จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤษภาคม 08, 2024, 04:24:30 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
 21 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 03:57:56 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
นายบิน รักษ์ชน
 นายบิน รักษ์ชน เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2456 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชรเป็นบุตรของนายติ นางจอก รักษ์ชน และมีพี่น้องร่วมกัน ๔ คน โดยนายบินเป็นบุตรคนสุดท้อง
 นายบิน รักษ์ชน ได้เข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย” จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  ต่อมาสอบไล่ได้ประโยคครูมูล โรงเรียนฝึกหัดครูมูลจังหวัดพิษณุโลก และสอบได้วาดเขียนโท
 นายบินเข้าทำงานในตำแหน่งครู ที่โรงเรียนเทศบาล 1 วัดบาง เมื่อปี พ.ศ. 2478 และเป็นครูสอนวิชาวาดเขียน โรงเรียนกำแพงเพชร "วัชรราษฎร์วิทยาลัย" และโรงเรียนสตรีกำแพงเพชร“นารีวิทยา”
เมื่อปี พ.ศ. 2๔79 "  หลังจากนั้นนายบิน ได้เป็นครูอีกหลายโรงเรียน อาทิ โรงเรียนบ้านวังยาง โรงเรียนบ้าน
ขโมงหัก และเป็นครูใหญ่ โรงเรียนบ้านมะเดื่อชุมพร โรงเรียนวัดพระบรมธาตุ โรงเรียนวัดปราสาท (บ้านโคนใต้) และโรงเรียนเทศบาลวัดบาง ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ได้ย้ายกลับมาเป็นครูที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย” และในปีพ.ศ. ๒๕๐๖ ได้ย้ายมาเป็นครูโรงเรียนวัดคูยาง จนเกษียณอายุราขการ
นายบิน รักษ์ชน ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็น "ปราชญ์ชาวบ้านเมืองกำแพงเพชร" ในโครงการสื่อวัฒนธรรมสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) โครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากสำนักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาราชภัฏกำแพงเพชร เมื่อปี
พ.ศ. 2531

 22 
 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 03:56:58 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
นางเสนอ สิทธิ
 นางเสนอ สิทธิ เกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ที่หมู่บ้านวังพระธาตุ ตำบลเกาะขี้เหล็ก (ปัจจุบันเป็นตำบลไตรตรึงษ์ หมู่ที่ ๔ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร) เป็นบุตรนายแดง นางโปรด ใยยวง เป็นบุตรสาวคนโต และมีพี่น้องร่วมกัน ๕ คน
นางเสนอ ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนวัดเกาะขี้เหล็ก (วัดท้ายเกาะ ในปัจจุบันชื่อวัดศรีปุณณาวาส) ซึ่งเป็นโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกในตำบลนี้ นางเสนอเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (ป.๔) มีอาชีพตักน้ำมันยาง ทำไต้
ค้าน้ำมันยาง ค้าไต้ และทำนา ต่อจากนั้นได้มาเป็นครูสอนคนชรา ในสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งในสมัยนั้นมีการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป ได้เรียนหนังสือและเลิก
กินหมาก พออายุได้ ๒๕ ปี ได้แต่งงานกับนายจินดา สิทธิ
จนมีบุตรด้วยกัน ๖ คน โดยมีนางสาวสุขศรี สิทธิ บุตรสาวคนโตเป็นผู้สืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน
นางเสนอ เป็นบุคคลที่ประพฤติตนตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ยึดถือประเพณีต่าง ๆ ตลอดมา นอกจากนี้นางเสนอ ยังเป็นผู้สืบทอด และถ่ายทอดประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ในหมู่บ้าน จนเป็นที่นับถือของคนทั่วไป ทั้งในหมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียง เป็นที่รวมน้ำใจของชาวบ้านคอยอบรมสั่งสอนตักเตือนทุกคนให้เป็นคนดี มีความรักความสามัคคี และชี้ให้เห็นความสำคัญในการดำรงชีวิต ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี การละเล่นพื้นบ้าน และได้รวมกลุ่มผู้อนุรักษ์ ประเพณีและวัฒนธรรม
พื้นบ้านทั้งบทเพลง ระบำ ก.ไก่ เพลงคล้องช้าง เพลงกล่อมเด็ก การละเล่น และบทร้องเล่นต่าง ๆ จนเป็นที่ยอมรับแก่คนทั่วไป และได้รับเชิญเป็นวิทยากร ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้กับสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ
นางเสนอสิทธิ เคยได้รับรางวัล โล่เกียรติยศแม่ดีเด่น “แม่ดีศรีเมืองกำแพง” ในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (ในระดับหมู่บ้าน ตำบล และจังหวัด) โล่เกียรติยศบุคคลดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เมื่อปีพ.ศ. 2552 และเป็นผู้นำในการจัดตั้งชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นเมืองไตรตรึงษ์

