จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

หมวดหมู่ทั่วไป => จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร => ข้อความที่เริ่มโดย: apairach ที่ พฤษภาคม 07, 2013, 04:49:46 pm



หัวข้อ: บันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกำแพงเพชร ผ่านถนนชีวิต คนสามัญ (อ.สันติ อภัยราช)
เริ่มหัวข้อโดย: apairach ที่ พฤษภาคม 07, 2013, 04:49:46 pm
บันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกำแพงเพชร ผ่านถนนชีวิต คนสามัญ (อ.สันติ อภัยราช)
    
 ตอนที่ ๑ วัยเด็ก ที่อำเภอคลองขลุง    กำแพงเพชร
  
      เมื่อจำความได้ ราวพุทธศักราช ๒๔๙๕ อายุราว ๕ ขวบ แม่(เสงี่ยม อภัยราช) เล่าให้ฟังว่า เกิดที่บ้านพักปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร  บ้านอยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร(ปัจจุบันอยู่ตรงข้ามกับ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร เป็นที่ทำการผู้สูงอายุจังหวัดกำแพงเพชรก่อสร้างเมื่อปี ๒๔๖๔ ตามแบบของกระทรวงมหาดไทย มีหลวงอินทรแสนแสง เป็นนายอำเภอคนแรก)  เป็นบ้านพัก ปลัดอำเภอเมือง ติดกับบ้านพักนายอำเภอเมือง ด้านหลังอำเภอเมืองกำแพงเพชรเก่า เป็นป่าพุทรา ไม่มีบ้านเรือน เป็นป่าช้าเก่า  เมื่อผู้คนตายจะนำมาฝัง บริเวณนี้ มีท่าเรือข้ามฟาก จากวัดพระบรมธาตุนครชุม  ข้ามลำน้ำปิง (ก่อนมีสะพานกำแพงเพชร) อาคารอำเภอเมืองเก่า มีลักษณะอาคาร มีจั่วด้านหน้ามีพื้นที่ใช้สอย ขนาดกว่า ๔๐ ตารางเมตร สองข้างมีห้องทำงานด้านละ ๒ห้อง เป็นห้อง นายอำเภอ ห้องศึกษาอำเภอ ห้องปลัดอำเภอ อยู่รวมกัน ปีกซ้ายมือ เป็นห้องทะเบียนราษฎร์ สำหรับคัดสำเนาทะเบียนบ้าน แจ้งความ แจ้งเกิดแจ้งตาย อยู่รวมกัน ใต้ถุนโล่ง ไม่กั้นห้องแบบปัจจุบัน เป็นอาคารที่สง่างามมาก น่าจะสร้าง มาเกือบร้อยปี  ถนนสายเทศา ยาวไปทางหนองปลิง เมื่อถึงมุมกำแพงเมือง มีสะพานไม้ ขนาดยาว กว่าร้อยเมตร ข้ามคลอง ส่งน้ำมาเลี้ยงคูเมืองกำแพงเพชร ถนนหนองปลิงนี้ แม่เล่าว่า พ่อ ( ปลัดเสรี อภัยราช) เป็นคนคุมก่อสร้างถนนและสะพานข้ามไปตำบลหนองปลิง เมื่อ ราว ๗๐ ปีที่ผ่านมา (บันทึก ๒๕๕๖) ถนนสายนี้ ชื่อถนนเสรีธิปัตย์ ปัจจุบันไม่มีหลักฐานให้เห็น แล้ว
          อำเภอเมือง มีภารโรงท่านหนึ่ง ท่านมาที่บ้านประจำ ใครต่อใคร พากันเรียกท่านว่า ปลัดย้าย ท่านมีความสุขมาก เหตุที่เรียกว่าปลัดย้ายเพราะว่า ท่านมีบุคลิกดี มีมาด เหมือนปลัดอำเภอ ใครๆที่มาติดต่ออำเภอ จะพบท่านเป็นคนแรก ให้เกียรติท่านเสมอ ท่านเป็นที่เคารพนับถือของพวกเรามาก
       หลังจากนั้น พออายุได้ หกขวบ แม่ย้ายไปอยู่กับยาย ( ยายวัน โกวิน) ที่อำเภอคลองขลุง เหตุที่เรียกว่าคลองขลุง มีที่มา ๓ ประการด้วยกันคือ
๑.   เดิมเรียกว่าคลองโขลง เพราะช้างโขลงใหญ่มาเล่นน้ำในคลองนี้ เรียกเลื่อนมาเป็นคำว่าคลองขลุงในปัจจุบัน
๒.   เดิมเรียกว่า คลองโขง เป็นที่อยู่ตะโขง จระเข้ชนิดหนึ่งอาศัยในคลองนี้จำนวนมาก เรียกกันว่าคลองโขง และเลื่อนเป็นคลองขลุงในที่สุด
๓.   เดิมเรียกว่าบ้านท้องคุ้ง ต่อมาเรียกกันว่า เพี้ยนเป็นคลองขลุง
ทั้งสามกรณี คำว่าบ้านท้องคุ้ง มีโอกาสเป็นได้สูงสุด เพราะตามหลักภาษาศาสตร์สามารถเลื่อนเป็นคลองขลุงได้
ขณะนั้นกำแพงเพชร มี ๔ อำเภอ คือ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอพรานกระต่าย อำเภอขาณุวรลักษณบุรี (อำเภอขาณุวรลักษณบุรี เดิมมี ณ ด้วย เป็นนามพระราชทาน แต่ปัจจุบันนี้ ตัว ณ หายไป เหลือเพียงคำว่า ขาณุวรลักษบุรี เท่านั้น) และอำเภอคลองขลุง ที่ไปอยู่ บ้านยาย ริมน้ำปิง เลยจากปากคลองขลุงมาประมาณ ๕๐ เมตร แม่ไปซื้อบ้านอยู่ใกล้ๆยาย บ้านแม่ชั้นเดียวใต้ถุนสูง หันหน้าออกลำน้ำปิง หน้าบ้านมีท่าน้ำ  มีแพซุง มีท่าเรือ  มีเรือจากนครสวรรค์ไปตาก  มาจอด วันละ ๒ เที่ยว คือเที่ยวไป และเที่ยวกลับ เป็นเรือเมล์ สองชั้น จำได้ว่า เมื่อเรือมา ถึงท่า พวกเราดีใจมาก เพราะได้มีโอกาสขึ้นเรือเมล์ แล้วไปโดดลง ที่หน้าวัดศรีภิรมย์ แล้วว่ายน้ำกลับมา สนุกสนานและมีความสุขมาก หน้าบ้าน ในนอกชาน มีต้นมะยมขนาดใหญ่ มีผลดกมากแม่จะนำมาทำมะยมแช่อิ่ม เชื่อม  ใช้ไม้ไผ่เสียบมะยมประมาณ ๑๐ เม็ด  ไม้ละสตางค์  แต่ถ้าเราดื้อเมื่อไรก็จะโดนยาย ใช้ ก้านมะยมรูด ใบออก ตีเสมอ เจ็บมาก
ยายเป็นคนกว้างขวางที่คลองขลุง  เสียงดัง นักเลง เลี้ยงคนจำนวนมาก  เราเป็นหลานยาย ทำให้ เป็นที่รัก ของคนในคลองขลุง ทุกคน เมื่อายุได้ราว ๗ ขวบ แม่ให้ไปโรงเรียน ชื่อโรงเรียน พิบูลพิทยาคาร  โรงเรียนอยู่ห่างจากบ้าน ประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นอาคารไม้ ชั้นเดียว ประมาณ ๖ ห้องเรียน เรียนอยู่ชั้นเตรียม  ครูใหญ่ชื่อว่า ครูอั๋น ทิมาสาร (มีศักดิ์เป็นลุง) สมัยนั้น นักเรียนต้องนำโต๊ะเรียนไปเอง ขนาดของโต๊ะเรียนจึงไม่มีขนาดเท่ากัน โต๊ะของเราดูค่อนข้างใหญ่เทอะทะมาก  แม่ซื้อกระดานชนวนให้หนึ่งแผ่น ดินสอเขียนกระดานชนวน สองด้าม สนุกกับการเรียนมาก  ชอบเขียนหนังสือ อ่านแบบเรียนเร็ว เล่มหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็ว เพราะกลับไปบ้านแม่สอนให้
           แม่เลี้ยงหมู ไว้ ๔ ตัว  นำหยวกกล้วย มาต้มข้าวหมู ทุกวันเพื่อขายมันมาซื้อเสื้อผ้า ให้เราไปโรงเรียน(พี่ ๓ คน พี่ติ๋ว  สุนันทนา วารีเพชร  พี่หละ อิสระ อภัยราช  พี่ดี  ศิวดี ใจอินทร์ ไปอยู่กับพ่อที่เพื่อเรียนต่อมัธยมที่อำเภอเมืองเพื่อเรียนต่อมัธยมที่อำเภอกำแพงเพชร) แม่ตื่นแต่ ตี สี่ ทำขนมขาย มีขนมฟักทอง ขนมไข่เหี้ย ขนมวุ้นสีต่างๆ ขนมถ้วยฟู  ประมาณ หกโมงเช้า จะปลุกให้เรา ไปขาย โดยแม่จะหาบไป วางที่ตลาดคลองขลุง หลังบ้านแม่ ประมาณ ไม่กี่ก้าว เราขายที่ตลาด โดยมีพี่น้อย สีนวล ขายขนมหวานใกล้ๆ  ช่วยดูแลเราตลอดเวลา มีหมาตัวหนึ่ง ชื่อ โม่ง เพราะหน้าดำ ตัวเมีย จะตามไปนั่งขายขนมด้วยกันที่ตลาดทุกวัน วันไหนขายไม่หมด ก็จะแบ่งให้ โม่งกิน มันจึงรักเรามาก ตลาดคลองขลุง สภาพเป็นร้านค้า อาคารไม้ ชั้นเดียวมีหน้าถังเปิดปิด ได้ ยายมีห้องแถวอยู่หลายห้อง ให้เขาเช่า  จึงนำขนมไปวางที่หน้าร้าน ขายเป็นประจำทุกวันไม่มีวันหยุด วันพระจะขายดีที่สุดสนุกมาก แม่จะให้เงินวันละ ๕๐ สตางค์ เป็นค่าขาย เอาเงินไปโรงเรียน แม่ทำทอฟฟี่ ให้ไปขายที่โรงเรียนด้วย (เม็ดละ๕ สตางค์) ไปขายเพื่อนๆ ระหว่างทางไปกลับโรงเรียน เดินผ่านเรือกสวน ไร่นา อย่างเพลิดเพลิน ได้เห็นชีวิตหลากหลายมาก ดูเขาจักรสาน ดูเขาต้มเหล้าเถื่อน ดูการทำน้ำตาลเมา ตลอดเส้นทาง จึงรู้จักคนมาก ใครเรียกเราตามแม่เรียกว่า ตาเบิ้ม  ตอนเย็นกลับจากโรงเรียนราว ๓ โมงเย็น แม่ทำขนมฝรั่ง ไปขายตามบ้าน นำฉลาก ไปให้เด็กรุ่นเดียวกันช่วยซื้อ (ฉลากเมื่อเปิดแล้วจะได้รางวัลทันที มี ของเล่นสำหรับเด็กหลายอย่างขายดีมาก ใบละสิบสตางค์) ขายหมดทุกวัน บางวันมีผลทับทิมแม่ก็ให้ใส่ถาดไปขาย บ้านลุงอั๋น ครูใหญ่ บ้านศึกษาอำเภอ ลุงฟ้อน สุวรรณโชติ กำนันแม้น ทิมาสาร เหลือเอาไปให้ย่า (ลำไย อภัยราช ) จะได้เงินมาวัน ละประมาณ ๒ บาท   นำเงินมาซื้อหนังสือการ์ตูน ของเสรี เปรมฤทัย อ่านทุกวันอาทิ ดาบเจ็ดสี มณีเจ็ดแสง  เดชไพรวัลย์   ขุนพลแกละ เดชโกมินทร์ เมื่อกลับมาบ้าน แม่และยาย จะจ้างให้อ่านให้ฟัง  ยายชอบฟังพระอภัยมณี / แม่ชอบสามก๊ก ราชาธิราช หนังสือจักรๆวงค์ทุกเรื่อง ทำให้ อ่านหนังสือแตกฉาน ไม่ทันขึ้นประถมปีที่ ๒
     เราจะไปอาบน้ำ กันที่ ท่าน้ำ หน้าบ้าน เด็กก็แก้ผ้าอาบน้ำ กระโดดไปเกาะเรือแพ ที่แล่นผ่านมา ทุกคนว่ายน้ำกันเก่งมาก เพราะโตมากับแม่น้ำ เวลาถ่ายเช้าขึ้น ก็นั่งเรียงกันบนแพหน้าบ้าน หันก้นออกแม่น้ำ ผู้ใหญ่สอนว่าให้นั่งห่างจากกัน อย่าให้เอื้อมถึงกัน ผู้ใหญ่ เขาจะมากลางคืน หรือหัวค่ำ หรือถ่ายในน้ำกันฤดูน้ำหลาก เราจะเก็บผักบุ้งรีดน้ำไปขาย กำละสตางค์ ขายดีมาก  พายเรือไปกัน บริเวณท่าน้ำ ข้างบ้านมีการทำน้ำประปา ของลุง สิงโต ทำประปาขายไปทั่วตลาดคลองขลุง เราจะได้ยิน ลุงสิงโต ตะโกนทุกวันว่า ไอ้ชัย น้ำล้น (ไอ้ชัย เป็นลูกลุงสิงโต เพื่อนกับเรา) จนนกขุนทองที่เราเลี้ยงไว้  มันจะพูดว่า ไอ้ชัยน้ำล้น ทุกครั้งที่มีน้ำล้นมาจากถังประปา ลุงสิงโตมีวิธีคิดที่ทันสมัยมาก  จะเรียกเราไปเล่าให้ฟังถึงวิธีคิดของท่านเสมอ

 
(http://upic.me/i/13/sec5_3_62.jpg) (http://upic.me/show/44734067)
หน้าบ้านมี ท่าเรือ เรือเมล์ ขนส่งคนและสินค้า จากนครสวรรค์ ไปตาก วันละเที่ยว มีคนมากับเรือมาก ถนนพหลโยธิน อยู่ไกลมาก  จำได้ว่าขึ้นไปขายขนมตาล ตั้งแต่หัวเรือยันท้ายเรือ ขายดี เพราะห่างจากท่าคลองขลุง จะไปแวะอีกท่าหนึ่งคือท่ามะเขือ นับว่าไกลมาก สมัยนั้น เป็นประสบการณ์ที่ไม่เคยลืม
   มีงานประจำปี ที่วัดศรีภิรมย์ (วัดศรีภิรมย์ เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในตำบลคลองขลุง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๒ บ้านคลองขลุง ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕๕ ไร่ ๓ งาน ๔๔ ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๖๑ เดิม วัดนี้เดิมชื่อ "วัดพิกุลทอง" ตั้งอยู่เหนือตลาดคลองขลุง อยู่ริมฝั่งซ้ายมือ ฝั่งขวาเป็นวัดพม่า (ปัจจุบันไม่มีร่องรอยของวัดทั้งสอง คงเหลือแต่ต้นโพธิ์ใหญ่เท่านั้น) ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๖๑ นายเถา นายโกสน ชักชวนชาวบ้านโดยมีหลวงพ่ออ้วนเป็นประธาน ได้ย้ายเสนาสนะมาสร้างวัดใหม่อยู่ใต้ที่ว่าการอำเภอคลองขลุง และตั้งชื่อว่า ?วัดศรีภิรมย์?มีเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ (๑) หลวงพ่ออ้วน (๒) พระอาจารย์ยา (๓) พระอาจารย์แดง(๔) พระสำราญ จนฺทสุโก (๕) พระละออง มนุญโญ (๖) พระหลวงตาแดง (๗) พระใบฎีกาโต๊ะ ปโสธโร (๘) พระสมุห์จำรัส ตปสฺโส (๙) พระครูประกาศวชิรคุณ (๑๐) พระครูวิมลวชิรคุณ เจ้าอาวาส และเจ้าคณะอำเภอคลองขลุง รูปปัจจุบัน เสนาสนะที่สำคัญของวัด ได้แก่ อุโบสถ (หลังเก่า) สร้างเมือ พ.ศ. ๒๔๖๑ (หลวงสรรค์สิทธิกิจ นายอำเภอคลองคลุง มีความศรัทธาได้สละทรัพย์ของตนออกสร้างอุโบสถ),เจดีย์หน้าวิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ,มณฑป สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙,โรงเรียนพระปริยัติธรรม สร้างเมือพ.ศ.๒๔๙๖ )
 ยายจะไปขาย ฝักทองทอด ขนมขาหมู ทุกวัน เรามีโอกาสไปช่วยยายขายของมีลิเก เป็นหลัก นอกนั้นเป็นของแปลก เช่น วัวห้าขา รถไต่ถัง รำวง ภาพยนตร์มีน้อยมาก แต่ก็หอบเสื่อไปปูดูทุกคืน หลับไปกับหนังทุกครั้ง รู้สึกตัวแม่ปลุกให้เดินกลับบ้าน วัดศรีภิรมย์ใหญ่มาก มีโบสถ์สวย หน้าวัดมีลานหิน(หินดาน) ใหญ่อยู่ในน้ำ หน้าน้ำจะมองไม่เห็น หน้าแล้งจะมองเห็นหินดานนั้น เป็นถ้ำลึกเข้าไป ยายบอกว่า ในถ้ำใต้น้ำ มีจระเข้เจ้าอยู่ แต่เราไม่เคยเห็นเหมือนกัน แต่ก็ไม่กล้าลงเล่นน้ำที่ท่าหน้าวัด เพราะกลัวจระเข้ กัน ถัดท่าน้ำ เป็นบ้านของปู่โต๊ะ (กำนัน) พี่ชาย ย่า กลัวท่านมาก ไว้หนวดท่าทางดุ แต่ย่าบอกว่าท่านใจดีมาก เสาร์อาทิตย์ ย่าจะให้ไปนอนกับย่าที่หน้าวัดศรีภิรมย์ จ้างให้อ่านเรื่องสังข์ทองให้ฟังจนเราจำได้ทั้งเรื่อง  ตอนหกโมงเย็นไปฟังวิทยุที่หน้าอำเภอคลองขลุงฟังข่าวจากกรุงเทพ คิดว่าไม่รู้เรื่อง เลยยังเด็กมาก แต่ก็มีอิทธิพลให้เราสนใจ ข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบัน



