็จะปรุงแต่งหรือทำให้เกิดมีธาตุที่พิเศษสุดขึ้นมาอีก นั่นก็คือ ธาตุรู้ (หรือธาตุวิญญาณ) ซึ่งธาตุรู้นี้เองที่ทำให้ร่างกายและระบบประสาทต่างๆของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืชเกิดการรับรู้และรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมต่างๆของธรรมชาติได้ และสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดก็คือ มนุษย์นั้นจะมีเนื้อสมองพิเศษที่สามารถจดจำสิ่งต่างๆที่รับรู้และรู้สึกมาได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มนุษย์นั้นมีความทรงจำมากและการคิดนึกปรุงแต่งได้มากและสลับซับซ้อนอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง จนเกิดเป็นสิ่งที่สมมติเรียกกันว่า "จิต" หรือ "ใจ" ขึ้นมา

๓. เรื่องของจิต (หรือวิญญาณ)
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า จิต (หรือวิญญาณ) ของมนุษย์และสัตว์นี้เป็น อัตตา (ตัวตนที่เป็นอมตะ คือจะมีอยู่ไปชั่วนิรันดร) ที่แยกออกมาจากปรมาตมันหรือพรหม แล้วก็จะเวียนว่ายตาย-ในทางร่างกายเกิดเพื่อรับผลกรรมของตัวเอง จนกว่าจะบำเพ็ญตบะเพื่อชำระล้างกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตได้ จิตก็จะบริสุทธิ์และกลับไปรวมกับปรมาตมันหรือพรหมดังเดิม และมีความสุขอยู่ชั่วนิรันดร

- ศาสนาพุทธ จะสอนว่า จิตของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนี้เป็น อนัตตา (คือเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น จึงไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง และก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง หรือไม่เป็นอมตะ รวมทั้งยังต้องทนอยู่อีกด้วย) ที่เกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่งของระบบประสาทที่ยังดีอยู่ของร่างกายที่ยังเป็นๆอยู่เท่านั้น เมื่อจิตนี้มีเจตนาดี ก็จะทำดี แล้วก็จะเกิดความสุขใจ อิ่มใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นเทวดาที่กำลังอยู่บนสวรรค์) แต่ถ้าจิตนี้มีเจตนาชั่ว ก็จะทำชั่ว แล้วก็จะเกิดความทุกข์ใจ เสียใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นสัตว์นรกที่กำลังอยู่ในนรก) ซึ่งอาการนี้เรียกว่าการเวียนว่ายตาย-เกิดในทางจิตใจ จนกว่าเมื่อใดที่จิตนี้จะหลุดพ้นจากความดีและชั่ว จิตก็จะบริสุทธิ์และไม่เกิดเป็นอะไรๆ (ตามที่สมติเรียกกัน) อีกต่อไป ซึ่งสภาวะนี้เรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็นของจิตใจ โดยนิพพานนี้ก็มีทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร ซึ่งอย่างถาวรก็คือมีตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่

๔. เรื่องจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า ชีวิตจะมีการเวียนว่ายตาย-เกิดหลายภพหลายชาติ ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ การที่ไม่ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอีกต่อไป และได้กลับไปรวมกับพรหม หรือปรมาตมัน ที่มีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรันดร ส่วนจุดมุ่งหมายรองลงมาก็คือ การได้เสพสุขอยู่บนสวรรค์ตราบนานเท่านานโดยไม่ต้องทำงาน

- ศาสนาพุทธ จะสอนว่า ชีวิตนี้จะมีร่างกายและจิตใจที่พึ่งพาอาศัยกันอยู่ จะแยกกันไม่ได้ ถ้าแยกกันเมื่อใด ก็จะแตกสลาย (ใช้กับร่างกาย) และดับ (ใช้กับจิตใจ) หายไปด้วยกันทั้งคู่ทันที ซึ่งเท่ากับพุทธศาสนาไม่สอนว่ามีการเวียนว่ายตาย-เกิดในทางร่างกายอีก ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ การมีชีวิตที่ไม่มีความทุกข์ทางจิตใจเลยอย่างสิ้นเชิงหรือถาวร (คือตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่) ที่เรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็น ส่วนจุดมุ่งหมายที่รองลงมาก็คือ การมีชีวิตที่มีความปกติสุข ไม่เดือดร้อน ถึงแม้จะยังคงมีความทุกข์ทางด้านจิตใจอยู่บ้างก็ตาม