 23 
 เมื่อ: มกราคม 26, 2024, 06:26:20 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
กำหนดการ
โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวคนกำแพงเที่ยวเมืองกำแพง
โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
--------------------------------------------

วันพุธ ที่ 31 มกราคม 2567    ณ ลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   
         หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร
17.30 - 18.30 น.            การแสดงพื้นถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชร
18.30 - 19.00 น   พิธีเปิดโครงการ โดย นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
๑๙.๐๐ – ๒๐.0๐ น.           กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “วัฒนธรรมอาหารกับวิถีชุมชนเมืองกำแพงเพชร” โดย
1. นายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมและปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร
2. นางอัจฉรา แสงจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิรางวัลวัฒนคุณาธร โดยกระทรวงวัฒนธรรม
     3. นายกฤษณะพงศ์ บุญสำราญ ผู้ดำเนินรายการ
๒๐.0๐ – ๒1.๐๐ น.           การแสดงวัฒนธรรมไทย 4 ภาค
21.00 น.           ปิดโครงการ
วันศุกร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567    ณ ตลาดย้อนยุคนครชุม
17.30 - 18.30 น.            การแสดงพื้นถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชร
18.30 - 19.00 น        พิธีเปิดโครงการ โดย นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
๑๙.๐๐ – ๒๐.0๐ น.           กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “วัฒนธรรมอาหารกับวิถีชุมชนเมืองกำแพงเพชร” โดย
      1. นายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมและปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร
     2. นางอัจฉรา แสงจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิรางวัลวัฒนคุณาธร โดยกระทรวงวัฒนธรรม
     3. นายกฤษณะพงศ์ บุญสำราญ ผู้ดำเนินรายการ
๒๐.0๐ – ๒1.๐๐ น.           การแสดงวัฒนธรรมไทย 4 ภ
าค
21.00 น.           ปิดโครงการ


หมายเหตุ การแต่งกายชุดผ้าไทยพื้นเมือง




 24 
 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2023, 08:48:26 am 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
ผังเมือง

 25 
 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 07:01:13 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
คณะกรรมการ

 26 
 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 06:56:44 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
คณะบรรณาธิการ

 27 
 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 06:16:02 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
วิทยากร.ป.ป.ช.

 28 
 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 06:11:14 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
วิทยากร.สองวัน

 29 
 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2023, 09:52:57 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
ตำบลวังบัวแต่เดิมเป็นเขตการปกครองของตำบล ท่าพุทรา อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ได้แยกการปกครอง ออกมาโดยตั้งชื่อตำบลใหม่ชื่อว่า ตำบลวังบัว ที่มีหมู่บ้านจำนวน 9 หมู่บ้าน ที่มาของชื่อตำบลนั้น มีชื่อคล้องกับบ้านวังบัวที่เป็นคลองเก่าและมีบัว ขึ้นมาก ดอกบัวเกิดขึ้นมาในริมคลอง ซึ่งเรียกภาษาในหมู่บ้านว่า "วัง" (คลองน้ำลึกเป็นลักษณะเหมือนวัง) และดอกบัว จึงเรียกขานกันมาว่า "วังบัว" บึงน้ำขนาดใหญ่เป็นแหล่งสัตว์น้ำและพืชน้ำชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะบัวประเภทต่าง ๆ มากมายมีความสวยงามเป็นที่เลื่องลือของชาวบ้าน และยังเป็น แหล่งน้ำที่ให้ประโยชน์แก่ชาวบ้านในการประกอบอาชีพ เมื่อมีการแยกตำบลชาวบ้านจึงเห็นสมควรใช้ชื่อวังบัวเพื่อเป็นสัญลักษณ์แก่บึงน้ำแห่งนั้น ในปี พ.ศ. 2539 สภาตำบลวังบัวได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 30 มกราคม 2539
 
      

องค์การบริหารส่วนตำบลวังบัว ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีสถานที่ตั้งของที่ทำการอยู่ที่ หมู่ที่ 10 บ้านระหารทราย และอยู่ห่างจากอำเภอคลองขลุงประมาณ 11 กิโลเมตร ห่างจากศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชรประมาณ 51 กิโลเมตร   
      

   ทิศเหนือ   ติดต่อกับ   ต.คณฑี อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร   
    ทิศใต้   ติดต่อกับ   ต.ท่ามะเขือ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร   
   ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ   ต.ทุ่งทราย อ.ทรายทองวัฒนา จ.กำแพงเพชร   
    ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ   ต.ท่าพุทรา อ.คลองขลุง จ.กำแเพงเพชร

