จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 11, 2024, 02:16:55 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อแสวง ฉนฺทโก  (อ่าน 12831 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1439


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2024, 04:36:25 pm »

หลวงพ่อแสวง ฉนฺทโก
 หลวงพ่อพระครูวชิรคุณาทร  มีนามเดิมว่า แสวง  นามสกุล มาลัย เป็นบุตรของนายนาน และนางเยี่ยม  มาลัย  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2469 (ปีขาล)
ณ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน
 ในวัยเด็กหลวงพ่อแสวง  ท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา  อุปนิสัยของท่านเป็นคนตรง รักความถูกต้อง สิ่งใดที่ไม่ถูกต้องท่านก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวและไม่ยอมใคร ในปี พ.ศ. 2479 บิดามารดาได้พาท่านไปฝากเรียนที่โรงเรียนวัดสวนราษฎร์บำรุง ตำบลไผ่กองดิน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อปี  พ.ศ. 2483
หลวงพ่อแสวงท่านอุปสมบทเมื่อวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ พัทธสีมาวัดดาว ตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พระครูครื้น อมโร  พระอุปัชฌาย์ได้ให้ฉายาแก่หลวงพ่อแสวงว่า
“ฉนฺทโก”  เมื่อบวชแล้วหลวงพ่อแสวงได้จำพรรษาอยู่ที่วัดดาว  และได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
หลวงพ่อแสวงท่านสนใจศึกษาร่ำเรียนวิชาต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ครูบาอาจารย์ที่ท่านให้ความเคารพ                และฝากตัวเป็นศิษย์ที่สำคัญท่านหนึ่งก็คือพระครูครื้นวัดสังโฆสิตาราม  ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านและ                เป็นพระปรมาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมเป็นอย่างยิ่งในสมัยนั้น  ในขณะที่ท่านศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดโพธิ์ตะควนนั้นท่านได้ร่ำเรียนวิชาสักยันต์ไปด้วย  และที่สำคัญคือเรียนวิชาเกี่ยวกับเครื่องรางของขลังที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่าน ในเวลาต่อมา คือการปลุกเสกสิงห์มหาอำนาจมหาบารมี  เมื่อท่านสอบได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ. 2494 แล้วท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น วัดพระพุทธบาทสระบุรี  วัดพระแท่นดงรัง  จังหวัดกาญจนบุรี  วัดตาก้องจังหวัดนครปฐมได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแช่มและได้ศึกษาเล่าเรียนวิชากับหลวงพ่อแช่มอยู่เป็นเวลานาน 
ในปี พ.ศ. 2502 หลวงพ่อแสวง ได้เดินทางมาบ้านวังน้ำแดงเป็นครั้งแรกตามที่มีชาวบ้านไปนิมนต์ท่าน  และท่านได้รับปากกับชาวบ้านว่าจะมาสร้างวัดวังน้ำแดง และอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดวังน้ำแดง ตามที่ชาวบ้านต้องการ
ในช่วงที่หลวงพ่อแสวงเดินธุดงค์ผ่านมาทางจังหวัดอ่างทองนั้น  ท่านได้พบครูบาอาจารย์สอน วิชาวัวกระทิงให้กับท่าน ท่านได้นำไม้มาแกะสลักเป็นรูปวัวกระทิงไว้ที่วัดวังน้ำแดงด้วย หลังจากมาอยู่ที่วัดวังน้ำแดง  หลวงพ่อแสวงท่านได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ จำนวนมาก
หลวงพ่อแสวงได้มรณภาพด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542 เวลาประมาณ 16.30 น. สิริอายุได้ 73 ปี 9 เดือน 6 วัน รวมพรรษาได้ 52 พรรษา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!