๕. เรื่องกรรม-วิบาก
- ศาสนาพราหมณ์ สอนเรื่องว่า การกระทำ (กรรม) ของเราในชาตินี้ จะมีผล (วิบาก) ให้เราต้องไปรับผลกรรมนั้นในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป ใครทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดีในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป (เช่น ได้ขึ้นสวรรค์ หรือเกิดมาแล้วร่ำรวยสุขสบายและมีเกียรติ เป็นต้น) ส่วนใครทำกรรมชั่วก็จะได้รับผลชั่วในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป (เช่น ตกนรก หรือเกิดมาแล้วยากจนลำบากและต่ำต้อย เป็นต้น)

- ศาสนาพุทธ จะสอนเรื่อง การกระทำด้วยเจตนา (เจตนาก็คือกิเลส คือโลภ โกรธ ไม่แน่ใจ) ว่านี่คือกรรม ที่มีผลเป็นวิบาก คือเกิดความรู้สึกไปตามที่จิตใต้สำนึกมันรู้สึก คือเมื่อทำกรรมดี จิตใต้สำนึกมันก็จะรู้ว่านี่คือสิ่งที่ดี แล้วมันก็จะเกิดความสุขใจอิ่มใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว) หรือเมื่อทำกรรมชั่ว จิตใต้สำนึกมันก็รู้อยู่ว่านี่คือสิ่งที่ชั่ว แล้วมันก็จะเกิดความทุกข์ใจ ร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็เสียใจ ไม่สบายใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว)

๖. เรื่องนรก-สวรรค์
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนเรื่อง นรก-สวรรค์ที่เป็นสถานที่ (ที่เราชอบเรียกกันว่า นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับเอาไว้รองรับจิตที่เป็นอมตะ ที่เมื่อใครทำความชั่วเมื่อตายไปแล้วจิตก็จะไปลงนรกที่มีแต่การลงโทษให้มีแต่ความทุกข์ทรมานที่คนทั่วไปหวาดกลัวกันอย่างยิ่ง (ที่มีแต่เรื่องการทรมาน เช่น ถูกต้ม ถูกตี ถูกแทง เป็นต้น แต่ก็ไม่ตายสักทีแต่จะอยู่เช่นนี้เป็นร้อยเป็นพันปี) แต่ถ้าทำความดีเมื่อตายไปแล้วก็จะได้ขึ้นสวรรค์ที่มีแต่ความสุขตามที่คนเราทั่วไปอยากจะได้ (ที่มีแต่เรื่องความสนุกสนานรื่นเริงและเรื่องทางเพศเป็นร้อยเป็นพันปี เช่น อยู่ในปราสาทที่สวยงามใหญ่โต มีสวนดอกไม้ที่น่ารื่นรมย์ มีเครื่องแต่งกายที่วิจิตรสวยงาม และมีนางฟ้าที่สวยงามอย่างยิ่งเป็นบริวารมากมาย เป็นต้น) ซึ่งนี่คือนรก-สวรรค์ที่เป็นไสยศาสตร์ ที่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ที่มีไว้สอนคนป่าคนดง หรือชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือสำหรับคนที่มีความรู้แต่ไม่สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง

- ศาสนาพุทธ สอนเรื่อง สวรรค์ในอก นรกในใจ คือจะสอนว่า เมื่อเราทำความดีเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นความสุขใจ หรืออิ่มเอมใจขึ้นมาในทันทีหรือเมื่อทำเสร็จ หรือเมื่อเราทำความชั่วเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นความทุกข์ใน ร้อนใจ หรืออย่างต่ำก็เป็นความไม่สบายใจขึ้นมาทันทีหรือเมื่อทำเสร็จแล้ว ซึ่งนี่คือนรก-สวรรค์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ คือพิสูจน์ได้ มีเหตุผล ที่มีไว้สอนคนมีปัญญาที่สนใจจะศึกษาชีวิตหรือสนใจจะศึกษาเพื่อดับทุกข์