 ๑.แนบประวัติหลวงอินทรแสง (นายอำเภอคนแรก)
 ๒.แนบประวัติปลัดเสรี อภัยราช

ตอนที่ ๒
ตอนที่ ๒  กิจกรรมที่หาดทราย หน้าอำเภอคลองขลุง
              ตั้งแต่ปากคลองขลุง (หลังเกาะ) จนถึงวัดศรีภิรมย์  ฤดูแล้ง จะมีหาดทรายขึ้น จนสามารถเดินข้ามฟากไปถึงฝั่ง ท่ามะเขือ ซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่ปิงได้  ตอนเย็น ชาวบ้าน ผู้ชาย นุ่งผ้าขาวม้า ถกเขมรขึ้นไปสูง ผู้หญิงนุ่งกระโจมอก ไปอาบน้ำที่หาดทรายกัน ที่หน้าวัดศรีภิรมย์ มีฝูงแร้ง จำนวนมาก มาทึ้งซากสัตว์ ที่มาเกยตื้น หน้าวัด จำนวนหลายร้อยตัว เราชอบเดินไปดูใกล้ๆ แร้งไม่เคยกลัวเด็กๆอย่างเราเลย  แร้ง หรือ อีแร้ง (อังกฤษ: Vulture) เป็นนกขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง อยู่ในกลุ่มนกล่าเหยื่อเช่นเดียวกับเหยี่ยว, อินทรี หรือนกเค้าแมว โดยที่แร้งถือว่าเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้
แร้ง จะแตกต่างจากไปนกในกลุ่มนี้คือ จะไม่ล่าเหยื่อหรือกินสัตว์เป็น ๆ เป็นอาหาร แต่จะกินเฉพาะซากสัตว์ที่ตายแล้ว อันเนื่องจากอุ้งเท้าของแร้งนั้นไม่แข็งแรงพอที่จะขย้ำเหยื่อได้ แร้งมีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขนสีขาวรอบเหมือนสวมพวงมาลัย มีลักษณะเด่นคือ ขนที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย แต่แร้งก็ยังสามาถจับสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า, จิ้งจก หรือไข่นกชนิดอื่น กินเป็นอาหารในบางครั้งได้อีกด้วย
แร้งแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
?   แร้งโลกเก่า จัดอยู่ในวงศ์ Aegypiinae ทำรังและวางไข่บนต้นไม้หรือหน้าผาสูง และหาอาหารโดยการใช้สายตามองจากที่สูงขณะบินวนอยู่บนท้องฟ้า แร้งในวงศ์นี้พบได้ทั่วไปในทวีปแอฟริกา, เอเชียและยุโรป
?   แร้งโลกใหม่ จัดอยู่ในวงศ์ Cathartidae มีรูปร่างที่แตกต่างไปจากแร้งโลกเก่าอย่างเห็นได้ชัด โดยแร้งในวงศ์นี้พบได้เฉพาะทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ มีชื่อสามัญเรียกในภาษาอังกฤษว่า "Condor" โดยทั่วไปแล้วจะมีสีสันที่สวยงามกว่าแร้งโลกเก่า วางไข่บนพื้นดิน โดยไม่ทำรัง และหาอาหารโดยการดมกลิ่น
แร้งทั้ง 2 กลุ่ม มีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน คือ กินซากสัตว์หรือซากศพมนุษย์ที่ตายไป โดยมักจะอยู่รวมเป็นฝูง และบินวนไปรอบ ๆ ที่มีซากศพหรือซากสัตว์ตายเพื่อรอจังหวะกิน แร้งจะตะกละตะกลามมากเวลาลงกินอาหาร มักจะจิกตีหรือแย่งชิงกันเสียงดังบ่อย ๆ เวลากิน จึงมีสำนวนในภาษาไทยว่า "แร้งทึ้ง" อันหมายถึง พฤติกรรมการแย่งชิงกันอย่างน่าเกลียด แต่ด้วยความที่เป็นสัตว์กินซาก แร้งจึงใช้เวลาที่นอกเหนือไปจากการกินอาหาร ด้วยการไซ้ขน กางปีก ผึ่งแดด เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย
แร้งในความเชื่อของมนุษย์ แทบทุกวัฒนธรรมจะถือว่าเป็นนกที่อัปมงคล เพราะพฤติกรรมที่กินซากศพและรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดน่ากลัว ในความเชื่อของคนไทย แร้งเป็นนกที่นำมาซึ่งความอัปมงคลเช่นเดียวกับนกแสก เมื่อสมัยอดีต ประเพณีการปลงศพในบางพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญหรือในบางวัฒนธรรม บางครั้งจะทิ้งซากศพไว้กลางแจ้ง มักจะมีแร้งมาเกาะคอยรอกินศพอยู่บริเวณรอบ ๆ นั้นเสมอ ๆ และเมื่อครั้งที่เกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างร้ายแรง ในปีพุทธศักราช ๒๓๖๓ ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ ๒ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในพระนคร การเผาศพทำไม่ทัน จนต้องมีศพกองสุมกันที่วัดสระเกศ มีแร้งลงมาจิกกินเป็นที่น่าสังเวชแก่ผู้พบเห็น จนมีคำกล่าวว่า "แร้งวัดสระเกศ" คู่กับ "เปรตวัดสุทัศน์" นอกจากนี้ยังมีบันทึกว่าในเช้าของวันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2481 มีแร้งนับจำนวนนับร้อยตัวได้บินมาลงที่ท้องสนามหลวงอย่างไม่ทราบสาเหตุ จากนั้นในเวลาบ่ายของวันเดียวกันก็ได้บินกลับไป ซึ่งต่อมาก็ได้มีเหตุร้ายแรงของบ้านเมืองเกิดขึ้น คือ กบฏพระยาทรงสุรเดช และสงครามอินโดจีน[2]
และชื่อของอำเภอแก่งคอย อำเภอหนึ่งในจังหวัดสระบุรี อันเป็นปากทางเข้าสู่ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่หรือ "ดงพญาไฟ" ในอดีต ก็เคยมีชื่อเรียกว่า "แร้งคอย" อันเนื่องมาจากการที่ผู้คนที่สัญจรเข้าไปในป่าแห่งนี้ มักจะตายลงด้วยไข้ป่า จนแร้งต้องมาคอยกินซากศพ จึงเป็นที่มาของชื่ออำเภอ[3]
และด้วยความที่แร้งเป็นนกขนาดใหญ่ที่หัวและคอล้านเลี่ยนดูคล้ายไก่งวง ในอดีตก็เคยมีคนไทยนำแร้งมาขายแก่ชาวต่างชาติเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า โดยหลอกว่าเป็นไก่งวงมาแล้ว แต่ท้ายที่สุดความก็แตก เนื่องจากแร้งตัวนั้นได้บินหนีไปปัจจุบัน แร้งแทบทุกชนิดตกอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์และหายาก เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ประเพณีการปลงศพก็ไม่ได้ทำอย่างในอดีต ทำให้แร้งจำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน และในอนุทวีปอินเดีย แร้งหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ [6]

(http://upic.me/i/wk/post-9619-0-87133200-1348798837.jpg) (http://upic.me/show/44734145)

[4]นอกจากเล่นแกล้งอีแร้งแล้ว พอพลบค่ำ เราจะเล่น ลิงลมกัน ซึ่ง เด็กหนุมสาวเขาเล่นกัน เด็กๆยืนดูความน่ากลัวของการเข้าทรงลิงลม
นำเด็กผู้ชายอายุระหว่าง ๗-๑๕ ปี ที่ถูกกำหนดให้เป็นร่างทรงผีนางลิงลม มาผูกเอวด้วยผ้าขาวม้า ด้วยชายผ้าข้างหนึ่งหันชายผ้าอีกข้างหนึ่ง  เปรียบเหมือนเชือกที่ล่าลิงให้เด็กผู้หญิงรุ่นเดียวกัน อีกคนหนึ่งกำหนดตัวให้เป็นเจ้าของลิง ถือชายผ้าไว้หักดอกไม้ตามชายป่ามาให้ร่างทรงนางลิงลมถือ พนมมือหันหน้าไปทางทิศตะวันตก คุกเข่าหมอบลง
ให้เด็กชายอีก ๒ คน ยืนขนาบข้างซ้าย-ขวา ดึงผ้าขาวม้าที่ขึงค่อนข้างตึงข้างละ ๒ มุม ขยับมือโบกผ้าขาวม้าขึ้นลง เด็กชายหลายคนช่วยกันร้องเชิญผีนางลิงลมมาเข้าสิงร่างทรง
" นางลิงลมมาอมข้าวพอง
เด็กน้อยทั้งสองมาทัดดอกเจ็ก
พญาลงเล็กพญาลงเข่า (เข้า) พระเจ้าลิงลม" ร้องเชิดเช่นนี้เป็นหลาย ๆ เที่ยว จนผีนางลิงลมมาเข้าร่างทรง
วิธีสังเกตว่าผีนางลิงลมเข้าสิง
มือที่อยู่ในท่าพนมจะเริ่มอาการสั่นช้า ๆ และถี่ขึ้น ๆ ตามลำดับ จนลุกทะลึ่งพรวดขึ้นยืนด้วยอาการแบบอาการยืนของลิงจริง ๆ พวกเด็ก ๆ ที่รวมกลุ่มกันก็จะแตกฮือหนี เพราะกลัวนางลิงลมไล่กัดเว้นแต่คนที่ถือผ้าขาวม้าลิงจะไม่ทำอันตรายแต่อย่างใด เพราะถือว่าเป็นเจ้าของเด็กที่ใจกล้าก็จะร้องล้อเจี๊ยก ๆ ลิงลมก็จะไล่กัด พวกที่ล้อจะวิ่งแตกฮือไปที่อื่นต่อไป ถ้าต้องการให้นางลิงลมขึ้นต้นไม้ก็จะบอกให้เจ้าของบอกให้ลิงทำ ปล่อยเชือกลิง ลิงก็สามารถปีนต้นไม้อย่างคล่องแคล่วแม้แต่กิ่งไม้เล็ก ๆ ก็สามารถไต่ไปได้
พอเล่นสนุกได้ระยะพอประมาณสังเกตไม่ให้นางลิงลมเหนื่อยเกินไป เจ้าของลิงก็จะเรียกชื่อของเด็กชายคนนั้น โดยพูดกรอกที่ข้างๆ หูด้วยเสียงค่อนข้างดัง เด็กที่เข้าทรงก็จะรู้สึกตัว และทำสีหน้างงไม่รู้เหตุการณ์ว่าทำอะไรลงไป
จะเล่นกันทุกวัน เมื่อมีหาดทราย ขึ้นหน้าวัด จะเลิกราวๆ ทุ่มเศษ กลับบ้านจะโดนดุว่า อย่าไปเล่น จะมีอันตราย แต่ก็ไม่เคยเชื่อ บางที ถูกจับให้เป็นลิงลม ก็เคยมี

การเล่นอีกอย่างหนึ่ง คือการเล่นเตย กลางหาด เป็นการเล่นที่สนุกมาก เป็นวิธีออกกำลังที่ได้เหงื่อก่อนอาบน้ำทุกวัน มีวิธีเล่นเหมือนๆกัน
วิธีเล่น
1. กำหนดผู้เล่นเป็น 2 ทีมๆ ละ 5 คน ให้ทีมหนึ่งเป็นฝ่ายรับ อีกทีมเป็นฝ่ายรุก ฝ่ายรับจะลงยืนรับประจำเส้นจากเส้นหน้าไปเส้นหลังคนละ 1 เส้น ให้หัวหน้าฝ่ายรับยืนอยู่เส้นหน้า ส่วนฝ่ายรุกให้ยืนอยู่นอกสนามด้านเส้นหน้า หันหน้าเข้าสนามกระจายเตรียมตัวพร้อมเล่น
2. เมื่อได้สัญญาณเริ่มเล่น ให้ฝ่ายรุกวิ่งเข้าในสนามเล่นผ่านเส้นต่างๆ จากเส้นหน้าไปออกเส้นหลัง เรียกว่า ?วิ่งลง? แล้ววิ่งย้อนกลับจากเส้นหลังออกมาเส้นหน้า เรียกว่า ?วิ่งขึ้น? ให้ได้ โดยต้องพยายามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายรับแตะถูกตัว ส่วยผู้เล่นฝ่ายรับที่ยืนประจำเส้นแต่ละเส้นอยู่นั้น สามารถวิ่งเคลื่อนที่ไปบนเส้นของตนเพื่อไล่แตะฝ่ายรุกได้ สำหรับผู้เล่นที่ยืนอยู่บนเส้นหน้าสามารถวิ่งบนเส้นได้ทั้งเส้นหน้าและเส้น กลาง
3. การที่ผู้เล่นฝ่ายรุกคนหนึ่งวิ่งจากเส้นหน้าทะลุไปออกเส้นหลัง และสามารถวิ่งกลับจากเส้นหลังออกมาเส้นหน้าได้ อย่างนี้เรียกว่า ?เตย?
4. หากผู้เล่นคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรุก ถูกฝ่ายรับแตะตัว จะถือว่าตายทั้งทีม ฝ่ายรุกทั้งทีมจะต้องรีบออกไปเริ่มต้นเล่นใหม่จากนอกเส้นหน้าทุกครั้ง
5. เมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ให้เปลี่ยนฝ่ายรุกเป็นฝ่ายรับ และฝ่ายรับกลับมาเป็นฝ่ายรุก 6. ทีมใดทำคะแนนที่เรียกว่า เตย ได้มากกว่า จะเป็นฝ่ายชนะ
เด็กของเรา ในสมัยก่อนมีการออกกำลังที่เป็นกติกา และต้องยอมรับกติกา อย่างเต็มใจ ไม่มีการบังคับกัน นับว่าซ่อนภูมิปัญญาอย่างน่าสนใจมาก
หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า
?...เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง
กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี
ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน?

บางคนนิยมไปเล่นไม้หึ่มกัน ซึ่งเรามักจะได้รับการชวนไปเล่นไม้หึ่มเสมอ ทั้งกลางหาดทราย และใต้ร่มไม้ หรือสนามกว้างๆ หายสาบสูญไปแล้ววิธีเล่นไม้หึ่ม ลองทบทวนดู
ภูมิหลัง / ประวัติศาสตร์ (ความเป็นมา)เป็นการละเล่นที่มีมานานแล้ว ซึ่งปัจจุบันไม่พบว่ามีการเล่นไม้หึ่มแล้ว เป็นกีฬาของเด็กผู้ชายหากเป็น
เด็กหญิงจะต้องเป็นเด็กหญิงที่มีรูปร่างแข็งแรงเพราะการเล่นต้องใช้พละกำลังในการดีลูกไม้

โอกาสในการเล่น
การเล่นไม้หึ่ม จะเล่นในโอกาสที่ด็กชายและเด็กหญิงว่างจากการเรียนหนังสือ หรือในวันหยุดไม่เลือกเวลา
ส่วนสถานที่ในการเล่นต้องเป็นลานกว้างที่สามารถดีลูกไม้หึ่มได้โดยไม่กระทบตัวอาคารบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างอื่น

วัสดุอุปกรณ์
ไม้ลวกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว นำมาตัดเป็นแม่ไม้หึ่มความยาวประมาณ ๑ ศอก ลูกไม้หึ่มความยาวประมาณ ๑ คืบ

กฎ / กติกา
๑. ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน
๒. ขุดหลุมลึกประมาณ ๒ นิ้ว ยาว ๑ คืบ จำนวน ๑ หลุม
๓. วิธีการหาผู้เล่นคนแรกใช้วิธีการเดาะไม้ โดยใช้แม่ไม้หึ่มเดาะลูกไม้หึ่ม ใครได้จำนวนมากจะเป็นผู้เล่นก่อน โดยวิธีการเล่นมี ๔ ไม้

