รูปแบบและกระบวนพยุหยาตราพญาลิไท
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548
          ย้อนอดีตไปเกือบ 700 ปี เมืองนครชุมเจริญและยิ่งใหญ่ที่สุดในลุ่มน้ำปิงตอนใต้ เมื่อพระมหาธรรมราชาลิไท ขึ้นครองราชย์ที่กรุง สุโขทัย ได้ทรงนำพระศรีรัตนมหาธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ จากลังกาทวีป มาประดิษฐานไว้ที่วัดพระบรมธาตุเมืองนครชุมนครชุม ตรงกับวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 1900 เป็นการประกาศว่าเมืองนครชุมเป็น
นครใหญ่ แห่งแว่นแคว้นสุโขทัย ทำให้เมืองนครชุม เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การเศรษฐกิจ การทหาร และการศาสนา เป็นหลักชัย ของเมืองต่างๆบนลุ่มน้ำปิง เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสาม หรือวันมาฆบูชา ทรงเสด็จ พยุหยาตรา ทางสถลมารค ตามเส้นทางถนนพระร่วง นำเมืองน้อยใหญ่ มาประดิษฐานพระบรมธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ และกระทำเป็นประจำต่อเนื่องกันมา ตลอดรัชกาล จนสิ้นสมัยสุโขทัย จากจารึกนครชุม กล่าวว่า ผู้ใดกระทำนบพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ จะมีผลอานิสงส์ ประหนึ่งได้นบพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง แม้รัฐพิธี นบพระ ได้สาบสูญไป กับการล่มสลายของเมืองนครชุม แต่ประชาชนชาวบ้าน ได้รื้อฟื้นประเพณี นบพระขึ้นใหม่ ในต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวสมเด็จพุฒาจารย์ โต ได้ค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ ที่วัดพระบรมธาตุ และได้ปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุ...ก่อนที่ พญาตะก่าและ
พะโป้ มาสร้าง เจดีย์ทรงมอญครอบไว้ ประชาชนได้บูชาพระบรมธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ สืบมาจนทุกวันนี้ ....
          ส่วนประเพณีภาคราชการ ได้กำหนดขึ้น เมื่อปี 2526 โดยนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดเป็นประเพณีประจำจังหวัด เรียกกันว่าประเพณี นบพระเล่นเพลง....สืบมา...
          ขบวนพยุหยาตรา ขบวนที่ 1 คือขบวนพญาลิไท ผู้รับผิดชอบคือจังหวัดกำแพงเพชร ประสานงานโดยอาจารย์สันติ อภัยราช
          ประกอบด้วย
          1. สาวงามถือป้าย งานประเพณี นบพระเล่นเพลง คือนางสาว ชลิดา ใจตรงและนางสาวมะลิสา เกษมสุข จากโรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม
          2. ชุดระบำชากังราว จำนวนสาวงาม 18 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชรและศูนย์จริยฯพิพิธภัณฑสถานเฉลิมพระเกียรติ นำโดย อาจารย์ อาจารย์เยาวลักษณ์
ใจวิสุทธิ์หรรษา
          3. สาวงามถือป้าย ขบวนพญาลิไท คือ นางสาวรัตนา อั๋นพราหมณ์ และนางสาว
วนิดา ฟุ้งตระกูลทอง จากโรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม
          4. ขบวนนางใน ถือประทีป โคมไฟ จำนวน 20 คน จากโรงเรียนภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี โดยอาจารย์ประหลาด จันทโก
          5. ขบวน สาวงาม ถือเครื่อง บูชา อันประกอบด้วย พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้ หมอนนั่ง หมอนนอน จำนวน 20 คน จากโรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม
          6. ขบวน เครื่องสูง ประกอบด้วยฉัตร บังสูรย์ บังแทรก และเครื่องประกอบ เกียรติยศ จำนวน 40 คน จากโรงเรียนวชิปราการวิทยาคม โดย อาจารย์มานพ อภิรมย์วิไลชัย
          7.ขบวน ช้างทรง
          ช้างเชือกที่ 1 พญาลิไท คือ อาจารย์สมพร จันทรปิฏก ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
          ระดับ8 โรงเรียนวัดคูยาง
          ช้างเชือกที่ 2 มเหสีพญาลิไท คืออาจารย์เรณู จันทร์ปิฏก อาจารย์ 2 ระดับ 7
          โรงเรียนบ้านบ่อสามแสน
          ช้างเชือกที่ 3 พระยาอุปราชตามเสด็จ คืออาจารย์ เนตร พิบูลนฤดม อาจารย์ 2
          ระดับ 7 โรงเรียนบ้านทุ่งสวน
          ช้างเชือกที่ 4 ชายาพระยาอุปราช คือ อาจารย์ธิติมา มหบุญพาชัย ผู้ช่วย
          ผู้อำนวยการโรงเรียนภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี
          8. ขบวน ประชาชนตามเสด็จ จำนวน 25 คน ถือดอกไม้ มาลัย สักการะพระบรม
ธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ จากโรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม
          9.ขบวนนางใน ถือประทีป โคมไฟ จำนวน 20 คน จากโรงเรียนภักดีพณิชยการ
และเทคโนโลยี โดยอาจารย์ประหลาด จันทโก
รวมทั้งสิ้น 150 คน
ขบวนที่ 2 ฆ้องชัย เกริกก้อง
          คือขบวนของเจ้าเมืองชากังราว เป็นขบวนมโหรี ขับประโคม มีฆ้อง กังสดาลกลองหลวง เทียมล้อ ลากเลื่อน เพื่อสร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น ...ทั่วทั้งขบวนเสด็จ เมืองชากังราวเป็นเมืองคู่แฝดของนครชุม ตั้งอยู่คนละฝั่งของลำน้ำปิง อาจเป็นเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบัน จัดโดยอำเภอเมืองกำแพงเพชร
ขบวนที่ 3 ธงตอง ธงปฐาก
          คือขบวนของเจ้าเมืองชากังราว เป็นขบวนมโหรี ขับประโคม มีฆ้อง กังสดาลกลองหลวง เทียมล้อ ลากเลื่อน เพื่อสร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น ...ทั่วทั้งขบวนเสด็จ เมืองชากังราวเป็นเมืองคู่แฝดของนครชุม ตั้งอยู่คนละฝั่งของลำน้ำปิง อาจเป็นเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบัน จัดโดยอำเภอเมืองกำแพงเพชร
ขบวนที่ 4 พนมหมาก พนมดอกไม้
          คือขบวนของเจ้าเมืองเทพนคร จัดเป็นขบวนพานพุ่มสักการะพระบรมธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ ตามโบราณประเพณี เครื่องบูชาจะประกอบด้วย พนมเบี้ย คือเงินถวายพระ พนมหมาก คือหมากสำหรับให้พระภิกษุฉัน พนมดอกไม้ สำหรับบูชาพระ พร้อมกับหมอนนั่ง หมอนนอน ถวายพระภิกษุ เป็นเครื่องบูชา จัดโดยอำเภอลานกระบือและอำเภอไทรงาม เมืองเทพนครอยู่ทางตอนใต้ของเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองเนรมิตตามตำนานของท้าวแสนปม คู่กับเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งอยู่คนละฝั่งของลำน้ำปิง ปัจจุบันยังพอสังเกตคันคูเมืองได้
ขบวนที่ 5 พรรณรายโคมระย้า
          คือขบวนของเจ้าเมืองแสนตอ จัดเป็นขบวนโคมไฟ โคมระย้า พวงดอกไม้ เพื่อนำไปบูชา พระบรมสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ จัดโดยอำเภอขาณุวรลักษบุรี เมืองแสนตอเป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ท้ายแม่น้ำปิง ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
เมืองขาณุวรลักษณบุรี และกลายเป็นอำเภอ ขาณุวรลักษบุรีในที่สุด มีพระวรลักษณ์ เป็นเจ้าเมือง
ขบวนที่ 6 พุทธบูชา บายศรี
          คือขบวนของเจ้าเมืองพาน จัดเป็นขบวน บายศรี ขนาดใหญ่ ใส่ล้อเกวียน คานหามอย่างตระการตา ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นในการ บูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ ณ เมืองนครชุม จัดโดยอำเภอพรานกระต่าย เมืองพานเป็นเมืองสำคัญ เมืองหนึ่งบนถนนพระร่วง ตั้งอยู่ระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัย ปัจจุบันยังมีร่องรอยของความ
เจริญให้เห็นอยู่จำนวนมาก...
ขบวนที่ 7 อัญชลี มหาโพธิ์
          คือขบวนของเจ้าเมืองคณที เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง เรียกกันโดยทั่วไปว่าบ้านโคน เป็นต้นวงศ์กำเนิดของราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัย จัดเป็นขบวน นำดิน คนโทน้ำเพื่อสรงพระศรีมหาโพธิ์ พร้อมด้วย ข้าวตอกดอกไม้ เพื่อถวายต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประเพณีการไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้หายไปจากกำแพงเพชรและภาคกลาง แต่ ทางภาคเหนือ ยังไหว้พระศรีมหาโพธิ์อยู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า.....จัดโดยอำเภอทรายทองวัฒนา กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร และกิ่งอำเภอบึงสามัคคี
ขบวนที่ 8 หมื่นมโน มนสิการ ( มะ-นะ-สิ-กาน)
          คือขบวนของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ จัดขบวนพสกนิกร แห่แหนต้นผ้าป่าหลวง เพื่อไปทอด ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุม จัดโดย อำเภอคลองขลุง เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองที่มีความเจริญสูงสุดในยุคสุโขทัย ยังมีร่องรอยของความเจริญอยู่อย่างมากมายตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก คู่กับเมืองเทพนคร ตามตำนานของท้าวแสนปม....