๗. เรื่องความเชื่อ
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนให้เชื่อมั่นเพียงอย่างเดียว ห้ามถามห้ามสงสัย ถ้าใครไม่เชื่อก็จะตกนรก ซึ่งหลักการนี้ก็นับว่าดีสำหรับคนรุ่นเก่าหรือคนป่าคนดงที่ไม่มีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือคนที่ไม่ได้สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง

- ศาสนาพุทธ ในระดับพื้นฐาน (คือศีลธรรม ที่เป็นคำสอนในเรื่องการดำเนินชีวิตที่ปกติสุข) จะไม่เน้นเรื่องความเชื่อ คือใครจะเชื่ออย่างไรก็ได้ ขอเพียงว่าอย่าทำความชั่วก็แล้วกัน แต่พุทธศาสนาระดับสูง (ปรมัตถธรรม ที่เป็นคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าหลักอริยสัจ ๔) จะสอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือสงสัยได้ ถามได้ และต้องพิสูจน์ให้เห็นแจ้งก่อนจึงค่อยเชื่อ คือสรุปว่าพุทธศาสนาระดับสูงจะสอนว่า “อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเอง เมื่อพบคำสอนใดก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลจริงก็ให้ละทิ้งอีกเหมือนกัน แต่ถ้าทดลองปฏิบัติแล้วได้ผลจริงก็ให้ปลงใจเชื่อได้ และให้นำเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป”

๗. เรื่องหลักการศึกษา
- ศาสนาพราหมณ์จะใช้หลักไสยศาสตร์ในการศึกษา คือศึกษาจาการคาดคะเนเอา หรือเชื่อตามคนอื่น โดยจะไม่มีเหตุผล ไม่มีของจริงมาให้พิสูจน์ ไม่มีหลักการและระบบมาให้ศึกษา ดับทุกข์ไม่ได้ จะช่วยได้ก็เพียงช่วยให้สบายใจขึ้นมาบ้างเท่านั้น

- ศาสนาพุทธจะใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการศึกษา คือศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง พิสูจน์ได้ ศึกษาอย่างมีเหตุผล ศึกษาอย่างเป็นระบบ และจะเชื่อก็ต่อเมื่อได้พิสูจน์จนเห็นผลอย่างแน่ชัดแล้วเท่านั้น และใช้ดับทุกข์ของจิตใจได้จริง

๘. เรื่องหลักการปฏิบัติ
- ศาสนาพราหมณ์จะเน้นใช้ "พิธี" หรือการกระทำเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์หรือเกิดโชคลาภ ซึ่งเป็นหลักไสยศาสตร์ เช่น พิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้เทพเจ้าพอใจและช่วยดลบันดาลที่ต้องการได้ หรือเพื่อให้เกิดอำนาจวิเศษ ความศักดิ์สิทธิ์ โชค ลาภ และความพ้นทุกข์

- ศาสนาพุทธ จะใช้ "วิธี" หรือการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาใครๆหรืออะไรๆมาช่วย ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์ คือจะมีการปฏิบัติอย่างมีเหตุมีผล ไม่งมงาย อย่างเช่น การละเลิกอบายมุขทั้งหลาย เพื่อทำให้ชีวิตไม่เดือดร้อน หรือการขยันอดทน ประหยัด ไม่คบเพื่อนชั่ว ก็จะทำให้ร่ำรวยขึ้นมาได้ หรือวิธีการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน เป็นต้น

๙. เรื่องสมาธิ
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนเรื่องสมาธิสูงๆชนิดที่คนเราธรรมดาปฏิบัติได้ยากอย่างยิ่ง ถ้าใครปฏิบัติได้ก็จะมีฤทธิ์มีเดช หรือมีอำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆมากมาย เช่น เหาะ หรือหายตัวได้ เนรมิตสิ่งของได้ ถอดจิตไปเที่ยวนรก-สวรรค์ได้ และมีญาณ (ความรู้ที่เกิดมาจากการปฏิบัติ) ในการกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปอย่างถาวรได้ (ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้อย่างถาวร) เป็นต้น