วิธีการเดาะลูกไม้หึ่ม

ไม้หนึ่ง ผู้เล่นนำลูกไม้หึ่มยางพาดบนปากหลุม แล้วใช้แม่ไม้หึ่มงัดลูกไม้หึ่มไปข้างหน้ายังกลุ่มผู้
เล่นคนอื่นที่รอรับลูกไม้หึ่ม ในการรับลูกไม้หึ่มหากมีผู้เล่นคนอื่นที่ยืนรอรับลูกไม้หึ่ม รับลูกได้ก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป โดยเล่นที่ไม้หนึ่งก่อน หากไม่มีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มได้ให้ผู้เล่นวางแม่ไม้หึ่มพาดปากหลุมไว้แล้วให้ผู้เล่นคนอื่นโยนลูกไม้หึ่มให้ถูกแม่ไม้หึ่มที่วางพาดปากหลุม ถ้าโยนถูกแม่ไม้หึ่มก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป หากโยนไม่ถูกแม่ไม้หึ่มผู้เล่นคนแรกก็จะได้เล่นไม้สองต่อไป
ไม้สอง ผู้เล่นกำแม่ไม้หึ่มโดยให้ความยาวอยู่ด้านบนของมือแล้วใช้ลูกไม้หึ่มวางบนนิ้วชี้โดยประกบกับแม่ไม้หี่ม แล้วโยนลูกไม้หึ่มขึ้นกลางอากาศใช้แม่ไม้หึ่มพาดไปที่ลูกไม้หึ่มให้ลูกไม้หึ่มกระเด็นไปข้างหน้ายังกลุ่มผู้เล่นที่รอรับลูกไม้หึ่มอยู่ หากมีผู้เล่นคนอื่นที่ยืนรอรับลูกไม้หึ่มรับลูกได้ก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป โดยเล่นที่ไม้หนึ่งก่อน หากไม่มีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มได้ให้ผู้เล่นวางแม่ไม้หึ่มพาดปากหลุมไว้แล้วให้ผู้เล่นคนอื่นโยนลูกไม้หึ่มให้ถูกแม่ไม้หึ่มที่วางพาดปากหลุม ถ้าโยนถูกแม่ไม้หึ่มก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป หากโยนไม่ถูกแม่ไม้หึ่มผู้เล่นคนแรกก็จะได้เล่นไม้สามต่อไป
ไม้สาม ผู้เล่นกำแม่ไม้หึ่มโดยให้ความยาวของไม้แม่หึ่มอยู่ด้านล่างของมือแล้วนำลูกไม้หึ่มวางบนนิ้วชี้โดยประกบกับแม่ไม้หึ่ม แล้วโยนลูกไม้หึ่มขึ้นข้างบนแล้วใช้ด้านยางของแม่ไม้หึ่มฟาดลูกไม้หึ่มกระเด็นไปข้างหน้ายังกลุ่มผู้เล่นที่รอรับลูกไม้หึ่มอยู่ หากมีผู้เล่นคนอื่นที่ยืนรอรับลูกไม้หึ่มรับลูกได้ก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป โดยเล่นที่ไม้หนึ่งก่อน หากไม่มีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มได้ให้ผู้เล่นวางแม่ไม้หึ่มพาดปากหลุมไว้แล้วให้ผู้เล่นคนอื่นโยนลูกไม้หึ่มให้ถูกแม่ไม้หึ่มที่วางพาดปากหลุม ถ้าโยนถูกแม่ไม้หึ่มก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป หากโยนไม่ถูกแม่ไม้หึ่มผู้เล่นคนแรกก็จะได้เล่นไม้สี่ต่อไป
ไม้สี่ ผู้เล่นยืนหันหลังให้กับผู้เล่นคนอื่นแล้วใช้ลูกไม้หึ่มวางไว้ที่หว่างขาของผู้เล่นแล้วใช้แม่ไม้หึ่มตีไปที่ลูกไม้หึ่มให้ลูกไม้หึ่มกระเด็นไปหาผู้เล่นคนอื่นมหากมีผู้เล่นคนอื่นที่ยืนรอรับลูกไม้หึ่มรับลูกได้ก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป โดยเล่นที่ไม้หนึ่งก่อน หากไม่มีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มได้ให้ผู้เล่นวางแม่ไม้หึ่มพาดปากหลุมไว้แล้วให้ผู้เล่นคนอื่นโยนลูกไม้หึ่มให้ถูกแม่ไม้หึ่มที่วางพาดปากหลุม ถ้าโยนถูกแม่ไม้หึ่มก็จะได้เป็นผู้เล่นคนต่อไป หากโยนไม่ถูกแม่ไม้หึ่มผู้เล่นคนแรกก็จะเป็นผู้ชนะ
ผู้ชนะ จะต้องเล่นครบทั้ง ๔ ไม้โดยที่ไม่สามารถมีผู้ใดรับลูกไม้หึ่มของผู้เล่นได้ จะได้เดาะไม้หึ่มวิธีการเช่นเดียวกับการเดาะไม้หึ่มหาผู้เล่นคนแรก
เมื่อผู้ชนะเดาะไม้หึ่มได้จำนวนเท่าไร ให้ผู้ชนะยืนที่ปากหลุมตีลูกไม้หึ่มไปข้างหน้า ลูกไม้หึ่มตกที่ใดให้ผู้ชนะยืนอยู่ที่จุดของลูกไม้หึ่มตกแล้วตีลูกไม้หึ่มอีกให้ครบตามจำนวนที่ผู้ชนะเดาะลูกไม้หึ่มได้
สำหรับผู้เล่นคนอื่นให้เดินตามลูกไม้หึ่มที่ผู้ชนะเดาะได้จนครบตามจำนวน หลังจากนั้นให้ผู้เล่นผู้ที่เดาะไม้หาผู้เล่นคนแรกที่เดาะไม้เป็นที่สอง หรือหาตัวแทนของผู้เล่น เป็นผู้หึ่มจากจุดที่ลูกไม้หึ่มตกครั้งสุดท้ายไปที่หลุมวิธีการหึ่มคือการกลั้นหายใจแล้วส่งเสียงหึ่มออกมา หากผู้หึ่มเสียงขาดหรือหายไปแสดงว่าตายต้องให้ผู้เล่นคนอื่นเป็นผู้หึ่มต่อ จนกว่าจะได้ผู้หึ่มที่หึ่มชนะจนถึงปากหลุม ผู้ที่หึ่มชนะจะเป็นผู้ที่เล่นไม้หนึ่งต่อไป หากไม่มีผู้เล่นคนใดสามารถหึ่มถึงหลุมได้ ผู้ชนะจะเป็นผู้เล่นไม้หนึ่งอีกครั้ง

ลักษณะเฉพาะ
การเล่นไม้หึ่มเป็นกีฬาที่แสดงพละกำลังของผู้เล่นในการตีไม้ และการรับลูกไม้ ในการตีลูกไม้หึ่ม
ผู้เล่นส่วนมากต้องการเป็นผู้ชนะแสดงพละกำลังของตนเองในการตีลูกไม้หึ่มให้ออกไปไกล ๆ ซึ่งผู้รับไม่สามารถรับลูกไม้หึ่มได้

สถานะปัจจุบัน
เป็นกีฬาที่ไม่มีผู้เล่นแล้ว

การเล่นแอสะไพ (มาจากภาษาอังกฤษ คำว่า เซอร์ไพร์)  หมายถึงประหลาดใจ น่าจะนำวิธีเล่นมาจากต่างประเทศ ปัจจุบันไม่มีใครเล่นแล้ว
การเล่นซ่อนหา โดยให้คนหนึ่งเป็นคนหาอีกกลุ่มหนึ่งจะไปซ่อน เมื่อคนที่หาเจอก็จะพูดว่า ?แอ๊ดสะไพ? แล้วเรียกชื่อถ้าเรียกถูกต้องคนๆนั้น ก็จะไปเป็นคนหาแทน แต่ถ้าเรียกชื่อไม่ถูกต้องแล้วคนๆ นั้น หรือคนอื่น ที่ซ่อนวิ่งมาแตะตัวคนหาพร้อมกับพูดว่า ?ป๊อก? ได้ ถือว่าคนหาแพ้ต้องเริ่มต้นเล่นใหม่. มีวิธีการเล่นสนุกแบบเด็กๆอยู่หลายปี


สมัยเด็กๆ เรามักจะเล่น จ้ำจี้กัน มีเพลงที่ซ่อนภูมิปัญญาไทยไว้หลายเพลง อาทิ

จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น
พายเรือออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม
สาวสาวหนุ่มหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด เอากระจกที่ไหนส่อง
เยี่ยม ๆ มอง ๆ นกขุนทองร้องวู้?
?จ้ำจี้เม็ดขนุน ใครมีบุญได้กินสำรับ
ใครผลุบผลับ ได้กินกะลา (หรือกินรางหมาเน่า)?
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว มีบทร้องว่าลูกเขยต้องกตัญญูต่อแม่ยาย ในบทเล่นจ้ำจี้อีกบทว่า
?จ้ำจี้ดอกเข็ม มาเล็มดอกหมาก
เป็นครกเป็นสาก ให้แม่ยายตำข้าว
เป็นน้ำเต้า ให้แม่ยายเลียงชด
เป็นชะมด ให้แม่ยายฝนทา ฯลฯ
ค่านิยมที่แม่มีลูกชายก็พาไปบวช ถือเป็นกุศลแก่คนเป็นแม่ว่า
?จ้ำจี้จ้ำจวด พาลูกไปบวชถึงวัดถึงวา ฯลฯ
การยกย่องขุนนางว่าเป็นผู้ได้ผลประโยชน์กว่า ว่า
?ซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง
ขุนนางมาเอง มาเล่นซักส้าว
มือใครยาว สาวได้สาวเอา
มือใครสั้น เอาเถาวัลย์ต่อเข้า?
สนุกมาก เป็นการคัดเลือกคน เข้าสู่การเล่นได้อย่างยุติธรรมและทุกคนยอมรับได้อย่างที่สุด


ประโยชน์ของการเล่นไม่ใช้แค่ให้เติบโตแข็งแรง มันยังให้ความรับผิดชอบ การรักษาระเบียบวินัย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรากำลังไขว่คว้าหากันอยู่ การเล่นจะทำให้เกิดความเคารพกติการ รู้แพ้ รู้ชนะ ฝึกจิตใจให้เป็นคนดี และได้หัดภาษาไทยด้วย เสียดายมาก มันหายสาบสูญ ไปแล้วจริงๆ

หมากเก็บ

การละเล่นยอดฮิตสำหรับเด็กผู้หญิงนั่นเอง ปกติจะใช้ผู้เล่น 2-4 คน และใช้ก้อนกรวดกลม ๆ 5 ก้อนเป็นอุปกรณ์

กติกาก็คือ ต้องมีการเสี่ยงทายว่าใครจะได้เล่นก่อน โดยใช้วิธี "ขึ้นร้าน" คือแบมือถือหมากทั้ง 5 เม็ดไว้ แล้วโยนหมาก ก่อนจะหงายมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับหมากอีกที ใครมีหมากอยู่บนมือมากที่สุด คนนั้นจะได้เป็นผู้เล่นก่อน

จากนั้นจะแบ่งการเล่นเป็น 5 หมาก โดยหมากที่ 1 ทอดหมากให้อยู่ห่าง ๆ กัน แล้วเลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ก่อนจะไล่เก็บหมากที่เหลือ โดยการโยนเม็ดนำขึ้น พร้อมเก็บหมากครั้งละเม็ด และต้องรับลูกที่โยนขึ้นให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" หรือถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นก็ถือว่า "ตาย" เช่นกัน

ในหมากที่ 2 ก็ใช้วิธีการเดียวกัน แต่เก็บทีละ 2 เม็ด เช่นเดียวกับหมากที่ 3 ใช้เก็บทีละ 3 เม็ด ส่วนหมากที่ 4 จะไม่ทอดหมาก แต่จะใช้ "โปะ" คือถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น แล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขึ้นร้าน" ได้กี่เม็ดถือเป็นแต้มของผู้เล่นคนนั้น ถ้าไม่ได้ถือว่า "ตาย" แล้วให้คนอื่นเล่นต่อไป โดย "ตาย" หมากไหนก็เริ่มที่หมากนั้น ปกติการเล่นหมากเก็บจะกำหนดไว้ที่ 50-100 แต้ม ดังนั้นเมื่อแต้มใกล้ครบ เวลาขึ้นร้านต้องระวังไม่ให้แต้มเกิน ถ้าเกินต้องเริ่มต้นใหม่

อย่างไรก็ตาม ปกติแล้ว "หมากเก็บ" มีวิธีเล่นหลายอย่าง แต่ละอย่างก็จะมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น หมากพวง , หมากจุ๊บ ,อีกาเข้ารัง
รีรีข้าวสาร

เชื่อเลยว่า ชีวิตในวัยเด็กของคนส่วนใหญ่ผ่านการละเล่น "รีรีข้าวสาร" มาแล้ว และยังร้องบทร้องคุ้นหูที่ว่า "รีรี ข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว" ได้ด้วย

กติกา รีรีข้าวสาร ก็คือ ต้องมีผู้เล่น 2 คนหันหน้าเข้าหากัน และเอามือประสานกันไว้เป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ จะกี่คนก็ได้จะยืนเกาะเอวกันไว้ตามลำดับ หัวแถวจะพาขบวนลอดซุ้มพร้อมร้องเพลง "รีรีข้าวสาร" จนเมื่อถึงประโยคที่ว่า "คอยพานคนข้างหลังไว้" ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันไม่ให้คนสุดท้ายผ่านเข้าไป เรียกว่า "คัดคน" และเล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนคนหมด

ประโยชน์ของการเล่นรีรีข้าวสาร ก็คือ ช่วยให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส รู้จักมีไหวพริบ ใช้กลยุทธ์ให้ตัวเองเอาตัวรอดจากการถูกคล้องไว้ได้ รวมทั้งฝึกให้เด็กทำงานเป็นกลุ่มได้ด้วย
มอญซ่อนผ้า

การละเล่นแสนสนุกที่ทำให้ผู้เล่นได้ลุ้นไปด้วย โดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่ผ้าผืนเดียวเท่านั้น แล้วให้ผู้เล่นเสี่ยงทาย ใครแพ้คนนั้นต้องเป็น "มอญ" ส่วนคนอื่น ๆ มานั่งล้อมวง คนที่เป็น "มอญ" จะต้องถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินวนอยู่นอกวง จากนั้นคนนั่งในวงจะร้องเพลงว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ"

ระหว่างเพลงร้องอยู่ คนที่เป็น "มอญ" จะแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง แต่เมื่อทิ้งผ้าแล้ว จะแกล้งทำเป็นยังไม่ทิ้ง โดยเดินวนไปอีก 1 รอบ หากผู้ที่ถูกทิ้งผ้าไม่รู้ตัว "มอญ" จะหยิบผ้ามาตีหลังผู้เล่นคนนั้น แล้วต้องกลายเป็น "มอญ" แทน แต่หากผู้เล่นรู้ตัวว่ามีผ้าอยู่ข้างหลัง ก็จะหยิบผ้ามาวิ่งไล่ตี "มอญ" รอบวง "มอญ" ต้องรีบกลับมานั่งแทนที่ผู้เล่นคนนั้น แล้วผู้ที่วิ่งไล่ต้องเปลี่ยนเป็น "มอญ" แทน
เดินกะลา

ดูจะเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่หาดูได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเป็นสมัยก่อนจะเห็นเด็ก ๆ เดินกะลา กันทั่วไป โดยผู้เล่นจะต้องนำกะลามะพร้าว 2 อันมาทำความสะอาดแล้วเจาะรูตรงกลาง ร้อยเชือกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เชือกหลุดเวลาเดิน เวลาเดินให้ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบเชือกเอาไว้แล้วเดิน หากมีเด็ก ๆ หลายคนอาจจัดแข่ง เดินกะลา ได้ด้วยการกำหนดเส้นชัยไว้ใครเดินถึงก่อนก็เป็นผู้ชนะไป

ประโยชน์ของการ เดินกะลา ก็คือช่วยฝึกการทรงตัว ความสมดุลของร่างกาย เพราะต้องระวังไม่ให้ตกกะลา ช่วงแรก ๆ อาจจะรู้สึกเจ็บเท้า แต่ถ้าฝึกบ่อย ๆ จะชินและหายเจ็บไปเอง แถมยังทำให้ร่างกายแข็งแรง เพลิดเพลินอีกด้วย
กาฟักไข่

เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่เคยได้ยินชื่อ แต่หลายคนไม่ทราบกติกา โดยวิธีการเล่นก็คือ ใช้อะไรก็ได้ลักษณะกลม ๆ เท่าจำนวนคนเล่น ยกเว้นผู้ที่เป็นกา 1 คน มาสมมติว่าเป็น "ไข่" แล้วเขียนวงกลมลงบนพื้น 2 วง วงแรกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ฟุต และอีกวงหนึ่งอยู่ข้างในวงแรก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต วาง "ไข่" ทั้งหมดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คนใดคนหนึ่งเป็นกา ยืนในวงกลมวงใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมวงใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ป้องกันไข่ ไม่ให้ถูกแย่งไป

กติกาของ กาฟักไข่ ก็คือคนข้างนอกต้องแย่งไข่มาให้ได้ โดยใช้แขนหรือมือเอื้อมเข้าไป แต่ห้ามนำตัวเข้าไปในวงกลม และต้องระวังไม่ให้อีกาถูกมือหรือแขนได้ด้วย หากแย่งไข่ออกมาได้หมดแล้ว ให้ปิดตากา แล้วนำไข่ทั้งหมดไปซ่อน เพื่อให้กางูกินหาง

"แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน..." ประโยคคุ้น ๆ ให้การเล่น งูกินหาง ที่ยังติดตรึงในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน และเป็นที่นิยมของเด็กในทุกเทศกาล ทุกโอกาสอีกด้วย

วิธีการเล่นงูกินหาง เริ่มจากเสี่ยงทาย ใครแพ้ต้องไปเป็น "พ่องู" ส่วนผู้ชนะที่มีร่างกายแข็งแรง ตัวใหญ่จะเป็น "แม่งู" ไว้คอยปกป้องเพื่อน ๆ คนอื่นที่เป็น "ลูกงู" จากนั้น "ลูกงู" จะเกาะเอวแม่งูและต่อแถวกันไว้ ยืนเผชิญหน้ากับ "พ่องู" จากนั้นจะเข้าสู่บทร้อง โดยพ่องูจะถามว่า

พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

แม่งู : "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

แม่งู : "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" (พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา)

พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

แม่งู : "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

จากนั้นพ่องูจะพูดว่า "กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว" แล้ววิ่งไล่จับลูกงูที่กอดเอวอยู่ ส่วนแม่งูก็ต้องป้องกันไม่ให้พ่องูจับลูกงูไปได้ เมื่อลูกงูคนไหนถูกจับ จะออกจากแถวมายืนอยู่ด้านนอก เพื่อรอเล่นรอบต่อไป หากพ่องูแย่งลูกได้หมด จะถือว่าจบเกมแล้วเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูจะกลับไปเป็นแม่งูต่อในรอบต่อไป

ประโยชน์ของการเล่นงูกินหาง ก็คือ ทำให้ผู้เล่นเกิดความสามัคคี ทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักช่วยเหลือกัน และรู้จักการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด เมื่อภัยมาถึงตัว นอกจากนี้ยังฝึกร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจเบิกบานสนุกสนานไปด้วยตามหาไข่ หากพบไข่ที่ผู้เล่นคนใดนำไปซ่อน ผู้นั้นจะต้องเปลี่ยนมาเป็นกาแทน
ม้าก้านกล้วย

เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่แสดงถึงความมีภูมิปัญญาของคนไทยทีเดียว เพราะในสมัยก่อนแทบทุกบ้านจะปลูกต้นกล้วยไว้ทั้งนั้น ดังนั้น ต้นกล้วยจึงนำมาประยุกต์เป็นของเล่นให้เด็ก ๆ ได้อย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะ ม้าก้านกล้วย ดูเหมือนจะถูกอกถูกใจเด็กชายวัยซนมากที่สุด เพราะเด็ก ๆ จะนำก้านกล้วยมาขี่เป็นม้า เพื่อแข่งขันกัน หรือทำเป็นดาบรบกันก็ได้