 30 
 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2023, 09:40:20 pm 
เริ่มโดย apairach - กระทู้ล่าสุด โดย apairach
พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อเมืองกำแพงเพชร (ปาฐกถาพิเศษอังคาร ๑๘ มิย. ๖๒ ห้องประชุมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร)
                                                                                                                                 สันติ อภัยราช
เมื่อข้าพเจ้าไปเมืองกำแพงเพชรครั้งแรก คือแวะเมื่อล่องกลับจากเชียงใหม่ ร.ศ. ๑๒๔ นั้น ได้พักอยู่ ๓ คืน ๒ วัน ได้เที่ยวดูในเมืองเก่าและตามวัดที่นอกเมืองบ้าง แต่ในเวลานั้นต้องนับว่ายังอ่อนอยู่มากในทางโบราณคดี คือยังไม่ใคร่ได้มีโอกาสตรวจค้นมาก ทั้งเวลาที่อยู่ก็น้อย และเป็นคนแรกที่ได้ไปดู จะอาศัยฟังความคิดความเห็นผู้ใดๆก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ความเห็นในเวลานั้นจึงยังไม่กล้าแสดงให้แพร่หลายมากนัก เป็นแต่ได้ทำรายงานกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามที่ได้สังเกตเห็นด้วยตา และแสดงความเห็นส่วนตัวบ้างเล็กน้อย ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปประพาสเมืองกำแพงเพชร ทอดพระเนตรสถานต่างๆแล้ว พระราชทานพระบรมราโชวาทเป็นอันมาก ครั้นเมื่อได้ทราบกระแสพระราชดำริแล้ว เมื่อปลาย ร.ศ. ๑๒๖ ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปตรวจดูสถานที่ในเมืองกำแพงเพชรซ้ำอีก จึงเห็นทางแจ่มแจ้งดีกว่าครั้งแรกเป็นอันมาก
 
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ข้อความข้างต้นเป็นข้อความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างยิ่ง ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร พิชัยและพิษณุโลกเพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน โบราณวัตถุระหว่างวันที่ ๔ มกราคม - ๖ มีนาคม รศ. ๑๒๖ (พ.ศ.๒๔๕๐) และโปรดฯ ให้จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งทรงบันทึกเรื่องราวระยะทางเสด็จประพาสในคราวนั้นพร้อมพระราชวิจารณ์ในแง่ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ก่อให้เกิดกระแสตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทยในเวลานั้นอย่างมาก
ในส่วนของเมืองกำแพงเพชร   พระองค์ ทรงเสด็จมากำแพงเพชร สองครั้ง หลักฐานจากจารึกวงเวียนต้นโพ หลักที่ ๒๓๙    สร้างจาก หินปูนสีเทา กว้าง ๗๘ เซนติเมตร สูง ๑๒๖ เซนติเมตร หนา ๘ เซนติเมตร เป็นรูปใบเสมา   จารึกด้านเดียว มี ๑๙ บรรทัด นายประสาร บุญประคอง ได้อ่านจารึกหลักนี้

 
ภาพจารึกในวงเวียน ต้นโพ หน้าเมืองกำแพงเพชร เป็นจารึกของรัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งเป็นมกุฎราชกุมาร

ความว่า

๑. ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาลได้ ๒๔๔๘ พรรษา
๒. จุลศักราช ๑๒๖๗ ศกมะเส็ง รัตนโกสินทรศก ๑๒๔
๓. เป็นปีที่ ๓๘ ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
๔. เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
๕. มกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินจากมณฑลพายัพ
๖. มาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันอังคารเดือนยี่ แรม ๗ ค่ำ
๗. สุริยคติกาลกำหนด วันที่ ๑๖ เดือนมกราคม เสด็จประพาส
๘. ทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่งเป็นครั้งแรก
๙. ประทับแรมอยู่ ๒ ราตรีตั้งพลับพลานอกกำแพง
๑๐. เมืองกำแพงเพชร ที่วัดชีนางเกา   ริมลำน้ำปิงฝั่งเหนือฯ
๑๑. ครั้นลุพระศาสนายุกาลได้ ๒๔๕๐ พรรษา
๑๒. จุลศักราช ๑๒๖๙ ศกมะแม รัตนโกสินทรศก ๑๒๖
๑๓. เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
๑๔. เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นั้น
๑๕. ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้
๑๖. วันพุธเดือนยี่ขึ้น ๑๓ ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด
๑๗. วันที่ ๑๕ มกราคม ได้เสด็จประพาสทอดพระเนตร
๑๘. โบราณสถานซ้ำอีกเป็นครั้งที่ ๒ ประทับแรมอยู่
๑๙. ๓ ราตรีที่พลับพลาเดิมฯ
 