- ศาสนาพุทธ จะสอนเรื่องสมาธิตามธรรมชาติที่เราทุกคนก็สามารถปฏิบัติได้ อันได้แก่ ความตั้งใจในการเรียน การทำงาน การคิด การพูด และการกระทำทางกายทั้งหลาย ที่มันคงแน่วแน่และต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ โดยผลโดยตรงของสมาธิก็คือ ทำให้เกิดความสุขสงบที่ประณีตขึ้นมาทันทีที่จิตมีสมาธิ และช่วยกำจัดกิเลสทั้งหลายให้ระงับดับลงทั้งอย่างชั่วคราวและถาวรได้ ส่วนผลโดยอ้อมของสมาธิก็คือ สมาธินี้จะเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญาที่นำมาใช้ในการดับทุกข์ของจิตใจได้ทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร

๑๐. เรื่องวิธีการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนเรื่องการอ้อนวอนเทพเจ้าและการฝึกสมาธิอย่างหนัก รวมทั้งการบำเพ็ญโยคะ (การทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ) เพื่อให้อัตตาหรือตัวตนบริสุทธิ์จากกิเลส เมื่ออัตตาไม่มีกิเลสแล้วก็จะกลับไปรวมกับพรหมหรือปรมาตมันและพ้นจากทุกข์ได้ตลอดไป หรือมีชีวิตที่มีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรันดร ไม่ต้องมาเวียนว่ายตาย-เกิดให้เป็นทุกข์อีกต่อไป (ที่เรียกว่าโมกษะ)

- ศาสนาพุทธ จะสอนเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้เกิด ปัญญา (ความรู้และเข้าใจตลอดจนความเห็นแจ้งว่าไม่มีอัตตาหรือไม่มีตัวเรา), สมาธิ (ความตั้งใจมั่นสม่ำเสมอ), และ ศีล (การมีกายและวาจาที่เรียบร้อย) เพื่อนำมาใช้ดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน ทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร (นิพพาน)

๑๑. เรื่องบุญ-บาป
- ศาสนาพราหมณ์จะสอนเรื่องการฆ่าสัตว์บูชายัญบูชาเทพเจ้า, การฝึกสมาธิ, การสวดอ้อนวอน, การนำทรัพย์สินของมีค่ามามอบให้แก่พราหมณ์ (ผู้ประกอบพิธี), และการบำเพ็ญตบะตามหลักโยคะ (การทรมานร่างกาย) เป็นต้น ว่านี่คือการสร้างบุญ ส่วนบาปก็คือการล่วงละเมิดศีล ๕ (คือฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในเรื่องทางเพศ, การพูดโกหก, และการดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติด) รวมทั้งการดูหมิ่นไม่เชื่อฟังเทพเจ้า เป็นต้น

- ศาสนาพุทธ จะสอนเรื่อง การช่วยเหลือชีวิตของสัตว์และมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ให้ทรัพย์ ให้อภัย ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้ธรรมะ เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนว่านี่คือ บุญ (การทำความดีแล้วสุขใจ) ส่วนการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะโดยวิธีใด ก็คือ บาป (การทำความชั่วแล้วทุกข์ใจ ร้อนใจ หรืออย่างต่ำก็ไม่บายใจ หรือเสียใจ)

๑๒. เรื่องการศึกษา
- ศาสนาพราหมณ์ จะสอนเรื่องลึกลับ ไกลตัว พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ไม่มีระบบหรือหลักในการศึกษา เช่น เรื่องเทวดา นางฟ้า นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า และเรื่องเวรกรรมจากชาติปางก่อน เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นหลักไสยศาสตร์