วิธีทำม้าก้านกล้วย ก็ไม่ยาก เลือกตัดใบกล้วยออกมาแล้วเอามีดเลาะใบกล้วยออก แต่เหลือไว้ที่ปลายเล็กน้อยให้เป็นหางม้า เอามีดฝานแฉลบด้านข้างก้านกล้วยตรงโคนบาง ๆ เพื่อทำเป็นหูม้า แล้วหักก้านกล้วยตรงโคนหูม้าออก จากนั้นก็นำแขนงไม้ไผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบกว่า ๆ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้จนทะลุไปถึงก้าน เพื่อให้เป็นสายบังเหียนผูกปากกับคอม้านั่นเอง เสร็จแล้วก็นำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็ได้ม้าก้านกล้วยไปสนุกกับเพื่อน ๆ แล้ว
ทอยเส้น

หากย้อนไปสักปี พ.ศ.2510-2530 ทอยเส้นจะเป็นที่นิยมกับเด็ก ๆ อย่างมาก โดยอุปกรณ์การเล่นจะใช้ตัวตุ๊กตุ่นพลาสติกหรือยาง ขนาดความสูง 4-5 เซนติเมตร (ที่แถมมากับขนมอบกรอบซึ่งฮิตมากในยุคนั้น) มาใช้ทอย และต้องมีพื้นถนนที่มีเส้นรอยต่อระหว่างบล็อก ระยะห่างประมาณ 3-5 เมตร หรือใช้การขีดลากเส้น 2 เส้นแทนก็ได้

วิธีการเล่นทอยเส้น คือต้องเสี่ยงหาคนทอยก่อน โดยใช้วิธีเป่ายิงฉุบ โอน้อยออก ฯลฯ แล้วแต่จะเลือก หรือจะทอยเปล่า เพื่อดูว่าใครใกล้-ไกลเส้นมากกว่า คนที่ไกลเส้นที่สุดจะต้องเริ่มทอยก่อน เพราะจะเสียเปรียบที่สุด ส่วนคนที่ทอยทีหลังจะได้เปรียบ เพราะเลือกหาทางหนีทีไล่ได้ดีกว่า

เมื่อกำหนดลำดับผู้เล่นแล้ว ให้ผู้เล่นยืนจรดเท้าอยู่เส้นแรก ห้ามล้ำเส้นออกไป แล้วใช้แขนเหวี่ยงตุ๊กตุ่นในมือออกไป ให้ตก หรือทับเส้นที่สอง เมื่อทอยครบทุกคน ให้เปรียบเทียบ ตุ๊กตุ่นของใครใกล้เส้นที่สุดเป็นผู้ชนะ จากนั้น ผู้ชนะจะยืนที่ตำแหน่งตุ๊กตุ่นของตัวเอง แล้วใช้ตุ๊กตุ่นของตัวเองเอื้อม หรือปาไปให้โดนตัวอื่นที่อยู่ห่างเส้นในลำดับถัดไป เพื่อจะได้กิน (ครอบครอง) ตุ๊กตุ่นตัวนั้นไว้ หากกินได้ ผู้เล่นคนอื่นจะถูกลงโทษตามตกลง เช่น ดีดมะกอก ฯลฯ เมื่อจบรอบแรก ก็หันหลังกลับ ยืนจรดเส้นที่สอง แล้วทอยกลับไปให้ใกล้เส้นแรกมากที่สุด ด้วยกติกาเช่นเดิม โดยดูแล้วมีลักษณะคล้ายการเล่นทอยเหรียญ หรือ Pitch and Toss ของต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม การเล่นทอยเส้น ไม่ค่อยได้รับความนิยมในช่วงหลัง ๆ เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็เปลี่ยนการใช้ตุ๊กตุ่นไปเป็นเงิน จนดูคล้ายเป็นการพนันไป
ว่าวไทย

เชื่อว่าหลายคน คงเคยมีประสบการณ์การเล่นว่าวในช่วงปิดเทอมที่ท้องสนามหลวงมาแล้ว แม้ว่าตอนนี้ภาพนั้นจะค่อย ๆ จางหายไปแล้วก็ตาม โดย "การเล่นว่าวไทย" นั้น เริ่มมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเรื่อยมา ตามที่ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านและวัฒนธรรมของไทยได้อย่างดี เพราะแต่ละท้องถิ่นจะคิดประดิษฐ์ว่าวแตกต่างกันไป "ว่าวไทย" จึงกลายเป็นมรดกตกทอดของแต่ละชุมชนและมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่น

โดย "ว่าว" มีหลายประเภท เช่น "ว่าวจุฬา" มีลักษณะเป็น 5 แฉก นิยมเล่นในภาคกลาง , "ว่าววงเดือน" หรือ "ว่าวบุหลัน" มักตกแต่งเป็นลวดลายเรือกอและ นิยมเล่นในภาคใต้ตอนล่าง นอกจากนี้ยังมี "ว่าวปักเป้า", "ว่าวงู" ฯลฯ

การเล่นว่าวนั้น เล่นได้ทั้งหน้าหนาวและหน้าร้อน โดยอาศัยกระแสลมเป็นตัวฉุดให้ว่าวลอยขึ้น โดยหากเป็นลมหน้าหนาว จะเป็นลมที่พัดจากผืนแผ่นดินลงสู่ทะเล ทำให้คนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมเล่นว่าวกันในช่วงนี้ ส่วนหน้าร้อน มีลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลพัดสู่ผืนแผ่นดินใหญ่ เรียกว่า "ลมตะเภา" ทำให้ชาวภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคใต้ นิยมเล่นว่าวในฤดูนี้

ส่วนวิธีการเล่นว่าวนั้น ส่วนใหญ่จะชักว่าวให้ลอยสูงติดลมบน เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่าง ๆ หรือฟังเสียงของว่าว นอกจากนี้ยังสามารถชักว่าวต่อสู้กันบนอากาศก็ได้

ยังมีอีกหลายการละเล่นที่เด็กไทยสมัยก่อนนิยมนำมาเล่นกัน เช่น ขี่ม้าส่งเมือง, ตี่จับ, โมราเรียกชื่อ, ลิงชิงหลัก, ตั้งเต, โพงพาง, ชักเย่อ ,กระต่ายขาเดียว, กระโดดยาง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นภูมิปัญญาของคนไทย ที่สร้างสรรค์มรดกตกทอดทางวัฒนธรรมให้กับลูก ๆ หลาน ๆ ได้อย่างดีทีเดียว

เราได้เพียงแต่โหยหาภูมิปัญญาไทยเหล่านี้ กลางหาดทราย หน้าเมืองคลองขลุง ทุกครั้งที่ไปคลองขลุงจะไปยืน ดูภาพในอดีต ซึ่งไม่มีวันหวนกลับมาแล้ว ปัจจุบันเด็ก ต่างคนต่างเล่นโทรศัพท์มือถือกันไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเลย น่าเป็นห่วงมาก

ตอนที่ ๓ ครอบครัวใหญ่ ที่อำเภอคลองขลุง

    ครอบครัวใหญ่ ที่อำเภอคลองขลุง
      ยายวัน   โกวิน แม่ของแม่ มีเชื้อสายชาวมอญ พม่า มาอยู่คลองขลุง หลายชั่วคน เสียงดัง เป็นนักเลง ใจถึง เลี้ยงผู้คน แบบไม่เสียดาย ใครที่ไม่มีพ่อแม่ ยายเก็บมาเลี้ยงหมด ที่เราเห็น คือน้าใหญ่ น้าล้วน และผู้หญิงอีกหลายคน ปลูกบ้านอยู่ติด แม่น้ำปิง ตรงกับปากคลองขลุง ยายมีค่าใช้จ่ายมาก ค้าขาย ของทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา ยายแต่งงานกับ เถ้าแก่หงี  ชาวจีนโพ้นทะเล มาเปิดร้านขายทอง ที่ห้องแถวตลาดคลองขลุง รูปร่างสุงใหญ่มาก ราว ๒๐๐ เซ็นต์ ชาวบ้านเรียกกันว่า เจ๊กสูง มีฐานะค่อนข้างดี แต่เราเกิดไม่ทัน เห็นแต่รูป ของก๋งเท่านั้น
     ยายวัน มีลูกหลายคน คนโต ชื่อ
 ป้าองุ่น รามสูต เป็นภรรยา ตำรวจใหญ่กำแพงเพชร มีลูกหลานจำนวนมาก
คนที่สอง คือแม่เสงี่ยม อภัยราช แม่ของเราเอง
คนที่สาม ชื่อน้าเป้า มณีปกรณ์  แม่ของ เรณู จันทรปิฏกและ น้องอีกหลายคน
คนที่ สี่ คือน้าโพธิ์  วัชรศิษย์  ป่าไม้ ประจำ กอ.รมน.ภรรยาคือ น้าสมหมาย  มีลูกหลายคน น้องเจี๊ยบ น้องจ๋า น้องจิ๊บ และน้องหนุ่ย ตอนไปอยู่กรุงเทพ เราเคยไปอยู่กับ น้าโพ ด้วย
คนที่ห้า น้ายุง วัชรศิษย์ ไปทำงาน ป่าไม้ ที่สิงห์บุรี  ลูกยายทั้งหมด เสียชีวิตหมดแล้ว
อีกคนหนึ่ง ยายเลี้ยงเหมือนลูก คือน้านม อยู่กินกับเจ๊กเฮ้า มีลูกอีกหลายคน
ลูกของก๋ง อีกคนหนึ่ง เป็นลูกของที่สาวยาย ชื่อ ป้าหลั่นซิ้ว  แต่งงานกับลุงอั๋น ทิมาสาร มีลูกหลานจำนวนมาก
ครอบครัวเราจึงเป็นครอบครัวทีใหญ่มากในคลองขลุง แต่แม่สอนเสมอว่า ให้เคารพญาติผู้ใหญ่ ถ้าแม่ไม่พาไป อย่าไปกวนท่าน แต่ก็ได้เล่นกับเด็กๆ พี่น้องกันทุกวันอย่างอบอุ่น
ครอบครัวของพ่อ พ่อเป็นลูกชายคนเดียว ย่าลำไย อภัยราช ย่าเป็นนางเอกละคร ของพระยาสุจริตรักษา เจ้าเมืองตาก มีปัญหา เหมือนเรื่องจักรๆวงศ์ๆทั่วไป จึงอพยพมาอยู่คลองขลุง มีสามี ชื่อปู่เมือง ย่าเป็นคนมีสตางค์ เราไปหาทีไร ให้เงินมาครั้งละ บาท สองบาทเสมอ ย่าชอบให้อ่านบทละครให้ฟัง ย่ารำสวยมาก ท่านเสียชีวิต เมื่ออายุราว ๑๐๔ ปี

ครอบครัวที่เราคุ้นเคย
              ลุงแม้น ทิมาสาร  เป็นกำนัน ค้าไม้ อยู่อำเภอคลองขลุงเป็นพี่ชายลุงอั๋น มีอิทธิพล ค่อนข้างมากในอำเภอคลองขลุง มีลูกหลาน จำนวนมาก
   ยายบ่ง  ทรงสวัสดิ์  เป็นลูกสาวของหม่อง เซ็งเพ่ ชาวพม่า ที่มาค้าไม้ที่คลองขลุง มีอิทธิพล พอๆกับ พะโป้ ที่คลองสวนหมาก แม่คือแม่บุญทัน  มีลูกหลานจำนวนมากเต็มคลองขลุง
   ร้านคนจีนในตลาดคลองขลุง เถ้าแก่เม้ง ขายของทุกชนิด ชอบเรามาก เพราะจะไปช่วยขายของเสมอ
ชีวิตเปลี่ยนไป
   เราอยู่ที่คลองขลุง จนอายุ ๑๐ ขวบ จบชั้นประถมปีที่๔  จากโรงเรียน พิบูลวิทยาคาร เรียนประถมปีที่ ๑ ครูเห็นว่าอ่านหนังสือแตกฉานมาก จึงเลื่อนใช้ให้ไปอยู่ ประถมปีที่ ๓ เลย ไม่ต้องเรียนประถมปีที่ ๒ มีเพื่อน จำนวนมาก
 แม่ให้ไปเรียนต่อมัธยมศึกษาที่โรงเรียน สหราษฎร์ศึกษา โรงเรียนเอกชนที่มีแห่งเดียวในอำเภอคลองขลุง เปิดเรียนตั้งแต่ ชั้นเตรียมประถมจนถึงมัธยมศึกษา ปีที่ ๓ มีครูใหญ่ชื่อ ครูสมนึก เน้นภาษาต่างประเทศ อังกฤษมาก เรียนอยู่เทอมเดียว พ่อมารับให้ไปอยู่ที่กำแพงเพชร ไปเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่ โรงเรียนกำแพงเพชร วัชรราษฎร์วิทยาลัย ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านพ่อ ในปี พุทธศักราช ๒๕๐๐
ชีวิต จึงมาเริ่มต้น ที่กำแพงเพชร อีกครั้ง หลังจากไป ตั้งแต่ อายุ ๔ขวบ  เริ่มต้นใหม่ จากคลองขลุงมาด้วยความอาวรณ์ แม่ย้ายมาอยู่ด้วยกัน ที่กำแพงบ้านอยู่ที่ ถนนเทศา ใกล้กับประปา กำแพงเพชร อยู่ครบหน้าครบตา พ่อแม่ลูก ย่า พี่น้องเสียที ตอนนี้ พ่อยังเป็นปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชรอยู่

ตอนที่ ๔ ชีวิตใหม่ในเมืองกำแพงเพชร
          โรงเรียนใหม่ของเรา โรงเรียน กำแพงเพชร  วัชรราษฎร์วิทยาลัย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก
โรงเรียนกำแพงเพชร "วัชรราษฎร์วิทยาลัย" เดิมชื่อโรงเรียน ประจำจังหวัดกำแพงเพชร แผนกชาย ก่อตั้งแต่ปีพ.ศ ๒๔๕๔ซึ่งนับถึงปัจจุบัน หนึ่งร้อยปีพอดี เดิมโรงเรียน ตั้งอยู่ที่ บริเวณวัดคูยาง โดยใช้ศาลาใหญ่ เป็นที่เรียน (ปัจจุบันรื้อแล้ว)ตำบลในเมืองอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดย
นายเป้ เมฆพิน เป็นครูใหญ่คนแรก ในปีพ.ศ. ๒๔๕๔- ๒๔๖๒

เมื่อแรกเริ่มเปิดสอน ชั้นมูล (ก่อนเรียน) และ ชั้น ป.๑-ป.๓ ชั้น ม.๑ -ม.๓/ ต่อมาย้ายจากศาลาวัดคูยาง ไปอยูบริเวณสามแยกต้นโพเหนือ (กำแพงเพชรในขณะนั้น มีต้นโพเหนือ คือต้นโพ ในปัจจุบัน และต้นโพใต้ คือโพหน้าวัดบาง ปัจจุบันโค่นทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว) เปิดสอน เฉพาะ ชั้น ป.๑- ป.๓ และม.๑-ม.๓ เท่านั้น
อีก ๖ ปีต่อมา คือพ.ศ. ๒๔๖๐ ได้สร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ เป็นอาคารไม้ ใต้ถุนสูง ประมาณ ๖ ห้องเรียน มีห้องพักครูอยุ่ ตรงหน้ามุข ใต้ถุนอาคารมีห้องเรียน อีกสองห้อง กั้นไว้ให้พอเรียนได้ เปิดสอนชั้น ม.๑ถึงม.๖ ตัดชั้นประถมออก เปลี่ยนชื่อมา โรงเรียนกำแพงเพชร "วัชรราษฎร์วิทยาลัย"ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๖๐

ปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ - ๒๔๘๐ เปิดสอนหลักสูตรครู ว. (ครูประกาศนียบัตรจังหวัด) เพิ่มอีกหนึ่งหลักสูตร เปิดได้เพียงรุ่นเดียวก็ได้ปิดไป เปิดเฉพาะชั้นม๑ถึง ม.๖ เท่านั้น รับกุลบุตร จากจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียงมาเรียน

(ผู้เขียนมีโอกาสเรียนอาคารนี้ อยู่ ๓ ปี ตั้งแต่ ม๑ ถึง ม๓ ส่วนม.ศ ๑ ม.ศ ๒ ทีอาคารนารีวิทยาฝั่งตรงข้าม และมาเรียนที่โรงเรียนกำแพงเพชรปัจจุบัน ในปีมศ.๓ รวมเรียนที่ กำแพงเพชรวัชรราษฎร์วิทยาลัยอยู่ ๖ ปี) อาคารเรียนหลังนี้ ในปัจจุบันยังอยู่ในสภาพดี ตรงกันข้ามกับการประปากำแพงเพชร แต่ได้รับการต่อเติมจนเสียรูปทรงของอาคารเดิมจนายเป้ เมฆพิน เป็นครูใหญ่คนแรก ในปีพ.ศ. ๒๔๕๔- ๒๔๖๒

เมื่อแรกเริ่มเปิดสอน ชั้นมูล (ก่อนเรียน) และ ชั้น ป.๑-ป.๓ ชั้น ม.๑ -ม.๓/ ต่อมาย้ายจากศาลาวัดคูยาง ไปอยูบริเวณสามแยกต้นโพเหนือ (กำแพงเพชรในขณะนั้น มีต้นโพเหนือ คือต้นโพ ในปัจจุบัน และต้นโพใต้ คือโพหน้าวัดบาง ปัจจุบันโค่นทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว) เปิดสอน เฉพาะ ชั้น ป.๑- ป.๓ และม.๑-ม.๓ เท่านั้น
อีก ๖ ปีต่อมา คือพ.ศ. ๒๔๖๐ ได้สร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ เป็นอาคารไม้ ใต้ถุนสูง ประมาณ ๖ ห้องเรียน มีห้องพักครูอยุ่ ตรงหน้ามุข ใต้ถุนอาคารมีห้องเรียน อีกสองห้อง กั้นไว้ให้พอเรียนได้ เปิดสอนชั้น ม.๑ถึงม.๖ ตัดชั้นประถมออก เปลี่ยนชื่อมา โรงเรียนกำแพงเพชร "วัชรราษฎร์วิทยาลัย"ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๖๐