                    นำจารึกในใบเสมาของรัชกาลที่ ๖ มาประดิษฐาน แก้เคล็ด ลักษณะฮวงจุ้ย

มีใจความสำคัญ สรุปได้ว่า 
พ.ศ. ๒๔๔๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินจากมณฑลพายัพมาถึงเมืองกำแพงเพชร ทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่ง โดยประทับแรมที่พลับพลาบริเวณวัดชีนางเการิมลำน้ำปิงฝั่งเหนือ นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นเวลา ๒ คืน ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๕๐ เสด็จมาทอดพระเนตรโบราณสถานอีกครั้งหนึ่ง และทรงตั้งพลับพลาประทับแรม ๓ คืน ในที่เดิม
ในโอกาสที่ เสด็จเมืองกำแพงเพชรครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ขณะนั้น ที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร หลังแรก สร้างเสร็จพอดี (บริเวณที่ทำการเหล่ากาชาดกำแพงเพชร ในปัจจุบัน) พระองค์ทรงปลูกต้นสักไว้ที่หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร เป็นที่ระลึก ปัจจุบันต้นสักทรงปลูก ยังสูงใหญ่และงดงามมาก
 
พลับพลาที่ประทับ ที่ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร บริเวณวัดชีนางเกานั้น เป็นทั้งที่ประทับแรมของพระพุทธเจ้าหลวงเมื่อคราประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ด้วย
ต่อมาจังหวัดกำแพงเพชร ได้ตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น และได้ใช้พลับพลารับเสด็จและประทับแรม เป็นที่ทำการของโรงเรียน มีนามเป็นสิริมงคลว่า โรงเรียนสตรีพลับพลา ต่อมาได้ กลายเป็นโรงเรียนสตรีกำแพงเพชร “นารีวิทยา” ในที่สุด ได้รวมกันกับโรงเรียนชาย กำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทบาลัย” เปลี่ยนนามเป็นโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ในปัจจุบัน 
        โรงเรียนสตรีพลับพลา สร้างอาคารเรียนใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีกำแพงเพชร “นารีวิทยา”
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ จังหวัดกำแพงเพชร ได้สร้างที่ทำการเมืองหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย ภายในกำแพงเมืองกำแพงเพชร และสร้างสะพานคอนกรีตข้ามลำน้ำปิง ตรงมายังที่ว่าการเมืองเลยทีเดียว ซึ่งผู้รู้ทั้งหลายทักกันว่า ผิดหลักฮวงจุ้ย จะไม่เป็นมงคลกับเมืองกำแพงเพชร ไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง ทั้งที่ว่าการเมือง(ศาลากลาง)และสะพานกำแพงเพชรได้ ที่ประชุมกรรมการเมืองกำแพงเพชร และท่านผู้รู้ในเมืองกำแพงเพชร ได้แก้เคล็ด ฮวงจุ้ย ดังกล่าว โดยอัญเชิญ ใบเสมาศิลาจารึก ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร ที่ประดิษฐานบริเวณต้นโพ ขึ้นมาประดิษฐานกลางวงเวียน ขวางกันไว้ มิให้สิ่งที่ไม่เป็นมงคลเข้าสู่เมืองกำแพงเพชร ที่ตั้งใบเสมาจารึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร จึงตั้งตระหง่าน เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองกำแพงเพชรมาจนถึงปัจจุบัน แม้ได้เปลี่ยน ฐานรองรับมาหลายรูปแบบ จนมาถึงปัจจุบัน
 
                           สะพานกำแพงเพชร ที่ตัดตรงไปยังศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร

นับว่าการเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร สองครา คือพุทธศักราช ๒๔๔๘ และ ๒๔๕๐ ทรงพระราชทานสิ่งที่เป็นมงคลให้ชาวกำแพงเพชร มาจนถึงปัจจุบัน คือ
๑.ต้นสัก ทรงปลูก เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐
๒.จารึกวงเวียนต้นโพ กลางเมืองกำแพงเพชร
๓.หนังสือพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง
๔.พลับพลารับเสด็จวัดชีนางเกา กลายเป็นโรงเรียนสตรีพลับพลา  โรงเรียนสตรีกำแพงเพชร “นารีวิทยา” และ เป็นกำแพงเพชรพิทยาคม เมื่อรวมกับ กำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย”
นับ เป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อเมืองกำแพงเพชร ที่ชาวกำแพงเพชร ประทับใจอยู่มิรู้คลาย

‘’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!