- ศาสนาพุทธ จะสอนเรื่องที่ลึกซึ้งในร่างกายและจิตใจของเราเอง ที่พิสูจน์ได้ มีหลักหรือระบบในการศึกษา มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ซึ่งจัดเป็นหลักวิทยาศาสตร์ทางด้านจิตใจ

๑๓. เรื่องการวางตัวในสังคม
- ศาสนาพราหมณ์จะสอนให้มีวรรณะ (ชนชั้น) โดยชาวอินเดียวจะมีการแบ่งผู้คนออกเป็นพวกๆหรือวรรณะตามความเชื่อจากศาสนาฮินดูคือ
๑. วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุด ได้แก่พวกผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ
๒. วรรณะกษัตริย์ ได้แก่พวกกษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมือง
๓. วรรณะแพศย์ ได้แก่พวกพ่อค้า ช่างฝีมือ
๔. วรรณะศูทร ได้แก่พวกคนใช้
ชาวอินเดียจะยึดถือเรื่องวรรณะกันมาก ถ้าใครแต่งงานกันต่างวรรณะ ลูกออกมาจะเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งเป็นคนชั้นต่ำสุดที่สังคมรังเกียจ

- ศาสนาพุทธ จะไม่สอนให้มีวรรณะ แต่จะสอนว่า ทุกคนนั้นจะดีหรือเลวไม่ได้ขึ้นอยู่ที่กำเนิด แต่ขึ้นอยู่ที่การกระทำของแต่ละบุคคล ถ้าใครทำดีจึงจะเป็นคนดี ถ้าใครทำชั่วก็จะเป็นคนชั่ว และจะสอนให้ทุกคนรักกัน เคารพกัน สามัคคีกัน และช่วยเหลือกันอย่างเสมอหน้า เพราะทุกคนคือเพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งนั้น
134  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / แด่นางฟ้าชุดขาว รพ.กำแพงเพชร ที่เกษียณอายุราชการ ปี๖๒ เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2019, 12:30:39 pm
เธอคือนาง ฟ้าชุดขาว ที่พราวฟ้า  มีเมตตา เป็นที่รัก  ฟูมฟักเหลือ
เธอเกื้อหนุน  ใส่ใจ  พร้อมจุนเจือ    ห้องพิเศษ สามเพื่อ  วีไอพี
เป็นพี่ใหญ่ ดูแล คนเจ็บป่วย          ใสใจช่วย ทุกคน ด้วยศักดิ์ศรี
มารยาท งดงาม ทั้งชีวี                    นามคือพี่ เรณู  จำปาเงิน

นางฟ้าชุดขาวสอง  ไม่หมองจิต      มีชีวิตเพื่อเด็กเด็ก อย่างหรรษา
มีความรู้ เชี่ยวชาญ มีเมตตา        เธอ ช่วยเหลือ พัฒนา เด็กทุกคน
ชอบทำบุญ สุนทาน เป็นที่หนึ่ง      จิตใจซึ้ง  ดีงาม ทุกแห่งหน
เธอเปรียบหมือนแม่พระ เด็กได้ยล      โอวรรณธานี คล้ายทองคน ที่แสนดี       

นางฟ้าชุดขาวสาม ทำตามฝัน         รับฝากครรภ์  ดูแล แม่รักษา
มีความสุข ที่ได้ พัฒนา                  แม่ลูกราวกับว่า  ลูกของเธอ
เน้นนมแม่ เลี้ยงลูก ผูกใจรัก          เฝ้าฟูมฟัก เติบใหญ่  วิเศษเสมอ
อุ๊ ณัฏฐินี คำยา ได้พบเจอ         สาวสองพันปี  ละเมอ เธฮงามนัก   

นางฟ้าชุดขาวสี่ มีความสุข       ทำลายทุกข์ สร้างเสริม สมศักดิ์ศรี
พิเศษสี่ อยู่เวรดึก ตลอดปี          มีหน้าที่ ดูแล คนทุกคน
ยอดฝีมือ แทงน้ำเกลือ ช่างเบาแสน  คนทุกแดน  ยกย่อง ทุกแห่งหน
นามสงัด กล่อมเกลี้ยง เธอผ่อนปรน   น้องสุดท้อง นฤมล แม่คนงาม