ครูจ่าย อัครจาคะ เป็นครูใหญ่สืบต่อมา ปีพ.ศ. ๒๔๖๓ - ๒๔๖๙ หลังจากนั้น
รองอำมาตย์ตรี อยู่ ดวงรัตน์ เป็นครูใหญ่ต่อมา แต่อยู่เพียงหนึ่งปี คือพ.ศ. ๒๔๗๐ จากนั้น
ท่านขุนสัตยธรรมศึกษาการ มาเป็นครูใหญ่ อยู่ถึง๑๐ ปี คือพ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๘๑ นับว่านานมากอีกท่านหนึ่ง
ครู พร้อม จิตย์ศิริมาเป็นครุใหญ่ ๒ปีต่อมา ถึงปีพ.ศ. ๒๔๘๓
ครูถิ่น รัติกนก มาอยู่ ๑ปี ครูจรัล ธรรมพันธ์ มาเป็นครุใหญ่ พ.ศ. ๒๔๘๕ - พ.ศ. ๒๔๘๘
ครูส่ง ไชยสิทธิ์ มาเป็นผู้บริหาร ถึงปี ๒๔๙๐
นายมานะ เอี่ยมสกุล ทำหน้าที่ ในปี๒๔๙๑ ถึง๒๔๙๓
นายแถม บุญบุตร มาอยู่เพียง ๑ปี ต่อจากนั้น
เป็นครูดุสิต ศิริพงษ์ ตั้งแต่ ๒๔๙๕ ถึง ๒๕๐๗

ผู้เขียนได้เข้าเรียน ในปี ๒๕๐๑ จบการศึกษา ในปี ๒๕๐๖ มีโอกาสได้เรียนทุกอาคาร ตั้งแต่อาคาร หน้าประปากำแพงเพชร อาตารข้างประปา จนถึงอาคารไม้ หลังแรก ในเมืองเก่าที่ตั้งโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมในปัจจุบัน ประทับใจ ในครูอาจารย์ทุกท่าน มีนายดุสิต ศิริพงษ์ เป็นครูใหญ่ ครูอาจารย์ที่จำได้ มี ครูชวลิต เครือม้วน สอนคณิตศาสตร์ (รักษาการครูใหญ่ต่อมา) ครูวสันต์ มุสิกะปาน สอนคณิตศาสตร์ ครูวราห์ มุสิกะปาน สอนเรขาคณิต ครูลำยง บ่อน้อย สอนภาษาอังกฤษ ครูทัศนีย์ บ่อน้อย สอนภาษาไทย ครูศศิธร ทองอยู่ สอนสังคมศึกษา ครูสุพรรณ โชติรัตน์ สอนวิทยาศาสตร์ ครูชะอ้อน อินทรสูต และครู มาโนช พูลเกษร สอนดนตรี ครูบิน รักษ์ชน และครูธงชัย สอนศิลปะ ครูเสนอ เงินทอง สอนหลายวิชา

โรงเรียนอยู่ติดกับวัดชีนางเกา เมื่อตอนพักกลางวัน จะออกไปกินข้าวกันที่วัดชีนางเกาซึ่งเป็นวัดร้าง มีต้นลำดวนใหญ่ พากันไปปีนป่ายตามประสาเด็ก หลังอาคารเรียนทำสวนครัวกัน เมื่อถึงเวลาเหมาะสมนำผักที่ปลูกไปขายได้จริงๆ ในปี๒๕๐๗ ผู้เขียนไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก

โรงเรียนมีครูใหญ่มาอีกสองท่าน ครูบุญปลูก งามขำ ช่วงปีพ.ศ. ๒๕๐๗ ถึง ๒๕๑๐ และครูถวิล บุรีรักษ์ เป็นครูใหญ่ช่วง ถึง ๒๕๑๔ อันเป็นการสิ้นประวัติศาสตร์ ของโรงเรียนกำแพงเพชร วัชรราษฎร์วิทยาลัย ที่ศิษย์เก่าและคนกำแพงเพชรภูมิใจหนักหนา ด้วยนโยบาย ของกระทรวงศึกษา อันจะได้กล่าวต่อไปในการควบรวมกับ กำแพงเพชรวัชรราษฎรวิทยาลัย กับสตรี กำแพงเพชร สตรีกำแพงเพชร นารีวิทยา เป็น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ในปัจจุบัน

หกสิบปี ของโรงเรียนกำแพงเพชร วัชรราษฎร์วิทยาลัย คือความทรงจำ ของชาวกำแพงเพชรทั้งหมด ชาวกำแพงเพชรที่อายุ กว่า ห้าสิบปี ได้พากันระลึกถึงบุญคุณของโรงเรียน กำแพงเพชร วัชรราษฎร์วิทยาลัย กันทุกคน และเฝ้ามองดูการเจริญเติบโต ของกำแพงเพชรพิทยาคม มาตลอด สี่สิบปี ทุกวันนี้ กำแพงเพชรพิทยาคม ยังรักษา การเป็นโรงเรียนระดับหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร อย่างมั่นคง และน่าภูมิใจ อย่างที่สุด

ในเวลาเดียวกันโรงเรียนกำแพงเพชร นารีวิทยา แผนกสตรี ได้เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เดิมเรียกว่าโรงเรียนสตรีพลับพลา โดยใช้พลับพลาที่ประทับประทับแรมของรัชกาลที่ ๕ ในคราเสด็จประพาสต้น กำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็นที่ตั้งของโรงเรียน ต่อมาเรียกว่า โรงเรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร แผนกสตรี พลับพลานี้ตั้งในบริเวณ วัดชีนางเกา ( นางเกา เป็น ภริยา ของพระยารามรณรงคสงคราม( พระยากำแพงนุช ) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสามีถึงแก่กรรม ได้สร้างวัดและบวชชีที่วัดนี้ จึงเรียกขานกันว่าวัดชีนางเกา )ต่อมาอีก ๖ปี ได้รับ งบประมาณจากรัฐส่วนหนึ่ง และเงินบริจาคจำนวนหนึ่งดังจากใบบอกกำแพงเพชรว่าเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๗๕ มณฑลพิษณุโลกมัใบบอกเข้ามาเรื่องการสร้างโรงเรียน ได้เพิ่มเติมเรื่องราวเพื่อความชัดเจนและเข้าใจง่าย มากขึ้นกว่าข้อความเดิม

โรงรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร แผนกสตรี ซึ่งอาศัยพลับพลารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบริเวณรัชกาลที่๕เมื่อคราวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อระหว่างวันที่ ๑๘ สิงหาคม ถึงวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ ปัจจุบัน เป็นบ้านพัก รองผู้ว่าราชการจังหวัด และบ้านพักหัวหน้าสำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร เป็นที่เล่าเรียน ซึ่งไดใช้เรียนมาหลาย สถานท่ชำรุดทรุดโทรมมาก ทั้งไม่กว้างขวางเพียงพอต่อความต้องการของโรงเรียน
ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยได้ช่วยกันบอกบุญเรี่ยไร ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี และราษฎร ได้เงิน ๒๕๓๑. ๖๐ บาท คณะครู และสุภาพสตรีในท้องที่กำแพงเพชรแสดงละคร เก็บเงินช่วยได้ ๑๙๗.๗๐ บาท มณฑลพิษณุโลก จ่ายเงินรายได้อีก ๓๖๒.๙๑ บาท รวมเป็นเงิน ๒๒๙๒.๒๑บาท และมีผู้บริจาคไม้ ในการปลูกสร้างด้วยราคา ๔๑๘ บาท จัดการปลูกสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่หลังหนึ่ง เป็นอาคารรูปปั้นหยา ชั้นเดียว แล้วเสร็จสิ้นเงิน ๒๙๗๔.๕๑ บาท คงเหลือเงินอีก ๑๗.๐๘ บาท เก็บไว้บำรุงโรงเรียนต่อไป (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ)ต่อมาเมื่อสร้างโรงเรียนสตรีกำแพงเพชร นารีวิทยาเป็นอาคารไม้สองชั้น เปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๙ ในเมืองบริเวณศาลพระอิศวร ได้ย้ายนักเรียนสตรี มาเรียนที่โรงเรียนใหม่แห่งนี้ และโรงเรียนเดิมในบริเวณวัดชีนางเกา ได้ให้โรงเรียนกำแพงเพชร วัชรราษฎรวิทยาลัย ไปเรียนแทน
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม

จากนั้นเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๑๔ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๑๔
วันที่๑ กันยายน ๒๕๑๔ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๑๔ ให้รวม โรงเรียนกำแพงเพชร วัชรราษฎร์วิทยาลัย กับโรงเรียน สตรีกำแพงเพชร นารีวิทยา โดยนายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และมีดร.ก่อ สวัสดิพาณิช เป็นอธิบดี กรมสามัญศึกษา นายประจวบ คำบุญรัตน์ เป็นผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษา ว่าที่ร้อยตรี มานิต ป้อมสุข รักษาการในตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมคนแรก

ตลาดกำแพงเพชร เมื่อปี ๒๕๐๐ ต้องขี่จักรยาน ไปตลาดทุกวัน ผ่านร้านรวงสมัยนั้น บันทึกความทรงจำไว้ดังนี้ ริมถนนฝั่งแม่น้ำปิง   เริ่มจากร้านยายยูง ขายก๋วยเตี๋ยว  บ้านครูคะนึง ไทยประสิทธิ์  (ลูกแม่นางจำนง  ชูพินิจ
ร้าน เจ็กหงัง ขายของจิปาถะ ของกินของใช้ ถัดมาเป็นท่าเรือวัดบาง  มีเขื่อนปูนติดถนน เสาบ้านอยู่น้ำ ถัดไปเป็นร้านคุณนาย บุญเลื่อน ขายเครื่องเขียน  บ้านครูศรีสวัสดิ์  ม่วงผล  ร้านเจ๊กฮ้อ ขายมะหมี่ มีซอยท่าน้ำใหม่
ถัดไปเป็นห้องแถวยาว บ้านแม่ม่วยห้องแถวสองชั้นขนาดใหญ่ขายผ้า (สกุลศุภอรรถพานิช) ร้านขายยา เจ๊กลี้ (ลูกสาวชื่อพริกขี้หนู) ต่อไปเป็นบ้านเจ๊กลี้เผ่า กับยายเชย สกุลสุวรรณวัฒนา ต่อมาเป็นบ้านยายลำดวน ทำหน้าที่รับจำนำของ เป็นปีบ บ้านยายแก่ ขายกล้วยไข่สุกหน้าบ้านยายเหงี่ยม เมียตาน้อย ขายเมี่ยง  อมละ  ๑๐สตางค์ขาย กล้วยมัน  ( ประมาณปี ๒๔๙๐ ) ถัดไป บ้านแม่ม่วย เจ๊กปอ ขายทอง บ้านป้าจั่นดี (ลูกแม่นาคกับเจ๊กพง) ต่อมาเป็นโรงแรม (เดิมเป็นบ้านยายตุ่น ตาไล้ มีลูกชื่อตาล้วน) ขายห้องแถว เป็นโรงแรม ของอาโต้ เจ๊กพง
   บ้านยายแลง บ้านยายมะลิ เมียเจ็กจือ ทำบัญชี โรงสี พรานกระต่าย  เจ้พ้ง เมียเจ๊กเต็ง   บ้านพี่ยีวิรัตน์  บ้านยายเหลิม ขายขนมหวาน   บ้านชังฮ้อ ขายทอง ถัดไปเป็นท่าน้ำ ถัดไปเป็นห้องแถวเจ๊กเฮง ขายของทุกอย่างถัดไปเป็นร้านตัดผม ผู้ชาย ร้านเจ๊กหยี่ ตัดเสื้อผ้า  ถัดไปเป็นบ้านตารอด ยายก้าน ขายใบเมี่ยง ของโชห่วย หัดให้แม่ถุงเงิน ขี่จักรยาน  ต่อไปบ้านยายช่วย ๒ ชั้น เมียมหา ขายยาสมุนไพรโบราณ บ้านยายนกแก้ว ขายตุ๊กตา ศาลพระภูมิ  และเครื่องศาลพระภูมิ บ้านเจ๊กเล้ง ๒ ชั้น ขาย ของจิปาถะ บ้ายยายพลอด ตาอุ่น สกุลเขียวแก้ว ศึกษาอำเภอพรานกระต่าย จบที่บ้านนายระไว ซ่อมจักรยาน และถึงท่าน้ำวัดเสด็จ หมดเขตไฟไหม้
        ทางฝั่งเสด็จ เริ่มจากบ้านยายแม่รอด (แม่สส.เรืองวิทย์) ห้องแถวไม้ชั้นเดียว เป็นบ้านยายหยุดเจ๊กกัง ขายของชำ ถัดไปเป็นบ้าน ยายเงินขายผัก ขายเมี่ยง  บ้านเจ็กท้ง ขายมะหมี่ เป็นซอยโรงแรมราชดำเนิน ถัดไปเป็นบ้านนายท้ายเสม ยายดำสกุลกล้าตลุมบอน ถัดไปถึงบ้านปู่ชื่น ( บ้านแม่ถุงเงิน) ถัดไปเป็นบ้านนายวงค์ บ้านแถวสองชั้น  บ้านเจ๊กเอง บ้านเจ๊กกวาง บ้านยายเพิ่ม ตาปานทำงานบัญชีเทศบาล   (  ครูสุพรรณลูกเขย  ลูกสาว ครูเพ๊ญพักตร์) ซอยยายหาด บ้านแม่ยี่นายเทียม พวกสกุลกุลสุ   (นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกำแพงเพชร) ถัดไปเป็ นตาเชิญ ยายเซีย สกุลชาญเชี่ยว ค้าไม้   ถัดไปเป็นบ้านตาอ๋อ ยายอยู่  ลูกหลวงภักดี  บ้านแถวไม้  บ้านเสี่ยโต (คุณสุรชัย ธัชยพงษ์ ) ร้านแป๊ะพง  ยายโต้   (โรงแรมชากังราวในปัจจุบัน)  ร้านเจ็กบุ่น ขายข้าวหมูแดง หมูกรอบ  ร้านโกวั้น บ้านเจ็กสึ่ง   ตัดเสื้อผ้า  โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง  โรงยาฝิ่น ถัดไปเป็นโรงหล้ากำแพงเพชร
ปัจจุบัน ไม่เห็นภาพเหล่านี้อีกแล้ว เพราะไฟไหม้กำแพง้เพชรครั้งใหญ่ ในปี ๒๕๐๕ เสียดาบ ภาพเดิมๆจริงๆ

ตอน  เปิดตำนาน โสเภณี เมืองกำแพง

(http://upic.me/i/16/w-1_1_1.jpg) (http://upic.me/show/45381160)


เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๙๐ (เกือบเจ็ดสิบปีที่ผ่านมา)  แหล่งโสเภณี เมืองกำแพงเพชร  อยู่ที่ เกาะทวี ชาวกำแพงเพชร เรียกกันว่า เกาะอียุ่ง  มีเครือข่ายขายตัว อยู่หลายแห่ง เปิดเผยและเป็นที่รู้กันของชายนักเที่ยว เมืองกำแพง  ค่าตัว ตั้งแต่ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาทแล้วแต่ ว่าจะเป็นขวัญใจ นักเที่ยวหรือไม่
พ่อมีที่ดิน อยู่บนเกาะทวี หลายไร่ ที่สำคัญ ปลูกบ้าน ให้ ชาวบ้านเช่าอยู่ หลายสิบหลัง ในหลายสิบหลัง มีมีหญิงนครโสเภณี เช่าอยู่หลายหลัง พ่อเป็นคนค่อนข้างมีอิทธิพลในกำแพงเพชร เรื่องค่าเช่าบ้านจึงไม่มีปัญหาในการเก็บ แม้ดอกเบี้ยมากมายที่ต้องไปตามเก็บ สมัยนั้นผู้เขียน อายุราว ๑๑ ? ๑๒ ขวบ ได้มีโอกาส สัมผัสกับชีวิต รันทด ของผู้หญิงเหล่านี้ ค่อนข้างมาก ได้มีโอกาสพูดคุย และสนิทสนมกับชีวิตของเธอเหล่านี้ ไม่น่าเชื่อว่าหญิงคนชั่ว ที่เขาเรียกกัน มิได้ชั่วจริงๆ อย่างการถูกตราหน้า ต่างคนต่างมีอาชีพที่สุจริต มิได้หลอกลวงใคร มีจิตใจที่งดงาม ดีกว่า คนที่เรียกตัวเองว่า คนดี ผู้ดีอย่างมากมาย
ความอยากรู้อยากเห็น ทำให้ได้มีโอกาส พูดคุย สัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ โดยละเอียด แต่ละคนต่างมีชีวิต ที่น่าคิด น่าติดตามมาก เธอเหล่านี้ อยู่ไม่นาน พอมีผู้ชาย ที่ถูกใจ เธอก็ไปอยุ่ด้วย ใช้ชีวิตอย่างสามัญ ธรรมดา ประสา ผัวเมีย
ตอนเย็นๆ ของทุกวัน เธอจะแต่งตัวงดงาม ออกมานั่งใต้ต้นมะม่วงอกร่อง ขนาดใหญ่ บนเกาะทวี
พูดคุย หยอกล้อกัน ไปมา เมื่อมีชายหนุ่มนักเที่ยว ลงมา ก็ เลือกเธอไป เรียกว่าขึ้นห้อง ต้องเข้าใจว่าไม่มี เจ้าของซ่อง มีอียุ่ง เสมือนสัญลักษณ์ ของผุ้หญิงหากินเหล่านี้ เมื่อเสร็จภารกิจ ก็ลงมารอใหม่ ใต้ต้นมะม่วงตามเดิม บางคนไม่มีแขกเลย ตลอดทั้งคืน บางคน เป็นขวัญใจเกาะทวี (เกาะอียุ่ง) คืนหนึ่งขึ้นห้องเกือบ สิบครั้ง  บางคน มาใหม่เขินอาย นั่งอยู่ระเบียงบ้าน ชายหนุ่ม มาเที่ยวก็ไปหาถึงบ้าน มีขวดน้ำ สำหรับทำความสะอาด ไม่มีห้องน้ำ ในตัวห้อง
   ตอนกลางวัน พวกเธอก็ นอนบ้าง เล่นไพ่บ้าง แต่งตัวบ้าง ส่วนใหญ่ทุกคนจะมีผัวเป็นตัวตน ที่เราเรียกกันว่าแมงดา หากินมาเท่าไร ก็มาให้แมงดา ทั้งหมด นับว่าเป็นเวรกรรมของพวกเธอ
   โรคผู้หญิงสมัยนั้น เรียกว่าโรค ออกดอก  ออกดอก? เป็นคำที่ผู้ป่วยมักใช้กันเพื่อบรรยายถึงผื่นตามผิวหนัง ทั้งเกิดจากโรคซิฟิลิส โรคซิฟิลิสในระยะออกดอกนี้ได้แก่ โรคในระยะที่สอง (Secondary stage) ซึ่งมักจะเกิดหลังจากมีแผลริมแข็งประมาณ 2-4 เดือน โดยปกติแล้วเมื่อเกิดอาการออกดอก แผลริมแข็ง (ส่วนมากจะเป็นที่อวัยวะเพศ) จะหายไปแล้ว แต่มีประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยที่ยังคงมีแผลริมแข็งอยู่ในขณะที่เกิดผื่นขึ้นมาตามตัว ผู้ป่วยส่วนหนึ่งโดยเฉพาะผู้หญิงอาจจะไม่เคยสังเกตว่ามีแผลริมแข็งมาก่อนเลย ซึ่งคงจะเกิดจากแผลอาจมีขนาดเล็กและไม่มีอาการหรือแผลซ่อนอยู่ภายใน เช่น ในช่องคลอด คอมดลูก หรือปากทวารหนัก จะเห็น อดีตโสเภณีออกดอก หรือ ชายออกดอก หลายคน ผอมน่าสงสาร มีให้เห็นทุกวัน  จะหากินไม่ได้  สมัยนั้นโรคเอดส์ ยังไม่มี โรคสมัยนั้น มีไม่กี่อย่าง เรียกกันว่า กามโรค
กามโรค
          กามโรค  หมายถึงโรคที่ติดต่อโดยการร่วมเพศและมักก่อให้เกิดพยาธิสภาพที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เป็นส่วนใหญ่
          แต่เดิม กามโรคหมายถึง กลุ่มโรคเพียง ๕ โรคคือ ซิฟิลิส หนองใน แผลริมอ่อน โรคของต่อมน้ำเหลืองและโรคเนื้อตายที่บริเวณขาหนีบ ปัจจุบันพบว่ายังมีโรคอีกหลายโรคที่ติดต่อโดยการร่วมเพศ   แต่ไม่ใช่กามโรคที่แท้จริงรวมอยู่ในกลุ่มโรคนี้ด้วย คือ หนองในเทียม (ใช้เฉพาะในชาย) หูดหงอนไก่  เชื้อรา พยาธิในช่องคลอด เริม หูดข้าวสุก หิดที่อวัยวะสืบพันธุ์ ตัวโลน เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้  ในปัจจุบันจึงเปลี่ยนชื่อกามโรคว่า "โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์" (sexuallytransmitted diseases)

          ซิฟิลิส เกิดจากเชื้อทริโปนีมาพอลลิดุม  (tryponema pollidum) มีระยะฟักตัวโดยเฉลี่ย ๑๐-๓๐ วัน
          อาการในระยะแรก  จะมีแผลเกิดขึ้น เรียกว่า แผลริมแข็ง มักเป็นที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกลักษณะแผลมีขอบนูนสูงขึ้น  ก้นแผลสะอาดเรียบ ถูกต้องไม่เจ็บ ระยะนี้หากไม่รักษาก็จะหายได้เองภายใน ๓-๘ สัปดาห์
          อาการระยะที่ ๒ หลังจากแผลริมแข็งหายราว ๓ สัปดาห์ จะมีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ  เจ็บคอ  คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยและปวดตามข้อ มีผื่นขึ้นตามบริเวณผิวหนัง เช่น แขน  ขา ลำตัว ไม่คันและไม่เจ็บปวด อาจเป็นอยู่ไม่นานวัน หรืออาจนานหลายเดือนก็ได้ ส่วนใหญ่จะหายไปราว ๔-๘ สัปดาห์ ในระยะนี้  อาจมีลักษณะเป็นตุ่มนูนขึ้นมา   คล้ายยุงกัด แต่มีเนื้อยุ่ยๆ คลุม   บริเวณนี้แพร่เชื้อได้มาก   อาจมีต่อมน้ำเหลืองโต หรือผมร่วงได้
          ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา เมื่ออาการทุกอย่างหายก็จะเข้าสู่ระยะแฝง   ซึ่งเป็นระยะที่จะไม่มีอาการอะไรทั้งสิ้น แต่จะทราบได้โดยการตรวจพบน้ำเหลืองให้ผลบวก
          อาการในระยะที่ ๓ พบว่า ๑ ใน ๔ ของระยะแฝงจะเปลี่ยนเป็นระยะที่ ๓  ซึ่งต้องใช้เวลานาน โดยจะไปเกิดเป็นแผลและเนื้อตายในหัวใจ หรือระบบประสาท ทำให้เกิดอาการคล้ายคนเป็นโรคจิต
          การวินิจฉัยโรคนี้  ส่วนใหญ่อาศัยจากการตรวจน้ำเหลือง  นอกจากนี้ อาจจะขูดบริเวณแผลหรือผื่นหรือเนื้อนูน  มาตรวจด้วยกล้องพิเศษ และอาจต้องเจาะน้ำไขสันหลังมาตรวจด้วยในบางรายหญิงมีครรภ์ที่เป็นซิฟิลิสต้องได้รับการรักษาจากแพทย์  เพราะซิฟิลิสจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น ทำให้แท้ง ทารกตายในครรภ์ หรือเป็นฟิซิลิสแต่กำเนิด

          หนองใน เกิดจากเชื้อไนซ์ซีเรียโกโนร์เรีย มีระยะฟักตัวประมาณ ๓-๕ วัน
          อาการมักเริ่มด้วยปัสสาวะแสบ   ขัด  มีตกขาวถ้าไม่ได้รับการรักษา  โรคนี้อาจลุกลามเข้าไปในโพรงมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ ทำให้ท่อนำไข่ตัน และเป็นหมันในที่สุด

          แผลริมอ่อน เกิดจากเชื้อฮีโมฟิลัสดูเครยี(hemophilus ducreyi) มีระยะฟักตัวประมาณ ๒-๕ วัน  
          อาการ อาจพบได้ใน ๒ ลักษณะ คือ
          (๑) แผล มักพบบริเวณฝีเย็บ และที่แคมเล็กเริ่มคัน มีเม็ดพอง และอักเสบ  ต่อมาเป็นหนองแตกออก มีอาการเจ็บ ส่วนใหญ่เกิดหลายแผล ขอบแผลไม่ชัดเจน ถูกต้องเจ็บ
          (๒) ฝีมะม่วง  ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่เพียงพอ  ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบจะโตเป็นหนองได้ราว ๕-๘ วันหลังมีแผล
          กามโรคที่ต่อมน้ำเหลือง เกิดจากเชื้อคลาไมเดีย (chlamydia) มีระยะฟักตัว ๑-๔ สัปดาห์ แต่โดยปกติประมาณ ๗-๑๒ วัน
          อาการจะเริ่มด้วยมีแผลที่อวัยวะเพศ  แล้วมีไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ต่อมาต่อมน้ำเหลืองโตที่บริเวณขาหนีบ แล้วเป็นหนองแตกออกมาเรียกว่า ฝีมะม่วง   เช่นเดียวกับแผลริมอ่อน   อาการต่อมน้ำเหลืองโตนี้ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นหลังจากแผลหายไปแล้ว

          กามโรคเนื้อตายที่บริเวณขาหนีบ  เกิดจากเชื้อโดโนแวนแกรนูโลมาติส (donovan granulomatis) มีระยะฟักตัวไม่แน่นอน  
          อาการในระยะแรกจะพบแผลเป็นตุ่ม อักเสบไม่เจ็บ  ต่อมาแตกเป็นแผลกลมนูนยุ่ย  เลือดออกง่าย

          หูดหงอนไก่   เป็นโรคที่พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากเชื้อไวรัสปาปิลโลมา (papilloma viruses)มีลักษณะคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ เกิดบริเวณอวัยวะเพศ และโตขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อพบร่วมกับการตั้งครรภ์
          รักษาได้โดยยา หรือจี้ด้วยไฟฟ้า