นางฟ้าชุดขาวที่ห้า น่านับถือ    เพราะเธอคือ  แม่บ้าน  อย่างเหมาะสม
งานบริการ สวัสดิการ ทุกคนชม    เธอเป็นที่นิยม ชมรมเรา
เตรียมทั้งงานเตรียมทั้งของ ไม่หมองจิต  มีชีวิต จิตอาสา เปรียบดั่งเสา
นามกฤษณา  เปรมัธเฐียร หลักของเรา    เธอยิ่งใหญ่ ไม่เบา ตลอดกาล

   


135  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / โคลงบันทึกการบรมราชาภิเษก เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2019, 05:02:07 am
โคลงบันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ล้นเกล้ารัชกาลที่๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี (ตอนที่๑ รวม๕ บท)

๑. สืบสานวัฒนธรรมค่าล้ำ     เลอพิศ
ยลถ่ายทอดแสนวิจิตร            ท่วมฟ้า
ละเอียดอ่อนราวนิมิตร            เพียงหนึ่ง โลกนอ
บันทึกสิริทัศน์ท้า                    สืบด้วยคำโคลง
๒.จรรโลงไทยวัฒน์ด้วย         วิถีไทย
จักรพรรดิครองฤทัย                ราษฏร์ถ้วน
โอรสสืบราชสมบัติไข              วชิรา ลงกรณ์นอ
เจิดจำรัสราษฎร์ล้วน                เด่นชี้สยามมินทร์
๓ ยินประเพณีแต่ครั้ง               สุโขทัย
อินทราทิตย์มีชัย                       แต่งตั้ง
บรมราชาภิเษกไกร                   เกรียงยื่ง นาพ่อ
สานต่อมาแต่ครั้ง                      ชื่นแท้บรรพชน
๔.อยุธยายลยุทธยั้ง                 ราชา
อภิเษกวัฒนา                             เทิดไท้
หลายศตวรรษา                          สืบต่อ
ข้าขอบันทึกเรื่องไว้                   อภิเษกล้ำคำโคลง
๕.ธนบุรีโยงเรื่องไว้                    เพียงนิด
กู้ชาติสงครามวิปริต                    กอบกู้
อภิเษกคือชีพิต                            องค์พ่อ วชิรปราการนา
สืบได้เพียงแค่รู้                            เร่งขึ้นครองไทย
โคลงบันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ล้นเกล้ารัชกาลที่๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี (ตอนที่๒ รวม๕ บท)
๖. รัตนโกสินทร์เสกสร้าง     ประเพณี
บรมราชาภิเษกมี                    ถี่ถ้วน
เก้ารัชกาลจักรี                       สืบต่อ
ถีงอภิเษกเอกล้วน                 สืบไท้ทศสมัย
๗.เกรียงไกร น้ำอภิเษกล้ำ      ครบสยาม
ส่งปลุกเสกเลิศนาม                 พระแก้ว
เตรียมพระมูรธาตาม               อภิเษก
ชลศักดิ์สิทธิ์เพริศแพร้ว         เคลื่อนล้ำเลิศดิถี
๘. กำแพงเพชรมีเสกน้ำ         บ่อสาม   แสนนา
ประวัติพระนเรศยาม                 พักสร้าง
เสวย ใช้ เสกน้ำนาม                สรงบ่อ นี้นอ
ตำนานมีเอกอ้าง                      ส่งไท้ทรงธรรม
๙. จารึกล้ำสุพรรณบัตรอ้าง     ออกนาม
มหาวชิราลงกรณ์ขาม              เขตกว้าง
สี่ ห้า หก พฤษภ ยาม                พิเศษ
บรมราชาภิเษกอ้าง                   ดิถีนี้เลิศวิถี
๑๐. มเหสีอัครรั้ง                     สุทิดา  องค์นอ
คู่บรมกษัตรา                             เสกตั้ง
สิริโฉมจรรยา                             งามยิ่ง นาแม่
สมบารมีสมครั้ง                          นาฏนี้ครองเกษม
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 95
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!