          เริม เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ พบได้บ่อย มักมีอาการ ๔-๕ วันหลังการร่วมเพศ โดยเกิดเป็นเม็ดใสๆ แล้วแตกออกเป็นแผลเล็กๆ  หลายแผลเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน และมีอาการอักเสบ เป็นอยู่ประมาณ ๑๐ วันก็จะหายไป  อาจมีเชื้อบัคเตรีแทรกได้และอาจมีต่อมน้ำเหลืองโตเล็กน้อย เป็นแล้วมักเป็นอีก
การรักษาสมัยนั้น ไม่มีหมอทันสมัย ต้องกินยาหม้อกัน ผลสุดท้ายต้องออกดอก และตายในที่สุด ชาวบ้านเรียก โรค ตาโบฮวง นับว่ามีจุดจบที่น่าสงสารมาก
หญิงนครโสเภณีนั้นเรียกสั้น ๆ ว่า หญิงโสเภณี หรือโสเภณี ซึ่งเดิมพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับ พ.ศ. 2493) ให้นิยามว่า "หญิงงามเมือง, หญิงคนชั่ว"
ภาคอีสานเรียกหญิงนครโสเภณีว่า "หญิงแม่จ้าง" คือ เป็นผู้หญิงที่รับจ้างกระทำชำเราสำส่อน โดยได้รับเงินหรือผลประโยชน์เป็นค่าจ้าง
นครโสเภณี
ที่มีชื่อว่า "นครโสเภณี" นั้น ราชบัณฑิตยสถานว่าเห็นจะเป็นเพราะว่า หญิงพวกนี้อาศัยเมืองหรือนครเป็นที่หาเลี้ยงชีพ หญิงโสเภณีตามชนบทนั้นไม่มี เพราะการเป็นโสเภณีนั้นเป็นที่รังเกียจของสังคม ผู้หญิงพวกนี้จึงอาศัยที่ชุมชนเป็นที่หากิน อีกประการหนึ่ง ในเมืองหรือนครนั้นมีผู้คนลูกค้ามากมาย เป็นการสะดวกแก่การค้าประเวณี
อนึ่ง ว่ากันตามรากศัพท์แล้ว ราชบัณฑิตยสถานว่า "นคร" แปลว่าเมือง "โสภิณี" แปลว่าหญิงงาม "นครโสภิณี" จึงแปลว่า หญิงงามประจำเมือง หรือหญิงผู้ทำเมืองให้งาม คำว่า "นครโสเภณี" ปัจจุบันมักเรียกสั้น ๆ ว่า "โสเภณี"
หญิงโสเภณีมักรวมกลุ่มกันในสถานค้าประเวณีที่เรียกกันว่า "ซ่องโสเภณี" ซึ่งในภาษาไทยตามกฎหมายเก่า (พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127) ว่า "โรงหญิงนครโสเภณี" อย่างไรก็ดี หญิงโสเภณีอาจอยู่ตามโรงแรม สถานอาบอบนวด โรงน้ำชา ภัตตาคาร ร้านเสริมสวย หรือตามสถานบันเทิง หรืออาจอยู่บ้านส่วนตัวและรับจ้างร่วมประเวณีเฉพาะโอกาสก็ได้
หญิงงามเมือง
ที่แปลว่า "หญิงงามเมือง" นั้น คำนี้ความหมายเดิมหมายถึงเพียงนางบำเรอชั้นสูงประจำนครใหญ่ ๆ หรือนครหลวง มีหน้าที่ปรนนิบัติและบำเรอชายทั้งที่เป็นแขกเมืองและชาวเมืองให้เป็นที่ชอบใจโดยไม่ประสงค์จะมีลูกสืบสกุล เพราะหญิงประเภทนี้ถือว่าถ้ามีลูกแล้วตนก็ไม่เป็นที่ชอบใจของชายที่จะมาให้บำเรออีก นี้เป็นวัฒนธรรมโบราณของแถบเอเชียตะวันตก
มีตัวอย่างในสมัยพุทธกาลคือ นางสาลวดี มารดาของหมอชีวกโกมารภัจ นางเป็นนางบำเรอชั้นสูงประจำกรุงราชคฤห์ นครหลวงแคว้นมคธ (ปัจจุบันคือรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) เมื่อบำเรอชายแล้วก็เกิดตั้งท้องขึ้นจึงอ้างว่าเจ็บป่วยเพื่อปิดความจริงและไม่ยอมพบใครทั้งสิ้นตลอดเวลาตั้งท้องนั้น เมื่อคลอดแล้วได้เอาเบาะหุ้มห่อทารกใส่กระด้งไปทิ้งในเวลากลางคืน เจ้าชายอภัย พระราชโอรสพระเจ้าพิมพิสาร เสด็จไปพบและรับมาเลี้ยงจึงรอดตาย ทารกนั้นจึงได้ชื่อว่า "ชีวก" (/ชีวะกะ/) แปลว่า "ผู้มีชีวิต"
กะหรี่
คำว่า "กะหรี่" เป็นคำตลาดหมายถึง หญิงโสเภณี ตัดทอนและเพี้ยนมาจากคำเต็มว่า "ช็อกกะรี" และคำ "ช็อกกะรี" นี้ก็เพี้ยนมาจาก "ชอกกาลี" ซึ่งมาจากคำ "โฉกกฬี" ในภาษาฮินดี แปลว่า เด็กผู้หญิง คู่กับ "โฉกกฬา" (?????, Ch?kar?) ที่แปลว่า เด็กผู้ชาย เป็นทอด ๆ[1]
จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สันนิษฐานว่า ที่เรียกหญิงโสเภณีว่า "โฉกกฬี" อันแปลว่า เด็กผู้หญิงนั้น คงเป็นทำนองเดียวกับที่เรียกหญิงโสเภณีว่า "อีหนู"[1]
คำ "กะหรี่" ในความหมายว่า โสเภณี ยังไม่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับใด ๆ แต่ราชบัณฑิตยสถานบันทึกไว้ใน พจนานุกรมคำใหม่ ว่า "กะหรี่ น. โสเภณี (เป็นคำไม่สุภาพ)."[2] ส่วนคำ "ช็อกกะรี" ปรากฏใน พจนานุกรมคำใหม่ เช่นกัน ความว่า "ช็อกกะรี น. โสเภณี."[3]
ประวัติ
ในสมัยดึกดำบรรพ์ หญิงโสเภณีไม่มีราคาหรือไม่ถือว่าต่ำช้า เพราะในสมัยนั้นไม่ถือธรรมเนียมหรือคุณค่าทางพรหมจารี การสมสู่เป็นไปโดยเสรีและสะดวก ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏว่า ชาวสลาฟโบราณถือว่า หญิงดีมีค่านั้นจะต้องมีชายรักใคร่เสน่หาร่วมประเวณีมาก่อนสมรส ถ้าสามีตรวจพบว่าภริยาของตนมีพรหมจารีที่ยังไม่ถูกทำลายก็มักไม่พอใจ บางรายถึงขนาดขับไล่ไสส่งภริยาไปก็มี เนื่องจากอุดมคติในเรื่องพรหมจารีมีอยู่เช่นนี้ จึงทำให้ผู้หญิงบางหมู่แสวงหาเครื่องหมายจากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของชายคู่รักเพื่อเก็บไว้อวดชายที่มาเป็นสามี เมื่อเสรีภาพในการร่วมประเวณีมีอยู่เช่นนั้น หญิงโสเภณีในยุคแรกเริ่มเดิมทีก็นับว่าไม่มี
จากการศึกษาพบว่า หญิงโสเภณีมีกำเนิดมาจากพิธีการทางศาสนา ปฏิบัติกันอยู่ในเอเชียตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ คือหญิงสาวจะต้องกระทำพิธีสละพรหมจารีของตนเพื่อบูชาเทวีผู้ซึ่งมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ของอินเดียได้แก่พิธีบูชาพระแม่กาลีซึ่งบางทีก็เรียก "ทุรคาบูชา" (ฮินดี: Durgapuja) พิธีเช่นว่านี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีความรู้สึกฝังใจอยู่กับชายคนแรกที่เธอร่วมประเวณีด้วย การสละพรหมจารีดังกล่าวจึงกระทำเพื่อบูชาเทวีเบื้องบนเสีย และชายผู้ร่วมประเวณีด้วยนั้นก็มักจะเป็นแขกแปลกหน้าที่หญิงนั้นไม่รู้จัก โดยถือกันว่าชายแปลกถิ่นเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะนำโชคลาภมาสู่ตน
การสละพรหมจารีด้วยการร่วมประเวณีกับชายแปลกหน้านั้นบางแห่งก็มีสิ่งตอบแทน หญิงชาวบาบิโลนโบราณพากันมานั่งคอยชาวแปลกหน้าในวิหารเจ้าแม่อิชตาร์ (Ishtar) เพื่อเข้าสู่พิธีสละพรหมจารีกับชายแปลกหน้า ถ้าชายพึงใจในหญิงคนใดก็จะโยนเหรียญมาที่ตักของเธอ หญิงที่ได้รับเหรียญจะต้องลุกตามเขาไปทันทีเพื่อประกอบพิธี โดยไม่ว่าเงินที่ชายโยนให้นั้นจะมากน้อยเพียงไร เมื่อได้พลีพรหมจารีแล้วก็เป็นอันหมดหน้าที่ หญิงนั้นจะได้กลับไปบ้านเมืองและครองชีวิตอย่างมีเกียรติพร้อมกับตั้งหน้าคอยโชคลาภต่อไป หญิงที่รูปไม่งามอาจต้องนั่งรอชายแปลกหน้าเป็นเวลาหลายปี
บางท้องที่ก็มีพิธีกรรมทางโสเภณีเพื่อการศาสนา เช่น นักบวชหญิงร่วมกันจัดพิธีกรรมต่าง ๆ ทางโสเภณีซึ่งถือว่าเป็นการพลีกายเพื่อศาสนา เงินที่ได้จากพิธีกรรมทางเพศดังกล่าวจะส่งเข้าบำรุงศาสนา บางแห่งหญิงสาวต้องไปวัดเพื่อขอให้นักบวชชายเบิกพรหมจารีให้ โดยถือว่านักบวชเป็นตัวแทนของพระเจ้า บางแห่งหญิงสาวอุทิศตนเป็นนางบำเรอประจำวัด เพื่อร้องรำทำเพลงบำเรอพวกนักบวชและพวกธุดงค์ที่มาสักการะเทพเจ้าในสำนักตน ทั้งหมดนี้เป็นจุดกำเนิดของหญิงโสเภณีในปัจจุบัน แต่โสเภณีทางศาสนาดังกล่าวมาแล้วกระทำในคลองจารีตประเพณีของศาสนา ไม่อื้ออึงหรืออุจาดนัก
ต่อมาเกิดมีธรรมเนียมใหม่คือ หญิงสาวหันมาเป็นโสเภณีเพื่อสะสมทุนทรัพย์สำหรับสมรส ชายที่สมสู่ไม่ต้องวางเงินบนแท่นบูชาแต่ให้ใส่ลงในเสื้อของหญิง ภายหลังหาเงินได้สองสามปีก็จะกลับบ้านเพื่อแต่งงาน และถือกันว่าหญิงที่ได้ผ่านการเป็นโสเภณีมาแล้วเป็นแบบอย่างของเมียและแม่ที่ดี การปฏิบัติของหญิงโสเภณีประเภทหลังนี้ บางคนก็กระทำไปโดยมิได้เกี่ยวข้องกับพิธีทางศาสนาเลย[ต้องการอ้างอิง]
ครั้นกาลเวลาล่วงมา อารยธรรมในทางวัตถุนิยมเพิ่มมากขึ้น การโสเภณีทางศาสนาค่อยเลือนลางจางไป โดยมีโสเภณีทางโลกเข้ามาแทนที่ โรงหญิงโสเภณีโรงแรกจึงถือกำเนิดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ โดยเป็นโรงหญิงโสเภณีสาธารณะ เก็บเงินรายได้บำรุงการกุศล ผู้จัดตั้งชื่อ "โซลอน" (Solon) เป็นนักกฎหมายและนักปฏิรูป วัตถุประสงค์ในการตั้งโรงหญิงโสเภณีดังกล่าวมีสองประการ คือ 1) เพื่อคุ้มครองอารักขาความบริสุทธิ์ให้แก่ครอบครัวของประชาชน มิให้มีการซ่องเสพชนิดลักลอบและมีชู้ และ 2) เพื่อหารายได้บำรุงการกุศลต่าง ๆ
จากนั้นโสเภณีก็ได้คลี่คลายขยายตัวเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นอยู่อย่างปัจจุบัน
โสเภณีกับสังคม
สังคมสัตว์
มีปรากฏในงานวิจัยว่าในสังคมสัตว์ก็มีการแลกเปลี่ยนโดยสัตว์เพศเมียอาจเสนอการตอบแทนเป็นพิเศษกับสัตว์เพศผู้ที่ให้บริการบางอย่างกับเพศเมียก่อนหน้าการผสมพันธุ์ [4]
สังคมโลก
หญิงนครโสเภณีมีความสำคัญต่อสังคมอยู่ไม่น้อย ทั้งในทางเสียและทางดี
ในทางดีนั้น หญิงนครโสเภณีได้ชื่อว่าเป็นผู้ผดุงศีลธรรมและมนุษยธรรมของสังคม กล่าวคือ หญิงพวกนี้เป็นผู้ระบายความต้องการทางเพศของผู้ชายทั้งหลาย เป็นการป้องกันหรืออย่างน้อยก็ลดจำนวนคดีเกี่ยวกับเพศ เช่น ฉุดคร่าอนาจาร ข่มขืน กระทำชำเรา กับทั้งเป็นการช่วยผดุงความบริสุทธิ์ให้แก่ครอบครัวประชาชนมิให้มีการลักลอบซ่องเสพด้วยการทำชู้ จึงมีผู้เปรียบหญิงนครโสเภณีว่าเป็นป้อมปราการสำหรับป้องกันเกียรติศักดิ์ของครอบครัวอื่น ๆ มิให้มัวหมอง และสดุดีพวกเธอว่าเป็นผู้เสียสละอุทิศร่างกายและชื่อเสียงเพื่อสาธารณประโยชน์ ออกัสตินแห่งฮิปโป นักบุญผู้หนึ่งแห่งคริสต์ศาสนา กล่าวว่า ถ้าถอนหญิงนครโสเภณีไปจากสังคมเมื่อใดก็เท่ากับหว่านพืชแห่งตัณหาให้เต็มไปหมดทั้งโลก สรุปว่า หญิงนครโสเภณีเปรียบเสมือนท่อระบายน้ำโสโครกหรือผู้เก็บกวาดสิ่งปฏิกูล ทำให้สังคมสะอาดน่าอยู่เสมอ
นอกจากนั้น หญิงนครโสเภณียังเป็นเครื่องกลั่นกรองการแต่งงานของคู่สมรสได้อีกด้วย กลั่นกรองในแง่ที่ว่า ผู้ชายมีทางระบายความต้องการทางเพศของตนกับหญิงนครโสเภณี เป็นการช่วยให้เขาชะลอการแต่งงานไปได้ในเมื่อฐานะของเขายังไม่พร้อมที่จะสมรส การสมรสจึงเป็นไปด้วยความรอบคอบ ความพร้อม และความเหมาะสม ทำให้ชีวิตครอบครัวราบรื่นมั่นคง ไม่ใช่สมรสเพราะการรุนของตัณหา ซึ่งอาจทำให้ชีวิตสมรสสลายในภายหลังได้ง่าย อนึ่ง ยังช่วยผ่อนคลายความต้องการของชายที่สมรสแล้ว แต่คู่สมรสมีรสนิยมทางเพศไม่ตรงกัน เป็นการรักษาชีวิตสมรสของสามีภริยาคู่นั้นให้ดำรงราบรื่นอยู่ได้
ส่วนที่เสียก็มีอยู่เป็นอันมาก ประการแรก คือ ทำให้มีสถานค้าประเวณีคอยรับซื้อเด็กหญิงมาบังคับเป็นโสเภณี ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังและดาษดื่นอยู่เวลานี้ ทำให้มีคดีฉุดคร่าล่อลวงหญิงมาขายตามสถานดังกล่าว และทำให้มีบุคคลประเภทแมงดาเป็นกาฝากของสังคม รวมตลอดทั้งนักเลงคอยก่อความไม่สงบทำผิดกฎหมายอยู่เสมอ
ประการต่อมา คือ ทางด้านตัวหญิงนครโสเภณีเองก็มักจะจุ้นจ้าน เตร็ดเตร่หาลูกค้า เป็นตัวอย่างที่ไม่ได้แก่กุลสตรีทั้งหลาย หญิงพวกนี้แม้จะเลิกอาชีพโสเภณีมามีครอบครัวก็ไม่สามารถจะเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีได้ และยังเป็นแม่พิมพ์ที่เลวของลูกต่อไปด้วย
ประการสำคัญ คือ การแพร่เชื้อกามโรคซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกสังคมปราบกันไม่รู้จักจบสิ้น ตราบเท่าที่ยังมีหญิงนครโสเภณีอยู่ในสังคม ผลตามมาก็คือนอกจากจะทำให้ประชากรเป็นกามโรคซึ่งจะต้องใช้จ่ายเงินในการเยียวยารักษามากมายแล้ว ยังทำให้เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นกามโรคเป็นเด็กไม่แข็งแรง บางรายแขนด้วน ตาบอด ตาเหล่ หรือปากแหว่ง ซึ่งก็เป็นผลมาจากเชื้อกามโรคเป็นส่วนใหญ่ หาใช่เคราะห์กรรมบันดาลไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชากรของประเทศก็ขาดด้อยคุณภาพ
ปัญหาที่ตามมาอีกประการหนึ่ง คือ การทำแท้งและลูกกำพร้า ด้วยเหตุที่ว่าหญิงพวกนี้คิดแต่จะหาเงิน ไม่มีความปรารถนาจะได้บุตร เมื่อเกิดมีครรภ์ขึ้นมาก็หาทางทำแท้ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อตัวหญิงนั้นเอง กับทั้งยังเป็นการผิดกฎหมายและศีลธรรมด้วย รายที่ไม่ทำแท้งหรือทำแท้งไม่สำเร็จ เด็กก็เกิดมา ทำให้มีคดีฆาตกรรมเด็กและคดีทอดทิ้งเด็ก เป็นภาระแก่สังคมที่ต้องรับเด็กเหล่านี้มาเลี้ยงเป็นเด็กกำพร้าเป็นจำนวนหลายร้อยหลายพัน และเด็กเหล่านี้จะเติบใหญ่ขึ้นมาด้วยร่างกายและมันสมองที่มีคุณภาพนั้นยากที่จะหวังได้
ราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทยจึง "...สรุปว่า หญิงโสเภณีมีส่วนดีน้อย แต่ส่วนเสียมาก"
เพราะเหตุดังกล่าว สังคมทุกประเทศจึงมีความรังเกียจสถาบันโสเภณี และมีความปรารถนาจะขจัดสถาบันอันเสื่อมโทรมนี้ไปให้พ้นจากสังคมของตน เช่น ประเทศฝรั่งเศสเคยออกกฎหมายปิดโรงโสเภณี ประเทศอังกฤษก็เคยออกกฎหมายเอาโทษหนักแก่ผู้ที่ประพฤติตนเป็นโสเภณี แต่ก็ไม่สามารถกำจัดโสเภณีออกไปจากสังคมของตนได้ เข้าทำนอง "ยิ่งห้ามยิ่งยุ" เพราะไม่ปรากฏว่าจำนวนหญิงโสเภณีลดลงเลย แต่กลับพบว่ามีหญิงโสเภณีเถื่อนเกลื่อนกล่นเต็มเมืองไปหมด เป็นผลทำให้ควบคุมยากมากขึ้นไปอีก
เมื่อไม่อาจกำจัดหญิงนครโสเภณีโดยวิธีเด็ดขาดดังกล่าวแล้ว หลายประเทศจึงหันมาให้วิธีประนีประนอมหรือปราบปรามด้วยอุบาย เช่น เอาผิดแก่ผู้มีการกระทำอันเป็นโสเภณี ชายแมงดา หรือผู้ชักจูงหญิงมาเป็นโสเภณี ในขณะเดียวกันก็ให้การศึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์แก่ประชาชน หาทางลดความรู้สึกทางเพศให้แก่ประชาชนด้วยการส่งเสริมให้เล่นกีฬา ออกกำลังกาย เป็นต้น
สังคมไทย
โดยเหตุที่การค้าประเวณีนำมาซึ่งความเสื่อมเสียทางศีลธรรมและปัญหาสังคมต่าง ๆ นานาดังกล่าว รัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัยได้พยายามแก้ปัญหานี้อยู่เสมอ แต่สภาพการณ์ก็ยังทรง ๆ ทรุด ๆ เรื่อยมา
นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีของไทยเพิ่งจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ โดยพระองค์ได้ทรงตราพระราชบัญญัติฉบับหนึ่ง ชื่อ "พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127" เหตุผลในการประกาศใช้มีว่า
"...ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่า ทุกวันนี้หญิงบางจำพวกประพฤติตนอย่างที่เรียกว่าหญิงนครโสเภณี มีหัวหน้ารวบรวมกันตั้งโรงหาเงินขึ้นหลายตำบล แต่ก่อนมาการตั้งโรงหญิงนครโสเภณี นายโรงช่วยไถ่หญิงมาเป็นทาสรับตั๋วจากเจ้าภาษีแล้วตั้งเป็นโรงขึ้น ครั้นต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกทาสเสียแล้ว หญิงบางจำพวกที่สมัครเข้าเป็นหญิงนครโสเภณีก็รับตั๋วจากเจ้าภาษีแล้วมีหัวหน้ารวบรวมกันตั้งขึ้นในท้องที่โรงอันควรบ้างมิควรบ้าง กระทำให้มีเหตุเกิดการวิวาทขึ้นเนือง ๆ อีกประการหนึ่ง หญิงบางคนป่วยเป็นโรคซึ่งอาจจะติดต่อเนื่องไปถึงผู้ชายที่คบหาสมาคมได้ ก็มิได้มีแพทย์ตรวจตรารักษาโรคร้ายนั้น อาจจะติดเนื่องกันไปจนถึงเป็นอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก และยังหาได้มีกฎหมายและข้อบังคับอย่างใดสำหรับจะป้องกันทุกข์โทษภัยแห่งประชาราษฎรทั้งหลายเหล่านี้ไม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัตืขึ้นไว้สืบไปดังนี้..."
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127 มีว่า 1) หญิงนครโสเภณีให้เป็นได้แต่โดยใจสมัคร ใครจะบังคับผู้อื่นหรือล่อลวงมาให้เป็นหญิงนครโสเภณีมิได้เลย มีโทษตามพระราชกำหนดลักษณะข่มขืนล่วงประเวณี รัตนโกสินทรศก 118 ซึ่งโทษนี้ปัจจุบันมีบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาแทนแล้ว 2) หญิงนครโสเภณีทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อนจึงจะเป็นได้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตราคาสิบสองบาท มีอายุสามเดือนต่อใบ ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนับว่าสูงมากในสมัยนั้น แสดงเจตนารมณ์ในการป้องปรามการเป็นโสเภณีอยู่ในตัว 3) ผู้ตั้งโรงหญิงนครโสเภณีต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน และนายโรงก็เป็นได้แต่ผู้หญิง เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลกันเอง 4) หญิงนครโสเภณีต้องไม่สร้างความรำคาญวุ่นวายแก่บุคคลภายนอก เช่น ฉุดลาก ยื้อแย้ง ล้อเลียน เป็นต้น 5) เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในโรงหญิงนครโสเภณีทุกเมื่อ เพื่อนำตัวสมาชิกคนใดของโรงมาตรวจ ถ้าพบโรคก็ให้ส่งไปรักษาจนกว่าจะหาย แลอาจเพิกถอนหรือสักพักใช้ใบอนุญาตในคราวนั้นด้วยก็ได้
ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดมีแนวคิดที่จะปรับสภาพหญิงนครโสเภณีให้กลับเป็นคนดีของสังคม องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการเลิกค้าประเวณีทั่วโลก โดยใน พ.ศ. 2492 ได้มีการประชุมร่างอนุสัญญาเพื่อการนี้ขึ้น ชื่อ "อนุสัญญาฉบับรวม" (อังกฤษ: Consolidated Convention) มีเนื้อหาสาระเป็นการขจัดการค้าสตรีและการแสวงหาประโยชน์จากหญิงนครโสเภณี เพื่อเลิกการทำให้การค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ตลอดจนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่หญิงนครโสเภณีเพื่อกลับเป็นคนดีของสังคมต่อไปด้วย ซึ่งเมื่อประกาศใช้แล้ว ไทยเองก็ได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญานี้
ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามจัดตั้งสำนักโสเภณีเพิ่มขึ้นอีก และใน พ.ศ. 2498 ก็ได้มีการห้ามจดทะเบียนโสเภณีเป็นเด็ดขาด ซึ่งรัฐเองก็มีนโยบายจัดการสงเคราะห์หญิงนครโสเภณีขึ้นด้วย ดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทย ครั้งนั้น รัฐบาลดำริจะจัดตั้งนิคมโสเภณีขึ้นเพื่อการดังกล่าว แต่ขัดข้องด้านงบประมาณ โครงการจึงระงับไว้จน พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ร่าง "พระราชบัญญัติห้ามการค้าประเวณี" ขึ้น แต่ไม่สามารถนำเข้าสู่รัฐสภาได้ ใน พ.ศ. 2503 รัฐบาลจึงเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่แทน คือ ร่างพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาและประกาศใช้ตามลำดับ ปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 แทนที่แล้ว
นอกจากกฎหมายหลักข้างต้น ประมวลกฎหมายอาญายังให้ความคุ้มครองแก่หญิงและเอาโทษชายแมงดาซึ่งเป็นกาฝากเกาะกินอยู่กับหญิงนครโสเภณี เช่น กำหนดโทษการเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งเด็กหญิง เพื่อการอนาจารหรือเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น และกำหนดโทษเอาผิดแก่ชายแมงดาที่ดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงนครโสเภณีด้วย เป็นต้น
โทษที่กฎหมายวางไว้สำหรับความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีนี้อยู่ในระดับสูงมาก เพื่อผดุงคุณธรรมของชาติ และให้ความคุ้มครองแก่กุลบุตรกุลธิดามิให้ตกไปในอบายมุข อย่างไรก็ดี การที่หญิงต้องกลายเป็นโสเภณีนั้นมิได้เกิดจากการล่อลวงหรือชักพาแต่อย่างเดียว แต่มีสาเหตุหลายประการดังกล่าวไว้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและแก้ไขกันไปตราบชั่วชีวิตของสังคม

ลักษณะทางการหาเลี้ยงชีพ
ลักษณะสำคัญของหญิงโสเภณีคือ ประพฤติตนสำส่อนในทางประเวณี ด้วยการรับจ้างกระทำชำเรากับชายหลายคนเพื่อผลประโยชน์ตอบแทน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นหญิงที่ค้าประเวณีกับชายทั่วไป เพราะฉะนั้น ถ้าหญิงร่วมประเวณีกับชายทั่วไปเป็นประจำไม่สำส่อน แม้จะได้รับค่าตอบแทนก็ตาม ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นหญิงโสเภณี
ตัวอย่างสำหรับลักษณะข้างต้น มีกรณีหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศเยอรมนีเมื่อนานมาแล้ว ข้อเท็จจริงมีว่า หญิงคนหนึ่งเป็นภริยาเก็บของเศรษฐีคนหนึ่ง ต่อมาเศรษฐีนั้นประสบอุบัติเหตุต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้เธอหวนกลับไปคบกับคู่รักเก่าซึ่งมาหาสู่เธอที่บ้านสองสามครั้งและได้รับรางวัลเป็นเงินจากชายคู่รักเก่านี้ เธอถูกตำรวจจับและถูกลงโทษจำคุกหนึ่งวันฐานประพฤติตนเป็นหญิงโสเภณี ต่อมาเธอได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เธอมิใช่หญิงโสเภณี จากตัวอย่างกรณีนี้ทำให้นักกฎหมายเยอรมันวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคำว่า "โสเภณี" เสียใหม่ว่า สตรีที่ได้รับรายได้ทั้งสิ้นหรือบางส่วนจากผู้มาเกี่ยวข้องด้วยในทางประเวณีเป็นประจำ ไม่เรียกว่าเป็นผู้ค้าประเวณี
การเป็นหญิงโสเภณีอาจเนื่องมาจากเหตุหลายประการ เป็นต้นว่า ความยากจนของครอบครัว ความจำเป็นในทางเศรษฐกิจประการอื่น การขาดความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่ การไม่เป็นที่รักและยอมรับของใคร ๆ การได้เห็นตัวอย่างในเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ไม่ดีมาแต่เยาว์วัย ความผิดปรกติทางจิตใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี หรือการถูกหลอกลวงมาเพื่อการค้าประเวณี
เฉพาะสภาพทางร่างกายและจิตใจของหญิงโสเภณีนั้น ปรากฏว่ามีความผิดปรกติอยู่บ้างบางประการ เช่น ในการตรวจของจิตแพทย์พบว่า หญิงโสเภณีส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมด (ร้อยละ 86) มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าธรรมดา อยู่ในเกณฑ์โง่ ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของโรคจิตทราม หรือบางทีก็อยู่ในระดับคาบเส้น อยู่ในเกณฑ์สติปัญญาต่ำแต่ไม่ถึงที่สุด เพราะถ้าต่ำว่าเรียกว่าไร้ปัญญา ก็ไม่อาจรับแขกได้ หญิงพวกระดับคาบเส้นนี้มักจะเป็นโสเภณีเพราะถูกชักจูง อนึ่ง มีหญิงโสเภณีส่วนน้อย (ร้อยละ 14) ที่มีเชาว์ปัญญาอยู่ในระดับปรกติ และเป็นโสเภณีเพราะสิ่งแวดล้อม
ในทางอุปนิสัยก็ปรากฏว่า เป็นคนตะกละ และชอบเสพของมึนเมา ชอบพูดปดมดเท็จ โกรธง่าย ไม่มีระเบียบ หลุกหลิก ชอบการเคลื่อนไหว มีนิสัยชอบการเล่นเพื่อนเพศเดียวกัน[ต้องการอ้างอิง] แต่หญิงเหล่านี้มีดีอยู่ประการหนึ่งคือมีความรักใคร่พวกเดียวกันเหมือนมารดากับบุตร[ต้องการอ้างอิง] ไม่ยอมให้ร้ายนินทาพวกเดียวกันเป็นต้น
ลักษณะทางกายภาพ
เคยมีผู้ตรวจร่างกายหญิงโสเภณี ปรากฏว่า ส่วนใหญ่มีร่างกายผิดปรกติ เช่น กะโหลกศีรษะจากด้านหน้ามาท้ายทอยสั้นผิดปรกติ เส้นผ่าศูนย์กลางของกะโหลกศีรษะวัดตามขวางก็สั้นกว่าปรกติด้วย อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมักแสดงร่องรอยที่เสื่อมทรุด เช่น กะโหลกศีรษะไม่สม่ำเสมอกัน หน้าทั้งสองซีกไม่เท่ากัน เช่น ซีกหนึ่งเบี้ยวหดไป เพดานลิ้นผิดปรกติ ฟันและหูผิดปรกติ ช่วงแขนสั้นแต่มือยาว เท้าเล็กแต่น่องใหญ่ เป็นต้น

การค้าประเวณีในประเทศไทย
ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 โดยไม่ได้ถูกนำเข้ามาจากชาติตะวันตกตามเรื่องเล่ากัน การค้าประเวณีในไทยเริ่มเป็นที่แพร่หลายกับชาวตะวันตก ในช่วงที่มีการติดต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับชาวตะวันตก มีหลักฐานเป็นศัพท์ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกว่า รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ใน ประมวลกฎหมายตรา 3 ดวง ? บทพระไอยการลักษณะผัวเมีย มีการบัญญัติผู้ค้าประเวณีว่า หญิงนครโสเภณี และสมัยสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสถานประกอบการเรียกว่า โรงหญิงนครโสเภณี โดยทั่วไปมีโคมสีเขียวตั้งข้างหน้า จึงเรียกกันว่า สำนักโคมเขียว ทั้งนี้ก่อนปี พ.ศ. 2499 การค้าประเวณีไม่ถือว่า ผิดกฎหมาย แต่เริ่ม พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 กำหนดว่าการค้าประเวณีเป็นความผิดอย่างชัดเจน แต่ในสังคมยุคใหม่เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม โดยในช่วงนั้นการค้าประเวณีจะเป็นการลักลอบค้าประเวณี และปัจจุบันธุรกิจค้าประเวณีในประเทศไทยเป็นธุรกิจแอบแฝง
โสเภณีในปัจจุบันมีรูปแบบการติดต่องานดังนี้

หลังจาก นางยุ่ง ถึงแก่กรรม สภาพเกาะ อียุ่ง ก็เปลี่ยนไป ปัจจุบัน เป็นบ้านเรือน ทันสมัย พ่อได้ยกที่ดินให้กับ คนแถวนั้น หรือขายให้ในราคามิตรภาพ จำนวนหลายราย เมื่อพ่อเสียชีวิต แม่ยกที่ดินริมน้ำ ปิงทั้งหมด ให้กับหลายราย เกาะทวี เกาะอียุ่งกลายเป็นชุมชนใหญ่ (บริเวณหลังบ้านนายบาก) เมื่อผู้เขียนไปเรียนต่อ ที่พิษณุโลก และทำงานที่กรุงเทพ นานกว่า ๒๐ ปี ไม่ได้สัมผัส ชีวิตของผู้หญิงเหล่านี้เลย เมื่อปิดภาคเรียน ก็ลงไปเยี่ยมเยียน ในฐานะคนคุ้นเคย ปัจจุบันที่ดินที่เหลืออยู่ เป็นของพี่สาว หลังจากนั้นจึงต้องบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไว้ เพื่อให้คนกำแพงได้ศึกษาต่อไป ตำนานเกาะอียุ่ง จึงได้บันทึก ไว้ในตำนานโสเภณีกำแพงเพชร


?   ยืนรอข้างถนน โดยการยืนรอคอยลูกค้าบริเวณหัวริมถนน และขายบริการทางเพศต่อในบริเวณโรงแรม หรือโรงแรมม่านรูด ในกรุงเทพ มีมากบริเวณ รอบสวนลุมพินี รอบสนามหลวง รอบวงเวียน 22 กรกฎาคม รอบถนนผดุงด้าว (ซอยเท็กซัส)
?   อาบอบนวด หรือ ซ่อง เป็นสถานบริการทางเพศโดยตรง โดยผู้ขายบริการจะนั่งรอภายในสถานบริการและรอลูกค้าเข้ามาเลือก โดยในสถานบริการจะมีบริการจัดห้องไว้รับรอง ในต่างจังหวัดบางที่ผู้ให้บริการ จะยืนรวมตัวรอบกองไฟ และมีห้องบริการไว้สำหรับลูกค้าที่ต้องการเข้ามาใช้บริการ ในประเทศไทยราคาการให้บริการมีตั้งแต่ 50 บาท จนถึงหลายหมื่นบาท สถานบริการอาบอบนวดมีกระจายในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ในกรุงเทพมีมากบริเวณถนนพระราม 9 ถนนเพชรบุรี ถนนรัชดาภิเษก
?   สถานบันเทิง คาเฟ่ ร้านคาราโอเกะ สปา หรือร้านตัดผม บางแห่ง มีการบริการพิเศษแอบแฝงเพิ่มเติมสำหรับลูกค้า
?   หอพักของผู้ขายบริการ ในหลายประเทศการขายบริการประเภทนี้เป็นประเภทเดียวไม่ผิดกฎหมาย โดยเป็นที่นิยมใน ประเทศเยอรมนี เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยทางผู้ขายบริการจะประกาศโฆษณาตามใบปลิว หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ
?   การโทรเรียก โดยลูกค้าติดต่อทางนายหน้า (หรือแมงดา หรือมาม่าซัง) เพื่อเรียกมาใช้บริการทางที่พักของลูกค้า หรือทางโรงแรมที่เตรียมไว้ ราคาการให้บริการจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่และชนิด โดยปกติ ผู้ชายที่ให้บริการ จะได้รายได้น้อยกว่าผู้หญิงที่ให้บริการ. ใน วอชิงตัน ดี.ซี. อ้างอิงจากเอเยนซี ท็อปซ์ (TOPPS) ค่าบริการ ประมาณ 6,000 บาท ($150) และ 10,000 บาท ($250) ต่อชั่วโมงสำหรับหนุ่มบริการ และสาวบริการตามลำดับ โดยทางเอเยนซี่จะได้เงิน ประมาณ 2,000 บาท ต่อชั่วโมง ได้รับจากผู้ให้บริการ
?   หลังจาก นางยุ่ง ถึงแก่กรรม สภาพเกาะ อียุ่ง ก็เปลี่ยนไป ปัจจุบัน เป็นบ้านเรือน ทันสมัย พ่อได้ยกที่ดินให้กับ คนแถวนั้น หรือขายให้ในราคามิตรภาพ จำนวนหลายราย เมื่อพ่อเสียชีวิต แม่ยกที่ดินริมน้ำ ปิงทั้งหมด ให้กับหลายราย เกาะทวี เกาะอียุ่งกลายเป็นชุมชนใหญ่ (บริเวณหลังบ้านนายบาก) เมื่อผู้เขียนไปเรียนต่อ ที่พิษณุโลก และทำงานที่กรุงเทพ นานกว่า ๒๐ ปี ไม่ได้สัมผัส ชีวิตของผู้หญิงเหล่านี้เลย เมื่อปิดภาคเรียน ก็ลงไปเยี่ยมเยียน ในฐานะคนคุ้นเคย ปัจจุบันที่ดินที่เหลืออยู่ เป็นของพี่สาว หลังจากนั้นจึงต้องบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไว้ เพื่อให้คนกำแพงได้ศึกษาต่อไป ตำนานเกาะอียุ่ง จึงได้บันทึก ไว้ในตำนานโสเภณีกำแพงเพชร


บันทึกประวัติศาสตร์ ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

   เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ขึ้น ๔ค่ำ เดือน ๖  ปีเถาะ คศ. ๑๙๖๓เวลาประมาณ ๑๐ น. เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสาย ประมาณ ร้อยหลังคาเรือน ทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิด ใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้น บ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตลาดสดริมปิง)ทางใต้ไหม้ไปสิ้นสุดบริเวณ ศาลเจ้าปัจจุบัน ทางเหนือฝั่งน้ำ ไหม้ไปถึงบ้านนายระไว ร้านซ่อมจักยานหน้าวัดเสด็จ ส่วนฝั่งตรงข้าม ไหม้จนถึงบริเวณนวรัตน์ปัจจุบัน ซึ่งไม่มีบ้านผู้คนมาก พ้นตลาด ทางทิศเหนือ ไหม้ติดกับวัดเสด็จ ประชาชนอลหม่านมาก ส่วนใหญ่ขนของลงไปหาดทราย บ้านที่ไหม้ไป
    ริมถนนฝั่งแม่น้ำปิง  ร้านยายยูง ขายก๋วยเตี๋ยว  บ้านครูคะนึง ไทยประสิทธิ์  (ลูกแม่นางจำนง  ชูพินิจ ร้าน เจ็กหงัง ขายของจิปาถะ ของกินของใช้ ถัดมาเป็นท่าเรือวัดบาง  มีเขื่อนปูนติดถนน เสาบ้านอยู่น้ำ ถัดไปเป็นร้านคุณนาย บุญเลื่อน ขายเครื่องเขียน  บ้านครูศรีสวัสดิ์  ม่วงผล  ร้านเจ๊กฮ้อ ขายมะหมี่ มีซอยท่าน้ำใหม่ ถัดไปเป็นห้องแถวยาว บ้านแม่ม่วยห้องแถวสองชั้นขนาดใหญ่ขายผ้า (สกุลศุภอรรถพานิช) ร้านขายยา เจ๊กลี้ (ลูกสาวชื่อพริกขี้หนู) ต่อไปเป็นบ้านเจ๊กลี้เผ่า กับยายเชย สกุลสุวรรณวัฒนา ต่อมาเป็นบ้านยายลำดวน ทำหน้าที่รับจำนำของ เป็นปีบ บ้านยายแก่ ขายกล้วยไข่สุกหน้าบ้านยายเหงี่ยม เมียตาน้อย ขายเมี่ยง  อมละ  ๑๐สตางค์ขาย กล้วยมัน  ( ประมาณปี ๒๔๙๐ ) ถัดไป บ้านแม่ม่วย เจ๊กปอ ขายทอง บ้านป้าจั่นดี (ลูกแม่นาคกับเจ๊กพง) ต่อมาเป็นโรงแรม (เดิมเป็นบ้านยายตุ่น ตาไล้ มีลูกชื่อตาล้วน) ขายห้องแถว เป็นโรงแรม ของอาโต้ เจ๊กพง
   บ้านยายแลง บ้านยายมะลิ เมียเจ็กจือ ทำบัญชี โรงสี พรานกระต่าย  เจ้พ้ง เมียเจ๊กเต็ง   บ้านพี่ยีวิรัตน์  บ้านยายเหลิม ขายขนมหวาน   บ้านชังฮ้อ ขายทอง ถัดไปเป็นท่าน้ำ ถัดไปเป็นห้องแถวเจ๊กเฮง ขายของทุกอย่างถัดไปเป็นร้านตัดผม ผู้ชาย ร้านเจ๊กหยี่ ตัดเสื้อผ้า  ถัดไปเป็นบ้านตารอด ยายก้าน ขายใบเมี่ยง ของโชห่วย หัดให้แม่ถุงเงิน ขี่จักรยาน  ต่อไปบ้านยายช่วย ๒ ชั้น เมียมหา ขายยาสมุนไพรโบราณ บ้านยายนกแก้ว ขายตุ๊กตา ศาลพระภูมิ  และเครื่องศาลพระภูมิ บ้านเจ๊กเล้ง ๒ ชั้น ขาย ของจิปาถะ บ้ายยายพลอด ตาอุ่น สกุลเขียวแก้ว ศึกษาอำเภอพรานกระต่าย จบที่บ้านนายระไว ซ่อมจักรยาน และถึงท่าน้ำวัดเสด็จ หมดเขตไฟไหม้
   ทางฝั่งเสด็จ เริ่มจากบ้านแม่รอด (แม่สส.เรืองวิทย์) ห้องแถวไม้ชั้นเดียว เป็นบ้านยายหยุดเจ๊กกัง ขายของชำ ถัดไปเป็นบ้าน ยายเงินขายผัก ขายเมี่ยง  บ้านเจ็กท้ง ขายมะหมี่ เป็นซอยโรงแรมราชดำเนิน ถัดไปเป็นบ้านนายท้ายเสม ยายดำสกุลกล้าตลุมบอน ถัดไปถึงบ้านปู่ชื่น ( บ้านแม่ถุงเงิน) ถัดไปเป็นบ้านนายวงค์ บ้านแถวสองชั้น  บ้านเจ๊กเอง บ้านเจ๊กกวาง บ้านยายเพิ่ม ตาปานทำงานบัญชีเทศบาล   (  ครูสุพรรณลูกเขย  ลูกสาว ครูเพ๊ญพักตร์) ซอยยายหาด บ้านแม่ยี่นายเทียม พวกสกุลกุลสุ   (นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกำแพงเพชร) ถัดไปเป็ นตาเชิญ ยายเซีย สกุลชาญเชี่ยว ค้าไม้   ถัดไปเป็นบ้านตาอ๋อ ยายอยู่  ลูกหลวงภักดี  บ้านแถวไม้  บ้านเสี่ยโต (คุณสุรชัย ธัชยพงษ์ ) ร้านแป๊ะพง  ยายโต้   (โรงแรมชากังราวในปัจจุบัน)  ร้านเจ็กบุ่น ขายข้าวหมูแดง หมูกรอบ  ร้านโกวั้น บ้านเจ็กสึ่ง   ตัดเสื้อผ้า  โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง  โรงยาฝิ่น ถัดไปเป็นโรงหล้ากำแพงเพชร บ้านเหล่านี้ถูกไฟไหม้หมด
ไฟไหม้ทั้งหมด เหตุการณ์ผ่านมา กว่า ๕๐ ปี ความทรงจำเหล่านี้ สมควรได้รับการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ      เพราะผู้คนที่เกิดทันพากันเลือนรางภาพเหล่านี้สิ้น วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๖ ผู้เขียนอายุ ๑๕ ปี กำลังขึ้นม.ศ.๓ ที่โรงเรียนกำแพงเพชร.วัชรราษฎร์วิทยาลัยบ้านอยู่ห่างจากไฟไหม้ เล็กน้อย (เยื้อง รพ.แพทย์บัณฑิตในปัจจุบัน) ความร้อนจากเปลวไฟ มาถึงที่บ้านด้วย และได้อพยพผู้คน ข้าวของ ลงไปหาดทรายเช่นกัน มีโอกาสได้ขี่จักรยานไปดูไฟไหม้อย่างละเอียด ไหม้อยู่ ทั้งวันทั้งคืน จนมอดสนิท ในวันที่ ๒๘ เมษายน นับเป็นหายนะครั้งใหญ่สุด ในเมืองกำแพงเพชร    
บริเวณไฟไหม้ ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางราชการห้ามมิให้ปลูกอาคารบ้านเรือน ต่อมามีการฟ้องร้องกัน ศาลตัดสินให้เจ้าของเดิม มีกรรมสิทธิ์ ในที่ดิน จึงเริ่มปลูกอาคารบ้านเรือนกันอีกครั้ง (ความจริง เมื่อขยายถนนเทศาออกมานั้น ทับที่ดิน บ้านเรือนไฟไหม้ ไปหมดแล้ว เพราะใต้ถุนบ้านทุกหลัง เสาแช่อยู่ในแม่น้ำปิง )